วิธี “จัดระเบียบความคิด” ที่ช่วยให้คุณทำงานง่ายยิ่งขึ้น

การที่มีไอเดียเยอะๆ เป็นเรื่องที่ดี แต่การที่ไม่สามารถ จัดระเบียบความคิด ได้ต่างหากที่เป็นเรื่องแย่! ยิ่งเรามีเรื่องที่ต้องให้ทำมากเท่าไร เรายิ่งต้องจัดระเบียบมากขึ้นเท่านั้น หลายคนอาจคิดว่าเรื่องการ จัดระเบียบความคิด ยังไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่ไม่ว่าเราจะอยู่ในช่วงวัยเรียน หรือทำงานก็ต่างจำเป็นต้องใช้ทั้งนั้น แม้กระทั่งในชีวิตประจำวันยังเรายังจำเป็นที่ต้องใช้ทักษะนี้เหมือนกัน

มาดูกันว่าการ จัดระเบียบความคิด จะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายขึ้นอย่างไร

 

การจัดระเบียบความคิดจำเป็นสำหรับใคร

            แต่ละช่วงวัย และการทำงานแต่ละอาชีพนั้นก้ต้องใช้ทักษะนี้ เพียงแต่แตกต่างกันออกไป แต่คนที่จำเป็นต้องใช้การจัดระเบียบความคิดมีดังนี้

• วัยรุ่น

ถ้ามีทักษะการจัดระเบียบความคิด จะช่วยในเรื่องความสามารถของการเข้าใจ การจดจำ และการคิดจะดีขึ้นจะทำให้มองเห็นประเด็นสำคัญและภาพรวมได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

 

• นักศึกษาปริญญาตรี โท และนักศึกษาที่เตรียมหางาน

สำหรับนักศึกษาที่กำลังเรียนควรใช้ Bucket List หรือกราฟชีวิตเข้ามาช่วยจัดระเบียบ เวลามีรายงานกลุ่มให้ใช้กระบวนการจัดระเบียบความคิดการพูดต่อหน้าสาธารณชน 5 ขั้นตอนมาช่วย นักศึกษาปริญญาโทสามารถใช้ประโยชน์ของ Digital Map เวลาเขียนวิทยานิพนธ์ และสำหรับนักศึกษาที่หางาน ควรเตรียมข้อมูลและจัดระเบียบความคิดเกี่ยวกับบริษัทและวิสัยทัศน์ตัวเองให้ดี

 

• พนักงานบริษัท ผู้ก่อตั้งบริษัท

การวางแผนถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบริษัท ดังนั้นต้องใช้ทักษะในการจัดระเบียบความคิดตอนทำแผนงาน รวมทั้งตอนขายสินค้า และถ้าอยากยกระดับผลงานให้ดีขึ้นต้องใช้การจัดระเบียบความคิด และยิ่งอยากก่อตั้งธุรกิจของตัวเองยิ่งต้องการทักษะการจัดระเบียบความคิดมากขึ้น

 

• หนุ่มสาว แม่บ้าน

เมื่อพูดถึงความรักของหนุ่มสาวก็ต้องใช้ทักษะนี้เหมือนกัน จำเป็นต้องเข้าใจฝ่ายตรงข้าม เอาใจเขามาใส่ใจเราและจัดระเบียบให้ได้เพื่อที่จะกันเรื่องทะเลาะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ กัน และสำหรับแม่บ้านยิ่งจำเป็นเพราะต้องวางแผนให้ดีว่าจะทำอะไรก่อนหลัง

 

• ผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับผู้เชี่ยวชาญจำเป็นต้องจัดระเบียบความรู้และข้อมูลให้ดีเพื่อยกระดับความเชี่ยวชาญของตัวเองที่ต้องนำข้อมูลความรู้ออกสู่สาธารณะ เช่น นักเขียนที่เขียนหนังสือ นักบรรยาย นักวางแผนนำเสนอไอเดีย

 

 

อะไรคือ Mandala Art

          เคยมีความรู้สึกว่าเวลาจะตัดสินใจอะไรสักอย่างมันทำให้เรารู้สึกลังเลและลำบากใจไหม ให้ลองนำ Mandala Art มาใช้ในการช่วยตัดสินใจ วาดสี่เหลี่ยมทั้งหมด 9 ช่อง ใส่หัวข้อตรงกลางและเขียนหัวข้อหลักลงไปใน 8 ช่องที่เหลือ และใส่เนื้อหาปลีกย่อยของ 8 ช่องที่ล้อมรอบแต่ละหัวข้อเอาไว้ เช่น หิวจะกินอะไรดี เมื่อเราเลือกไปที่ข้อ 1 ที่เป็นไก่ทอด ให้ตัดทิ้ง และมาเลือกหัวข้อย่อยของไก่ทอดแทน

นอกจากนี้เรายังใช้กับการทำงาน การเรียน และชีวิตประจำวันได้อีกด้วย แล้วจะใช้เมื่อไหร่ดี? ให้เราลองเขียนออกมาและเหตุผลใส่ลงไปดู เพียงแค่นี้ก็ได้ใช้แล้ว

 

 

วิธีเขียนแผนงานในหน้าเดียว

          บางคนคิดว่าการที่ต้องเขียนแผนงานนั้นยิ่งเยอะยิ่งดี แต่ความจริงแล้วการเขียนแผนงานไม่ใช่การเขียนไม่ใช่เขียนให้เพื่อเข้าใจ แต่ต้องทำให้เข้าใจและชัดเจนตั้งแต่แรกแล้วต่างหาก และเป็นวิธีที่ใช้กับการเขียนแผนงานในหน้าเดียวอีกด้วย สิ่งแรกที่ควรทำคือ สร้างกรอบความคิดลงไปในกระดาษแผ่นเดียว และหัวข้อที่จำเป็นคือ

          • หัวข้อของแผนงาน

          • เนื้อหาสำคัญที่อยากพูดสั้นๆ

          • ทำไมถึงวางแผนงานนี้

          • คาดหวังอะไรจากงานนี้

          • เป้าหมายของงานนี้คืออะไร

          • งบประมาณที่แน่ชัดอยู่ที่เท่าไหร่

          • ผลประโยชน์ของงานนี้คืออะไร

          • จะดำเนินงานอย่างไร

เพียงแค่นี้ก็สามารถวางแผนงานที่ทุกคนเข้าใจได้ง่ายและชัดเจนด้วยกระดาษ 1 แผ่นแล้ว

 

การอ่านก่อนการอ่าน

          การอ่านก่อนการอ่านนั้นคือขั้นตอนที่จะ “สร้างถ้วยความจำไว้ใส่เนื้อหา”

ขั้นแรก ถ้าเราอยากจดจำเนื้อหาในหนังสือไปนานๆ จะต้องทำความเข้าใจชื่อหนังสือก่อน ให้ลองกลับไปอ่านและตั้งคำถามเกี่ยวกับชื่อหนังสือและอนุมานคำตอบ เมื่อคิดเสร็จให้ขีดคำตอบไว้ข้างๆ คำโปรยที่อยู่บนหน้าปกช่วยให้เราคาดเดาได้ว่าหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงอะไร

ขั้นที่สอง ให้เรามาดูที่ประวัติผู้เขียน บางคนสงสัยว่าทำไมต้องเปิดอ่าน แต่ถ้าเรารู้จักผู้เขียน เราก็จะเข้าใจหนังสือไปด้วย และคาดเดาภาพรวมของหนังสือได้ เช่น หนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาสองเล่มที่ชื่อต่างกัน ถึงจะแนวจิตวิทยาเหมือนกันแต่คนเขียนที่ต่างวัย ต่างประสบการณ์จะอธิบายต่างกันออกไป

ขั้นที่สาม อ่านคำนำของหนังสือ เพราะแค่การอ่านคำนำก็ช่วยให้เราเห็นภาพรวมของหนังสือได้ว่าหนังสือเล่มนี้พูดถึงเรื่องอะไร

แค่เรารู้จักการอ่านก่อนอ่าน ก็เท่ากับอ่านหนังสือไปครึ่งเล่มแล้ว

 

การพูดเริ่มต้นจากการจัดระเบียบความคิด

          ต่อให้เราเตรียมเนื้อหามาดีขนาดไหน ไม่ว่าในเนื้อหาจะยอดเยี่ยมเพียงใด แต่ถ้าเราจัดระเบียบความคิดที่จะพูดต่อหน้าคนอื่นไม่ดีก็สามารถพังและออกมาไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็นได้เช่นกัน และถ้าขาดใจความหลักที่ต้องการจะสื่อก็เหมือนเสียงสะท้อนที่ไร้ความหมาย

            ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ “เราต้องหาคำคำหนึ่งที่เราอยากพูดให้เจอ” สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือ ข้อความหลัก ที่เราต้องการจะสื่อออกไป เพราะถ้าเราสื่อออกไปไม่ชัดเจนพอก็ไม่มีความหมาย

 

การเขียนไดอะรี่

          ในช่วงต้นปีเป้าหมายของใครหลายๆ คนคือการอยากเขียนไดอะรี่ ข้อดีของไดอะรี่คือ ช่วยให้เราได้คุยกับตัวเอง ช่วยเลือกเส้นทางชีวิต ช่วยสร้างฝันของเราและเป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดระเบียบความคิดได้อีกด้วย แต่ปัญหาหลักๆ คือ เรามักจะเลิกเขียนกลางคัน เพราะ ขี้เกียจบ้าง ไม่รู้วาจะเขียนไปทำไมบ้าง

            ข้อหนึ่ง การเขียนไดอะรี่นั้นเราสามารถเขียนในสมุดหรือลงในอุปกรณ์ดิจิทัลได้เหมือนกัน แต่ให้ดูว่าเราสามารถเก็บรักษาได้นานและเปิดดูเมื่อไหร่ก็ได้หรือเปล่า

            ข้อสอง เราไม่จำเป็นต้องยึดติดว่าจะต้องเขียนให้ดี แนะนำให้เขียนไปเลย การเขียนไดอารี่ไม่ใช่วรรณกรรม เวลาเขียนให้จำแค่ว่า “เนื้อหาเป็นเรื่องจริงหรือไม่” เช่น เขียนเก็บความทรงจำในอดีต และนอกจากนี้เรายังสามารถเขียนความฝันของเราในอนาคตและตั้งเป้าหมายในชีวิตได้อีกด้วย

            ข้อสาม ใส่ เนื้อหา สถานที่ เวลา ให้ชัดเจน เพราะสิ่งนี้จะช่วยเป็นบรรทัดฐานว่าตัวเราพัฒนาไปไกลแค่ไหนแล้ว ถ้าเราไม่บันทึกเวลาเราจะไม่เห็นการเติบโตทางความคิดของตัวเอง และจะช่วยให้เรามองเห็นร่องรอยการพูดคุยกับตัวเองในอดีตได้อีกด้วย และการบันทึกสถานที่จะยิ่งให้เราจดจำช่วงเวลานั้นได้นานขึ้น

            ข้อสี่ ควรเขียนแต่คำพูดในแง่บวก แต่เมื่อเราเจอกับสถานการณ์แง่ลบมา ให้บันทึกเนื้อหาแง่บวกต่อไปเลย เช่น เหนื่อยจัง เป็น ตอนนี้เหนื่อย แต่เราจะผ่านมันไปให้ได้ เมื่อคิดในแง่บวก พฤติกรรมและผลลัพธ์ก็จะแง่บวกตาม

 

ข้อมูลจากหนังสือ ทุกอย่างในชีวิต เริ่มจากความคิดที่เป็นระเบียบ

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ 

3 เทคนิคการจัดระเบียบความคิด เพื่อชีวิตที่เป็นระบบ

วิธีจัดระเบียบสมองและจิตใจแบบง่ายๆ ฝึกสมองให้มองแต่ความสุข

วิธีสร้างความสุขในชีวิต ด้วยการควบคุมสมองให้คิดบวก

วิธีสร้างความสุขในชีวิต ด้วยการควบคุมสมองให้คิดบวก

เทคนิคการระดมสมอง (Brainstorm) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด!

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า