Tag Archives: นอนไม่หลับ

วิธีแก้ “เจ็ตแล็ก” อาการสุดฮิตของคนเดินทาง โดย หมอแอมป์ นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ

ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศบ่อย สมองมักมีปัญหาแยกช่วงเวลากลางวันกับกลางคืนไม่ได้ นาฬิกาชีวิตจึงรวนทำให้ร่างกายไม่หลั่งเมลาโทนิน (ฮอร์โมนแห่งการนอน) และฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับซ่อมแซมร่างกายออกมา หรืออาจหลั่งฮอร์โมนออกมาผิดเวลา อย่างที่เราเรียกว่า อาการ เจ็ตแล็ก (jet lag) นั่นเอง   อาการเจ็ตแล็ก เมื่อเกิดอาการ เจ็ตแล็ก จะรู้สึกอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย การนอนหลับผิดปกติ นอนไม่หลับ ความสามารถในการทำงานลดลง ความรุนแรงของอาการนี้แปรผันตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนโซนเวลาที่ต้องบินผ่าน ทิศทางของการบิน โดยเฉลี่ยต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งวันเพื่อปรับตัวให้เข้ากับเวลาที่เปลี่ยนไปหนึ่งชั่วโมง แต่หากเดินทางไปทางทิศตะวันตกจะมีอาการน้อยกว่าเดินทางไปทางทิศตะวันออก ส่วนการเดินทางจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ไม่มีผลต่อการเกิดอาการเจ็ตแล็ก การเดินทางไปทิศตะวันตก เวลาช้ากว่าเวลาที่เราอยู่ในปัจจุบันทำให้เมื่อถึงที่หมายใหม่จะรู้สึกง่วงนอนเร็วกว่าปกติ คือ ง่วงนอนตั้งแต่ช่วงบ่ายไปถึงช่วงเย็นและตื่นนอนเร็วกว่าเวลาปกติ ดังนั้นการรับแสงแดดในช่วงเย็นจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น และปรับเวลาให้สมองสั่งให้รู้สึกง่วงนอนช้าลง ช่วยให้เข้านอนในที่หมายใหม่ได้ดียิ่งขึ้น ส่วนการเดินทางไปทิศตะวันออก เวลาเร็วกว่าเวลาที่เราอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เมื่อถึงเวลาเข้านอนในที่หมายใหม่ เราจึงยังไม่รู้สึกง่วงเลยนอนดึกกว่าปกติ (เมื่อเทียบกับเวลาในที่หมายใหม่) และตื่นสายหรือตื่นนอนยากในตอนเช้า ทั้งนี้การออกไปรับแสงแดดช่วงเช้าในวันต่อมาจะช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น และปรับเวลาให้สมองสั่งให้รู้สึกง่วงนอนเร็วขึ้น     วิธีลดอาการ เจ็ตแล็ก ก่อนการเดินทาง หากเตรียมตัวดี มีเวลาฝึกปรับเวลานอนก่อนเดินทาง ช่วยลดอาการเจ็ตแล็กได้ การเดินทางไปทิศตะวันตก ควรปรับเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้ช้าลงประมาณวันละ 1 ชั่วโมง […]

นอนไม่หลับ เสี่ยงภาวะต่อมหมวกไตล้า

ภาวะต่อมหมวกไตล้าเป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่ง ที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่ม “โรคที่ถูกลืม” เพราะการเจาะเลือดตรวจสุขภาพโดยทั่วไปไม่เพียงพอสำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้ ซึ่งหากเริ่มมีอาการ นอนไม่หลับบ่อยครั้งเข้า ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหมวกไตล้าเช่นกัน   ต่อมหมวกไตคืออะไร ต่อมหมวกไต เป็นต่อมเล็กๆ ที่อยู่บริเวณเหนือไตทั้งสองข้าง มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือด และผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด เช่น คอร์ติซอล ที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นแรง หรืออะดรีนาลีน ที่ถูกผลิตออกมาเมื่อรู้สึกตกใจ โกรธ ตื่นเต้นอย่างรุนแรง ซึ่งถ้าต่อมหมวกไตล้าเมื่อไหร่ จะส่งผลให้นอนไม่หลับ และเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาในอนาคต   ลองสำรวจตัวเองว่าคุณมีความเสียงต่อภาวะ “ต่อมหมวกไตล้า” หรือไม่     หากมีอาการผิดปกติ ที่ตรงกับอาการในตารางเกิน 5 ข้อ แสดงว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะต่อมหมวกไตล้า ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้ดังนี้   นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง และไม่ควรเกิน 10 ชั่วโมง เพราะการนอนมากเกินไปก็ส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น เฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา กินน้อยแต่อ้วนง่าย และเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า รับประทานอาหารเช้าก่อน 10.00 น. (หลัง […]

4 สาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ

ง่วงแต่ นอนไม่หลับ นอนกระสับกระส่าย นอนหลับยาก ชอบตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างไม่รู้สาเหตุ นอนนับแกะก็แล้ว ดูซีรี่ส์สิบตอนรวดก็ไม่หลับสักที บางทีอาการนอนไม่หลับอาจจะมาจากสาเหตุเหล่านี้ รีบแก้ไขให้ทันท่วงทีเพราะการนอนไม่หลับอาจส่งผลร้ายตามมาในอนาคต   มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้เรานอนไม่หลับมีอะไรบ้าง   หยุดหายใจขณะหลับ โรคนี้เกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้ทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบและหยุดหายใจ 10 วินาที หรือมากกว่า ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนลดลง สมองจึงตื่นตัวและสั่งให้ร่างกายหายใจแรงขึ้น มักจะเกิดขณะหลับสิบๆ ครั้ง จึงทำให้ตื่นกลางดึก หลับไม่สนิทนัก และนอนไม่หลับอีกเลย โรคนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ ผู้ป่วยมักจะง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิเรียนหรือทำงาน อารมณ์ไม่แจ่มใส ท้อแท้ เบื่อ และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคอ้วนอีกด้วย   ขากระตุกขณะหลับ จะมีอาการขาหรือแขนกระตุกเป็นพักๆ ตลอดทั้งคืน อาการมักเกิดขึ้นในช่วงครึ่งคืนแรกของการนอน การกระตุกจะเกิดขึ้นนานประมาณ 0.5 – 5 วินาที และเกิดซ้ำทุกๆ 20-40 วินาที หากขยับมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไปต่อชั่วโมง […]

นอนไม่หลับทำไงดี ? พบ 5 เคล็ดลับแก้อาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย

ปัญหา นอนไม่หลับ เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องความเครียด ไม่ว่าจะเป็นเครียดเรื่องเรียน เรื่องงาน หรือเรื่องครอบครัว อาการ นอนไม่หลับ ถ้าเกิดไม่บ่อยก็ไม่ส่งผลกระทบกับร่างกายมากนัก แต่ถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำ ก็อาจจะส่งผลให้เราเกิดปัญหาได้นะ  เช่น เข้านอนตอนสี่ทุ่ม แต่นอนพลิกไปพลิกมาอยู่บนเตียง ตาหลับแต่นอนไม่หลับ ไปหลับจริงๆ ราวตีสาม แถมพอตื่นขึ้นก็รู้สึกว่าไม่สดชื่น ไม่สดใส รู้สึกเหมือนยังไม่ได้นอนจริงๆ  แบบนี้เรียกว่า อาการนอนไม่หลับเริ่มส่งผลกับร่างกายแล้ว ปล่อยไว้นานๆ คงไม่ดีแน่

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า