Black Mirror เป็นซีรี่ส์ sci-fi สัญชาติอังกฤษที่กำลังโด่งดังทาง Netflix ปัจจุบันมี 4 ซีซั่น นำเสนอแง่มุมที่เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยี ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เราต้องพบเจอในอนาคตอันใกล้นี้
Black Mirror
Black Mirror ได้รับแรงบันดาลใจจากรายการรวมเรื่องสมัยเก่าอย่างเดอะ ทไวไลท์โซน ซึ่งกล่าวถึงหัวข้อร่วมสมัยที่เป็นที่ถกเถียงกันในสังคมได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะโดยเซนเซอร์ เนื้อหาของแต่ละตอนจะเป็นเอกเทศต่อกัน และแม้โทนหลักกล่าวถึงผลกระทบจากเทคโนโลยี แต่จะมีครบรสทั้งดราม่า ระทึกขวัญ และโรแมนติก
ซีรี่ส์ชุดนี้ได้รับคำวิจารณ์ในทางบวกและได้รับความสนใจไปทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา Black Mirror ได้รับรางวัล Outstanding Television Movie และบรุกเกอร์ได้รับรางวัล Outstanding Writing for a Limited Series, Movie, or Dramatic Special จาก Primetime Emmy Awards อีกด้วย
ภาพประกอบจาก www.independent.co.uk
ความพิเศษของ Black Mirror คือมันภาพสะท้อนอนาคตอันใกล้ที่คนดูเชื่อว่าจะเป็นจริงได้ ดังที่ เคลาส์ ชวาบ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารสภาเศรษฐกิจโลกได้กล่าวไว้ในหนังสือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (The Fourth Industrial Revolution) ว่า
“นิยายวิทยาศาสตร์เมื่อวันวานคือความจริงในวันนี้ที่พบได้ในผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ซึ่งเรานึกภาพไม่ออกว่าชีวิตจะขาดไปได้อย่างไร”
เคลาส์ กล่าวว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เกิดขึ้นแล้ว อยู่กับเราแล้ว มันไม่เพียงช่วยให้เรามีความสามารถใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต การทำงาน และการมีปฏิสัมพันธ์ของเรากับคนอื่นๆ การปฎิวัติครั้งนี้รวดเร็วยิ่ง เพราะเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าและมีความสามารถมากยิ่งขึ้นต่อไปเรื่อยๆ
แต่หากเรามองถึงเรื่องตัวตน ศีลธรรม และจริยธรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้กำลังผลักเราไปสู่ชายขอบใหม่ของจริยธรรม เช่นคำถามที่ว่าเราควรใช้ความก้าวหน้าทางชีววิทยาเพื่อรักษาโรคและซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บเท่านั้น หรือควรนำไปทำให้เราเป็นมนุษย์ที่ดีขึ้นด้วย ถ้าเรายอมรับข้อหลัง เราก็เสี่ยงที่จะเปลี่ยนให้การเป็นพ่อแม่กลายเป็นส่วนต่อขยายของสังคมบริโภคที่ลูกหลานของเราอาจกลายเป็นสินค้าหรือสิ่งของที่สั่งได้ตามใจปรารถนา
“Arkangel” ซึ่งเป็นตอนหนึ่งใน Black Mirror สะท้อนข้อความดังกล่าวไว้เป็นอย่างดี
Arkangel กล่าวถึง Marie แม่ที่ต้องเลี้ยงดู Sara ลูกสาวคนเดียวเพียงลำพัง วันหนึ่งขณะที่เธอพา Sara วัย 3 ขวบออกไปเล่นนอกบ้าน อยู่ๆ Sara ก็หายตัวไป ซึ่งกว่าจะหาเจอก็เล่นเอา Marie สติแทบแตก หลังจากนั้นเธอจึงพา Sara ไปติดตั้งโปรแกรมที่ชื่อว่า “Arkangel” โดยเป็นการฝังชิบเข้าไปในขมับของลูกและฝังอยู่แบบนั้นไปตลอดชีวิต
ภาพประกอบจาก www.mirror.co.uk
โปรแกรม Arkangel เหมือนการติดตั้ง GPS ไว้กับตัว ทำให้เธอสามารถเฝ้าดูลูกได้ตลอดเวลาผ่านแท็บเล็ต แต่ที่พิเศษกว่า GPS ทั่วไปคือ เธอสามารถมองเห็นสิ่งเดียวกับที่ลูกได้เห็นทุกอย่างแบบ real time ซึ่งหากลูกเห็นหรือได้ดูอะไรที่ก่อให้เกิดความเครียดหรือกลัว อันเป็นผลทำให้ฮอร์โทมนคอร์ติซอลในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น แท็บเล็ตนี้ก็จะส่งสัญญาณเตือนให้เธอรู้ทันที และเธอก็สามารถเปิดโหมดฟิลเตอร์เพื่อเบลอสิ่งเร้าที่ทำให้คอร์ติซอลของลูกเพิ่มสูงขึ้นได้ (ภาพจะเหมือนเวลาเราดูฉากที่ถูกเซ็นเซอร์)
แน่นอนว่าวัยเด็กของ Sara ต้องแตกต่างจากวัยเด็กคนอื่นทั่วๆ ไป ไม่เคยแม้แต่จะเห็นเจ้าสุนัขที่เห่าเธอทุกครั้งที่เดินผ่าน และเลือดจริงๆ สักหยด วันหนึ่ง Sara ใช้ดินสอจิ้มที่นิ้วตัวเองเพราะอยากเห็นเลือดจริงๆ และนับตั้งแต่นั้น Marie จึงตัดสินใจปิดโหมดฟิลเตอร์และสัญญากับตัวเองและ Sara ว่าจะเลิกใช้โปรแกรม Arkangel นี้ไปตลอดกาล แต่เมื่อเวลาผ่านไป เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อเธอคิดว่าลูกสาวของเธอหายตัวไป เธอจึงตัดสินใจเปิดโปรแกรม Arkangel ขึ้นมาใช้อีกครั้งหนึ่ง และโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เกิดจึงเกิดขึ้น
ซึ่งอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า โปรแกรม Arkangel ที่ว่านี้ ต้องเกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน
ภาพประกอบจาก www.independent.co.uk
หากจะกล่าวถึง Arkangel ในมุมมองทางจริยธรรม รายงานการสำรวจที่ชื่อ การเปลี่ยนแปลงอันลึกล้ำ-จุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีและผลกระทบต่อสังคม เป็นการสำรวจผู้บริหารถึง 800 คน กล่าวไว้ว่า
(หน้า145) ในการเปลี่ยนแปลงที่ 1 เรื่องเทคโนโลยีฝังกาย มีผู้ตอบแบบสอบถามถึงร้อยละ 82 ที่คาดว่าไม่เกิน 10 ปีข้างหน้าเทคโนโลยีฝังกายนี้จะเกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน ซึ่งผลกระทบทางบวกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดเจนคือ จำนวนเด็กหายลดลง แต่ผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นก็คือความเป็นส่วนตัวลดลง และความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดการสอดส่องพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ในแง่ส่วนบุคคลผลกระทบที่เกิดขึ้นคือการหนีความจริงและการเสพติด
ในทศวรรษข้างหน้า เทคโนโลยีต่างๆ ที่ขับเคลื่อนการปฏิวัติอุตสากรรมครั้งที่ 4 จะสร้างความเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากแก่โครงสร้างทั้งหมดของเศรษฐกิจโลก ชุมชนของเรา และตัวตนของมนุษย์ ในขณะที่ความไม่แน่นอนอย่างยิ่งที่เกิดพร้อมกับการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านั้นหมายความว่ายังไม่มีใครรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร เทคโนโลยีไม่ใช่พลังงานจากภายนอกที่เราไม่อาจควบคุม เราไม่ได้ถูกบีบให้เลือกระหว่างตัวเลือกสองข้อ คือ “ยอมรับและอยู่ร่วม” และ “ปฏิเสธและอยู่โดยไม่มี” แต่เราควรถือว่าการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีครั้งใหญ่นี้เป็นคำเชิญให้เราทบทวนว่าเราเป็นใครและมองโลกอย่างไร
การควบคุมให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ทำหน้าที่เสริมพลังโดยให้ความสำคัญกับมนุษย์ แทนที่จะแบ่งแยกและทำลายความเป็นมนุษย์
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้จะส่งผลกระทบและได้รับอิทธิพลจากทุกประเทศ ทุกระบบเศรษฐกิจ ทุกภาคส่วน และทุกคน อยู่ที่ว่าเราจะปรับ ปั้น และใช้ประโยชน์จากศักยภาพของการกลายเปลี่ยนครั้งใหญ่นี้ให้ดีที่สุดได้อย่างไร
เตรียมความพร้อมเข้าสู่ การปฏิวัติอุสาหกรรมครั้งที่ 4
ได้ในหนังสือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
บทความอื่นๆ
10 เทคโนโลยีพลิกอุตสาหกรรม งาน และชีวิตยุค 4IR
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ : เมื่อ AI กำลังจะแย่งงานของคุณ
Pingback: 10 เทคโนโลยีพลิกอุตสาหกรรม งาน และชีวิตในยุค 4IR
Pingback: การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่สี่ : เมื่อ AI กำลังจะแย่งงานของคุณ
Pingback: การ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่สี่ : เมื่อ AI กำลังจะแย่งงานของคุณ
Pingback: ปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่สี่ : เมื่อ AI กำลังจะแย่งงานของคุณ
Pingback: การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 : เมื่อ AI กำลังจะแย่งงานของคุณ