ถ้าอยากมี ความรักสมหวัง แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ลองมาดูคำแนะนำจากหนังสือ “พูดเรื่องบวกเรียกโชคดี พูดเรื่องดีเรียกความสุข” กันค่ะ อ่านจบแล้วรับรองว่า ความรักสมหวัง และได้พบแต่เรื่องดีๆ มีความสุขแน่นอน
บางคนก็บอกว่าวิธีที่ทำให้ความรักสมหวังก็คือการไหว้พระขอพร แต่รู้หรือไม่ว่า มีวิธีที่ง่ายกว่านั้น และเห็นผลเร็วทันตา
นั่นคือ พลังแห่งคำพูด
เพื่อเปิดรับการพบรักกับคนดีๆ ก่อนอื่นต้องตัดคำพูดที่แสดงถึงการมองโลกในแง่ร้ายทิ้งเสียก่อน แล้วจากนั้นเราต้องเติมเต็มภายในใจเราด้วยถ้อยคำที่เชื่อในการพบรัก ตัวอย่างเช่น ลืมตาตื่นขึ้นตอนเช้า ให้บอกกับตนเองด้วยถ้อยคำว่า “จะได้พบเนื้อคู่” “วันนี้น่าจะได้เจอกับคนที่แสนวิเศษ” เพียงแค่พึมพำถ้อยคำเช่นนี้ก็ทำให้ใจเราเต้นแรงขึ้นมาได้แล้วและอาจลุกขึ้นมาแต่งตัวให้ดูดี หรือใช้เวลาอย่างพิถีพิถันกับการดูแลตนเองเพื่อเตรียมพร้อมกับการพบรัก หากทำเช่นนั้นแล้วก็เรียกได้ว่าเราเตรียมพร้อมที่จะเปิดรับความรักแล้วละพอเราเติมเต็มหัวใจและรู้สึกตื่นเต้นไปกับคำหรือความคิดที่ว่า “จะได้พบเนื้อคู่” จะทำให้เรารู้สึกร่าเริงแจ่มใสขึ้นมา
[su_quote]คนที่ปล่อยพลังงานแห่งความสุขแบบนั้นออกไป จะเป็นที่ชอบพอของเพศตรงข้ามจนดึงดูดโอกาสในการมีความรักเข้ามาหาเอง[/su_quote]
คำแรกที่จะทำให้เราได้ใกล้ชิดกันคือ “ชื่อ”
ถ้าคนที่รู้จักกันได้ไม่ทันไรหรือคนที่เราคิดว่าไม่ได้สนิทสนมกันเท่าไร กลับเรียกเราด้วยชื่อว่า “คุณ…” ได้โดยไม่ผิดเลยล่ะเราจะรู้สึกอย่างไรคงรู้สึกยินดีว่า “จำชื่อฉันได้แล้วเหรอเนี่ย” “อุตส่าห์จำฉันได้ด้วย” และสังหรณ์ว่าจะสามารถสนิทสนมกับบุคคลนั้นได้ใช่ไหม
การเรียกชื่อคือวิธีง่ายๆ แต่ได้ผลในการทำให้คนเราใกล้ชิดกัน ขณะที่เราเอาแต่เรียกกันว่า “เอ่อ”“เธอ”“คุณคะ” จะไม่สามารถทำให้คนเราสนิทสนมกันได้อย่างแท้จริง ในทางกลับกัน หากเราเรียกชื่ออีกฝ่ายได้ เราจะสามารถยอมรับถึงตัวตนของอีกฝ่ายได้ว่าแตกต่างไปจากคนอื่น และการทำแบบนั้นจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกประทับใจ และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันยิ่งขึ้นเพราะฉะนั้น สมมติว่ามีเพศตรงข้ามที่เรารู้สึกสนใจและรู้สึกว่ายังไม่สนิทสนมกันดีนัก ขอให้ตั้งใจที่จะเพิ่มชั่วขณะของการเรียกชื่อของอีกฝ่าย แม้ในการสนทนาเล็กๆ น้อยๆ กับเขาหรือเธอก็ให้เรียกชื่อเสมอ เช่น “คุณ…เป็นคนที่ไหนเหรอคะ” “ช่วยบอกงานอดิเรกของคุณ…หน่อยสิครับ”
การเรียกชื่อเพื่อแสดงถึงการยอมรับ “เป็นการส่วนตัว”เช่นนี้จะทำให้อีกฝ่ายดีใจและอยากให้ความสำคัญกับคนที่อุตส่าห์เรียกชื่อตนคนที่หันมาเรียกชื่อของแต่ละฝ่ายได้จะยิ่งเกิดความรู้สึกสนิทสนมต่อกันและกันมากขึ้นและการเรียกชื่อกันไปมาจะยิ่งทำให้สนิทสนม พอรู้ตัวอีกทีก็เรียกว่า “ที่รัก” แล้ว
อยากออกเดตต้องพูดแบบนี้
โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่คงคิดว่าการ “เดต” เป็นสิ่งที่ชายหญิงที่มีความสัมพันธ์พิเศษต่อกันพึงกระทำ เพราะฉะนั้นในกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นคนรัก พอจะ “เดต” กัน จึงพานตื่นเต้นกันไปหมดทั้งผู้ชวนและฝ่ายถูกชวน
ก่อนอื่นตอนที่ชวนครั้งแรก ควรพยายามไม่ใช้คำว่า “เดต” และใช้คำพูดอื่นเป็นการเปิดทางแทนให้บอกว่ามีเรื่องที่อยากถามหรืออยากปรึกษาอีกฝ่าย เช่น “มีเรื่องที่อยากปรึกษากับคุณให้ได้น่ะครับ ถ้าไม่รังเกียจ เราไปดื่มชากันไหม” ดังนี้เป็นต้น แบบนี้อีกฝ่ายจะไม่รู้สึกว่าเป็นการ “เดต” และยอมตอบรับง่ายขึ้น
การไปเดต จริงๆ ก็คืออยากมีเวลาอยู่สองต่อสองกับคนที่ชอบนั่นเองเพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องยึดติดกับรูปแบบว่าเป็นการ “เดต” และพลิกแพลงวิธีการพูดตามสมควรจะดีกว่า และเมื่อใช้รูปแบบที่กล่าวไปข้างต้นจนทำให้ได้เจอกันสองต่อสองสักครั้งหรือสองครั้งขึ้นไปแล้ว ต่อไปก็จะชวนได้ง่ายขึ้นเอง เช่น ใช้วิธีเข้าหาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างการบอกว่า “คราวก่อนดีใจมากเลยค่ะที่ได้คุยด้วย ขอเลี้ยงอาหารกลางวันเป็นการขอบคุณนะคะ” แบบนี้เป็นต้น
ไม่ต้องบอกรักก็สื่อความในใจได้
ถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อความรักต่อเพศตรงข้ามที่เราชอบไม่ได้จำเป็นต้องมีแต่คำพูดตรงๆ อย่าง “ชอบ” “รักนะ” เท่านั้น
เพียงแค่พลิกแพลงคำพูดในบทสนทนาเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถสื่อออกไปได้โดยง่ายเช่นกันนั่นคือคำพูดอย่าง “กับเธอเท่านั้น” หรือ “เพราะเป็นคุณ” นั่นเองตัวอย่างเช่น เวลาที่ชวนไปรับประทานอาหาร ให้ลองชวนดูว่า “เพราะอยากให้คุณลองทานอาหารของร้านนี้ดูให้ได้” หรือขณะที่กำลังสนทนากันอย่างเพลิดเพลินให้ลองหาโอกาสหยอดคำพูดประมาณว่า “เพราะเป็นคุณนะเนี่ยเลยเผลอเล่าให้ฟัง”
ถ้าเพียงแค่ชวนเฉยๆ ว่า “ไม่ลองไปร้านนี้ดูเหรอ” อาจทำให้อีกฝ่ายไม่รับรู้ถึงความรู้สึกดีๆ ของเราได้ โดยเขาอาจมีคนที่คิดว่า “เพราะฉันดูว่างๆ เลยชวนมั้ง” หรือ “อาจแค่อยากหาคนไปด้วยละมั้ง” แต่หากใส่คำพูดอย่าง “เพราะเป็นคุณ” ลงไป อีกฝ่ายจะรู้สึกยินดีขึ้นมาว่า “ที่ชวนนี่เพราะชอบฉันสินะ” หรือเวลาที่ต้องขอร้องอะไรสักอย่าง ก็ให้ขอโดยใช้คำพูดว่า “ขอร้องได้เฉพาะคุณเท่านั้นละ…” เวลาที่ได้ยินถ้อยคำแบบนี้อีกฝ่ายจะรับรู้ว่า “อุตส่าห์มาพึ่งพาเราด้วย” “นี่เชื่อใจเราสินะ”
การสื่อความ “ชอบ” ออกไปตรงๆ จำเป็นต้องใช้ความกล้าแต่หากใช้คำพูดอย่าง “แค่คุณเท่านั้น” ละก็ จะสามารถสื่อความรักออกไปให้อีกฝ่ายรับรู้ได้อย่างแนบเนียน
ต่อหน้าคนที่ชอบยิ่งต้องพูดเชิงบวก
การที่คนเราจะสนิทสนมกันได้นั้นจำเป็นต้องมีการสั่งสมบทสนทนาที่ดีต่อกันไปเรื่อยๆ หากสานต่อความสัมพันธ์กันไปนานๆ อาจมีบางครั้งที่ชะล่าใจว่า “ก็เป็นแฟนกันแล้วนี่ คงไม่เป็นไรหรอกมั้ง” และเผลอบ่นหรือว่าร้ายคนอื่นให้อีกฝ่ายฟัง หากเป็นนานๆ ครั้งก็ไม่เท่าไร แต่หากเอาแต่พูดเรื่องแบบนั้น หัวใจของคนเราก็จะยิ่งดิ่งไปสู่ทิศทางลบ
ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเข้าใกล้คนที่ปล่อยพลังงานลบออกมาทั้งนั้น คนที่เอาแต่บ่นโน่นนี่ต่อหน้าแฟน อาจทำให้แฟนรู้สึกว่า “คนนี้เอาแต่บ่น ฟังแล้วเหนื่อย” และไม่อยากอยู่ด้วยกันอีกต่อไป ดังนั้น เราจึงไม่ควรคิดว่าเพราะเป็นแฟนกันแล้วจึงสามารถใช้คำพูดในแง่ลบต่อกันได้ สิ่งสำคัญคือควรตระหนักรู้ไว้เสมอว่าเพราะเป็นต่อหน้าคนรักถึงต้องยิ่งใช้คำพูดในเชิงบวก
สมมติว่าคุณรู้สึกตัวขึ้นมาเองหลังจากที่บ่นออกไปแล้วให้รีบใช้คำพูดในเชิงบวกเยอะๆ ซึ่งอาจเป็นเพียงคำพูดเชิงบวกเล็กน้อยก็ได้ เช่น “วันนี้พระอาทิตย์ตกสวยมากเลย” “วันนี้ดีใจที่ได้เจอกันนะ”
แม้จะเป็นเรื่องบวกเล็กๆ ที่ได้พบในชีวิตประจำวัน แต่เราก็ควรสื่อออกไปให้คนที่ชอบได้รับรู้ เพราะทั้งสองฝ่ายสามารถแบ่งปันเรื่องราวที่มีความสุขด้วยกัน แม้จะเป็นเวลาหลังจากที่เพิ่งบ่นกันเสร็จไป ก็จะกลายเป็นคู่ที่มีความสุขได้อย่างแน่นอน
มีความรู้สึกร่วมไปกับคำพูดของเขาคนนั้น
“เข้าใจความเห็นของคุณได้ดีทีเดียว” “ผมเองก็คิดเหมือนที่คุณพูดเลยครับ” “ฉันคิดว่าคุณไม่ผิดนะคะ ฉันเองก็เห็นด้วยกับคุณ”
คิดว่าใครๆ ก็ล้วนแต่เคยมีประสบการณ์รู้สึกยินดีเวลามีคนพูดแบบนี้ด้วยใช่ไหม เพราะทุกคนล้วนอยากให้ผู้อื่นรู้สึกมีส่วนร่วมกับความเห็นหรือวิธีคิดของตนกันทั้งนั้น หากได้ยินคำพูดที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้รู้สึกมีพลังและความมั่นใจเอ่อล้นขึ้นมา อีกทั้งยังรู้สึกอยากสนิทสนมกับคนที่ให้การยอมรับความคิดและค่านิยมของตนเอง
ดังนั้น เพื่อจะสานสัมพันธ์อันดีกับคนที่ชอบ จึงต้องรู้จักถ่ายทอดถ้อยคำที่แสดงออกถึงการยอมรับความคิด ค่านิยมของอีกฝ่าย ตลอดจนแสดงความรู้สึกมีส่วนร่วมแต่ที่ไม่อยากให้เข้าใจผิดก็คือ ไม่ได้หมายความว่าหากเป็นสิ่งที่คนที่ชอบพูดแล้วจะต้องเออออไปทุกเรื่องโดยไร้เงื่อนไข
สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจอีกฝ่าย และแสดงถึงความรู้สึกว่ายกย่องค่านิยมของบุคคลนั้นๆเพื่อการนั้นแล้ว เราถึงต้องถ่ายทอดถ้อยคำที่แสดงถึงการมีความรู้สึกร่วมอย่าง “เข้าใจ”“นั่นสิเนอะ” ให้คนที่ชอบฟังนั่นเอง
ก่อนอื่น ให้เริ่มจากการเงี่ยหูฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูดให้ดีๆ หรือในเวลาที่อีกฝ่ายพูดถึงสิ่งที่ตนเองชอบ แทนที่จะบอกปัดไปว่า “ฉันไม่สนใจน่ะ” แต่ให้ใช้ถ้อยคำที่สื่อว่าเรามีความเข้าอกเข้าใจ เช่น “คุณชอบนักร้องคนนั้นมากเลยสินะ ฉันเองก็อยากลองฟังเหมือนกันถ้าช่วยแนะนำเพลงให้ได้จะดีมากเลย” ถ้าสามารถพูดออกไปแบบนี้ อีกฝ่ายย่อมยินดีเพราะรู้สึกว่าสิ่งที่ตนเองชอบได้รับการยอมรับไปด้วย
เปลี่ยนแปลงชีวิตด้วย 75 วิธีใช้คำพูด
ดึงดูดความสุข ความสำเร็จมาอยู่ตรงหน้า
บทความอื่นๆ
คำพูดที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
พลังแห่งคำพูด เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
อย่าทำแบบนี้ถ้าไม่อยากมีความรักที่ผิดหวัง มาดู 4 พฤติกรรมห้ามทำเพื่อความรักที่ดี
Pingback: อย่าทำแบบนี้ถ้าไม่อยากมีความรักที่ผิดหวัง ดู 4 พฤติกรรมห้ามทำเพื่อ ความรักที่ดี
Pingback: ความเข้าใจผิดเรื่องความรัก : คิดแบบนี้ความรักถึงไปไม่รอด
Pingback: เทคนิค บริหารเสน่ห์ ให้ใครๆ ก็ชอบคุณ ทั้งเรื่องงานและความรัก
Pingback: ไหว้พระแก้ชง 2562 ที่ฮ่องกงและมาเก๊า แนะนำโดยหมอช้าง