บางคนคิดว่าการชมหรือให้กำลังใจเด็กมากเกินไปจะทำให้เด็กเหลิงหรือหลงตัวเอง ชมลูกอย่างไรไม่ให้เหลิง คือเทคนิคชมลูกที่ดีและมีประโยชน์ที่พ่อแม่ต้องรู้
ชมลูกอย่างไรไม่ให้เหลิง
เอาความคิดที่อยากบอกลูกไว้ในคำชม
ชมลูกอย่างไรไม่ให้เหลิง เทคนิคข้อแรกคือ สมมติว่าเวลาลูกวาดรูปได้ดี การพูดกับเขาแค่ว่า “ลูกวาดสวยจริง ๆ” หรือบอกว่า “โหเยี่ยมไปเลย” หรือ “ตัวแค่นี้ก็วาดเก่งขนาดนี้แล้ว” จากนั้นก็ไม่พูดอะไรอีก แบบนี้จะเสียโอกาสที่จะให้กำลังใจไปทันที
คำชมที่ว่า สวย เยี่ยม เก่ง…เป็นเพียงเบ็ด หลังจากนั้นคุณอยากจะตกอะไรนั่นต่างหากที่เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น การชมจึงต้องพูดให้เป็นรูปธรรมและมีความหมายแฝงอยู่
หลังจากชมแล้วต้องพูดคำที่อยากบอกเด็ก เช่น บอกลูกว่า “โห ลูกวาดได้ดีมาก มีโครงเรื่องชัดเจนเป็นเพราะว่าเวลาปกติลูกสนใจดูศิลปะ ชื่นชมความงามของโลกนี่เอง”
การพูดว่า “ลูกสนใจดูศิลปะ ชื่นชมความงามของโลก” หรือ “ลูกชอบดูงานแสดงภาพวาด ดูหนังสือรวมภาพ ชอบสังเกต
ของสวย ๆ งาม ๆ” เป็นต้นนี้ รวมกับคำชม ทำให้เด็กรู้ว่า
เป็นเพราะเด็กใช้ความพยายามจึงได้รับความสำเร็จ ทำให้เด็กรู้ว่าเราไม่ได้
ชมแค่ภาพวาด แต่ยังชื่นชมความพยายามด้วย และเมื่อได้รับคำชมแล้ววันหลังเด็กจะยิ่งมุ่งมั่นไปตามทิศทางนั้น
ชมอย่างมีแผนและขั้นตอน
เทคนิคชมลูกอย่างไรไม่ให้เหลิง ข้อต่อมา คือ ถ้าเด็กล้างจานไม่สะอาดอย่าบอกเด็กตรง ๆ ว่า “เห็นไหมยังมีคราบอยู่ ทำไมไม่ตั้งใจล้าง เอาตาไปไว้ไหน” ถ้าพูดแบบนี้รับรองว่าต่อไปไม่นานเด็กจะไม่อยากล้างจานอีกเลยตลอดชีวิต
แต่ในเมื่อรู้แล้วว่าเด็กล้างไม่สะอาด ก็ไม่ควรหลับหูหลับตาชมว่า เก่งอย่างโน้นอย่างนี้ แบบนี้ก็คงไม่ถูกแน่ ไม่ช่วยให้เด็กพัฒนา
วิธีชมที่ดีก็คือการชมอย่างมีแผนและขั้นตอน
อาจจะพูดกับเด็กว่า “ดูสิ ลูกเก่งมากตั้งใจล้างได้สะอาดเกือบหมด ยกเว้นก้นชาม แม่ว่าพรุ่งนี้ลูกจะเก่งกว่านี้แน่” พูดอย่างนี้เด็กจะได้ยินคำว่า ตั้งใจ
ซึ่งก็คือ “ความจริงเราก็เก่งแต่คราวหลังต้องทำให้ดีกว่านี้ เรารู้แล้วว่าปัญหาอยู่ที่ไหนและรู้ว่าครั้งต่อไปจะปรับปรุงอย่างไร และเราชอบความรู้สึกที่ได้รับคำชมว่าตั้งใจทำ
ชมอย่างสร้างสรรค์
เวลาลูกเขียนเรียงความได้ดี อย่าชมเพียงว่า ดี ควรพูดให้ชัดเจนว่าดีอย่างไร
ถ้าพูดกับเด็กว่า “เรียงความนี้ลูกได้คะแนนตั้งเก้าสิบแปดน่าภูมิใจจริง ๆ” จะไม่ช่วยให้เด็กพัฒนาขึ้น คุณอาจจะลองพูด
กับลูกว่า “แม่ชอบเรียงความบทนี้ของลูกมาก อ่านแล้วรู้ว่าลูกมีความคิดเป็นของตัวเอง รู้ว่าเด็กที่รักการอ่านจะเขียนเรียงความได้ดี อีกอย่างหนึ่งบทความนี้ใช้ภาษาได้ดี แสดงความหมายอย่างชัดเจน มีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนใคร”
การชมลุกว่า “มีความคิดเป็นของตัวเอง” “รักการอ่าน” “ใช้ภาษาได้ดี” และ “ไม่เหมือนใคร” ล้วนแต่เป็นคำสำคัญ
เด็กจะฟังออกว่า “วันหลังควรทำอย่างไรให้ได้คำชมที่ดีขึ้นอีก” และรู้ว่าจะปรับปรุงตัวเองอย่างไร เด็กจะยิ่งชอบขบคิด รักการอ่าน รู้ว่าตัวเองมีความสามารถในการใช้ภาษา และอยากพัฒนาตนเองต่อไป
พูดให้เด็กเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม
ถ้าเด็กเสนอตัวช่วยเช็ดน้ำที่เลอะพื้น หากจะชมลูกไม่ให้เหลิง ควรทำให้เด็กเข้าใจสภาพอย่างเป็นรูปธรรม เช่น “ลูกเก่งจริง ๆ พอมีปัญหาก็จัดการได้ทันที ตัวแค่นี้ก็รู้จักแก้ปัญหาแล้ว รู้ไหมว่าคนเก่งในโลก เขาจะรู้จักแก้ปัญหาแบบนี้แหละ”
คำว่า “การจัดการปัญหาเฉพาะหน้า” “การแก้ปัญหา” “คนเก่งในโลก” จะทำให้เด็กเห็นความสำคัญของการตัดสินปัญหาและลงมือทำ ทำให้เด็กมีความคาดหวังต่อตัวเองอย่างสูงในอนาคต
การชมอย่างไร้ประสิทธิภาพเป็นการสูญเปล่า สิ้นเปลืองเวลาและความตั้งใจ แต่ไม่ได้ผล เป็นเพราะเด็กได้รับคำชมที่ว่างเปล่าไม่รู้ว่าตัวเองได้รับคำชมเรื่องอะไร ต่อไปเด็กจะต้องการคำชมอย่างหลับหูหลับตา
แต่การชมอย่างมีประสิทธิภาพต่างออกไป เด็กฟังแล้วจะซึมซับเข้าไปในใจ ไม่ได้พอใจเพียงชั่วครู่ชั่วยาม
พบกับวิธีพัฒนาลูกด้วยการให้อิสระและเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของเด็ก
เพิ่มเติมได้จากหนังสือ รักวัวอย่าผูก รักลูกต้องปล่อย
ราคา 215 บาท
สั่งซื้อ คลิก
บทความอื่นๆ
- 5 วิธี เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี : สอนลูกแบบนี้ ลูกได้ดีและมีความสุขแน่นอน
- พัฒนา ทักษะEF ให้ลูกได้ไม่ยาก ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนิทาน
- คุณเป็น พ่อแม่ แบบไหน : เพื่อความเข้าใจในการเลี้ยงลูก โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
- เลี้ยงลูกให้สุขภาพจิตดี ทำอย่างไร
- เลี้ยงลูกให้ฉลาด ไม่สำคัญเท่ากับเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี มีความสุข
- “เลี้ยงลูกด้วยนิทาน” ปูพื้นฐานพัฒนาการชีวิต 6 ด้าน
- สอนลูกให้มีวินัย เริ่มวันนี้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
- ยาเด็ก ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย