แนวคิดเจ๋งๆ ของ เจฟฟ์ เบโซส ผู้ก่อตั้ง Amazon.com อาณาจักรดิจิทัลมูลค่าล้านล้านดอลลาร์

เจฟฟ์ เบโซส เป็น CEO และประธานผู้ก่อนตั้ง Amazon.com ที่วันนี้ไม่ใช่แค่อาณาจักรค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เป็นผู้ให้บริการคลาวด์สำหรับธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ระบบสมาชิกลูกค้าและบริการสตรีมมิ่งคอนเทนต์แบบออนดีมานด์ที่ทำกำไรสูงสุดในโลก จน Amazon เองก็กลายเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดของโลกติดต่อกันเป็นปีที่สองแล้ว และแน่นอนว่านักธุรกิจคนนี้กำลังจะเป็น อภิมหาเศรษฐี ล้านล้านดอลลาร์คนแรกของโลกยุคใหม่ด้วย!

เราอ่านคำว่า “สูงสุด” จนนับไม่ถ้วน และแน่นอนว่า หากไม่มีแนวคิดเจ๋งๆ ก็คงไม่พาบริษัทมาจนถึงวันนี้ได้อย่างแน่นอน เรามาดูกันว่า เจฟฟ์ เบโซส ใช้แนวคิดอะไรในการบริหารบริษัทของเขา จนประสบความสำเร็จ และขยายธุรกิจได้อย่างยิ่งใหญ่!

เจฟฟ์ เบโซส 001

การไหลตามกระแสสังคม อาจเป็นปัญหาต่อการบรรลุเป้าหมายใหญ่

แอมะซอนเป็นบริษัทที่คาดหวังสูงจากคนทำงาน และมันไม่ใช่ที่ที่เหมาะกับทุกคน หรืออาจจะบอกว่าบริษัทนี้ “ก้าวร้าว” เลยก็ว่าได้ มันคือความก้าวร้าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ ก้าวร้าวเพื่ออยากให้พนักงานมีผลงาน และเชี่ยวขาญสิ่งที่ทำอยู่ และความก้าวร้าวที่มุ่งให้ทีมบรรลุสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ นั่นคือ ความสมบูรณ์แบบ

องค์กรทั่วไปมักมีการเมืองในบริษัทแพร่กระจายไปทั่ว การพูดคุยไม่ค่อยตรงไปตรงมา ความอาวุโสและตำแหน่ง สำคัญกว่าการมีข้อมูลที่ถูกต้อง คำพูดของคนพลิกเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ หลายคนพยักหน้าทั้งที่ไม่เห็นด้วย ในโลกของแทบจะทุกบริษัททั่วโลก มารยาทดีสำคัญกว่าความถูกต้อง และนั่นเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่เจฟฟ์ เบโซสมองเห็น

เขาสอนพนักงานในแอมะซอน ให้ออกความคิดเห็น พนักงานสามารถถกเถียงเกี่ยวกับไอเดียของเพื่อนร่วมงานอย่างเต็มที่ อาจรุนแรงบ้าง ก่อนจะมีข้อตกลงร่วมกัน

แอมะซอนเรียกการพูดกันตรงๆ ว่า “การค้นหาความจริง” ซึ่งเป้าหมายคือการหลีกเลี่ยงภาวะพวกมากลากไปในสังคม ซึ่งไม่มีใครผิด แต่ก็จะไม่พบคำตอบ หรือความเข้าใจที่ลึกซึ้งถูกต้องเช่นกัน การเห็นพ้องต้องตามเสียงส่วนมาก โดยไม่ทำตามสิ่งที่ตัวเองคิด ไม่โต้แย้งใดๆ ปล่อยผ่านไป เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องในแอมะซอน

ความเชื่อของเจฟฟ์คือ ถ้าคุณเป็นบริษัทที่ค้นหาความจริง และกำลังแข่งขันกับบริษัทที่ช่างประนีประนอม คุณจะชนะแน่ๆ แต่อย่ากลายเป็นบริษัทประนีประนอมเสียเอง ในเมื่อคุณสามารถวัดและระบุความจริงได้

เจฟฟ์ เบโซส 002

อย่าชะล่าใจ จงหิวโหยอยู่เสมอแม้จะทำสำเร็จแล้ว

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมนักดนตรีส่วนใหญ่ ถึงทำอัลบั้มชุดสองได้แย่กว่าชุดแรก ทำไมนักกีฬาถึงฟอร์มตกหลังจากย้ายไปอยู่ทีมใหญ่ นั่นก็เพราะพวกเขาใช้เวลาหลายปี ในการทำผลงานหรือฝึกฝนจนประสบความสำเร็จ แต่เมื่อพวกเขาประสบความสำเร็จจริงๆ ก็มีบางอย่างเกิดขึ้นในใจ

พวกเขาไม่กระหายชัยชนะอีกต่อไป เพราะเขาได้รับชัยชนะแล้ว พวกเขาก็แค่อยากปกป้องสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ เล่นแบบปลอดภัยไว้ก่อนจะได้ไม่บาดเจ็บ ความรู้สึก “ลุยแหลก” จึงหายไป เปลี่ยนไปสู่วิธีคิดแบบ “อย่าเสียมันไป” หรือ “มาหาความสุขกันดีกว่า”

เจฟฟ์มีแนวคิดที่ว่า ถ้าคุณมีความหิว และสร้างความหิวกระหายขึ้นในบริษัทได้ คุณก็พร้อมสำหรับขั้นตอนต่อไป นั่นคือการเคลื่อนเร็วเพื่อสร้างนวัตกรรม แม้แต่ในองค์กรใหญ่ยักษ์ก็ตาม

เจฟฟ์ เบโซส 003

กระตุ้นการคิดค้นให้คึกคักตามแบบฉบับของ เจฟฟ์ เบโซส

เกียรติยศสูงสุดอย่างหนึ่ง ที่พนักงานแอมะซอนคนหนึ่งอาจได้รับ คือ โล่ห์รางวัลรูปจิ๊กซอว์ที่ทำจากอะคริลิกเรซินใสหรือสีน้ำเงิน สำหรับคนภายนอกอาจดูไร้ค่า แต่ในแอมะซอน มันคือเหรียญตราเกียรติยศ มันมีชื่อว่า “รางวัลสิทธิบัตร” นักประดิษฐ์ในแอมะซอนจะได้รับรางวัลที่เป็นจิ๊กซอว์ใส เมื่อสิ่งประดิษฐ์ของพวกเขาได้รับการยื่นขอสิทธิบัตร และหากมันได้รับสิทธิบัตรละก็ พวกเขาจะได้รับรางวัลจิ๊กซอว์สีน้ำเงินที่มีชื่อตัวเอง หมายเลขสิทธิบัตร และวันที่ได้รับสิทธิบัตรจารึกอยู่

นอกจากโล่ห์รางวัลอะคริลิกแล้ว เขายังสร้างแรงบันดาลใจให้คนรู้สึกสนุก ตื่นเต้นไปกับมัน เพราะมันเปิดโอกาสให้แก่กรอบความคิดที่หลากหลาย และเป็นการเว้นวรรคจากการปฏบัติงานซ้ำซากด้วย ไม่จำกัดด้วยว่าคุณจะทำงานอยู่ในฝ่ายใด ทุกฝ่ายสามารถออกไอเดียและสรรสร้างสิ่งประดิษฐ์ออกมาอย่างไม่จำกัด

เจฟฟ์ แจกรางวัลและประกาศเกียรติคุณหลากหลายแบบมาก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น เงินสด ตั๋วพักร้อน หรือใดๆ ก็ตามที่จะทำให้ช่วยกระตุ้น ให้พนักงานของเขารู้สึกสนุกในการสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่

เจฟฟ์ เบโซส 004

เค้นนวัตกรรมจากความประหยัด

เจฟฟ์ เบโซสเชื่อเสมอว่า งานสำคัญภาคบังคับอย่างหนึ่งของการสร้างนวัตกรรม คือความประหยัด เงินทุกเหรียญที่ประหยัดได้เท่ากับอีกหนึ่งโอกาสสำหรับการลงทุน การลดโครงสร้างต้นทุนในธุรกิจทำให้ราคาสินค้าต่ำลง ซึ่งผลักกงล้อดีงามให้หมุนไป เขาเชื่อด้วยว่า การใส่ใจเรื่องความประหยัดจะช่วยลดสิ่งที่เขาเกลียดและกลัวมากที่สุด นั่นคือความชะล่าใจ

เบโซสชอบใช้สัญลักษณ์ สัญลักษณ์หนึ่งซึ่งเป็นที่จดจำของแอมะซอนคือ โต๊ะประตู ในยุคแรกของบริษัท เบโซสมีจุดยืนว่า องค์กรไม่ได้ต้องการห้องทำงานที่มีโต๊ะใหญ่โตหรูหรา เขาเชื่อว่าทุกคนต้องการแค่พื้นที่ที่ทำงานได้เท่านั้น รวมถึงผู้บริหารระดับสูงทุกตำแหน่งด้วย

แล้วจู่ๆ ก็มีใครบางคนนำประตูที่ไม่ได้ใช้แล้วมาต่อขาทำเป็นโต๊ะขึ้นมา สุดท้าย โต๊ะประตูตัวนั้นได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมความประหยัด และความเท่าเทียมที่เบโซสกำลังพยายามสร้างขึ้น

และบริษัทยังมีการมอบรางวัลโต๊ะประตูให้แก่พนักงานที่มี “ไอเดียดีๆ” ที่ช่วยบริษัทประหยัดเงิน และช่วยให้ลูกค้าได้สินค้าที่ถูกลงด้วยได้

ความประหยัดยังก่อให้เกิดทัศนคติของความกระชับ ความเป็นนักสู้ ความอ่อนน้อยถ่อมตน และนวัตกรรม มันช่วยสร้างวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดและเข้าใจความเป็นเลิศของการปฏิบัติงาน ภายใต้ขีดจำกัดอย่างต้นทุนด้วย

ข้อมูลจากหนังสือ คิดอย่าง Amazon (Think Like Amazon)
จอห์น รอสส์แมน อดีตผู้บริหารแอมะซอน เขียน

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก


บทความอื่นๆ

เคล็ดลับการทำงานแบบคนโคตรเก่งจาก Netflix ที่ขึ้นชื่อเรื่องการสร้างทีมเก่ง

วิธีการทำงานแบบ Netflix ที่ทำให้องค์กรยิ่งใหญ่และแตกต่างจากที่อื่น!

วัยเด็กของอีลอน มัสก์ โตมาแบบไหน…ถึงได้เป็นแบบนี้

ธุรกิจทั้งหมดของ อีลอน มัสก์ นักประดิษฐ์และนักธุรกิจอัจฉริยะ!

10 เรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับ อีลอน มัสก์ อัจฉริยะหรือคนบ้า?

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า