หมกมุ่น

5 วิธีแก้นิสัยหมกมุ่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป

หลายคนมีพฤติกรรม หมกมุ่น กับบางสิ่งจนไม่สนใจคนหรือสิ่งรอบข้าง เช่น หมกมุ่นกับเรื่องราวอันแสนเจ็บปวดในอดีต หมกมุ่นกับการเล่นเกม หรือหมกมุ่นอยู่กับความฝันที่ไม่เป็นจริง

 

นิสัย หมกมุ่น เหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

 

ยอมรับอดีต

ในเวลา 1 นาที ลองไตร่ตรองถึงธรรมชาติของอดีตที่ถาวรและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

คุณจะยอมรับว่าอดีตเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ถาวรด้วยการสร้างเครื่องเตือนใจในแต่ละวันว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตอบ สิ่งนี้จำเป็นต้องปฏิบัติด้วยเหตุผลก่อนที่จะปฏิบัติด้วยอารมณ์ การปฏิเสธความจริงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณหมกมุ่นครุ่นคิด ใคร่ครวญแต่เรื่องอดีตอยู่ตลอดเวลา ไม่ Move on ไปข้างหน้าเสียที

 

ลงมือทำแทนการหมกมุ่น

ลองลงมือทำในทิศทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่คุณหมกมุ่นอยู่ ถ้าคุณหมกมุ่นว่าจะเสียลูกค้าในธุรกิจของคุณ ให้เริ่มหาลูกค้าใหม่หรือโทรศัพท์หาลูกค้าอีกสักครั้ง ถ้าคุณหมกมุ่นเรื่องการถกเถียง จงปฏิบัติต่อคนที่คุณกำลังเถียงอยู่ให้ดีขึ้น หรือวางแผนแพลนเที่ยวสนุกๆ กับเพื่อนคนอื่น ถ้าคุณหมกมุ่นกับความเสียใจ เรื่องราวอันแสนเศร้าที่แก้ไขอะไรไม่ได้ ให้ทำก้าวเล็กๆ หรือหาวิธีอื่นเพื่อทำให้ชีวิตเดินไปข้างหน้าได้

วิธีที่ดีที่สุดเพื่อเปลี่ยนใจของคุณสักเรื่อง คือ การปฏิบัติตามความเปลี่ยนแปลงที่คุณหวังจะเปลี่ยน ถ้าเอาแต่คิดถึงแต่เรื่องราวในอดีต การลงมือทำซะตอนนี้ (โดยเฉพาะในเรื่องที่กำลังหมกมุ่นครุ่นคิด) คือวิธีที่ดีที่สุดเพื่อหยุดยั้งมัน เช่น ถ้าคุณหมกมุ่นเรื่องการสัมภาษณ์งานที่ไม่ดีนัก การสมัครงานอื่นๆ เพิ่มคือสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณทำได้ ถ้าคุณหมกมุ่นเรื่องความสัมพันธ์ การออกไปพบปะผู้คนใหม่ๆ คือวิธีที่ดีที่สุดที่คุณทำได้เพื่อเดินไปข้างหน้า

ถ้าการหมกมุ่นอยู่กับเหตุการณ์อันน่าสลด การตัดสินใจทั่วไปเพื่อใช้ชีวิตให้ถึงขีดสุดคือสิ่งที่ดีที่สุด และก้าวเล็กๆ ช่วยเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะเกณฑ์มาตรฐานการกระทำที่ลดลงทำให้ผู้คนที่อ่อนล้าทางใจสามารถปฏิบัติตามเกณฑ์นั้นได้

 

ทำความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงและความล้มเหลว

ถ้าคุณมัวแต่หมกมุ่นอยู่กับผลลัพธ์ที่ออกมาในแง่ลบหรือความผิดพลาดต่างๆ ใช้เวลาสัก 1 นาทีเพื่อพิจารณาว่ามันเกิดขึ้นจากความเสี่ยงหรือความล้มเหลว ถ้าเป็นความล้มเหลวเพียงอย่างเดียว ให้คิดหาวิธีการอื่นๆ แล้วลองใหม่ แต่ถ้าเกิดจากความเสี่ยงล้วนๆ ให้ใช้วิธีการเดิมอีกครั้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าเกิดจากสองอย่างรวมกัน ให้พยายามต่อไปพร้อมทั้งปรับวิธีการตามไปด้วย

ความล้มเหลวเกิดขึ้นเมื่อคุณเพียงคนเดียวรับผิดชอบผลของการกระทำ เช่น ถ้าคุณสะดุด กุเรื่องว่าอยู่ผิดที่ผิดทางเพื่อมาเป็นข้ออ้าง หรือสะกดคำว่า “สะกดผิด” ผิด ส่วนความเสี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อมีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ชวนคนหนึ่งมาดินเนอร์ ขอขึ้นเงินเดือน หรือได้คะแนนรายงานต่ำกว่าที่คิดไว้

ตัวอย่างที่น่าสนใจอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ การไขว่คว้าเป้าหมายของแต่ละคนก็เหมือนกับการออกกำลังกาย ถ้าคุณไม่ออกกำลังกาย สิ่งนี้มีความหมายมากกว่าคำว่าล้มเหลวเสียอีก เพราะมันขึ้นอยู่กับตัวคุณล้วนๆ ว่าจะไปฟิตเนสหรือไม่

นั่นคือสาเหตุว่าเหตุใดคนถึงประสบความสำเร็จเมื่อพวกเขาทำกิจวัตรเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่น ซิทอัพก่อนอาบน้ำ 10 ครั้ง วิดพื้น 5 ครั้งทุกวัน เป็นต้น

แนวคิดทั่วไปที่เอาชนะการหมกมุ่นครุ่นคิดได้นั้นคือการพยายามพ่อไป การเข้าใจความเสี่ยงและความล้มเหลวมีประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนทางอารมณ์และตอบสนองผลลัพธ์ในแง่ลบด้วยเหตุผล เมื่อคุณตระหนักได้ว่า “ความล้มเหลว” ของคุณที่แท้จริงแล้วเป็นผลลัพธ์จากความเสี่ยง การปล่อยให้ตัวคุณได้พักบ้างและพาตัวเองกลับไปตรงนั้นอีกครั้งคือวิธีที่ง่ายกว่าเยอะ

 

เปลี่ยนวิธีพูดคุยกับตัวเอง

ถ้าคุณกำลังหมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ ให้ขจัดคำว่า “ควรจะ” ออกจากสมอง และแทนที่ด้วยคำว่า “น่าจะ” ในแง่ของตัวเลือกที่เป็นไปได้อีกทาง ถ้าคุณไม่ได้กำลังหมกมุ่นให้นึกถึงความยากลำบากในชีวิตตอนนี้ และเลือกมองมันเป็นความท้าทาย แทนที่จะเห็นว่ามันเป็นความท้าทาย แทนที่จะเห็นว่ามันเป็นสถานการณ์ที่ “ยาก” หรือ “ลำบาก”

 

“ควรจะ” คือความรู้สึกผิดต่ออดีต “น่าจะ” คือโอกาสสำหรับอนาคตการพูดคุยกับตัวเองเกี่ยวเนื่องกับมุมมองของคุณเป็นอย่างมาก และในเมื่อนี่เป็นวิธีหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดเพื่อการเปลี่ยนแปลง วิธีนี้จึงส่งผลกับชีวิตของคุณได้อย่างน่าทึ่งภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว

 

จัดการกับเวลา

อย่างน้อยแค่วันละครั้ง ใช้อุปกรณ์จับเวลาเพื่อจุดประกายตัวเองให้ทำภารกิจที่จะปรับปรุงหรือทำให้จิตใจของคุณออกห่างจากการหมกมุ่นครุ่นคิดได้โดยตรง

 

จงกระตือรือร้น ไม่ว่าคุณจะหมกมุ่นเรื่องอะไรอยู่ก็ตาม คุณต้องกระตือรือร้น ยิ่งคุณกระตือรือร้นในช่วงเวลาปัจจุบันมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งหมกมุ่นครุ่นคิดน้อยลง และมีโอกาสสร้างชีวิตในตอนนี้ให้มีคุณค่า โดยทั่วไปแล้ว กลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือคุณต้องมีกิจวัตรเล็กๆ น้อยๆ และเพื่อให้คุณทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นดังนี้

 

1.นับถอยหลังให้ลงมือทำ : เมื่อเวลาใกล้หมดลง คุณต้องเริ่มภารกิจของคุณเดี๋ยวนี้

2.นับถอยหลังสู่การตัดสินใจ : คุณต้องตัดสินใจให้เด็ดขากก่อนเวลาจะหมดลง

3.จับเวลาการมุ่งความสนใจ : ในเวลา x นาที คุณต้องมุ่งความสนใจไปที่ภารกิจที่คุณเลือก

4.เทคนิคโพโมโดโร : ทำงาน 25 นาที พัก 5 นาที ทำแบบนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ

5.ม้าหมุนแห่งการทำงานและการพักผ่อน : ทำงาน 1 ชั่วโมง พัก 1 ชั่วโมง ทำเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ

 

ข้อมูลจากหนังสือ สำเร็จได้ไม่ต้องรอให้สมบูรณ์แบบ

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

ความคิดที่ขวางทางก้าวหน้า ทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จ

วิธีเปลี่ยนแปลงตัวเองฉบับเร่งรัด เป็นคนใหม่ได้ง่ายๆ ใน 5 สัปดาห์

วิธีเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมใน 7 วัน

เลิกยึดติดความสมบูรณ์แบบ (perfectionism) แล้วชีวิตจะก้าวหน้า

 

One thought on “5 วิธีแก้นิสัยหมกมุ่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป

  1. Pingback: นิสัยที่ควรเลิกทำ ถ้าอยากจิตใจเข้มแข็งและโตมากขึ้นกว่าเดิม

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า