4 เทคนิคขายของให้รุ่ง ขายได้ขายดี ไม่มีสต๊อกสินค้า

จะเริ่มขายของยังไงดี!?

มาดู 4 เทคนิคขายของ ง่ายๆ ขายได้ขายดี สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่

มนุษย์เงินเดือนหลายคนต้องการหารายได้เพิ่ม เลยมองหาสินค้ามาขายของมาเป็นอาชีพเสริม บางครั้งขายดี บางทีก็ขายไม่ออก บางคนวิเคราะห์ตามหลักการตลาดก็แล้ว พัฒนาสินค้าก็แล้ว เหมือนกำลังจะขายได้แต่ทำไมพอเอ่ยปากพูดกับลูกค้าแล้ว ลูกค้าถึงเดินออกจากร้านไป  ไม่เข้าใจเลยจริงๆ แล้วเราต้องทำยังไงให้ขายของได้เรื่อยๆ แบบไม่ต้องมาคอยกังวลเรื่องสต๊อกสินค้าล่ะเนี่ย  

ไม่ต้องกังวลไป รู้ไหมว่า…สถานการณ์แบบนี้มีวิธีแก้ไข

ลองมาดูคำแนะนำจาก อากิระ คากาตะ ผู้ขียนหนังสือ ขาย 100 คน ซื้อ 99 คน เจ้าของฉายา “พระเจ้าแห่งการขาย” ผู้ปิดการขายได้ 99% ภายในครั้งแรกที่เจอลูกค้า

เขาทำได้อย่างไร ลองมาดู 4 เทคนิคขายของ ให้รุ่ง ไม่ว่าจะขายอะไรก็ขายได้ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้!

 

เทคนิคขายของ

มั่นใจในสินค้าของตัวเอง

คำว่า โลกใบนี้ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ เป็นจริงเสมอ ไม่ว่าจะกับบุคคลหรือกระทั่งสิ่งของ สินค้าที่เราขายก็เช่นกัน ถ้าเราคิดว่ามันไม่ดี แล้วใครที่ไหนจะอยากได้ของที่ไม่ดี 

แทนที่จะเอาแต่มองหาจุดด้อยของสินค้านั้น  ทำไมเราไม่มองหาข้อดีของสินค้าชิ้นนี้ที่คุณคิดว่าจะมีประโยชน์ต่อลูกค้าล่ะเพราะข้อเสียอย่างไรก็ไม่มีทางแก้ไขได้อยู่แล้ว ดังนั้นการจะพูดตอกย้ำไปอีกก็ไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์อันใด 

เราลองมาดูตัวอย่างการขายคอนโดทำเลไม่ดีของอากิระ คากาตะกัน 

แมนชั่นที่ด้านหลังเป็นภูเขา ด้านหน้าเป็นทะเล ทำเลไกลจากรถไฟฟ้า เดินทางเป็นชั่วโมงกว่าจะเข้าเมืองได้ ซึ่งขนาดฝ่ายขายคอนโดยังพูดว่า ทำไมมาสร้างในที่แบบนี้ก็ไม่รู้  เปิดมา 1 ปี ขายได้เพียง 5 ห้องเท่านั้น 

แต่คากาตะ กลับขายแมนชั่นนี้ได้หมด 27 ห้องภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนและได้เงินค่าตอบแทนเทียบเท่ากับรายได้ของพนักงานกินเงินเดือน 10 ปี

เพราะแทนที่เขาจะมองข้อเสียเหล่านั้น เขากลับเสนอข้อดีของคอนโดเหล่านี้ให้แก่ลูกค้า การที่อยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าไกล ก็ทำให้เราได้เดินออกกำลังกายไปในตัว ถึงแม้จะติดป่าติดเขาติดทะเล แตข้อดีของมันก็คือการได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ วิวสวย อากาศก็ดี การเดินทางไกลๆ ก็ช่วยให้เราได้มีเวลาอ่านหนังสือ หรือแอบงีบก่อนถึงที่หมายด้วย

นี่แหละเคล็ดลับการขายจาก อากิตะ ผู้ได้ฉายาว่า “พระเจ้าแห่งการขาย”

 

อย่ารีบร้อนอธิบายสินค้าของตัวเอง

ถ้าอยากให้ลูกค้าสนใจสินค้า เราต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความจำเป็นของสินค้านั้นด้วยตัวเอง โดยเราอาจมอบความกังวลและความกลัวให้ลูกค้า  เราต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแม้ตอนนี้ยังไม่มี แต่ต่อไปหากมีไว้ย่อมดีกว่า  เราต้องเน้นตรงข้อดีที่ใช้มันเมื่อเทียบกับตอนที่ไม่ได้ใช้ ถ้าทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า การที่ตอนนี้เราไม่มีมันเป็นการเสียประโยชน์แล้วล่ะก็ ไม่ว่าสินค้าแบบไหนก็ขายได้แน่นอน อย่างการขายโทรทัศน์ในร้านเครื่องไฟฟ้าใหญ่ๆ

“โทรทัศน์ที่ใช้อยุ่ตอนนี้ก็เป็นโทรทัศน์ที่ดีมากนะครับ แต่ลองสังเกตไหมครับว่า พอดูไปนานๆ แล้วสายตาจะเริ่มล้า โทรทัศน์แบบใหม่เครื่องนี้นะครับ ไม่ทำให้ตาล้า แถมยังมีความคมชัดที่ระดับ…. สวยงาม คุณสามารถดูภาพยนตร์หรือชมกีฬาได้แบบสบายตายิ่งขึ้นนะครับ”

เราไม่ต้องรีบอธิบายสินค้าเราเลย เพียงแค่มอบข้อเสียของสินค้าเก่าให้พวกเขาฟังก็พอแล้ว

 

คุยกับลูกค้าให้อีกฝ่ายรู้สึกอยากซื้อเอง

การพูดว่า สนใจไหม สินค้านี้ดีนะ ยิ่งเป็นการกดดันให้ลูกค้าตัดสินใจ บางครั้งลูกค้ายังไม่ทันได้คิดอะไร ก็จะตอบมาเพียงว่า “ค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ แล้วจะกลับมาดูใหม่นะคะ” แล้วสุดท้ายลูกค้าก็จะลืมสินค้าของเราไป แล้วไม่หวนกลับมาอีก เพราะการชวนคุยกับลูกค้าที่ดี ควรใช้คำพูดที่ทำให้ลูกค้า รู้สึกอยากได้ของเหล่านั้นด้วยตัวเอง เช่น โดยเราจะไม่นำเสนอว่า สินค้านี้ดี  แต่เราต้องตั้งคำถามกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความคิดว่า นั่นสิ  อันนี้ดีแฮะ  แล้วตัดสินใจซื้อเอง!   ลองมาดูเทคนิคการตั้งคำถาม เพื่อขายคอนโดของคากาตะกันเลย

เมื่อลูกค้ากำลังเดินชมห้อง แต่ก็ยังลังเลไม่แน่ใจว่าต้องการห้องนี้ไหม  คุณคากาตะจะพูดกับลูกค้าว่า “ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าค่าเช้าบ้านตอนนี้ประมาณเท่าไหร่ครับ” ถ้าถามอย่างนี้ ต่อให้เป็นลูกค้าที่นิ่งเงียบขนาดไหนก็ต้องตอบ พอเขาตอบมา เราก็ถามต่อว่า “ไม่ทราบว่าจ่ายค่าเช่าบ้านมากี่ปีแล้วครับ”  “โอ้โห ถ้าคำนวณคร่าวๆ ก็เท่ากับจ่ายมากว่า…..บาทแล้วนะครับเนี่ย ถ้าหากเราจ่ายเงินขนาดนี้เพื่อการเช่าบ้านซึ่งเป็นการจ่ายเสียเปล่า กับการจ่ายเงินกู้เพื่อให้มีบ้านของตัวเองเอง คิดว่าแบบไหนให้ความรู้สึกที่ดีกว่ากันครับ”

แม้ลูกค้าอาจจะเคยคิดถึงข้อเสียที่เราพูดถึงอยู่บ้าง แต่เมื่อมาเจอคนอื่นถามอีกครั้ง ลูกค้าก็จะเริ่มคิดคำนวณ เริ่มคิดถึงข้อเสียของการเช่าบ้านไปเรื่อยๆ ต่อให้เราไม่พูดว่า การเช่าบ้านมันเป็นการจ่ายเงินเที่เสียเปล่า ออกมาตรงๆ ลูกค้าก็จะต้องรู้สึกได้เอง พอรู้สึกแล้ว ก็ขายได้ทันที เพราะลูกค้าจะรู้สึกดีที่ตัวเองเป็นคนตัดสินใจเอง

 

มนุษยสัมพันธ์ก็สำคัญ

การขายของได้ นอกจากการนำเสนอสินค้าอย่างดีแล้ว มนุษยสัมพันธ์ของคนขายที่มีต่อลูกค้าก็สำคัญ ก่อนอื่นเลยเราควรต้องรู้ว่า ทุกคนโหยหาความรู้สึกเป็นคนสำคัญ  อยากรู้สึกดี มีความสุข 

วิธีที่ได้ผลเลยคือการมองหาข้อดีอีกฝ่าย พูดออกมาด้วยความรู้สึกจริงใจ อีกฝ่ายก็จะสัมผัสได้แน่นอน ในกรณีของลูกค้าที่เพิ่งเดินเข้ามา เราอาจเริ่มต้นด้วยคำทักทาย สวัสดีค่ะ/ครับ แล้วลองมองหาสิ่งที่จะต่อยอดมนุษยสัมพันธ์จากสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน จากลูกค้า เช่น เอ่ยชมลูกค้า  แต่ไม่ใช่การเอ่ยชมตรงๆ แต่เราจะต้องตั้งคำถามที่เหมือนคำชม เช่น  “ขอโทษนะคะ กระเป๋าใบนี้ซื้อที่ไหนหรือคะ ดูเหมาะกับคุณมากเลยค่ะ”  และอีกฝ่ายก็จะเริ่มเล่าเป็นคุ้งเป็นแควราวกับรอให้คนมาถามอยู่พอดีเลย! เพราะการคุยเรื่องที่เราภาคภูมิใจ ทำให้คนเราสบายใจ  แล้วหลังจากนั้นเราอาจจะเริ่มด้วยคำว่า “ลองสะพายดูกระเป๋าใบนี้ไหมคะ ดูแล้วเป็นแนวที่คุณจะต้องชอบแน่ๆ…”

ถ้าเราชมตรงๆ ลูกค้าอาจจะพูดแค่ว่า ขอบคุณค่ะ แต่ถ้าเราตั้งคำถามชวนคุยกับลูกค้า รับรองว่าได้เม้าท์มอยกันต่อยาวๆ เลยล่ะ

นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนลูกค้าทั่วไปให้กลายเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีกับเราด้วยมนุษยสัมพันธ์ แต่อย่าลืมว่าหากลูกค้าของคุณเริ่มแสดงสีหน้านิ่งเฉย  หรืออยากคุยกับเพื่อนของตัวเองมากกว่า ให้คุณหลบฉากออกมา ด้วยคำพูดว่า “เชิญดูสินค้าตามสบายได้เลยนะคะ” เพราะการไม่สร้างความรำคาญใจให้กับอีกฝ่าย ก็เรียกได้ว่าเป็นการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเช่นกัน

 

 

 

สุดยอดเทคนิคขายสินค้าจากเล่มนี้

ราคา 195

สั่งซื้อ คลิกที่นี่


บทความอื่นๆ

6 องค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ให้ปัง! ในยุค 4.0

5 กลยุทธ์สร้างแบรนด์ไฮเอนด์จาก CEO ระดับโลก

ช็อปปิ้งให้คุ้มค่าด้วย 3 เทคนิค อ่านตัวเลขจากญี่ปุ่น

5 กลยุทธ์การทำธุรกิจแบบ หัวเว่ย HUAWEI

จากศูนย์สู่ ZARA อามันซิโอ ออร์เตกา จากลูกจ้างการรถไฟสู่อาณาจักรแฟชั่นหมื่นล้าน

จากมดงานสู่มังกรรบ ด้วย 4 คติพจน์ของ ‘หัวเว่ย’

5 วาทะเด็ดสอนพนักงานของ เหรินเจิ้งเฟย CEO หัวเว่ย

บริหารจัดการเงินอย่างไร เมื่อต้องสร้างครอบครัว

รู้จักกับฟิล ไนต์ ผู้ก่อกำเนิด Nike

 

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า