“การเล่านิทาน จะพัฒนาทักษะต่างๆ ให้เด็กได้ ก็เมื่อคุณพ่อคุณแม่เห็นความสำคัญ ถ้าหากวันนี้เล่าแล้วลูกยังไม่ฟังก็อย่าท้อนะคะ เล่าไปเรื่อยๆ สักวันลูกจะฟังเอง” – คุณโบว์ ดวงพร กิตติสุนทร นักจิตวิทยาและนักเล่านิทานมืออาชีพ
เลือกนิทานแบบไหนให้ลูกชอบ เล่านิทานอย่างไรให้ลูกสนุก มาหาคำตอบจากคุณโบว์ไปพร้อมๆ กันใน FamiRead Podcast ค่ะ
FamiRead EP.6 สุดยอดเทคนิคเลือกและเล่านิทาน จากนักเล่านิทานมืออาชีพ!
พบกับ บ.ก.แสตมป์ จากแพรวเพื่อนเด็ก แขกรับเชิญของ EP. นี้คือคุณโบว์ ดวงพร กิตติสุนทร นักจิตวิทยาและนักเล่านิทาน และเคยมาเป็นแขกรับเชิญในEP.1ของรายการนี้แล้ว ชื่อ เลี้ยงลูกด้วยนิทาน ยิ่งอ่านยิ่งดี
วันนี้จะมาชวนคุยในฐานะนักเล่านิทานที่ทำงานกับเด็กและเล่านิทานให้เด็กฟังมามากมาย
เวลาจะเลือกนิทานให้เด็กฟัง มีหลักในการเลือกอย่างไร
โบว์: คุณพ่อคุณแม่ หรือนักอ่านท่านอื่นๆ จะมีหลักในการเลือกที่ต่างกันไป บางคนเลืกหนังสือที่ได้รับรางวัลการันตี หนังสือที่เพิ่งออกมาใหม่ หรือ หนังสือที่เป็นนักเขียนนักวาดคนโปรด
ในวันนี้จะมานำเสนออีกหนึ่งวิธีที่ใช้ร่วมกับหลักการเดิมของตัวเองได้ โดยให้ลูกเป็นคนเลือกให้เรา การทำแบบนี้ ถึงจะเป็นการกระทำเล็กๆ แต่ทำให้รู้สึกยิ่งใหญ่ในสายตาลูกได้ จะทำให้รู้สึกถึงความเอาใจใส่ และการรับฟังความเห็น เป็นการให้โอกาสการตัดสินใจ โดยเริ่มจากนิทานในบ้านก่อน หรือเวลาซื้อหนังสือเล่มใหม่ ให้เวลาและโอกาสลูกได้เลือกอย่างอิสระ ถ้าหากเล่านิทานแล้วลูกยังไม่นอน เราก็สามารถให้ลูกเป็นคนเก็บหนังสือด้วยตัวของเขาเอง เพื่อเป็นการฝึกความรับผิดชอบ
เด็กๆ จะสนุกกับนิทานหรือจะตั้งใจฟังได้หรือเปล่า พ่อแม่จำเป็นต้องพากย์เสียงสูงต่ำตามการ์ตูนหรือไม่ หรือและหากไม่มีเทคนิคการเล่านิทาน จะทำอย่างไร
โบว์: เมื่อพูดถึงการเล่านิทาน บางคนอาจจะเกร็ง ลองเปลี่ยนเป็นคำว่าอ่านนิทาน ให้เล่าด้วยใจ มีความสุขที่จะเล่า การเล่านิทานนั้นไม่มีกฏเกณฑ์ใดๆ แต่ละคนเล่าออกมาไม่เหมือนกัน มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เรามีหน้าที่อ่านหนังสือ ส่วนลูกก็มีหน้าที่อ่านภาพและฟัง ถึงจะเป็นเรื่องที่สมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องมีเทคนิคที่หวือหวา
เล่านิทานตัวอย่างสั้นๆ
โบว์: นำมาจากนิทานเรื่อง ความลับของอลัน แต่งโดยปีเตอร์ จาวิส ผู้แปล พี่ข้าวตู“อลัน จระเข้เขี้ยวโตผู้น่ากลัว การทำให้สัตว์ทุกตัวหวาดกลัว คือสิ่งที่อลันถนัดที่สุด”
พิธีกร: ถ้าคุณพ่อคุณแม่ใส่ความรู้สึกน้อยกว่านี้จะเป็นอะไรไหม
โบว์: การเล่าครั้งแรกก็อาจจะอ่านไปก่อน แต่ถ้าคุ้นชินกับเรื่องมากขึ้น ได้อ่านบ่อยๆ คุณพ่อคุณแม่จะเข้าใจเนื้อเรื่องมากขึ้น อาจจะใส่ลูกเล่นเพิ่มเข้าไป ดังนั้นการเล่าแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน
อยากจะเชิญชวนอีกเสียงว่าใช้เวลาอ่านนิทานวันละนิด แต่ได้ประโยชน์มากมาย ทั้งด้านพัฒนาสมอง ภาษา ทักษะชีวิต และความสัมพัน์ในครอบครัว การเล่านิทานสิ่งต่างๆจะเกิดขึ้นได้เมื่อเห็นความสำคัญของมัน หากลูกไม่ฟัง ให้เล่าไปเรื่อยๆ วันหนึ่งเขาจะสนใจฟังขึ้นมาเอง
สำหรับคนที่อยากรู้ว่าเรื่องอะไรกันที่คุณโบว์เล่ากี่ที เล่าที่ไหนอย่างไรเด็กก็ชอบ เรียกได้ว่าสุดยอดนิทานเลยทีเดียว ฟังคำตอบได้ใน EP. หน้า