อาชีพฟรีแลนซ์ จะทำอะไรก็ได้ ไม่ผูกมัดด้วยองค์กร จะทำที่ไหนก็ได้ ในบ้าน ในห้าง ร้านกาแฟ ไม่มีใครมากำหนดเครื่องแต่งกาย แถมไม่ต้องมีปัญหาปวดหัวกับเพื่อนร่วมงาน
คนที่ทำงานอยู่ตัวมาสักระยะหนึ่ง หรือรู้สึกเบื่อกับการเดินทางไปทำงานในแต่ละวัน เบื่อเพื่อนร่วมงาน เบื่องานซ้ำซาก ก็เริ่มที่จะหันเหไปทำอาชีพฟรีแลนซ์เป็นจำนวนมาก มีเพียงตัวเองเท่านั้นที่ได้กำหนดสิ่งที่อยากทำ รับงานเป็นจ็อบ เสร็จงานก็รับเงินเป็นอันจบ
ในความเป็นจริงแล้ว อาชีพฟรีแลนซ์ มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด
ลองมาดูกันว่า ก่อนที่จะตัดสินใจลาออกจากงานไปเป็นฟรีแลนซ์ คุณเตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง
เวลาสำคัญกว่าเงิน
หลายคนมาเป็นฟรีแลนซ์เพราะได้เงินเยอะกว่าทำงานประจำ เลยกระหน่ำทำงานแบบไม่หยุดหย่อน จนแทบจะไม่ได้พักผ่อน ไม่มีเวลาให้ครอบครัวเลยทีเดียว จำไว้ว่า ถึงฟรีแลนซ์จะเป็นอาชีพที่หาเงินได้เยอะ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เราต่างมุ่งหวังสภาพ “มีงานที่อยากทำเข้ามาไม่ขาดสาย มีเงินใช้พอเก็บสบาย และมีเวลา” ความเป็นจริงคุณทำแต่งานจนไม่มีเวลา
เงินสามารถหาทีหลังได้ แต่เวลาหาไม่ได้ การใช้เวลาสละเวลาเพื่อทำให้ความกังวลเรื่องเงินไม่พอใช้หายไป เรียกว่าเป็นวิธีที่ดีไม่ได้หรอก ต่อให้ทำสำเร็จก็คงเรียกว่าเป็นชีวิตที่สนุกไม่ได้เช่นกัน
คนเราไม่ค่อยมีคนคิดว่า “ถ้าทำงานเยอะกว่านี้ก็คงดีสิ” ก่อนตายหรอก มีแต่คิดว่า “ถ้าใช้เวลาอยู่กับครอบครัวให้มากกว่านี้ก็ดีสิ” หรือ “ถ้าไปเที่ยวเยอะกว่านี้ก็ดีสิ” คนที่มาเสียใจกับการทำงานหาเงินนั้นแทบจะไม่มีเลย
เขียนงานที่ไม่อยากทำเอาไว้
การปฏิเสธงานเป็นเรื่องที่ลำบากใจโดยเฉพาะกับฟรีแลนซ์น้องใหม่ หากเราเงียบซะแล้วทำงานตรงหน้าไปก็จะได้รับเงินตามที่ตกลงกันไว้ แต่ก็คงเหมือนการหักหลังตัวเอง การรักษากฎที่ตัวเองกำหนดให้แน่วแน่ ไม่หักหลังตัวเอง และรักษาความต้องการภายในของตัวเองเอาไว้เป็นสิ่งสำคัญ
เวลาปฏิเสธให้บอกไปว่า “ผมน่าจะทำประโยชน์ให้ไม่ได้” จะเป็นการพูดแบบประนีประนอมมากว่าพูดไปตรงๆ ว่า “ไม่ตรงกับจุดยืนของผม” หรือ “เงื่อนไขไม่ตรงใจ”
กล้าปฏิเสธงาน
ฟรีแลนซ์น้องใหม่มักจะหางานมากองที่ตัวเองเยอะๆ เพื่อหาคอนเนคชั่นเพิ่ม การรับงานมาทำเองทั้งหมด ถึงจะมีเวลามากแค่ไหนก็ไม่พออย่างแน่นอน และเมื่อทำงานจนเข้าที่ก็ไม่ยื่นมือไปหาสิ่งใหม่ๆ อีก
สิ่งที่น่ากลัวคือความมั่นใจผิดๆ หากมั่นใจผิดไป คุณภาพงานจะต่ำลง ความพอใจของลูกค้าก็ต่ำลงด้วย แล้วงานก็จะค่อยๆ หดหายไปตามกาลเวลาช้าๆ พวกเขาไม่รีรอที่จะจ้างฟรีแลนซ์คนอื่นที่คุณภาพงานดีกว่าเดิมอย่างแน่นอน เมื่อลูกค้าเริ่มติดใจฟรีแลนซ์คนใหม่เมื่อไหร่ คุณก็จะกลายเป็นผู้ที่ถูกลืม เว้นเสียว่า จะมีงานเร่งมากๆ ที่ต้องกระจายงานออกไปให้หลายๆ คน คุณถึงจะมีตัวตนขึ้นมาอีกครั้ง
สำหรับฟรีแลนซ์แล้ว ไม่ใช่ว่า “ต้องรับงานทุกอย่างให้เต็มที่ไว้กับตัว” แต่แนวทางที่ว่า “หากตั้งใจจะรับแต่งานแบบเดิมๆ ก็อยู่ได้หรอก แต่สุดท้ายเราก็เลือกจะกล้าปฏิเสธงาน ลองท้าทายกับงานใหม่ หรือเตรียมตัวรับความเสี่ยงต่างๆ ให้พร้อมดีกว่า” ต่างหาก คืออุดมคติขั้นสูงของฟรีแลนซ์
แค่ทำงานให้เสร็จเฉยๆ ย่อมมองไม่เห็นอนาคต
หากมีงานเข้ามาย่อมมีกิน แต่เราจะตั้งเป้าหมายเป็น “แค่ทำงานให้มีกินไปวันๆ ” ไม่ได้เด็ดขาด เรื่องงานและงานต้องแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
A : ได้รับเงินมาก และเป็นงานที่อยากทำ
B: ได้รับเงินมาก แต่เป็นงานที่ไม่อยากทำ
C: ได้รับเงินน้อย แต่เป็นงานที่อยากทำ
D: ได้รับเงินน้อย และเป็นงานที่ไม่อยากทำ
แน่นอนว่างานในอุดมคติต้องเป็นงาน A ส่วนงาน D ตัดทิ้งไปได้เลย แต่งาน B ซึ่งเรามักจะเลือกเวลากังวลเรื่องเงินทองว่าควรทำหรือไม่ เป็นเรื่องที่ทำให้กลุ้มใจ อีกด้านหนึ่งคืองาน C ก็เลือกยากเช่นกัน
เมื่อต้องรับงานเอง แม้ตั้งเป้าหมายที่งาน A แต่กลับกลายเป็นต้องทำงาน B เสียได้ ทำให้งาน D เองก็เพิ่มตามไปด้วยอีกต่างหาก แม้จะได้งานแต่กลับดีใจอย่างจริงใจไม่ลง ทั้งนี้เพราะกลายเป็นสภาพที่เรากลัวไม่มีกิน จึงก้มหน้าก้มตาทำงานที่ไม่ชอบ งานค่าตอบแทนต่ำ งานใช้เวลามากเกินไปยังไงล่ะ
หาก “รายได้ไม่มั่งคง แถมงานไม่สนุก” การเป็นฟรีแลนซ์ก็ไม่มีความหมายอะไรเลย
ข้อมูลจากหนังสือ ว่างงานแต่ไม่ว่างเงิน
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
วิธีแก้ปัญหาในการทำงาน จากโนโบรุ โคยามา CEO ชื่อดังในประเทศญี่ปุ่น
เทคนิคทำงานเร็ว ทันเดดไลน์ ไม่มีงานค้าง!
เทคนิคบริหารเสน่ห์ ให้การทำงานราบรื่น
เทคนิคบริหารเวลา แบบคนรวยที่ทำงานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
4 ลักษณะของ พนักงานที่ดี ที่องค์กรชั้นนำทั่วประเทศอยากได้
7 เทคนิคพรีเซ้นต์งานให้ปัง ที่พนักงานมืออาชีพทุกคนต้องรู้!
5 วิธี สู่การทำงานแบบมืออาชีพ (Professional)
4 คำถามเช็กว่าคุณอยากทำงานนี้จริงหรือเปล่า ก่อนที่จะคิดเปลี่ยนงาน