หนังสือนิทานเล่มบางๆ เล็กๆ แต่มีความยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่!
อ่านนิทานให้ลูกฟัง แล้วลูกจะได้อะไร
ลองมาดูคำแนะนำจากคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและผู้เขียนหนังสือเลี้ยงลูกด้วยนิทาน
การอ่านนิทานให้ลูกฟัง มิได้ให้คาดหวังว่าลูกจะรักการอ่านหรือฉลาด สองเรื่องนี้เป็นเพียงผลพลอยได้ และเราก็ไม่ควรคาดหวังอะไรเช่นนี้ในการเลี้ยงลูก ดีที่สุดคือนี่เป็นเวลาที่เราจะได้อยู่ร่วมกัน
หนังสือนิทานสำหรับเด็กมักมีองค์ประกอบของเรื่องราวที่เหนือจริงเป็นแฟนตาซี และไม่มีเหตุผลรองรับ นั่นคือรูปแบบความฝันของคนเรา ด้วยเหตุนี้ทำให้เราสามารถตีความนิทานได้หลากหลาย ทำนองเดียวกันกับตีความฝันได้หลากหลาย
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud 1856 – 1939)
ฟรอยด์เป็นคนแรกๆ ที่ใส่ใจตีความนิทานสำหรับเด็กโดยพุ่งประเด็นไปที่จิตใต้สำนึก กล่าวโดยสรุปคือ ตัวละครในนิทานสำหรับเด็กมีชีวิต มีแรงจูงใจ และกระทำการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความพึงใจเป็นสำคัญ (libido) ไม่ว่าความพึงใจนั้นจะเป็นเรื่องอะไรหรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม
ฟรอยด์เชื่อว่าตัวละครในนิทานสำหรับเด็ก ซึ่งก็คือตัวเด็กเองที่ฟังหรืออ่านนิทาน มีความปรารถนาจะแช่แข็งความสุขไว้ตรงนั้น ไม่ปรารถนาจะเติบโต พึงใจที่จะเป็นลูกในครรภ์ของแม่ตลอดไป หรือแม้ว่าคลอดมาแล้วก็ปรารถนาที่จะเป็นเด็กเล็กที่คุณแม่มีแต่ให้และให้โดยไม่มีเงื่อนไข อีกทั้งไม่เคยเรียกร้องอะไรจากเขาตอบแทนเลย ไม่เหมือนตอนที่เขากลายเป็นเด็กโตซึ่งจะถูกคาดหวังจากคุณแม่มากขึ้นทุกที
คาร์ล จุง (Carl Jung 1875 – 1961)
จุงเห็นต่างจากฟรอยด์ จุงตีความนิทานสำหรับเด็กว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตพัฒนาต่อไป จากลูกของแม่กลายเป็นบุคคลอิสระ (individuation)
ตัวละครในนิทานสำหรับเด็กจะแสดงให้เห็นการเปลี่ยนผ่าน และคอยช่วยเหลือให้เด็กที่กำลังอ่านหรือฟังนิทานเปลี่ยนผ่านด้วย แม้ว่าในฐานะบุคคลอิสระเด็กอาจต้องการแช่แข็งความสุขและเสพติดความสุขไม่ยอมเติบโต แต่ตามทัศนะของจุงซึ่งเชื่อในจิตใต้สำนึกรวมหมู่ (collective unconscious) แรงจูงใจของจิตใต้สำนึกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของคนส่วนใหญ่มักเอาชนะความปรารถนาที่จะอยู่กับที่ แล้วทำให้เด็กต้องก้าวต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นิทานสำหรับเด็กบางเรื่องจึงไม่เพียงช่วยให้เด็กก้าวเดิน แต่อาจจะถึงกับทำลายวิมานที่เคยมีด้วย และไม่ถดถอยอีก
บรูโน เบทเทลไฮม์ (Bruno Bettelheim 1903 – 1990)
นักจิตวิเคราะห์สมัยใหม่ซึ่งได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเรื่อง The Uses of Enchantment : The Meaning and Importance of Fairy Tales ในปี 1976 และหนังสือตีความเทพนิยายอีกหลายเรื่อง กล่าวว่า นิทานสำหรับเด็กรวมทั้งเทพนิยายเป็นเครื่องมือที่เด็กๆ ใช้รับมือโลกที่ไม่เป็นไปตามที่พวกเขาฝัน และช่วยพวกเขาให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกที่ปกครองโดยผู้ใหญ่
นิทานส่วนใหญ่เล่าเรื่องความขัดแย้งหรือความไม่สมหวังในครอบครัว ในชีวิต รวมทั้งข้อขัดแย้งด้านศิลธรรม บาปบุญ กติกาสังคม หรือข้อห้ามทางประเพณี เด็กๆ อาศัยตัวละครในนิทานจำนวนมากพาพวกเขาก้าวผ่านข้อขัดแย้งเหล่านี้แล้วเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดอ่านของตนเอง ตัวละครในนิทานใดๆ ที่ดูมิใช่คนดีตามนิยามที่รับรู้กันมักจะได้รับความสนใจจากเด็กๆ เป็นพิเศษ พวกเขาโกหก ลักขโมย หนีออกจากบ้าน ฆ่าสัตว์ จุดไฟเผา เหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่เด็กทุกคนในโลกอยากจะทำ แต่ทำด้วยความสะดวกใจไม่ได้
[su_quote]นิทานจะสนุกสนานหรือโลดโผนเพียงใด คนตัวเล็กตัวน้อยในนิทานทุกเรื่องมักรอดชีวิตหรือเป็นปกติสุขในตอนท้ายเสมอ เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบหนึ่งที่ดูเหมือนไร้ความสำคัญในสายตาของผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กๆ แล้วนี่กลับเป็นประเด็นสำคัญมาก[/su_quote]
[su_note note_color=”#aaa9af” text_color=”#eff117″]
เทคนิคการเลือกหนังสือนิทานสำหรับเด็ก
จะเลือกหนังสือให้ลูก เลือกที่อะไรดี
ลองมาดูหลักง่ายๆ จากคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
1.ดูการลงสี สีที่ดีที่สุดสำหรับเด็กเล็กคือสีเทียนหรือสีน้ำ เพราะทำให้พื้นผิว (texture) แตกกระจาย เด็กจะรู้สึกอิสระ ปลอดโปร่ง เบาสบาย มีเสรีภาพ
2.ดูตัวหนังสือ ตัวใหญ่ หัวกลม อ่านง่าย สบายตา
3.ถ้าสองข้อข้างต้นดี รูปจะดูยุ่งเหยิงอย่างไรเด็กก็เห็นทั้งหมด มีรายละเอียดเต็มสองหน้าที่เด็กสนใจ เดี๋ยวพ่อแม่หลับ รับรองเปิดดูไปทีละตารางนิ้วตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย
4.คำบรรยาย ไม่ได้อธิบายรูปเสมอไป แต่รับ-ส่งเนื้อหากับรูปอย่างพอเหมาะ คำบรรยาและรูปหลอมรวมเป็นหนึ่งอย่างกลมกลืน 5.ปิดหน้าขวามือด้วยความตื่นเต้นเสมอ ดึงความสนใจไว้ให้เปิดดูหน้าถัดไป ทำให้เด็กได้รู้ว่า “โลก” ที่เขาเห็นจะไม่มีวันสิ้นสุด จะมีต่อๆ ไป[/su_note]
ข้อมูลจากหนังสือ
เขียนโดย หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก
บทความอื่นๆ
นิทานญี่ปุ่น ส่งเสริมนิสัยและความคิดเด็ก
“เลี้ยงลูกด้วยนิทาน” ปูพื้นฐานพัฒนาการชีวิต 6 ด้าน
ค้นหาพรสวรรค์ในตัวลูก เพื่ออาชีพที่ใช่ในอนาคต
EF คืออะไร ทำไม EF ถึงสำคัญกับลูก
เลี้ยงลูกให้สุขภาพจิตดี ทำอย่างไร
ภาวะผู้นำสร้างได้ในวัยเด็ก มาเริ่มฝึกลูกน้อยได้ตั้งแต่วันนี้
เลี้ยงลูกให้ฉลาด ไม่สำคัญเท่ากับเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดี มีความสุข
7 เคล็ดลับเพื่อฝึกลูกน้อยให้รักการอ่าน
Pingback: รู้จักโรค สมาธิสั้น ในวัยเด็กและวิธีการรักษา โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
Pingback: ภาวะผู้นำสร้างได้ในวัยเด็ก มาเริ่มฝึกลูกน้อยได้ตั้งแต่วันนี้
Pingback: นิทานก่อนนอน-สอนลูกเรื่องมิตรภาพ-ความเอื้อเฟื้อและการแบ่งปัน
Pingback: เทคนิคการอ่านหนังสือ ให้จำแม่น เรียนเก่ง สอบผ่าน ที่ใครๆ ก็ทำได้
Pingback: พัฒนา "ทักษะEF" ให้ลูกได้ไม่ยาก ด้วยการ "เลี้ยงลูกด้วยนิทาน"