7 เคล็ดลับเพื่อฝึกลูกน้อยให้รักการอ่าน

 

การอ่านเปลี่ยนสมองของมนุษย์และสืบทอดสมองนี้ต่อกันมาหลายพันปีจนถึงปัจจุบัน หลายล้านปีที่มนุษย์ถ้ำออกล่าสัตว์ด้วยสมองที่ไม่ได้ออกแบบไว้เพื่อการอ่าน จนกระทั่ง 5,400 ปีที่แล้วมนุษย์เริ่มขีดเขียนได้บริเวณที่ราบลุ่มซึ่งกลายเป็นอิรักทุกวันนี้  และกว่าจะประดิษฐ์อักษรได้ก็เมื่อ 3,800 ปีก่อน หลังจากนั้นมนุษย์จึงเริ่ม อ่านอย่างแท้จริง ทำให้สมองคนเราเปลี่ยนไปนับจากนั้นเป็นต้นมา

[su_note note_color=”#2c7db3″ text_color=”#d1cfcf”]

× สิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการนำเรื่องหนังสือและการอ่านใส่ลงไปในเรื่องของเด็กเล็ก เพราะเด็กเล็กจะมีพัฒนาการในด้านทักษะทางภาษา ทั้งงานวิจัยในต่างประเทศหรือแม้กระทั่งในโครงการบุ๊ก สตาร์ท ประเทศไทย ที่เก็บข้อมูลสำรวจก็พบว่า ช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่สำคัญมากที่สุด เป็นช่วงวัยแห่งการเตรียมความพร้อม และพัฒนาทักษะด้านสมอง ซึ่งจะปลูกฝังได้ง่ายที่สุดและรวดเร็วมากที่สุดในช่วงอายุ 3-7 ปี ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาทองของการพัฒนาศักยภาพมนุษย์

× การอ่านเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของการส่งเสริม EF ในเด็ก การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟังนั้น ในสมองของเด็กจะมีทักษะ EF พัฒนาขึ้นหลายด้าน ได้แก่ การจดจ่อตั้งใจฟัง (Attention) เด็กต้องยั้งใจตนจากการไปทำกิจกรรมอย่างอื่น (Inhibitory Control) เด็กได้คิด รู้สึก หรือจินตนาการไปตามเนื้อหา โดยนำข้อมูลใหม่ไปเชื่อมโยงกับข้อมูลเดิมในสมอง (Working Memory) หากข้อมูลใหม่แตกต่างไปจากข้อมูลเดิม เด็กอาจเกิดการปรับเปลี่ยนความคิด (Cognitive Flexibility) ยามที่นิ่งฟัง ภาวะอารมณ์ของเด็กจะสงบ หรือไหลลื่นไปตามท้องเรื่อง (Emotional Control) บางครั้งเนื้อหาอาจพาให้เด็กได้สะท้อนคิดกลับมาถึงตนเอง (Self- Monitoring)

× การอ่านเป็นกระบวนการทางความคิด ไม่ใช่ความจำ การจะอ่านได้อย่างคล่องแคล่วต้องอาศัยสมรรถนะทางทักษะในการสะกดคำ จำคำศัพท์ แต่ก็ต้องอาศัยสมรรถนะทางปัญญาและสังคมในการสร้างความหมายและทำความเข้าใจกับข้อเขียนนั้นๆ ดังนั้นประโยชน์ของการอ่านจึงมีมากกว่าแค่อ่านออกเสียงได้ถูกต้องและเขียนตามคำบอกได้ถูกต้อง

× วิธีใส่คำศัพท์เข้าสู่สมองมนุษย์ทำได้สองทางคือ ส่งผ่านเข้าทางตาหรือทางหู แต่เด็กเล็กๆนั้นใช้เวลาหลายปีกว่าจะใช้ตาอ่านได้ ฉะนั้นทางที่เหลืออยู่ก็คือทางหู วิธีการที่เรารู้กันดีคือ การพูดคุย และอ่านหนังสือให้ฟัง ผลที่ตามมาคือ คำที่เราส่งผ่านหูเข้าสู่สมองของเด็กๆจะกลายเป็น “รากฐาน” ของ “เรือนสมอง”

× บันทึกข้อตกลงที่ประเทศไทยทำกับยูนิเซฟ เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยหรือเด็กเล็กคือ ครอบครัวหนึ่งต้องมีหนังสือเด็กในครอบครัวอย่างน้อย 3 เล่ม ความสำคัญก็คือ การที่ในบ้านเด็กมีหนังสือ เด็กจะมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่าน และรับการพัฒนาอย่างครบถ้วน และเมื่อมีหนังสือก็จะมีกระบวนการของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในบ้านตามมา[/su_note]

 

คุณพ่อคุณแม่ทุกคนทราบดีว่า การอ่านหนังสือคือรากฐานสำคัญของการเติบโตทางสมอง สติปัญญาและจิตใจของลูกน้อย แต่หลายครอบครัวอาจยังไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นสังคมการอ่านในบ้านอย่างไร

ถ้าอย่างนั้นเราลองมาดู 7 เคล็ดลับที่จะทำให้ลูกน้อยของคุณอยากอ่านหนังสือทุกวัน!

 

 

เลือกชั่วโมงแห่งการอ่านให้เป็นชั่วโมงสุดพิเศษ

อันที่จริงแล้วการอ่านหนังสือจะอ่านเมื่อไหร่ก็ทำได้ แต่อาจจะเลือกช่วงเวลาที่สะดวกและไม่ฝืนใจทั้งคุณพ่อคุณแม่และคุณลูก  โดยอาจกำหนดช่วงเวลาหนึ่งในแต่ละวัน  เช่น ก่อนเข้านอน โดยคุณหมอประเสริฐ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านหนังสือช่วงเวลาก่อนเข้านอนไว้ในหนังสือเลี้ยงลูกด้วยนิทานว่า “…ทำไมต้องก่อนนอน เหตุผลหนึ่งคือเป็นอุบายที่จะดึงพ่อแม่มาอยู่พร้อมหน้ากับลูกทุกวัน อีกเหตุผลหนึ่งเพื่อสร้างวินัยการเข้านอน เด็กเล็กควรเข้านอนตรงเวลา ไม่ดึกจนเกินไป เพื่อเป็นหมุดหมายให้กิจกรรมอื่นๆ มีจังหวะของตัวเองด้วย และอีกเหตุผลหนึ่งคือเพื่อใช้เวลาก่อนเข้านอนนี้ช่วยปรับหรือเปิดโอกาสให้คลื่นสมองเข้าสู่ระยะสงบก่อนจะถึงเวลานอน…”

 

 

“..อ่านแค่วันละ 15 นาทีก็เพียงพอแล้ว..”

คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก

 

[su_quote]“…อยากให้ทดลองอ่านวันละ 15 นาทีให้ลูกหลานฟัง ผมสามารถให้คำรับรองได้ว่าพฤติกรรมลูกจะเปลี่ยนไปใน 7 วัน ไม่มากก็น้อย และจะนิ่ง ฟัง ใส่ใจ มีสมาธิภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน แล้วเมื่อผ่านไป 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี จะพบว่าเด็กเปลี่ยนไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม ความว่านอนสอนง่าย ความเฉลียวฉลาด สติปัญญา พัฒนาการด้านการใช้ภาษา และความสามารถในการสื่อสาร และเมื่อผ่านไป 10 ปี เขาจะมีฐานของการคิดวิเคราะห์ตามพัฒนาการที่เรียกว่าวิธีคิดเชิงรูปธรรม (concrete operation) อย่างแน่นหนา เป็นฐานที่แข็งแรงสำหรับการต่อยอดพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์ไปสู่ขั้นวิธีคิดเชิงนามธรรม (abstract operation) อันจะช่วยให้เขามองภาพรวมของสรรพสิ่งได้ดีมาก…”[/su_quote]

 

หา คู่หูนักอ่าน

ยิ่งมีเพื่อนอ่านหนังสือด้วยกันเยอะๆ ก็จะยิ่งสนุกใช่ไหมล่ะ ถ้าอย่างนั้นคุณพ่อคุณแม่ลองหา ‘คู่หูนักอ่าน’ มาเป็นเพื่อนนั่งฟังในช่วงเวลาอ่านหนังสือของคุณกับลูกรักดูสิคะ อาจเป็นตุ๊กตานุ่มนิ่ม หน้าตาน่ารักที่ลูกชอบ  ตั้งชื่อให้เขาซะ แล้วพูดกับลูกว่า “น้องนุ่มนิ่มอยากฟังนิทานแล้ว เรามาอ่านหนังสือนิทานให้น้องนุ่มนิ่มฟังกันเถอะ”  เมื่อมีเพื่อนแล้วอะไรๆ ก็ง่ายขึ้นเยอะเลยล่ะ!

 

 

อ่านให้สมบทบาท

เวลาที่เราอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เมื่อถึงบทพูดของตัวละครให้คุณพ่อคุณแม่ลอง ‘แอคติ้ง’ ให้เหมือนกับเราเป็นตัวละครนั้นๆ  โดยอาจใช้น้ำเสียงเล็กๆ กับตัวละครสัตว์สุดน่ารัก หรือใช้น้ำเสียงเย็นๆ ฟังดูน่ากลัวกับตัวร้ายของเรื่อง   หรือถ้าลูกโตพอที่จะอ่านหนังสือได้ระดับหนึ่งแล้ว ลองให้เขามีส่วนร่วมในโรงละครเล็กๆ นี้ด้วยกัน รับรองว่านี่จะเป็นชั่วโมงแห่งการอ่านที่สนุกที่สุดในโลกแน่นอน

 

 

รางวัลสำหรับเด็กดี = หนังสือเล่มใหม่

เมื่อลูกน้อยทำความดี ทำตัวน่ารัก คุณพ่อคุณแม่ก็อยากจะมอบรางวัลให้ลูกรักบ้างใช่ไหมคะ ลองให้หนังสือเป็นรางวัลดูสิ ช่วงแรกๆ ลูกอาจจะงอแงเพราะอยากได้ของเล่นใหม่ แต่ต่อไปเมื่อลูกรักเข้าใจถึงความมหัศจรรย์ของหนังสือแล้วล่ะก็ หนังสือกี่เล่มก็คงไม่พอ

 

การซื้อหนังสือเป็นของขวัญให้ลูกนอกจากช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแล้ว ยังประหยัดเงินได้มากกว่าการซื้อของเล่นชนิดอื่นๆ ด้วย  แต่ถึงอย่างนั้นของเล่นเสริมทักษะต่างๆ ก็มีประโยชน์ไม่แพ้กันนะคะ  คุณพ่อคุณแม่อาจจะซื้อให้ลูกสลับกันในแต่ละครั้งก็ได้  โดยสิ่งสำคัญก็คือ ซื้อมาแล้วต้องใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ที่สุดค่ะ

 

พาลูกไปร้านหนังสือหรือห้องสมุด

กิจกรรมที่ดีทีสุดของครอบครัว คือกิจกรรมอะไรก็ได้ที่ได้ใช้เวลาพร้อมหน้าพร้อมตากัน  แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากเปลี่ยนบรรยากาศจากการกิจกรรมอื่นๆ ดูบ้าง ร้านหนังสือหรือห้องสมุด ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ทั้งครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันได้อย่างมีความสุขนะคะ

 

คุณลูกเลือกหนังสือ คุณแม่ช่วยดู คุณพ่อจ่ายเงิน  แฮปปี้แฟมิลี่ !

 

 

 

ให้ลูกได้จัดชั้นหนังสือของตัวเอง

ฝึกลุกอ่านหนังสือ

 

หลังจากที่มีกองหนังสือเยอะแล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองให้ลูกน้อยได้จัดชั้นหนังสือของตัวเองดูบ้าง เมื่อขุมทรัพย์ความสนุกเป็นของตัวเองแล้ว พวกเขาก็มักจะอยากเห็นชั้นหนังสือเต็มไปด้วยหนังสือเล่มโปรดของตัวเอง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ลูกๆ ภูมิใจและรักการอ่านมากยิ่งขึ้น

 

 

คุยกันทุกครั้งหลังจากอ่านหนังสือจบ

หลังจากที่อ่านหนังสือแต่ละเรื่องจบแล้ว ลองจับเปิดบทสนทนาคุยกันถึงเรื่องราวในหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของตัวละคร ถ้าเป็นเราจะทำยังไง ตอนจบถูกใจหรือไม่ ชวนดูภาพประกอบสวยๆ หรือเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ลูกฟัง นอกจากจะได้เข้าใจกันและกันให้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นการฝึกให้ลูกได้วิเคราะห์และกล้าแสดงความคิดเห็นด้วยค่ะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า