วิธีพัฒนา EF

วิธีพัฒนา EF ในวัยเด็ก โดยคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

วิธีพัฒนา EF ให้ลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถปลูกฝังให้ลูกได้ตั้งแต่ยังเล็ก เป็นการทำให้เด็กๆ รู้จักบริหารความจำใช้งาน มีความคิดใหม่ๆ เพื่อไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ

แม้ว่า EF จะมีนิยามที่หลากหลาย แต่เป็นที่เห็นตรงกันมากที่สุด คือ ประกอบด้วยการควบคุมตัวเอง ความจำใช้งาน และความยืดหยุ่นในการคิดวิเคราะห์

 

มาดูกันว่า วิธีพัฒนา EF มีวิธีอะไรบ้าง และคุณพ่อคุณแม่จะสามารถสอนลูกได้อย่างไร

เล่นซ่อนของกับ 1 ขวบ

ความสามารถในการยับยั้งไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าของทารกเริ่มที่อายุหลัง 4 เดือน และเพิ่มมากขึ้น 2-3 วินาทีทุกเดือน ระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นนี้สัมพันธ์กับระยะเวลาของความจำใช้งานที่เพิ่มขึ้นด้วย

พฤติกรรมที่เด็กหาของเล่นที่จุด A คือบนผ้าก่อนจะย้ายไปจุด B คือใต้ผ้า เรียกว่า Piagetian A-NOT-B task ความสามารถนี้ใช้สาธิตระยะเวลาในการควบคุมยับยั้งได้ดี ทารกจะพัฒนาความสารถที่จะถือครองความจำใช้งานได้นานขึ้นเรื่อยๆ ทุกเดือน และสามารถเปลี่ยนจุดค้นหาของได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ ทุกเดือนเช่นกัน

เช่น เด็กวัย 8 เดือน จะสามารถค้นหาของได้ในบริเวณเดิม เมื่ออายุครบ 1 ปี เขาจะสามารถเล่นซ่อนของกับคุณพ่อคุณแม่ได้ และนำไปสู่การเล่นซ่อนหาได้ในที่สุด

 

สมองที่ดีที่สุดเกิดจากการเล่น

จากวัยเด็กเล็กจนถึงเด็กโต เด็กพัฒนาความสามารถที่จะหยุดความคิดหนึ่งแล้วเปลี่ยนไปที่อีกความคิดหนึ่งได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

เด็ก 3 ขวบ สามารถจัดบัตรสีได้ เช่น สี่เหลี่ยมสีแดงและสามเหลี่ยมสีแดงเอาไว้ด้วยกัน สีเหลี่ยมสีเขียวและสามเหลี่ยมสีเขียวเอาไว้ด้วยกัน แต่ไม่สามารถเปลี่ยนตัวแปรได้ เช่น ให้จัดตามรูปทรงไม่ได้

เด็ก 4 ขวบ สามรถจัดสลับไปมาได้ เช่น จัดสี่เหลี่ยมไว้ด้วยกัน สามเหลี่ยมไว้ด้วยกัน แล้วสลับตัวแปร จัดตามสีก็ได้ด้วย มากกว่านี้คือจัดหมวดหมู่ตามสัตว์หรือสิ่งของได้ด้วย

ความสามารถแบบ A-NOT-B อย่างที่เราเคยเห็นตอนเด็กทารก 12 เดือนแรกเปลี่ยนไปเป็นความสามารถยับยั้งแล้วเปลี่ยนตัวแปรที่ประมาณ 3-4 ขวบ ก่อนที่จะพัฒนาเป็น 3 องค์ประกอบพื้นฐานของ EF คือ ควบคุมยับยั้ง ความจำใช้งาน และคิดยืดหยุ่นต่อไป

จากการติดตาม EF ระยะยาวตั้งแต่อายุ 6-15 ปี พบว่าความจำใช้งานเริ่มชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่อายุ 6-12 ปี ในขณะที่ความยืดหยุนในการคิดวิเคราะห์จะมากขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างอายุ 12-15 ปี ตลอดเส้นทางนี้การควบคุมยับยั้งจะสำคัญที่สุดและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

 

EF พัฒนาได้เมื่อมีเป้าหมาย

เด็กจะพัฒนา EF ได้ต่อเมื่อรู้เป้าหมาย เช่น เล่นเกมให้ชนะ ทำการบ้านให้เสร็จ เก็บกวาดทำความสะอาดห้องของตัวเองให้เรียบร้อย หลายบ้านชอบเรียงเป้าหมายจากง่ายไปมาก ที่จริงแล้วควรเรียกจากยากไปง่าย เพื่อให้เด็กได้ฝึกความสามารถอดเปรี้ยวไว้กินหวาน หรือลำบากก่อนสบายทีหลัง เรียกว่า หน่วงเวลาที่จะมีความสุข

การไปถึงเป้าหมายไม่ใช่เรื่องของเด็กคนเดียว ตัวแปรหนึ่งคือสิ่งแวดล้อม หรือสัญญาณจากสิ่งแวดล้อมที่เด็กต้องเรียนรู้ เช่น ไฟเขียวไฟแดง สายตาจิกของครู เสียงดุของพ่อแม่

พบว่าเมื่อเด็กโตขึ้น เขาจะสนใจสัญญาณจากสิ่งแวดล้อมลดลงเรื่อยๆ เอง ดังนั้นการฝึกให้เด็กมีความสามารถที่จะควบคุมยับยั้งจึงจำเป็นต้องทำตั้งแต่แรก

 

การควบคุมยับยั้งแบ่งเป็น 2 ชนิด

ชนิดที่หนึ่ง เรียกว่าการควบคุมไปข้างหน้า คือการควบคุมตนเองโดยวางแผนล่วงหน้า ยกตัวอย่างการขี่จักรยานไปโรงเรียน เด็กรู้ว่าจะพบสัญญาณไฟและคนเดินเท้าแน่นอน การไปให้ถึงจุดหมายจะใช้สมองส่วนพรีทีลคอร์เท็กซ์มาก นั่นคือ เด็กจะถือครองจุดหมายเอาไว้ตลอดเวลาและไปให้ถึง

 

ชนิดที่สอง เรียกว่าการควบคุมปฏิกิริยา คือการควบคุมตัวเองด้วยปฏิกิริยาตอบโต้ ยกตัวอย่างการขี่จักรยานไปโรงเรียน เด็กไม่รู้ว่าจะมีหมาวิ่งตัดหน้ารถเมื่อไร ทันทีที่หมาตัดหน้ารถ สมองส่วนพรีฟรอนทัลคอร์เท็กซ์จะถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณประสาทการมองเห็นที่ส่งมาจากด้านหลังของสมอง ซึ่งต้องเร็วมากจึงทันการณ์

 

ข้อมูลจากหนังสือ สร้างภูมิดีด้วย EF

เขียนโดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ 

พัฒนา ทักษะEF ให้ลูกได้ไม่ยาก ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนิทาน

EF คืออะไร ทำไม EF ถึงสำคัญกับลูก

60 นิทานแนะนำ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อย

แนะนำหนังสือเลี้ยงลูก คู่มือพ่อแม่สำหรับเด็กแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น

เลี้ยงลูกด้วยดนตรี เสริมสร้างพัฒนาการที่ดีตั้งแต่ลูกยังเล็ก

หลักการ เลี้ยงลูกยุคใหม่ เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่พ่อแม่ยุคใหม่ต้องเข้าใจ

เลี้ยงลูกวัยรุ่น : เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจเรื่องหนักแค่ไหนก็รอด

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า