ผู้นำจะนำพาองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนในอนาคตได้อย่างไร สิ่งนี้เป็นโจทย์ท้าทายที่ผู้นำทุกสายงานต้องเผชิญ ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของผู้นำเท่านั้น แต่สมาชิกขององค์กรต้องร่วมมือ เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนนี้ด้วยเช่นกัน เรามาดู “กลยุทธ์สร้างความต่างขั้นเทพ” จากหน่วยงานขาดทุนสู่อันดับหนึ่งของธุรกิจ กลยุทธ์นี้จะเป็นเครื่องมือในการเริ่มต้นสร้างการเปลี่ยนแปลงด่านแรกในองค์กรได้อย่างไร เราไปติดตามประสบการณ์จาก ควอน โอ ฮยุน CEO ของ SAMSUNG ที่ได้ทำให้หน่วยงานขาดทุนกลับมาเป็นอันดับหนึ่งได้อีกครั้ง เขาใช้กลยุทธ์อะไร!
ให้ข้อมูลอย่างรวบรัดชัดเจน
ขั้นตอนแรก ผู้นำต้องกำหนดเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงแล้วแจ้งสมาชิก ผู้นำต้องรู้แน่ชัดว่าเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการคืออะไร และทำให้สมาชิกเห็นชอบกับเป้าหมายนั้น ขั้นตอนนี้ต้องระวังไม่ให้เป้าหมายซับซ้อน เข้าใจยาก หรือนำเสนอเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้
ผู้นำต้องอธิบายเป้าหมายไม่ซับซ้อนและเข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วแจ้งสมาชิก หากเป้าหมายซับซ้อน ก็จะเกิดการตีความแตกต่างกัน และสร้างความสับสนในการกำหนดทิศทางเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน ตลอดจนมีโอกาสสูงที่เหตุการณ์ต่างคนต่างพูดเกี่ยวกับวิธีการบรรลุเป้าหมายจะเกิดขึ้น ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดจึงต้องรวบรัดชัดเจนที่สุด
กำจัดงานที่ไม่จำเป็นต้องทำ
ขั้นตอนที่สอง ผู้นำต้องกำจัดสิ่งต่างๆ ที่ไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงไว้ล่วงหน้า หากผู้นำรู้สึกถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง ก็เป็นไปได้สูงที่องค์กรนั้นกำลังทำงานจำนวนมาก ในขั้นตอนนี้สิ่งสำคัญคือการจัดทำ “รายการงานที่ไม่จำเป็น” คนเรามักถนัดทำรายการของงานที่ต้องทำ แต่ไม่ถนัดทำรายการของงานที่ไม่จำเป็นต้องทำ
หากต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ต้องคัดงานที่ไม่จำเป็นออกจากรายการงานที่ต้องทำก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเรามีเวลามากพอสำหรับการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่ทำเราจะไม่มีเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงแม้จะต้องการก็ตาม เพราะใช้เวลาไปกับงานที่ไม่จำเป็นอยู่เสมอ
ผู้นำต้องสร้างพื้นที่ทางกายภาพที่สามารถกระโจนสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าสมาชิกยังได้รับมอบหมายงานจำนวนมาก ไม่ว่าจะชี้แจงเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงที่ดีแค่ไหน พวกเขาก็ไม่สามารถทำงานนั้นได้อย่างสบายใจ คนเรามีขอบเขตทางกายภาพที่เรียกว่าเวลาและขอบเขตของสมรรถภาพส่วนบุคคลด้วย แต่บ่อยครั้งที่เรามองข้ามขอบเขตเหล่านั้น แล้วพูดแต่ว่าต้องการการเปลี่ยนแปลง
การกระจายเรื่องราวความสำเร็จเล็กๆ
ขั้นตอนที่สาม เป็นการแยกย่อยแผนการเพื่อบรรลุเป้าหมาย สิ่งสำคัญของขั้นตอนนี้คือ การเปิดเผยเรื่องราวความสำเร็จเล็กๆ แล้วกระจายสู่สมาชิกภายในองค์กร ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ปลูกฝังความคิดเชิงบวกที่ว่า “มันทำได้นะ“
ในช่วงแรกต้องทำให้สมาชิกเกิดความรู้สึกร่วมว่า “มันเป็นไปได้” ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างของความสำเร็จ การแบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จเล็กๆ ควรเกิดขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนด อย่างน้อยที่สุดคือ เดือนละครั้งหรือประมาณสามเดือนครั้ง โดยรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงอาจแตกต่างกันไป แล้วแรงกระตุ้นเชิงบวกของการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในกลุ่มสมาชิก
ถ้าอยากเปลี่ยนแปลง ต้องรักษา “ความสอดคล้อง” และ “ความต่อเนื่อง” ไว้ให้ได้
ขั้นตอนนี้ผู้นำต้องรักษา “ความสอดคล้อง” และ “ความต่อเนื่อง” ถ้าอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริง ผู้นำจะต้องนำเสนอเป้าหมายหลายๆ อย่างในตอนแรกแล้วกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ผู้นำที่เคยสั่งให้เปลี่ยนแปลงกลับแก้ไขเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด หรืออาจล้มเลิกกลางคัน ดังนั้น การรักษาความสอดคล้องและความต่อเนื่อง จะทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ
ถ้าผู้นำขาดความสอดคล้องหรือความต่อเนื่องควรทำอย่างไร ข้อจำกัดนี้พบได้บ่อยกว่าที่คิด ดังนั้น เวลาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง บางบริษัทจึงขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นวิธีการรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่สามแล้วนำมาพิจารณา แต่ไม่ได้ให้ตัดสินใจแทน เพราะชะตากรรมของบริษัทต้องกำหนดด้วยสมาชิกภายในองค์กรจึงจะดีที่สุด
“กลยุทธ์สร้างความต่างขั้นเทพ” จากหน่วยงานขาดทุนสู่อันดับหนึ่งของธุรกิจ
หนังสือ SUPER LEVEL กลยุทธ์สร้างความต่างขั้นเทพ
เขียนโดย ควอน โอ ฮยุน
วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก