รู้จักโรคซึมเศร้า สาเหตุ อาการและการรักษา โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

 

หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตเวชศาสตร์ พูดถึงโรคซึมเศร้า ผ่านหนังสือเรื่อง โรคซึมเศร้า (สำนักพิมพ์ Amarin Health)  ไว้ดังนี้

 

 

[su_quote]โรคซึมเศร้ามีอยู่จริง ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามิได้คิดไปเอง [/su_quote]

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ใช่คนอ่อนแอ คิดมาก หรือคิดไปเอง หรือยอมแพ้ต่อชีวิต ความจริงคือเขาป่วยด้วยโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า โรคซึมเศร้า เหมือนคนอื่นๆ ที่อาจป่วยด้วยโรคไข้หวัด โดยโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช ไม่ใช่โรคทางกาย

 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการชัดเจนและรุนแรงระดับหนึ่ง โรคซึมเศร้าจะไม่หายไปเอง ไม่หายด้วยการทำใจหรือปล่อยวาง หรือได้รับคำปลอบใจให้เข้มแข็ง

 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการการรักษาจากจิตแพทย์ และสิ่งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กำลังเรียนหนังสือ วัยทำงาน มักต้องการให้คนในครอบครัวและคนรอบข้างเข้าใจและยอมรับความเจ็บป่วยที่เขากำลังเผชิญ  ยอมรับว่าเขาป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจริง ไม่ได้อ่อนแอหรือคิดไปเอง

 

โรคซึมเศร้า : สาเหตุ

หากประมวลสาเหตุใหญ่ๆ ทั้งหมด ประวัติของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรจะประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้ ไม่มากก็น้อย นั่นคือ

  • มีประวัติกรรมพันธุ์ของโรคซึมเศร้า มีญาติคนใดคนหนึ่งป่วยด้วยโรคซึมเศร้าหรือฆ่าตัวตาย
  • มีประวัติพ่อแม่ไม่เลี้ยงดูมากพอ หรือมาจากครอบครัวแตกแยกที่ไม่มีใครรับผิดชอบเด็กอย่างจริงจัง
  • มีประวัติเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นสุขเสมอมา และผู้ป่วยต้องตกอยู่ในสภาพที่หมดหวังและหมดทางช่วยเหลือ ครั้งเป็นเด็กก็ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ครั้งเป็นวัยรุ่นไม่สามารถพอตัวเองออกจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นสุข ครั้งเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่สามารถพาตัวเองออกจากสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย
  • มีประวัติประสบเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างเฉียบพลันหรือแบกรับความเครียดเรื้อรังไม่สิ้นสุด จนส่งผลกระบต่อสมดุลของสารสื่อนำประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง

 

โรคซึมเศร้า : วิธีการสังเกตตัวเองและคนรอบข้าง

มีอารมณ์เศร้ามากและบ่อยครั้ง หรือเกือบตลอดเวลา

 

  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะซึมลงกว่าที่เคย เคลื่อนไหวเชื่องช้า มีอารมณ์เศร้าบ่อยๆ โดยที่มองดูแล้วไม่มีสาเหตุ
  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางคนก็ไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจน แต่มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียวง่าย ไปจนถึงขี้โมโห
  • ดูเหนื่อยหน่าย ท้อแท้ ไม่มีสมาธิทำงานจนกระทั่งบางครั้งดูเหมือนไม่ตั้งใจทำงาน เบื่อกิจวัตรที่เคยทำ ไม่สนใจเรื่องเคยที่สนใจหรือเคยชอบ เบื่อผู้คน เบื่องาน เบื่อโลก เบื่อชีวิต
  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางคนมีอาการเหนื่อยง่ายโดยอธิบายสาเหตุทางร่างกายไม่ได้
  • อารมณ์ทางเพศลดลง เบื่ออาหาร หรือบางคนอาจมีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น กินเก่งขึ้น และนอนหลับตลอดเวลา
  • แต่บางคนก็อาจจะนอนไม่หลับ   มีทั้งหลับๆ ตื่นๆ หลับยาก หลับไม่สนิท หลับไม่ลึก หลับแล้วตื่นขึ้นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้อีก
  • คิดฆ่าตัวตาย ไปจนถึงวางแผนฆ่าตัวตาย มีประวัติเคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน 
  • อาการทั้งหมดที่เล่ามากินเวลานานพอสมควร กระทบต่อคุณภาพชีวิต

 

[su_quote]ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายทุกคนกำลังส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือเสมอ ไม่มีคำว่าเรียกร้องความสนใจ สำออยหรือแกล้งทำ [/su_quote]

 

โรคซึมเศร้า : การรักษา

เราควรทำความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างอารมณ์เศร้าและโรคซึมเศร้าก่อน

อารมณ์เศร้าเป็นเรื่องธรรมดาของคนเรา เกิดขึ้นและหายไปธรรมดา แต่บางครั้งอารมณ์เศร้าเกาะกุมอยู่นานมากและไม่ยอมหาย  แต่อาจไม่รุนแรง ไม่กระทบชีวิต ไม่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

อารมณ์เศร้าที่ไม่ถึงกับเป็นโรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยการพบผู้ให้คำปรึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี นักจิตวิทยา จิตแพทย์ หรือทำจิตบำบัด

ส่วนโรคซึมเศร้าเป็นโรค และสารเคมีบางตัวในสมองเสียสมดุล ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะได้รับประโยชน์จากยาต้านอารมณ์เศร้า แต่ขึ้นอยู่กับผู้รักษาและความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติด้วย เป็นเรื่องธรรมดาของการรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป

 

[su_note note_color=”#29497d” text_color=”#d1cfcf”]ยาต้านเศร้า (anti-depressant) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางโดยตรง ช่วยปรับสมดุลของสารสื่อประสาทให้เข้าที่ ซึ่งยาต้านเศร้าทุกตัวมีข้อเสียคือความง่วง บ้างมีอาการคอแห้ง ท้องผูก และลุกเร็วหน้ามืด เหล่านี้เป็นอาการข้างเคียงที่เลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถรอเวลาให้ร่างกายชินยาได้ โดยทั่วไปจะดีขึ้นเองในเวลา 2 – 4 สัปดาห์[/su_note]

 

 

โรคซึมเศร้ารักษาให้หายขาดได้หรือไม่

บางคนก็หายขาดได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่หายขาด  แต่มาไกลในระดับอาการสงบ ซึ่งแบ่งเป็นอาการสงบอย่างสมบูรณ์ หรืออาการสงบบางส่วน มีอาการบางส่วนอยู่บ้าง

ตัวชี้วัดที่ดีกว่าคำว่าหายขาดหรืออาการสงบ คือคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอง กินอาหารได้ดีหรือไม่ นอนหลับได้ดีหรือไม่ สมาธิในการทำงานดีหรือไม่ ชีวิตทางเพศปกติสุขดีหรือไม่ ปราศจากความหดหู่ ท้อแท้ และไม่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

 

เรียบเรียงจากหนังสือ

 

 

3 thoughts on “รู้จักโรคซึมเศร้า สาเหตุ อาการและการรักษา โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

  1. สุพรพรรณ ศรีมาศ says:

    หนูเหนื่อย หดหู่ ท้อแท้ ซึมเศร้า เป็นครั้งที่สอง หลังจากครั้งแรกหายไปประมาณสามปี กลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทำงานอนาคตกำลังดี ครั้งนี้อยู่ๆตื่นเช้ามาหนูหดหู่เลย แล้วก็จิตตกมาหนึ่งเดือนเต็มแล้ว ไปหาหมอก็ให้ยาฟูออกซิตินกับไดอะแฟมมาแต่หนูกินแล้วนอนหลับไปแค่สองชั่วโมง หนุเลยเอายาเก่ามากิน คือแอลฟาโซแลมกับอะติแวนนอนได้ห้าชั่วโมง ตื่นตีสามแต่ก็เหนื่อยมาก จะไม่ไหวแล้ว แต่หนูยังไม่อยากตาย ทั้งที่ความคิดว่าว่าตายไปจะดีกว่าไหม เหนื่อยกับความทุกข์ หนูกินฟูออกซิติน แอลฟาโซแลมกับอะติแวนเย็น_ก่อนนอน แต่ตอนเช้าหนูกินฟูออกซิติน กับไดอะแฟม เป็นสิ่งที่ผิดมากไหม?

  2. Pingback: 5 วิธีปฏิบัติเมื่อคนใกล้ตัวเป็น 'โรคซึมเศร้า' เราควรทำอย่างไรดี

  3. Pingback: 5 วรรณกรรมเยาวชน ต้นแบบ โรคผิดปกติทางจิต ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

Comments are closed.

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า