วิธีเอาตัวรอดเมื่อประสบภัยฉุกเฉิน ผู้ประสบภัย

วิธีเอาตัวรอดเมื่อประสบภัยฉุกเฉิน เพราะวันหนึ่งเราอาจเป็นผู้ประสบภัย

เรื่องฉุกเฉินเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เลยอยากแบ่งปันเกร็ดความรู้ว่าต้องรับมือกับเหตุการณ์คับขันอย่างไรเมื่อต้องเจอกับภัยฉุกเฉิน เพราะวันหนึ่งเราอาจเป็น ผู้ประสบภัย ก็เป็นได้

 

เมื่อ ผู้ประสบภัย ไม่มีน้ำกิน

วิธีลดความกระหายน้ำ

ผู้ประสบภัย

 

หากเราเป็นผู้ประสบภัย ที่ขาดน้ำ เวลาที่ร่างกายขาดนํ้า อย่าออกแรงทำอะไรมากนัก ให้หลบพักอยู่ในที่ร่ม พยายามกินอาหารให้น้อยลง เนื่องจากร่างกายต้องใช้นํ้าปริมาณมากในการช่วยย่อย และไม่ควรดื่มเหล้า

การพูด หรือหายใจทางปากทำให้มีโอกาสสูญเสียนํ้ามาก เราจึงรู้สึกกระหายนํ้าเพิ่มขึ้น ดังนั้นให้พยายามหายใจทางจมูก

ในกรณีที่ประสบภัยและไม่มีนํ้าดื่ม เราไม่ควรรับประทานอาหารปริมาณมาก เพราะถ้ารับประทานอาหารแห้งๆ ที่ไม่ค่อยมีนํ้า ลำไส้จะดึงนํ้าในร่างกายมาช่วยย่อย ซึ่งอาหารจำพวกไขมันจะใช้นํ้าปริมาณ มากที่สุดในการย่อย และเนื่องจากนํ้าในร่างกายมีอยู่อย่างจำกัด จึงอาจทำให้เกิดภาวะขาดนํ้าได้

 

ถ้าหดหู่ ตกใจ

ให้ พักหายใจลึกๆ

 

 

เมื่อต้องกลายเป็นผู้ประสบภัย ร่างกายและจิตใจจะอ่อนแอได้ง่าย ทำให้เรารู้สึกหดหู่หมดหวังที่จะมีชีวิตอยู่ ยิ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความกลัวหรือความตกใจ จากการบาดเจ็บ เราจะรู้สึกเครียด หิว หงุดหงิด และเหนื่อยง่ายกว่าปกติ

ถ้าเหตุการณ์วิกฤติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรหาที่สงบพักหายใจลึก ๆ และพยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลา

 

วิธีรับมือ

เมื่อหลงทางบนภูเขา

เมื่อหลงทางหรือประสบอุบัติเหตุบนภูเขา เราคงต้องค้างคืนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการเดินทางบนภูเขาในเวลากลางคืนเป็นเรื่องที่อันตรายมาก

เราต้องเตรียมหา อาหาร น้ำ และที่พักหลบภัยไว้

ที่พักหลบภัยอาจทำขึ้นจากเสื้อผ้า ผ้าห่ม ใบไม้ ไม้กระดาน ฯลฯ เพื่อป้องกันลม และปกป้องร่างกายไม่ให้อุณหภูมิลดต่ำลง

วิธีส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ

แบบต่างๆ

 

มีวิธีส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือหลายแบบเมื่อประสบภัย สิ่งสำคัญคือการแจ้งตำแหน่ง และสถานการณ์ที่ประสบอยู่

สัญญาณไฟเป็นสัญญาณที่ใช้ได้ผลมากที่สุด ให้รวบรวมเชื้อเพลิง ก่อไฟและส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ

นอกจากนี้อาจใช้กระจกสะท้อนแสง วางสิ่งของที่มี สีสันสะดุดตาไว้รอบ ๆ ใช้ไฟฉายส่งสัญญาณขึ้นฟ้าในตอนกลางคืน หรือส่งเสียงร้องตะโกนเพื่อขอความช่วยเหลือก็ได้

 

วิธีหาทิศ

เมื่อไม่มีเข็มทิศ

ถ้าสังเกตลักษณะการแผ่ของกิ่งไม้ฝั่งที่ใบไม้มีขนาดเล็กกว่าปกติมักจะเป็นทิศเหนือ ส่วนฝั่งที่ใบไม้มีขนาดใหญ่และเจริญเติบโตได้ดีมักจะเป็นทิศใต้

สำหรับทางซีกโลกใต้ เมื่อจะหาทิศให้เลข 12 ของนาฬิกาชี้ตรงกับพระอาทิตย์ ทิศตรงกึ่งกลางระหว่างเข็มสั้นกับเลข 12 ก็คือทิศเหนือ

 

ร่างกายเย็นจัด

ต้องใช้ผ้าห่มฉุกเฉิน

 

ผ้าห่มฉุกเฉิน หรือ emergency (survival) blanket ทำมาจากอะลูมิเนียมอย่างดี ป้องกันความหนาวเย็นได้ดีเทียบเท่าผ้านวม สามารถใช้ต้านได้ทั้งภัยจากนํ้าและภัยจากลม จึงถือเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อประสบภัย เพราะช่วยปกป้องอุณหภูมิของร่างกายได้

ถ้าใช้ห่อหุ้มสถานที่หลบภัย ก็จะช่วยป้องกันลม สามารถสะท้อนความร้อนและป้องกัน รังสีจากดวงอาทิตย์ และเนื่องจากผิวด้านนอกทำมาจากอะลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะ จึงสะท้อนแสงได้ดี สามารถใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้แทนกระจกได้ มีน้ำหนักเบา สามารถพับและพกพาติดกระเป๋าเวลาเข้าป่าได้ง่าย

 

เราไม่อาจรู้ได้ว่าเราจะเจอเรื่องฉุกเฉินแบบนี้เมื่อไหร่ รู้ไว้ไม่เสียหาย ถือเป็นการเตรียมพร้อมหากไปเที่ยวผจญภัยธรรมชาติจ้า

ข้อมูลจากหนังสือชุด วิทยาศาสตร์ฉลาดรู้

เรื่อง sos เอาตัวรอดจากเรื่องฉุกเฉิน

ราคา 199 บาท

พบกับการ์ตูนความรู้ที่มีประโยชน์ได้มากมายจาก สนพ. Amarin Comics

สนใจ คลิก


 

บทความอื่นๆ

 

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า