“สินค้าลดราคา 50% ลดเยอะขนาดนี้จะซื้อดีไหมนะ” “รับเป็นคูปองเงินสดหรือคูปองส่วนลดดีนะถึงจะคุ้มกว่า” และอีกหลายคำถามที่เหล่าขา ช็อปปิ้ง ต้องรู้ก่อนซื้อสินค้าต่างๆ เพื่อไม่ให้โดนหลอก!
มาดู 3 เทคนิคการมองตัวเลขราคาสวยๆ ที่ซ่อนอยู่ในป้ายสินค้าให้ออก จากหนังสือ อยากทำธุรกิจต้องคิดเลขเป็น เขียนโดย ชินทะโร่ ฟุคะซะวะ ปรมาจารย์ด้านตัวเลขชาวญี่ปุ่น
ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเก่งเลข ชอบเรียนคณิตศาสตร์ ก็สามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ประเมินสินค้าได้
รับรองว่า 3 เทคนิคต่อไปนี้จะทำให้คุณ ช็อปปิ้ง ได้อย่างคุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์เลยค่ะ
ลดสูงสุด 50% คุ้มจริงหรือ?
ใครๆ ก็ชอบสินค้าลดราคา ถึงจะมีบางคนบอกว่า ไม่ชอบที่ที่คนเยอะ แต่จะพูดว่าเกลียดสินค้าลดราคาคงไม่ค่อยมี เพราะสินค้าลดราคาจะมี “ตัวเลขราคาสวย” อันเย้ายวนใจเรียงรายดาษดื่น เลยทำให้คุณเผลอซื้อโน่นด้วยซื้อนี่ด้วย แต่พอเห็นราคาที่ช่องชำระเงินแล้วมันดันเกินกว่าที่คิดไว้…สาวๆ ขาช็อปหลายคนคงเคยเจอประสบการณ์นี้
[su_note text_color=”#060607″ radius=”4″]ลดสูงสุด 50%!
[/su_note]
พอเห็นโปสเตอร์ลดราคานี้ ก็กระโจนเข้าร้านขายเสื้อผ้าทันที หยิบของทุกอย่างที่อยากได้ เสื้อแจ็กเก็ตเอย เสื้อคาร์ดิแกนเอย กระเป๋าเอย ของจุกจิกเอยติดไม้ติดมือมาหลายชิ้น แล้วเดินไปยังช่องชำระเงินแล้วก็ต้องตกใจว่าราคาที่เห็นในตอนนั้นคือ 5,516 บาท (รวมภาษีแล้ว) แต่ตอนนั้นเงินดันไม่พอ มีเงินติดกระเป๋า 5,000 บาท สุดท้ายก็ต้องเอาของในตะกร้าออกไปบ้าง
สาเหตุที่เราหยิบอย่างไม่คาดคิดก็เพราะว่าเราปักใจกับตัวเลข “ลด 50%” อย่างแรง
จริง ๆ แล้วพอมาดูดี ๆ ในภายหลังถึงพบว่าสินค้าลดราคา 50% ของร้านนี้มีแต่พวกถุงเท้าหรือเสื้อยืดที่ราคาต่ำ ในขณะที่เสื้อแจ็กเก็ตราคา 3,000 เยนลดราคาลง 30% หรือประมาณ 900 บาทซึ่งถือเป็นจำนวนราคาลดจริงที่สูงที่สุด แต่ร้านนี้ไม่ได้เป็น “ร้านที่ลดสูงสุด 50%” แต่เป็น “ร้านที่ลดให้ไม่เกิน 900 บาท” ถ้ามองอย่างนี้ ก็จะคิดก่อนว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ
เพราะฉะนั้นถ้าเดินผ่านไปร้านอื่นที่ติดประกาศไว้อย่างนี้ว่า…ลด 30% ทุกชิ้น! ก็จะคิดทบทวนดูว่าสินค้าร้านนี้ลดราคาสูงสุดเป็นเงินเท่าไหร่ สมมติว่าถ้าสินค้าราคา 10,000 บาท ลด 30% ก็จะลดไป 3,000 บาท ก็อาจจะคิดว่า “โอ้ ร้านนี้ลดให้ตั้ง 3,000 บาทแน่ะ 3,000 บาทตรงนี้เอาไปซื้อรองเท้าได้ 2 คู่ ถือว่าคุ้มทีเดียว งั้นลองเข้าไปดูหน่อยดีกว่า”ก็เป็นได้ สรุปคือแปลงเป็นตัวเลขราคาออกมาก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ จะถือเป็นการซื้อที่ชาญฉลาดกว่า
เคล็ดลับมีเพียงข้อเดียวคือแปลง “ลด X%” ออกมาเป็นราคา
“คืนกำไร 10%” กับ “คูปอง 500 บาท”…อย่างไหนคุ้มกว่ากัน
สมมติว่าเราจะซื้อเสื้อยืดราคา 1,000 บาท 1 ตัวอย่างไหนคุ้มกว่ากันระหว่างโจทย์ข้อ 1 ถึงโจทย์ข้อ 3
Q1 ร้านที่ลด 5% กับร้านที่ลด 10%
Q2 ร้านที่ให้แต้มสะสม 5% กับร้านที่ให้แต้มสะสม 10% (1 แต้ม = 1 บาททั้งสองร้าน)
Q3 ร้านที่ลด 10% กับร้านที่ให้แต้มสะสม 10% (1 แต้ม = 1 บาทสำหรับร้านหลัง)
Q1 คือร้านที่ลด 10% ส่วน Q2 คือร้านที่ให้แต้มสะสม 10% ง่ายใช่ไหม แต่พอเป็น Q3 แล้วชักตอบยาก ทำไมการตอบโจทย์ข้อนี้จึงยาก เพราะ “กรอบ” ในการสมนาคุณของทั้งสองร้านต่างกัน
Q1 มีกรอบอยู่ที่อัตราส่วนลด ส่วน Q2 มีกรอบอยู่ที่การให้แต้มสะสม ทั้ง 2 ข้อนี้อยู่ในกรอบเดียวกัน จึงตัดสินได้ว่าร้านไหนคุ้มกว่า แต่ Q3 ไม่ใช่ ถ้าไม่กำหนดว่าจะคุ้มจากมาตรฐานอะไรก็ตัดสินไม่ได้ ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไร คำตอบนั้นง่ายมาก
เอาทั้งสองร้านมาจำกัดด้วยกรอบแบบเดียวกัน
หลักก็คือการคิดเปรียบเทียบว่าอย่างไหนคุ้มกว่า โดยนำทั้งสองร้านมาจำกัดด้วยกรอบแบบเดียวกันเพื่อคำนวณหาอัตราส่วนลดจริง ถ้าเรากำหนดว่า “คุ้มจากมาตรฐานอะไร” อย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นแต้มสะสมหรือคูปองส่วนลด เราก็จะสามารถเปรียบเทียบอัตราส่วนลดที่แท้จริงออกมาเป็นตัวเลขได้
ถ้าจำวิธีคิดอย่างนี้ไปใช้ เราจะไม่หลงกล “ตัวเลขราคาสวย” ที่ร้านค้าให้ดู และจะสามารถตัดสินใจได้อย่างสมเหตุสมผล
ทำให้ตัวเลขเล็กดูใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นป้ายลดราคาของร้านต่าง ๆ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ขายกล้วย ผงโกโก้ที่ขายทางไปรษณีย์ บริการเปลี่ยนงานชื่อดัง หรือป้ายโฆษณาขายเครื่องสำอางหน้าร้าน ทั้งหมดนี้อยู่ในข่ายของสองประโยคข้างต้นทั้งสิ้น
นี่คือเทคนิคที่ทำให้ตัวเลขเล็กดูใหญ่และทำให้ตัวเลขใหญ่ดูเล็ก นั่นคือเปลี่ยนให้เป็น “หน่วย”
คุณอาจจะไม่ได้สังเกตว่าคนเรามักจะดูหรือพูดถึงตัวเลขควบคู่ไปกับหน่วยเสมอ ถ้ามีแค่ตัวเลข “100” อย่างเดียวก็ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร แต่ถ้าใส่หน่วยว่า “100คน” ก็จะเข้าใจความหมายของตัวเลขนั้น
มองในอีกมุมหนึ่ง จริง ๆ แล้ว “หน่วย” ที่อยู่ข้างหลัง “ตัวเลข” ที่คุณเห็นในชีวิตประจำวันมีความสำคัญยิ่งกว่าตัวเลขเสียอีก และถ้าคุณมองหน่วยที่ว่านี้ผิดไปคุณก็จะหลงกลตัวเลขเข้าให้
ถ้าไม่อยากหลงกลตัวเลข ก็จงดู “หน่วย” ก่อนจะดูตัวเลข
นี่เป็นตัวอย่างต้นแบบซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับกรณีแบบนี้ เป็นโฆษณาเครื่องดื่มให้สารอาหารซึ่งแสดงให้เห็นด้วยวิธีเดียวกัน
ทอรีน 1,000 (มิลลิกรัม) = ทอรีน 1 (กรัม)
(รู้สึกใหญ่ ⇔ รู้สึกเล็ก)
พอเปลี่ยนหน่วยแล้วก็ทำให้ตัวเลขเล็กดูเป็นตัวเลขใหญ่ได้ ดังนั้นหากเราสามารถจับจุดหน่วยที่ถูกต้องได้ ก็จะไม่หลงกลตัวเลข ส่วนตัวอย่างด้านล่างนี้เป็นการทำให้ตัวเลขเล็กดูใหญ่ขึ้น โดยอาศัยการเปลี่ยนหน่วยอย่างชำนาญ (ซึ่งใช้เทคนิคอยู่บ้าง)
มะนาว 1 (ลูก) = วิตามินซี 20 (มิลลิกรัม)
(รู้สึกใหญ่ ⇔ รู้สึกเล็ก)
ได้ยินว่าในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มจำกัดนิยามของมะนาว 1 ลูกว่าเท่ากับวิตามินซี 20 มิลลิกรัม โดย 20 มิลลิกรัมนั้นมีน้ำหนักไม่เกินยาเม็ดหรือยาแคปซูลแก้หวัด 1 เม็ด แต่ถ้าได้ยินว่าวิตามินซี 20 มิลลิกรัมจะรู้สึกว่าน้อย แต่ถ้าได้ยินว่าเท่ากับมะนาว 1 ลูกก็จะนึกถึงมะนาวอันแสนเปรี้ยวทั้งลูก และพลอยคิดไปถึงวิตามินซีจำนวนมากแทน เมื่อเราเข้าใจ “หน่วย” ของสินค้าเหล่านี้อย่างถูกต้องแล้ว เราก็จะไม๋โดนหลอกอีกต่อไปนะ
อ่านตัวเลขได้เฉียบขาด ด้วยเทคนิคคิดเลขไว ที่คนไม่เก่งเลขก็ทำได้
ราคา 245 บาท
สั่งซื้อ คลิกที่นี่
บทความอื่นๆ
บริหารจัดการเงินอย่างไร เมื่อต้องสร้างครอบครัว
แบบทดสอบ คุณเป็นคนเก็บเงินเป็นหรือไม่ ฉบับมนุษย์เงินเดือน