จิระนันท์ พิตรปรีชา เคยเป็นอดีตแกนนำนักศึกษา ร่วมโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยของศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย (ศสป.)ในช่วงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ ๒๕๑๖ เธอได้มีบทบาทในการแต่งคำประพันธ์เพื่ออ่านบนเวทีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานและกลุ่มสตรีต่างๆ ในยุคที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน และหลังจากเกิด ๖ ตุลาคม พ.ศ๒๕๑๙ต้องหนีเข้าป่าไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดย จิระนันท์ พิตรปรีชา มีชื่อที่ใช้เรียกในป่าว่า สหายใบไม้ หลังจากออกจากป่ามา เธอได้เขียนบันทึกชีวิตของเธอตั้งแต่สมัยที่เธอยังป็นนักศึกษาเป็นเชิงกวีนิพนธ์ รวมเล่ม ออกมาจนกลายเป็นชื่อ ใบไม้ที่หายไป
สาระของบันทึกนี้มีทั้งความใฝ่ฝัน ปรัชญาชีวิต และอุดมการณ์ของคนหนุ่มสาว และตัวผู้เขียนเองได้ปัฏิบัติตามอุดมการณ์นั้นอย่างถึงที่สุด จึงได้พบว่าทุกชีวิตเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดังเช่น ชีวิตของผู้เป็นแม่นั้น ไม่เพียงแต่กำหนดอนาคตของลูกเท่านั้น หากรวมทั้งชีวิตของตนเองและผู้ใกล้ชิดอีกด้วย นอกจากนั้นแล้วบทกวีเหล่านี้ยังมีคุณค่าในด้านการปลุกสำนึกของสังคมเกี่ยวกับฐานะและบทบาทใหม่ของผู้หญิงอีกด้วย
jatsadakorn789456 –
เป็นกวีนิพนธ์เล่มแรกที่ได้อ่าน
คุณจิระนันท์ ใช้สำนวนภาษาในการแต่งบทกวีได้ดีมาก ๆ
อ่านแล้วนึกภาพตาม เข้าใจง่าย
ฟ้าประทุม –
ทุกตัวอักษรในบทกวีนี้แฝงไปด้วยความหมายอันแยบยล เป็นการตีแผ่ความจริงในสังคมการเมืองไทยสมัยนั้นให้คนรุ่นหลังได้ย้อนอดีตอันยาวนานที่น่าเศร้าที่เคยผ่านมา จนดิฉันอ่่านแล้วต้องไปหาหนังสือเล่มอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันมาศึกษาเพิ่มเติม และบทกวีที่ดิฉันชอบที่สุดที่ได้ชื่อว่าเป็นบทกวีอันลือลั่น ก็คือ ”อหังการของดอกไม้” และ ”ดอกไม้จะบาน” จากที่เคยได้ยินผ่านๆจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย จนตอนนี้ดิฉันจดจำได้ขึ้นใจเลย เพราะเป็นบทกวีที่ความหมายดีมากๆ สอนใจดิฉันได้เป็นอย่างดี แนะนำว่าเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่อยากให้ทุกท่านได้อ่านจริงๆ ถ้่าคุณอยากทราบว่าคุณจิระนันท์ เปรียบเทียบคุณค่าของผู้หญิง และ พูดถึงนักศึกษาไว้ว่าอย่างไรบ้างนั้น หาคำตอบได้ในเล่มนี้เลยค่ะ รับรองว่าคุณจะต้องชอบบทกวีอันลือลั่น ทั้ง 2 บท นั้น จนอาจเก็บไปฝึกท่องจนจำได้ขึ้นใจเหมือนดิฉันก็เป็นได้ค่ะ