ในปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุคที่งานเข้ามาก้าวก่ายในชีวิตของเราได้อย่างง่ายดาย การ พักผ่อน ถูกรบกวนอย่างหนัก เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนอย่างโทรศัพท์ แท็บเล็ต ที่เราสามารถติดต่อ เช็กอีเมลกันได้ตลอดเวลา ทำให้แม้จะเป็นวันหยุดเรากลับรู้สึกว่า หยุดเหมือนไม่ได้หยุด พักผ่อน ได้ไม่เต็มที่ จนทำให้เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้ ทำให้เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นเรื่องที่สำคัญและส่งผลถึงเราโดยตรงอีกด้วย
มาดูกันว่า ถ้าอยาก พักผ่อน แบบได้ประสิทธิภาพจริงๆ ต้องทำอย่างไร
หลอกสมองให้ไม่ต้องคิด
เคยรู้สึกไหมว่าเมื่อใกล้ถึงวันหยุดมักรู้สึกดีใจ แต่พอถึงวันหยุดจริงๆ เรากลับรู้สึกกังวลในเรื่องงานมากกว่าปกติ แสดงว่าเราอาจเสี่ยงกับ “ภาวะซึมเศร้าในวันหยุด” ได้ โดยจะมีอาการดังนี้
• ในวันธรรมดาตื่นนอนได้ตามปกติ แต่ในวันหยุดจะนอนนานเป็นพิเศษ
• มักไม่สบายเมื่อถึงวันหยุด
• หยุดงานทั้งทีแต่กลับไม่สดชื่น
• กังวลเรื่องงานมากในวันหยุด
ให้ลองสังเกตตัวเองดูว่ามีอาการแบบนี้หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเรากำลังอยู่ในภาวะแนวโน้มที่จะเป็นได้ วิธีรับมือคือเราควรรักษาจังหวะเวลาการใช้ชีวิตให้เหมือนเดิม เช่น เวลาตื่นนอน เวลาเข้านอน การทำตัวให้รู้สึกสดชื่นก็สามารถช่วยได้เช่น อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ และเปลี่ยนการคิด ให้ลองมาคิดว่า “โชคดีจังวันนี้ไม่ต้องมาทำงาน” เพียงแค่นี้ก็สามารถเป็นเกราะป้องกัน “โรคซึมเศร้าในวันหยุด” ได้แล้ว
รีเซ็ตอารมณ์ระหว่างวันด้วยการนั่งสมาธิ
การรีเซ็ตอารมณ์ด้วยการนั่งสมาธิสัก 5 นาทีหลังทำงานในช่วงเช้าและหลังรับประทานอาหารกลางวันเสร็จจะเป็นการช่วยเรียกสมาธิให้กลับคืนมาพร้อมที่จะทำงานอีกครั้งในช่วงบ่ายได้ ในช่วงแรกๆ เราอาจจะเบื่อบ้าง แต่ทำไปเรื่อยๆ เราจะชินไปเอง วิธีทำคือ หลับตา พยายามหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ ทำสมองให้ว่าง การหายใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ให้หายใจลึกๆ ลงไปในช่องท้องเพื่อให้แรงลงไปนวดอวัยวะภายใน จะทำให้ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานเพื่อช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย
เราอาจจะลำบากในการหาที่สงบทำสมาธิสักหน่อย ลองไปหาห้องประชุมว่างๆ หรือคาเฟ่เงียบๆ ก็ได้เหมือนกัน หากเราทำได้ติดต่อกันก็จะทำให้สมองเราอ่อนเยาว์และยังคงทำงานได้ดีอย่างแน่นอน
ถ้าต้องเลือกระหว่างงานกับพัก
การพักผ่อน และ การคลายเครียดชั่วครู่ มีความสำคัญมากทั้งในเรื่องเรียนและเรื่องงาน แต่เมื่อเราต้องทำงานแข่งกับเวลา เช่น อ่านหนังสือสอบภายใน 1 คืน และเราจะเกิดคำถามว่า จะต้องพักอย่างไรทั้งๆ ที่แทบจะไม่มีเวลาทำอย่างอื่น แต่คำว่า พักผ่อน และ คลายเครียดชั่วครู่ เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว
การพักผ่อนเราเลือกที่จะดื่มกาแฟสักแก้วก็ได้ ส่วนการคลายเครียดชั่วครู่นั้นก็สามารถทำได้หลายอย่างเช่นกัน เช่น เล่นมือถือ หรือแม้กระทั่งนั่งเหม่อ ร้อยคนร้อยแบบ และมีผลวิจัยว่าการหยุดพักจะช่วยให้เพิ่มความสามารถในการจำให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
เว้นระยะห่างในชีวิตจริงกับคนที่ไม่ชอบเพื่อให้ “จิตใจได้ลาพักร้อน”
คำว่า “พักความสัมพันธ์” ไม่ได้หมายถึงการหยุดงานอย่างเดียว แต่หมายถึงการปิดสวิตช์ความกระตือรือร้นในการเข้าสังคม ลองลาหยุดในวันธรรมดาเพื่อให้มีเวลาส่วนตัวมากขึ้น โดยเฉพาะกับคนที่มีครอบครัวแล้วที่หาเวลาส่วนตัวยาก เมื่อเราได้ลาหยุดวันธรรมดาเราจะได้โอกาสนั้นมากขึ้น การที่เราหยุดพักกับความสัมพันธ์ในเวลาที่เราอยู่คนเดียวก็ไม่ได้แย่อะไร
เมื่อได้ลาหยุดทั้งทีเราควรหาสถานที่ลับของตัวเองดูที่นอกจากบ้านเพื่อได้ใช้เวลาส่วนตัวตามลำพังได้ เช่น ห้องสมุด ร้านกาแฟแต่สำหรับคนที่หยุดทั้งวันได้ยาก ให้ลองดูถึงการลาหยุดครึ่งวัน หรือ การลาหยุดรายชั่วโมง หรือการกลับบ้านเร็วขึ้นเพื่อให้ได้ใช้เวลากับตัวเองก็เป็นวิธีที่ดีเช่นกัน เมื่อเราได้พักความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วยการหาสถานที่ลับแล้ว จะเป็นการเพิ่มพลังงานชีวิตได้อย่างดี
การลาหยุดไม่ใช่เรื่องแย่
บางคนเมื่อมีความคิดที่อยากหยุดหรือยื่นขอลาพักร้อนไปกลับรู้สึกแปลกๆ เหมือนตัวเองทำผิดทั้งๆ ที่มันเป็นสิทธิ์ทั่วไปของพนักงาน พอได้หยุดจริงๆ กลับรู้สึกผิดขึ้นมาและกังวลเรื่องงาน ความรู้สึกผิดสามารถทำให้เรารู้สึกหมดสนุกไปกับการพักร้อนไปเลย และเกิดการอยากไท่โทษทีหลังด้วยการอาสาที่จะรับผิดชอบงานหนักๆ เมื่อกลับมาทำงานต่อ หรือพอเห็นเพื่อนร่วมงานหยุดบ้างในใจก็คิดว่า “ทำไมถึงได้หยุดอย่างสบายใจกันนะ ไม่ยุติธรรมเลย”
สิ่งที่เราควรทำเมื่อเจอเหตุการณ์นี้ คือ ต้องเลิกโทษคนอื่น และให้ยึดมั่นว่า ‘‘การลาพักร้อนเป็นสิทธิ์ของพนักงาน” หรือพยายามคนรอบตัวโดยการซื้อของฝากบ้าง และหมั่นคิดบวกว่า การหยุดพักคือการรีเซ็ตร่างกายและอารมณ์ และการที่เราใส่ใจกับด้านบวกจะทำให้ความรู้สึกผิดลดน้อยลงอีกด้วย
ข้อมูลจากหนังสือ Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริงๆ
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
เทคนิคการหยุดพัก “เรื่องที่ต้องทำ” เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการพักผ่อนให้ถูกวิธี
Mindfulness เบื้องหลังความสำเร็จที่องค์กรยักษ์ใหญ่ทั่วโลกต่างใช้
วิธีเปลี่ยนความเครียดให้เป็น ความสงบ เพื่อชีวิตที่ราบรื่น
เคล็ดลับการนอนฉบับสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยวิจัยอันดับหนึ่งด้านการนอนหลับ