ภาพยนตร์ที่สร้างจากหนังสือ บางครั้งก็ไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้หมด ด้วยข้อจำกัดทางด้านระยะเวลาของหนัง แม้ผู้เขียนบทและผู้กำกับจะถ่ายทอดออกมาได้อย่างไร้ที่ติ ทั้งในเรื่องฉาก แสง สี ตัวละคร และอื่นๆ ก็ตาม แต่หากอยากเก็บทั้งรายละเอียด และความรู้สึกร่วมให้ครบ การอ่านหนังสือจะทำให้คุณอิ่มและอินกับเรื่องราวนั้นๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม…โดยเฉพาะจากหนังสือ เมื่อพ่อของฉันถูกฆ่า
เมื่อพ่อของฉันถูกฆ่า (First They Killed My Father)
เรื่องจริงของเด็กหญิงชาวกัมพูชาในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ที่โหดเหี้ยมที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20
หนังสือเล่มนี้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์กำกับโดยแองเจลิน่า โจลี่
เขียนบทโดยโจลี่ ร่วมกับหลง อึ้ง ผู้เขียนหนังสือ และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ฉายทางแอพพลิเคชั่น Netflix
คนที่อ่อนแอจะไม่สามารถอยู่รอดได้ในกัมพูชา
ในหนังสือเมื่อพ่อของฉันถูกฆ่า ผู้เขียนบรรยายฉากต่างๆ ได้อย่างละเอียด และเห็นภาพความเลวร้ายและความหดหู่ที่เกิดขึ้นกับชาวกัมพูชา แม้กระทั่งฉากที่ไม่หดหู่ก็สะเทือนใจได้เช่นกัน
[su_quote]“…เนื้อเน่าและสิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ส่งกลิ่นเหม็นขณะที่ฉันเดินผ่านหมู่บ้าน ชาวบ้านพากันล้มป่วยจากเชื้อโรคและความอดอยาก บางบ้าน สมาชิกทั้งครอบครัวนอนเหยียดยาวอยู่ในกระท่อม ไม่มีแรงทำอะไรทั้งสิ้น ใบหน้าซูบตอบ บอกได้เลยว่าพวกเขาจะมีสภาพอย่างไรหลังจากที่เนื้อบนใบหน้าเน่าเปื่อยไปแล้ว ใบหน้าบางคนก็บวมฉึ่งเป็นเงาวาวเหมือนขี้ผึ้ง ดูเหมือนพระสังกัจจายน์ เพียงแต่ว่าไม่ยิ้มเท่านั้น แขนขาของพวกเขาผอมแห้งเหลือแต่กระดูก มีนิ้วมือนิ้วเท้าที่ไร้เนื้อหนังติดอยู่ แต่ละคนนอนนิ่งเหมือนจากโลกนี้ไปแล้ว ไม่มีเรี่ยวแรงแม้แต่จะปัดแมลงวันที่ตอมอยู่บนใบหน้า ไม่มีอะไรที่เราช่วยได้ นอกจากปล่อยให้พวกเขานอนอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งตายไปเอง…”[/su_quote]
เงินไม่มีค่าอีกต่อไป
ทันทีที่ทหารเขมรแดงสั่งให้ผู้คนออกจากกรุงพนมเปญ ทุกอย่างที่อยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเขาก็ไม่มีค่าอะไรอีกเลย …นอกจากชีวิตของตัวเองเท่านั้น
“หนูอยากเข้าห้องน้ำ” ฉันบอกแม่ด้วยความร้อนรนหลังจากกินข้าวเสร็จ
“เข้าไปในดงไม้นั่น”
“ตรงไหนเหรอแม่”
“ตรงไหนก็ได้ เดี๋ยวแม่หากระดาษให้” แม่เดินออกไปและกลับมาพร้อมกระดาษฟ่อนหนึ่งในมือ ตาของฉันเบิกกว้างอย่างไม่น่าเชื่อ
“แม่! นั่นเงินนะ หนูใช้เงินเช็ดไม่ได้หรอก”
“ใช้เงินนี่แหละ มันไม่มีประโยชน์อีกแล้ว”
การเอาตัวรอดของชาวกัมพูชาที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง
หญิงสาวรุ่นๆ หลายคนต้องหนีการถูกทหารเขมรแดงนำตัวไปข่มขืน หากพวกเขารู้ว่า เธอยังโสด และชายหนุ่มที่โสดก็เช่นกัน …
[su_quote]ทหารเขมรแดงมาลาดตระเวนในหมู่บ้านของเราทุกวันเพื่อเกณฑ์ชายหนุ่มร่างกายแข็งแรงไปเป็นทหาร ใครที่ถูกเกณฑ์จะไม่สามารถปฏิเสธได้ มิเช่นนั้นจะถูกตราหน้าว่าทรยศและอาจถูกยิงทิ้ง ด้วยเหตุนี้พ่อกับแม่จึงบังคับให้ก๊วยแต่งงานกับเลน หญิงสาวคนหนึ่งในหมู่บ้านใกล้ๆ ก๊วยซึ่งอายุเพียงสิบหกปีไม่อยากแต่ง แต่พ่อบอกว่าเขาต้องแต่งเพื่อจะได้ไม่ต้องไปเป็นทหาร โอกาสที่ไม่ต้องไปเป็นทหารจะมากขึ้นหากพวกเขมรแดงรู้ว่าเขามีภรรยาซึ่งอาจจะมีลูกชายให้กับเขมรแดงได้ เลนก็ไม่อยากแต่งงานกับพี่ชายฉัน แต่ถูกพ่อแม่บังคับเช่นกัน ด้วยความกลัวว่าหากเป็นโสด อาจถูกพวกเขมรแดงข่มขืนและจบลงเหมือนหญิงสาวคนหนึ่งในหมู่บ้านของเรา—-
“ความอดยาก” คือหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ชาวกัมพูชาเสียชีวิต ดังนั้น ไม่ว่าอะไรที่สามารถเอาใส่ท้องเพื่อลบความหิวโหยได้ พวกเขาก็ต้องยอม เพื่อให้มีลมหายใจในวันต่อๆ ไป “พวกเขาทำงานหนักมาก บางวันปลูกข้าว ปลูกผักหรือตัดไม้ บางวันไปสร้างเขื่อน หรือขุดแนวดิน แต่ไม่ว่าจะทำงานหนักแค่ไหน อาหารที่ได้รับกลับน้อยลงเรื่อยๆ เรามีข้าวไม่พอกินจนต้องผสมกับเห็ด หยวกกล้วย หรือใบผักต่างๆ หลังจากผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ แม้แต่ผักหญ้าก็ยังหายาก เมื่อจับสัตว์อะไรก็ตามได้ เราจะกินเรียบ ทั้งตีน ลิ้น หนัง และเครื่องใน”[/su_quote]
ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง ‘เมื่อพ่อของฉันถูกฆ่า’
“ผู้เขียนถ่ายทอดอารมณ์และบอกเล่าเรื่องราวได้ดี”
ในหนังสือมีการเล่าเรื่องราวการฆ่าคนโดยเขมรแดงหลากหลายรูปแบบและรุนแรงมากกว่าในเวอร์ชั่นหนัง รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กสาวเจ้าของเรื่องเล่านี้ แบบที่เรียกว่าเคราะซ้ำกรรมซ้อน ถึงขนาดมีผู้อ่านหนังสือคนหนึ่งโพสต์ลงโซเชียลมีเดียว่า
[su_quote]“อ่านแล้วหลอนไปหลายวัน หลอนมาก ลูกเด็กเล็กแดงถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม อ่านแล้วหดหู่ กินข้าวไม่ได้”[/su_quote]
ความรักของคนในครอบครัว
นอกจากความโหดเหี้ยมของเขมรแดงแล้ว มิตรภาพ ความรัก และความผูกพันของคนในครอบครัว คือสิ่งที่จะรับรู้ได้ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ ตลอดกว่า 230 หน้าของหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่าพวกเขาจะต้องแยกย้ายกันเพื่อให้ตัวเองชีวิตรอด แต่สุดท้ายแล้ว ก็จะกลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง ไม่ว่าใครสักคนในครอบครัวจะยังมีชีวิตอยู่หรือไม่