เทคนิคการขายงาน ให้ได้งาน ขายไอเดียให้ลูกค้าซื้อทันทีที่เล่าจบ

เทคนิคการขายงาน ที่เจ๋งที่สุด ไม่ใช่การขายให้น่าสนใจเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสร้างการยอมรับ ความสัมพันธ์ส่วนตัว และการโน้มน้าวที่ดีด้วย สำหรับใครก็ตามที่รู้สึกว่าจัดการไอเดียตัวเองไม่ค่อยได้ ลำดับการเล่าไม่น่าสนใจและโน้มน้าวพอ ก็จะได้รู้เทคนิคดีๆ จากบทความอย่างมากเลยละ

มาดูกันว่า เทคนิคการขายงาน ให้ได้งานกลับมามีอะไรบ้าง

 

กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน

เป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้คุณและทีมโฟกัสไปที่การสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ได้ และยังเป็นสิ่งสำคัญในการขายงานด้วย เป้าหมายเป็นจุดเริ่มต้นในการสื่อสาร ซึ่งควรจะสื่อสารความสำคัญของไอเดียเราได้ทันที

ลองนึกภาพว่าคุณได้โอกาสทำแคมเปญใหม่ให้กับแบรนด์ชื่อดัง คุณเริ่มลงแรงกับงานนี้หลายวัน และพร้อมที่จะนำเสนอให้อาร์ตไดเร็กเตอร์ฟังแล้ว แต่คงไม่สามารถเข้าไปขายไอเดียนั้นได้ทันทีเลยใช่ไหมล่ะ อาร์ตไดเร็กเตอร์ที่เก่งๆ คงจะถามกลับว่า “ทำไมเราต้องทำแบบนี้ จะสร้างอิมแพ็กต์แบบไหนกัน”

ลองถามตัวเองว่า คุณพร้อมจะตอบคำถามเหล่านั้นไหม แทนที่จะออกไปขายงานเลย ลองเริ่มจากอธิบายเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนดีกว่า ด้วยคำพูดเหล่านี้

“พี่จำได้ไหมว่าเราอยากให้คนมองแบรนด์ A ในมุมที่เขาช่วยเหลือสังคมและเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารในเวลาเดียวกัน” หรือ “เหตุผลหลักที่ลูกค้าไม่ชอบแผนการตลาดปัจจุบันเป็นเพราะลูกค้าเข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายสักที พี่เห็นด้วยไหมครับ”

นี่เป็นเวลาที่คุณต้องดูให้แน่ชัดว่าอาร์ตไดเรกเตอร์เข้าใจปัญหาตรงกับคุณหรือไม่ ก่อนจะเริ่มทำงานใดๆ ทั้งสองฝ่ายต้องเข้าใจมุมมองและปัญหาที่ตรงกันเสียก่อน เพราะไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการขายไอเดียเริ่มต้นให้กับคนที่มุมมองแตกต่างไปโดยสิ้นเชิงแล้วละ

 

พัฒนาไอเดียให้สมบูรณ์แบบ

เมื่อมีภาพเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ขอให้เก็บเป้าหมายนั้นไว้ในใจก่อน ตอนนี้เป็นเวลาที่เราต้องสร้างไอเดียเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายแล้ว จำไว้ว่า เมื่อคุณนำไอเดียไปขายให้คนอื่น คุณต้องทำให้ไอเดียนั้นไปติดอยู่ในใจอีกฝ่ายได้ในทันที ภายในไม่กี่วินาทีหลังจากที่ได้ฟังการขายไอเดียไป คนเหล่านั้นจะต้องเชื่อว่าคุณทำสำเร็จได้อย่างแน่นอน พวกเขาจะต้องเกิดความรู้สึกว่าไอเดียที่ว่านั้นสำเร็จไปครึ่งทางแล้ว และถ้าอยากจะทำให้สำเร็จ คุณต้องหาจุดสมดุลให้ได้เสียก่อน

 

ทำไอเดียให้ง่ายเกินไป

ไอเดียที่ฟังดูง่ายๆ มักเป็นอะไรที่อันตรายที่สุด ไอเดียประเภทนี้จะฟังดูเหมือนว่าสามารถแก้ปัญหาใหญ่ๆ ได้ในทันที แต่มักจะละเลยรายละเอียดสำคัญๆ ที่จำเป็นในการทำความเข้าใจและแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ไอเดียที่ฟังดูง่ายๆ อาจมีตั้งแต่ไอเดียใหญ่ๆ เช่น “มาสร้างกำแพงกั้นระหว่างประเทศเพื่อกันไม่ให้อาชญากรข้ามเขตแดนเข้ามาในประเทศเรากันดีกว่า” ไปจนถึงเป้าหมายเล็กๆ เช่น “ใส่ปุ่มล็อกอินผ่านทางเฟซบุ๊กไว้บนเว็บไซต์ดีกว่า น่าจะทำให้คนมาเขียนคอมเมนต์กันเพิ่มมากขึ้น”

การพูดเช่นนี้จะทำให้ไอเดียดูง่ายเกินไปและจงใจไม่พูดถึงความซับซ้อนของปัญหา จะทำให้คนอื่นรู้สึกว่าคุณไม่เข้าใจไอเดียของตัวเองอย่างแท้จริง จงจำไว้ว่า อะไรที่ง่ายเกินไป อาจไม่ได้รับความสำคัญ แล้วสุดท้ายสิ่งต่างๆ ก็จะไม่เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ

 

ทำให้ไอเดียยากเกินไป

เวลามีไอเดียใหม่ๆ เรามักจะตกหลุมรักบางไอเดียนั้น แทนที่เราจะฆ่าไอเดียนั้นทิ้งไป เรากลับเริ่มเติมรายละเอียดและชิ้นส่วนเพื่อถมช่องว่างให้เต็ม การทำแบบนี้ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่า เรามีไอเดียที่แก้ปัญหาได้จริงๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาคือปีศาจฟีเจอร์

ไอเดียเหล่านี้ทำให้ดูเหมือนว่าไอเดียเดียวตอบได้ทุกคำถามบนโลก จงฆ่ามันให้ตายก่อนที่มันจะได้เห็นเดือนเห็นตะวัน ไม่อย่างนั้นแล้ว หากมีคนสนับสนุนไอเดียนั้นขึ้นมา มันจะกลายเป็นโปรเจ็กต์ปีศาจที่สูบทั้งงบประมาณ เวลา และความสุขไปจนหมดสิ้น! แต่หากฆ่ามันทิ้งไปได้ คุณก็ไม่ต้องไปเสียดายไอเดียเหล่านั้นหรอก เพราะคุณจะได้พบไอเดียอีกมายมายหลายไอเดียในช่วงชีวิตการทำงานของคุณ

 

เตรียมตัวขายงาน

คุณอาจมีไอเดียที่ดีที่สุดในโลกอยู่ในมือ และรู้อย่างแน่นอนว่าใครจะเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้บ้าง แต่ถ้าคุณไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับคนที่อยู่ในห้องประชุม ก็เหมือนกำลังเล่นเกมที่ไม่ว่ายังไงคุณก็ยังแพ้อยู่วันยังค่ำ จงพูดคุยสร้างสายสัมพันธ์กันไว้ก่อน เพื่อช่วยให้สัมผัสถึงความคาดหวังของพวกเขาได้ดีขึ้น การขายงานก็จะราบรื่นขึ้นด้วย

 

ใช้ก๊อปปี้สั้นๆ แต่ติดหู

คนคงเบื่อแน่ๆ ถ้าต้องนั่งดูสไลด์นำเสนอที่เต็มไปด้วยตัวอักษรมากมาย และต้องฟังคุณอ่านตามสไลด์นั้นไปด้วย ผลที่เกิดขึ้นคือ ผู้ฟังจะไม่ได้สนใจคุณซึ่งเป็นผู้นำเสนอ แต่ไปสนใจอ่านสไลด์แทนยังไงล่ะ

จงทำทุกอย่างให้จับต้องได้เข้าไว้ ใช้สไลด์เพื่อเน้นย้ำเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังการนำเสนอของคุณ และคอยเกาะติดแก่นของเรื่องราวเอาไว้ และคิดอยู่เสมอว่าเป้าหมายของเราคืออะไร

 

จบการขายงานด้วยการเรียกร้องให้เกิดการลงมือทำ

ลบประโยคอ้อมๆ ทิ้งไปให้หมด อย่าพูดในเชิงเสนอแนะหรือเปรียบเทียบ หลีกเลี่ยงประโยคที่ว่า “คงจะดีมากถ้า…” หรือ “บางทีคุณอาจจะพอช่วย…” จงจบการขายงานด้วยประโยคอย่าง “ฟังดูเข้าท่าไหม มาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อทำให้ไอเดียนี้เกิดขึ้นกัน” หรือ “มาช่วยกันสร้างแอปนี้และทำให้การท่องเที่ยวร่วมกับเพื่อนๆ ในโซเชียลมีเดียเกิดขึ้นกัน” จะทำให้ทุกคนอย่างให้ความร่วมมือกับคุณมากกว่า

ลองนำเทคนิคการขายงานจากบทความนี้ไปปรับใช้ดู รับรองว่าการขายงานครั้งหน้าของคุณต้อง “ได้งาน” กลับไปอย่างแน่นอน

 

ข้อมูลจากหนังสือ PITCHING IDEAS ขายงานให้ได้งาน

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

วิธีตั้งรับ เมื่อถูกลูกค้าปฏิเสธสินค้าที่เรากำลังเสนอขาย

วิธีเพิ่มยอดขาย ด้วยการตั้งราคาสินค้าแบบใช้หลักจิตวิทยา

7 เทคนิคพรีเซ้นต์งานให้ปัง ที่พนักงานมืออาชีพทุกคนต้องรู้!

วิธีพรีเซ้นต์ตัวเองและผลงานแบบเนียนๆ ไม่ให้ดูพยายามเกินไป

เทคนิคโน้มน้าวใจคน ด้วยการพูดเพียงครั้งเดียว

 

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า