เทคนิคการหยุดพัก “เรื่องที่ต้องทำ” เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

การมี เรื่องที่ต้องทำ เยอะแยะไปหมด เช่นเรื่องงานที่มีโปรเจกต์นู่นนี่เข้ามาแทรกจนจัดตารางงานไม่ได้ หรือเรื่องส่วนตัวที่ต้องจัดการ ต้องซักผ้า ถูบ้าน พาแม่ไปหาหมอ ฯลฯ

การที่ต้องถูกกำหนดการต่างๆ ไล่ตามทุกวันจะทำให้เราเป็นโรคเครียดได้ ถ้ายังต้องใช้สมุดแพลนเนอร์ หรือกิจกรรมต่างๆ ในปฏิทินในสมาร์ทโฟนแล้วละก็ แสดงว่าคุณมีกำหนดการที่ยุ่งเหยิงพอสมควรเลย คนส่วนใหญ่มักหงุดหงิดเมื่อต้องทำหลายสิ่งหลายอย่างในช่วงสั้นๆ ถ้าสิ่งนั้นสำเร็จไปได้ด้วยดีก็เป็นเรื่องน่ายินดี แต่ส่วนใหญ่มักไม่เป็นแบบนั้นด้วยสิ

เทคนิคหยุดพัก เรื่องที่ต้องทำ จะช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ

 

เว้นช่องไฟบ้าง

สำหรับคนที่งานยุ่งตลอดทั้งสัปดาห์ ควรจัดตารางงานวันไหนสักวันหนึ่ง โดยให้ครึ่งวันนั้นสบายๆ ไม่เร่งรีบบ้าง สำหรับคนที่ไม่ได้งานยุ่งขนาดนั้น ลองนำไปใช้ในการกำหนดตารางงานของตัวเองดู โดยให้แต่ละกิจกรรมเว้นช่วง ไม่ติดมากจนเกินไป เช่น เมื่อเสร็จงานหนึ่งแล้ว ให้ออกไปเดินเล่น 5 นาที ไปสูดอากาศ หลับตานิ่งๆ กินขนม ใดๆ ก็แล้วแต่ที่ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย แล้วจึงเริ่มลงมือทำงานถัดไป

การทำงานติดต่อกันโดยไม่หยุดแม้แต่จะลุกไปเข้าห้องน้ำ ส่งผลให้สมองทำงานหนักจนเกินไป จนอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว วิงเวียนศีรษะ หรือเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้ ในกรณีที่ยุ่งจนไม่มีเวลาเข้าห้องน้ำ

 

ความพยายามที่มากเกินไปส่งผลให้งานแย่ลง

ในวงการกีฬา หากมีการฝึกซ้อมต่อเนื่องที่ยาวนานเกินไป ความเหนื่อยล้าอาจทำให้สถิติไม่ดีขึ้นได้ ฟอร์มการเล่นก็ตกลงด้วย หากเป็นความเหน็ดเหนื่อยในระดับปกติ เมื่อได้รับการพักผ่อนอย่างเหมาะสม ร่างกายจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อตกอยู่ในภาวะฝึกเกินกำลังเมื่อไร อาการอื่นๆ ก็จะตามมา เช่น อาการปวดเมื่อยทั้งตัว นอนไม่หลับ หรือเกิดความผิดปกติในเรื่องการรับประทานอาหาร เช่น ไม่อยากกินข้าว หรือกินข้าวมากเกินไป รู้สึกหงุดหงิด สมาธิลดลง และซึมเศร้า เป็นต้น

ถึงแม้คุณอาจไม่ได้อยู่ในแวดวงนักกีฬา แต่การทำงานอย่างหนัก ไม่หยุดพักเลย มีโอกาสเสี่ยงที่จะอยู่ในภาวะโอเวอร์เวิร์คโดยไม่รู้ตัว มีตัวอย่างให้เห็นมากมายว่า อาจไม่ตกด้วยการเจ็บป่วยเล็กน้อย แต่ถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลเลยทีเดียว

หัวใจสำคัญของการรักษาภาวะโอเวอร์เวิร์ค ไม่ใช่การกินยา แต่คือการพักผ่อนอย่างเพียงพอและเหมาะสม และสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือ “ความกล้าที่จะพัก” โดยปล่อยว่าเรื่องที่ต้องทำบ้าง

 

ไม่ทำงานล่วงเวลา

คนที่เอาแต่คิดว่า “หากทำผิดพลาดจะถูกตำหนิ” นั้นคงรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ เวลาจะขอหยุดงานในแต่ละครั้ง บางคนใช้วิธีกลบเกลื่อนความกังวลเรื่องการผิดพลาดหรือล้มเหลว ด้วยการยกเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับงานมาปกปิดความกังวลในใจ

หากตีความอีกรูปแบบหนึ่ง “การรู้สึกสบายใจเมื่อได้ทำงาน” หมายถึง “รู้สึกกังวลเมื่อหยุดงาน” ความขยันที่ก่อตัวจากความกังวลเชื่อมโยงไปถึงการทำงานล่วงเวลาที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะคนที่รู้สึกดีเมื่อได้ทำงานจนดึกดื่น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญคือคุณภาพของงานไม่ใช่ระยะเวลาที่อยู่ในที่ทำงาน

 

เลือก “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” ก็ได้

หัวหน้ามักสั่งงานเพิ่มบ่อยครั้ง เช่น “ทำเอกสารเตรียมไว้ภายในอาทิตย์นี้ด้วยนะ” ช่วยไม่ได้ที่คนฟังจะเกิดความรู้สึกเชิงลบขึ้น เพราะถูกรบกวนจังหวะการทำงาน หรือบางครั้งก็รู้สึกทั้งตกใจสับสน และโมโหในเวลาเดียวกัน

อาการเหล่านี้แก้ได้โดยเลือกที่จะ “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” โดยกำหนดความสำคัญของงานนั้นๆ โดยพิจารณาจากกำหนดส่งงาน ถ้ายังไม่ใช่เร็วๆ นี้ ก็เอาไว้ทีหลัง ใช้เวลาในปัจจุบันเพื่อจัดการงานที่ต้องใช้ในเร็วๆ นี้ดีกว่า

เมื่อเราใช้วิธีนี้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว เราจะพบว่าเรื่องที่ “ต้องทำเดี๋ยวนี้” “ต้องแข่งกับเวลา” นั้นไม่ได้มีมากมายอย่างที่เราคิดเลย

 

 

 

 

ข้อมูลจากหนังสือ Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริงๆ

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการพักผ่อนให้ถูกวิธี

โรคและความผิดปกติที่มาพร้อมกับการนอนดึก นอนไม่พอ อดนอน

4 พฤติกรรม ยิ่งทำยิ่ง สมองล้า : เมื่อสมองหายล้าชีวิตก็หายเหนื่อย

เคล็ดลับสร้างบรรยากาศในห้องนอน : ถ้าหลับมีคุณภาพก็ลดน้ำหนักได้ผลดี

เคล็ดลับนอนให้ผอม แค่นอนดีก็ลดน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัมภายใน 1 เดือน

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า