การลดความสะเพร่าจำเป็นต้องใช้เวลา แต่ก็ใช่ว่าจะร่นระยะเวลานั้นให้สั้นลงไม่ได้เลย วิธีจัดการปัญหาที่ดีที่สุดคือ วิเคราะห์แนวโน้มว่า “มักทำพลาดในจุดใด” และคิดหามาตรการรับมือว่า “ควรเพิ่มความระมัดระวังจุดใดบ้าง” ลองใช้วิธีเขียนแนวโน้มความผิดพลาดและวิธีแก้ไขลงบนกระดาษโน้ต เราไปดูเทคนิค “ใช้กระดาษโน้ตลดความสะเพร่าด้วยการบันทึกจุดผิดแบบเห็นผล” กันเลย 1. หยิบกระดาษคำตอบข้อสอบเก่ามาค้นหาจุดผิดพลาดจากความสะเพร่า ขอยกตัวอย่างความสะเพร่าของการทำข้อสอบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น หลายคนได้กระดาษคำตอบข้อสอบกลับมาไม่เคยเก็บไว้ ดังนั้นนับจากนี้ขอแนะนำให้เก็บเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นสอบย่อยหรือสอบใหญ่อย่างน้อยที่สุดหนึ่งปี เนื่องจากข้อสอบเก่าเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขจุดผิดพลาด สิ่งที่ต้องทำหลังจากรวบรวมกระดาษคำตอบได้มากสุดเท่าที่หาได้แล้วก็คือ การระบุจุดผิดจากความสะเพร่า จากนั้นใส่เครื่องหมายด้วยการเขียนตัวเลขกำกับที่โจทย์คำถามซึ่งคิดว่า “ผิดเพราะสะเพร่า” ผิดเพราะสะเพร่า หมายถึง “ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการขาดความระมัดระวัง (สะเพร่า)” เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ควรจำให้ขึ้นใจ เนื่องจากบางคนอาจเหมารวมคำว่า “ผิดอย่างน่าเสียดาย” ทั้งหมดมาอยู่ในกลุ่มผิดเพราะสะเพร่า ซึ่งจริงๆ แล้วถือว่าไม่ถูกต้อง “รู้ว่าคำตอบคืออะไร (ตอบถูกเสมอ) แต่กลับผิดเพราะขาดความระมัดระวัง…” ต่างหาก ที่เข้าข่ายผิดเพราะสะเพร่า 2. รวมคะแนนที่พลาดจากผิดเพราะสะเพร่าเพื่อหา “คะแนนที่ควรได้” รวมคะแนนของจุดที่ผิดเพราะความสะเพร่า นำมาบวกเพื่อตรวจสอบว่า “หากไม่ทำผิดเพราะความสะเพร่าจะได้คะแนนเท่าไร” การให้เด็กซึ่ง “ผิดเพราะสะเพร่าค่อนข้างมาก” ได้เห็นคะแนนของตัวเองชัด ๆ จะช่วยให้ตระหนักว่า “ถ้ารู้ว่าจะได้คะแนนเพิ่มขนาดนี้ ตั้งใจให้มากขึ้นเพื่อจะได้ไม่ทำพลาดเสียก็ดี!” ผู้มีเวลาน้อยสามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้ แต่หากเพิ่งเคยเขียน “จดจุดพลาด” ควรลองคำนวณดูสักครั้ง ยิ่งถ้าเป็นคนที่คะแนนลดลง […]
Tag Archives: กระดาษโน้ต
“การอ่านผ่านตา” ไม่มีทางช่วยให้อ่านหนังสือหรือตำราเรียนดีขึ้น การอ่านพร้อมกับเขียนสิ่งที่ตัวเองคิดกำกับเอาไว้ ถึงจะนำไปสู่การฝึกฝนทักษะการตีความ และพลังความคิดได้ “กระดาษโน้ต” จึงเข้ามามีบทบาท ในการเขียนบันทึกลงบนกระดาษโน้ตแล้วติดลงบนหนังสือหรือตำราเรียน นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้หน้าหนังสือสกปรกแล้ว ยังดูสะดุดตาน่าอ่านมากขึ้นด้วย เราไปดู “วิธีบันทึกการอ่านด้วยกระดาษโน้ต เพื่อให้เป็นคน Input เก่งขึ้น!” พร้อมกัน อ่านพร้อมคิดตามว่า “ต้องกลับมาทบทวนเรื่องใด” การอ่านหนังสือหรือตำราเรียนแตกต่างจากการอ่านนิยายและหนังสือที่สนใจ ดังนั้นอ่านแค่ครั้งเดียวแทบไม่มีประโยชน์ ถ้าอยากจดจำเนื้อหาให้แม่นยำจริง ๆ ควรอ่านทวนสัก 3 รอบ เคล็ดลับสำคัญคือ “ไม่อ่านนาน ๆ รวดเดียวจนจบ แต่ให้แบ่งอ่านทีละน้อย” รอบแรกที่หยิบหนังสือหรือตำราเรียนขึ้นมาอ่าน อย่าลืมคิดตามด้วยว่า “ต่อไปควรทบทวนเรื่องอะไร” เพราะการเตรียมเรื่องที่ต้องทบทวนเอาไว้ล่วหน้า เป็นก้าวแรกสู่การพัฒนาศักยภาพการเรียนและการทำงาน ติดกระดาษโน้ตบนจุดที่ต้องการทบทวน เวลาติดกระดาษโน้ต อย่าลืมเขียนกำกับไว้ด้วยว่า “ติดเพราะเหตุใด” พูดอีกอย่างหนึ่งคือ จดบันทึกความประทับใจและสิ่งที่ตนคิดเสมอระหว่างการอ่านแล้วติดเอาไว้ในหน้านั้น ๆ หากไม่ทำเช่นนี้ ตอนย้อนกลับมาอ่านอาจงงว่า “ติดกระดาษโน้ตไว้ตรงนี้ทำไม” สำหรับคนที่ชอบจดลงบนหน้ากระดาษโดยตรง เพราะไม่ต้องการให้มีอะไรมาบดบังบรรทัดอักษร ลองใช้กระดาษโน้ตแบบฟิล์มใส ซึ่งติดแล้วยังมองเห็นตัวหนังสือที่อยู่ใต้กระดาษโน้ต การระบุวันที่บนกระดาษโน้ต เช่น “จะทบทวนเมื่อไร” เป็นกลเม็ดสำหรับย้ำเตือนให้รู้ว่าต้องทบทวนซ้ำเนื่องจากเนื้อหาของสิ่งที่จดจำได้ในการอ่านครั้งแรกถือเป็นความทรงจำระยะสั้น หรือความทรงจำที่ลืมได้ง่าย การเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้นให้เป็น […]