เกริ่นอย่างนี้คงไม่ถูกต้องเสียทีเดียวนัก เพราะคงเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะมีใครไม่รู้จักผู้ชายคนนี้ แม้เขาจะไม่มีตัวตนจริง แต่ชื่อเสียงของชายผู้นี้ก็โด่งดังมากพอให้พูดได้ว่า “เชอร์ล็อก โฮล์มส์ คือชายผู้ไม่มีตัวตนจริงๆ แต่ก็เป็นยอดนักสืบที่โด่งดังมากที่สุดคนหนึ่งอย่างแท้จริงในประวัติศาสตร์โลก”
ใช่ โลกเรามีคนรู้จักและรักเชอร์ล็อก โฮล์มส์ เยอะมาก แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่เพียงคุ้นเคยได้ยินชื่อ ซึ่งในจำนวนนั้นย่อมมีคนที่อาจไม่รู้ลึกหรือรู้สึกใดๆ กับนักสืบผู้นี้นัก ถ้าเช่นนั้นเราขออนุญาตพาคุณเข้าใกล้ชายชื่อก้องผู้นี้เข้าไปอีกระดับ เป็นระดับที่รับรองได้ว่า แม้คุณจะไม่เคยอ่านหนังสือที่ถ่ายทอดเรื่องราวของเขาสักเล่ม ไม่แม้แต่จะเคยดูละคร ภาพยนตร์ หรืออื่นใดที่มีเขาเป็นตัวละครหลักแม้เพียงสักครั้งก็เถอะ ข้อมูลชุดนี้อาจทำให้คุณอยากรู้จักเขามากขึ้นจนอดไม่ได้ต้องไปควานคว้าไล่หามาละเลียดเรียนรู้อย่างแน่นอน
ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ขอเสียงปรบมือให้กับเขา…เชอร์ล็อก โฮล์มส์
1.ผู้ให้กำเนิดเชอร์ล็อก โฮล์มส์
ชายผู้ให้กำเนิด เชอร์ล็อก โฮล์มส์คือ เซอร์อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนันดอยล์ เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ.1859 ในเมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์ แห่งสหราชอาณาจักรโคนัน ดอยล์ มีอาชีพหลักเป็นแพทย์เรื่อยมาตั้งแต่จบการศึกษา และเลิกอาชีพนี้ไปทำงานด้านวรรณกรรมในปี ค.ศ. 1891 ก่อนจะกลายมาเป็นนักเขียนเต็มตัว โดยเรื่องส่วนใหญ่ที่เขาเขียนนั้นเป็นนวนิยายประวัติศาสตร์และนวนิยายรหัสคดี ซึ่งในช่วงเริ่มเขียนหนังสือ เขาเคยกล่าวว่า
“การเริ่มต้นชีวิตโดยมีหนังสือที่ดีจริง ๆ ไม่กี่เล่มเป็นของตัวเองนั้นเป็นเรื่องเยี่ยมยอด”
2.แรงบันดาลใจในการสร้าง เชอร์ล็อก โฮล์มส์
โคนัน ดอยล์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้าง เชอร์ล็อก โฮล์มส์ มาจากนายแพทย์ผู้หนึ่ง คือ นายแพทย์โจเซฟ เบลล์ ระหว่างที่เขาเป็นแพทย์ฝึกงานที่โรงพยาบาลเอดินบะระรอยัลนายแพทย์อาวุโสผู้นี้สามารถระบุอาการและโรคของคนไข้ได้ทันทีเพียงจากการสังเกตสภาพภายนอก หรือสามารถอธิบายเรื่องราวของผู้ป่วยได้มากมายจากการสังเกตพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้โคนัน ดอยล์รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก และเมื่อโคนัน ดอยล์ เรียนจบและออกไปประกอบอาชีพ เขาเขียนหนังสือเป็นงานอดิเรกเพื่อหารายได้เสริม โดยเขียนเรื่องสั้นส่งให้กับนิตยสารต่างๆ เนื่องจากอาชีพแพทย์สร้างรายได้ไม่ดีนักเขาใช้เวลาว่างระหว่างรอคนไข้เริ่มเขียนนวนิยาย โดยใช้นายแพทย์เบลล์ อาจารย์ของเขาเป็นแรงบันดาลใจ จนกลายมาเป็นต้นแบบของตัวละครเชอร์ล็อก โฮล์มส์ในที่สุด
3.คู่หูชิดกาย นายวัตสัน
นายแพทย์จอห์น เอช. วัตสันหรือเป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อ หมอวัตสันนายแพทย์หนุ่มคนสนิทของเชอร์ล็อก โฮล์มส์รู้จักกับโฮล์มส์เนื่องจากต่างต้องการหาเพื่อนร่วมเช่าห้องพักในกรุงลอนดอน และได้เช่าห้องพักอยู่ด้วยกันที่บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์หมอวัตสันเป็นเพื่อนสนิทที่สุดของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ และเป็นผู้บันทึกประวัติของโฮล์มส์ รวมถึงบันทึกคดีที่น่าสนใจต่าง ๆ ของโฮล์มส์ลงพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์อีกทั้งยังทำหน้าที่คอยดูต้นทาง เป็นนกต่อ เป็นผู้ช่วยและส่งข่าว หมอวัตสันถือเป็นตัวละครคู่หูที่เชอร์ล็อกโฮล์มส์ขาดไม่ได้
4.ความนิยม
นวนิยายและเรื่องสั้น เชอร์ล็อก โฮล์มส์ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมอย่างมาก มีการก่อตั้งสมาคมเชอร์ล็อก โฮล์มส์ขึ้นในกรุงลอนดอน และหน่วยลาดตระเวนถนนเบเกอร์ก็ตั้งขึ้นในนครนิวยอร์ก สมาคมทั้งสองนี้ยังคงมีกิจกรรมต่อเนื่องอยู่จนถึงทุกวันนี้ มีการสร้างอนุสาวรีย์และพิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อกโฮล์มส์และเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า ตัวละครเชอร์ล็อก โฮล์มส์โด่งดังมากจริงๆ ก็คือการที่มีผู้อ่านจำนวนมากเชื่อว่าเชอร์ล็อก โฮล์มส์มีตัวตนจริง จนพากันเขียนจดหมายไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งจดหมายจำนวนมากที่ส่งไปยังบ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ถูกตีกลับมายังที่ทำการไปรษณีย์ เนื่องจากบ้านเลขที่นั้นไม่มีอยู่จริง
5.อิทธิพลของเชอร์ล็อกโฮล์มส์
ภาพลักษณ์ของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ คือ สวมเสื้อคลุม สวมหมวก และคาบไปป์ กลายเป็นสัญลักษณ์และต้นแบบของนักสืบทั่วโลก ภาพยนตร์และละครหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนักสืบมักแต่งตัวตามอย่างเชอร์ล็อก โฮล์มส์ และยังมีนวนิยายแนวสืบสวนอีกหลายเรื่องที่ได้รับอิทธิพลจากเชอร์ล็อก โฮล์มส์โดยตรง เช่นหนังสือและภาพยนตร์การ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น เรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ได้รับอิทธิพลจากเชอร์ล็อก โฮล์มส์ ทั้งบุคลิกของตัวละครหลัก และชื่อของตัวละครเอกอย่างโคนันที่นำมาจากชื่อกลางของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ อีกด้วย
6.บุคลิกเฉพาะตัวของเชอร์ล็อกโฮล์มส์
เชอร์ล็อก โฮล์มส์มีอารมณ์แปรปรวนและไม่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็เศร้าซึม พูดน้อย บางครั้งก็ร่าเริง ซึ่งหมอวัตสัน เพื่อนคู่หูคนสนิทคนเดียวของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ได้บรรยายถึงลักษณะต่างๆ ของโฮล์มส์เอาไว้ในบันทึกต่างๆ เช่น ในเวลาที่กำลังครุ่นคิดเรื่องคดี โฮล์มส์จะไม่รับประทานอาหารเช้า โฮล์มส์ชอบทำการทดลองเคมี แล้วทิ้งข้าวของในห้องกระจัดกระจายอยู่ตลอดเวลาโฮล์มส์สูบไปป์จัดมาก มักกลั่นแกล้งตำรวจโดยการให้ข้อมูลปลอมหรือปกปิดหลักฐานบางอย่าง แต่ก็มีความเป็นสุภาพบุรุษและให้เกียรติแก่สตรีอย่างสูง แต่นิสัยเดียวที่หมอวัตสันไม่ชอบในตัวโฮล์มส์คือการเสพโคเคนกับมอร์ฟีน
7.เรื่องผู้หญิงของโฮล์มส์
เชอร์ล็อก โฮล์มส์เป็นโรคเกลียดผู้หญิง โฮล์มส์เห็นว่าความสาว ความสวย และความกระชุ่มกระชวยของผู้หญิงนั้นทำให้เขาแค่รู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวาแต่ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกพิศวาสแต่อย่างใด แม้เขาจะเคยหมั้นหมายกับหญิงมาบ้าง แต่ก็เพื่อหาข้อมูลในการทำคดีเท่านั้น เมื่อโฮล์มส์ได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วเขาก็จะจบความสัมพันธ์กับผู้หญิงเหล่านั้นทันที แต่ก็มีผู้หญิงคนหนึ่งที่โฮล์มส์ยอมรับ เธอชื่อ ไอรีน แอดเลอร์ เป็นนักร้องโอเปราสาวจากอเมริกาทุกครั้งที่โฮล์มส์เจอเธอ เขามักจะเรียกเธอว่า คุณหญิง เสมอ เพราะเธอเป็นคนที่มีเสน่ห์มาก สำหรับไอรีน แอลเดอร์ เธอพบกับโฮล์มส์ครั้งแรกในตอนเหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย (ไอรีนปรากฏในเรื่องเชอ์ล็อก โฮล์มส์ ที่เซอร์อาร์เทอร์แต่งแค่เรื่องเดียวเท่านั้น คือ เรื่องสั้นเรื่องนี้) ไอรีนได้มอบเหรียญทองแก่โฮล์มส์ ซึ่งโฮล์มส์ก็เก็บเหรียญทองนี้ไว้อย่างดีซึ่งแสดงถึงความรักของเชอร์ล็อก โฮล์มส์ที่มีต่อไอรีน
8.เชอร์ล็อก โฮล์มส์ตัวละครที่มีนักแสดงรับบทมากที่สุด
วงการภาพยนตร์ในอเมริกาและอังกฤษต่างหยิบเชอร์ล็อกโฮล์มส์มาปัดฝุ่นทำใหม่อยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นภาพยนตร์ หรือซีรี่ส์ ใช้นักแสดงทั้งสิ้น 75 คน หนังสือกินเนสส์บุ๊กบันทึกว่า เชอร์ล็อก โฮล์มส์ เป็น “ตัวละครที่มีนักแสดงรับบทมากที่สุด” สองคนที่เป็นที่พูดถึงในขณะนี้คือ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ กับเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบชจากเวอร์ชั่นซีรี่ส์ของบีบีซี ที่นำเสนอภาพของเชอร์ล็อก โฮล์มส์กับหมอวัตสันในยุคศตวรรษที่ 21
9.ผู้บุกเบิกทฤษฎีพิสูจน์หลักฐาน
นิยายของเซอร์อาเธอร์นำเสนอทฤษฎีการเก็บหลักฐาน หรือการใช้นิติวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการไขคดีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บลายนิ้วมือตรวจลายเซ็น ลายมือเขียนตรวจเส้นผมวิเคราะห์หาต้นกำเนิดของเอกสารจากเครื่องพิมพ์ดีด วิเคราะห์คราบเลือด หรือการวิเคราะห์ระยะยิง วิเคราะห์วิถีกระสุนการตรวจอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์จนกระทั่งมีผู้เชี่ยวชาญมากมายนำไปประยุกต์ใช้ในโลกความจริง
10.จากหน้ากระดาษสู่ภาพยนตร์
หลังจากที่ โคนัน ดอยล์ เสียชีวิตไปแล้วมีนักเขียนที่สร้างสรรค์นวนิยายเกี่ยวกับ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ สืบเนื่องต่อมาอีก ส่วนหนึ่งได้เขียนร่วมกับทายาทของโคนัน ดอยล์ และบางส่วนเขียนเสริมเติมแต่งขึ้นมาเอง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ความนิยมลดน้อยลงเลยเมื่อเวลาผ่านไป อุตสาหกรรมภาพยนตร์เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด เชอร์ล็อก โฮล์มส์ในบทภาพยนตร์ ก็ออกฉายครั้งแรก ในปีค.ศ. 1937 นับจนถึงปี ค.ศ 2011 ซึ่งก็ผ่านมาแล้ว 74 ปี รวมแล้วมีทั้งหมด 211 ตอนและเชอร์ล็อก โฮล์มส์ตอนใหม่ก็กำลังจะลงโรงภายในปลายปี 2018 นี้
ขอบคุณรูปประกอบจาก
ten.wikiquote.org
www.npg.org.uk
medium.com
flavorwire.com
www.ihearofsherlock.com
www.pinterest.com
charitysplace.wordpress.com
www.basilrathbone.net
strandmag.com
drinkinggamezone.com
สั่งซื้อ เชอร์ล็อกโฮล์มส์ ครบทุกเล่ม คลิกที่นี่
Pingback: 4 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วรรณกรรมเยาวชน DID YOU KNOW ? โดย แพรวเยาวชน
Pingback: 12 เพลงที่ควรเปิดระหว่างอ่าน ลืมตาตื่นอีกครั้ง...ในเวลาอันสมควร