หลายคนคงอยากรู้ว่าการแต่งงานมีครอบครัวต้องใช้เงินเท่าไหร่ แล้วหลังจากนั้นควรจะ เก็บเงินแต่งงาน แบบไหนดี แยกกระเป๋ากัน หรือใช้กระเป๋าเดียวกัน จะควบคุมค่าใช้จ่ายในบ้านอย่างไรให้อยู่หมัด และไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
การเตรียมงานแต่งงานเป็นกิจกรรมแรกที่คู่แต่งงานทำร่วมกัน นับเป็นการฝึกความพร้อมก่อนเข้าสู่การจัดการรายรับ-รายจ่ายในบ้านร่วมกันด้วย และระวังให้ดี หากทุ่มเงินในงานแต่งงานมากเกินไป เท่ากับว่าคุณได้เสียเงินที่จะเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆ เช่น การคลอดลูก ซื้อบ้านใหม่ ค่าเทอมลูก ฯลฯ และจะทำให้ชีวิตลำบากขึ้นด้วย
มาดูกันว่าการจัดงานแต่งงานต้องใช้เงินเท่าไหร่
ชุดเจ้าสาว 5,000 – 30,000 บาท
ชุดเจ้าบ่าว 2,000 – 10,000 บาท
การ์ดแต่งงาน 1,000 – 20,000 บาท
ช่างแต่งหน้า 5,000 – 20,000 บาท
ค่าพิธีการ เช่น แห่ขันหมาก เลี้ยงพระ 30,000 บาทขึ้นไป
ค่า Pre-wedding 20,000 – 70,000 บาท
ช่างภาพและช่างวิดีโอวันงาน 10,000 – 20, 000 บาท
สถานที่และอาหารเครื่องดื่ม 120,000 บาท
ออร์แกไนซ์เซอร์จัดงาน 30,000 บาทขึ้นไป
วงดนตรีและการแสดงอื่นๆ 7,000 บาทขึ้นไป
ของชำร่วย 4,000 บาทขึ้นไป
รวมทั้งสิ้นประมาณ 340,000 บาท
*ข้อมูลจากบทความ ตั้งเป้าออมเงินด้วยกัน เพื่องานแต่งในฝันของสองเรา จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เห็นตัวเลขแล้วอย่าเพิ่งตกใจไป เพราะมีเทคนิคหลายอย่างที่ช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่ายสำหรับงานแต่งงานได้ เช่น จัดงานแต่งงานที่โรงเรียนหรือร้านอาหารแทนที่จะจัดตามโรงแรมหรือสถานที่จัดงานใหญ่ๆ นอกจากนั้นยังมีโปรโมชั่นจัดงานแต่งจำนวนมากที่ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับคู่รักที่ต้องการจัดงานแต่งงานแบบเรียบง่าย ซึ่งถ้าเลือกใช้โปรโมชั่นพวกนี้ก็จะลดค่าใช้จ่ายได้เยอะเลยทีเดียว
วิธีบริหารจัดการเงินหลังแต่งงาน
ใช้กระเป๋าสตางค์ใบเดียวกัน
คู่สามี-ภรรยาบางคู่จำนวนมากที่ไม่รู้ว่าคู่สมรสของตัวเองมีเงินเก็บเท่าไหร่ การเคารพอีกฝ่ายโดยคิดว่า “เงินของเขาก็คือเงินของเขา” เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าต้องการเก็บเงิน ควรใช้เงินจากกระเป๋าเดียวกัน เพราจะสามารถควบคุมรายรับ-รายจ่ายภายในบ้านได้ดีกว่า
กระเป๋าใบเดียวกันที่ว่านี่คือเปิดเปิดบัญชีธนาคารเพื่อใช้จ่ายโดยเฉพาะ และให้ทั้งสองคนใส่เงินเข้าบัญชีนั้นทุกเดือนตามที่ตกลงกันไว้ เช่น คนละ 8,000 บาททุกเดือน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับค่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าเล่าเรียนของลูก และอื่นๆ
และถ้าต้องการเก็บเงินโดยเฉพาะ ให้เปิดบัญชีออมเงินแยกจากบัญชีรายจ่ายเพื่อใช้ออมเงินเช่นกัน และตกลงกันว่าจะออมเงินร่วมกันเดือนละเท่าไหร่ แล้วโอนเข้าบัญชีนั้นทุกเดือน หากมีเงินเหลือจากบัญชีเงินจ่ายให้โอนไปที่บัญชีเงินออมทันทีเพื่อเพิ่มจำนวนเงินฝากให้มากขึ้นเรื่อยๆ
มีลูกทันทีดีไหม
ช่วงหลังแต่งงานใหม่ๆ เป็นระยะเก็บเงินระยะแรก เงินเก็บของคุณจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อมีลูก เงินเก็บจะหยุดเพิ่มไปพักหนึ่ง แต่ช่วงที่ลูกยังเล็ก เงินเก็บของคุณก็ยังมีเพิ่มขึ้นอยู่บ้าง
ช่วงที่การเงินลำบากที่สุดคือช่วงที่ลูกต้องเข้าโรงเรียน ต้องใช้เงินในการจ่ายค่าเล่าเรียนของลูก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เข้าโรงเรียนอนุบาล ประถม มัธยม จนถึงมหาวิทยาลัย จำนวนเงินเก็บของคุณแทบจะหยุดนิ่ง และอาจลดลงเล็กน้อยด้วยซ้ำเพราะบางครั้งก็จำเป็นที่จะต้องใช้เงินเก็บที่สะสมมา
แต่เมื่อลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย กลับมาใช้ชีวิตคู่สามี-ภรรยาอีกครั้ง ก็จะเข้าสู่ระยะเก็บเงิน ที่จะสามารถเก็บเงินได้จำนวนมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว
การมีลูกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สามี-ภรรยา ควรวางแผนในระยะยาวและหารือกันว่าจะมีลูกกันช่วงไหน วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงชีวิตที่ต้องอยู่ภายใต้ความกังวลเรื่องเงินทอง
หลังจากคลอดลูกจะออกจากงานหรือทำงานต่อ
เมื่อคุณคลอดลูกแล้ว จะกลับไปทำงานต่อที่บริษัท หรือจะออกจากงานเพื่อทุ่มเทในการเลี้ยงลูก นี่เป็นปัญหาที่คุณแม่มือใหม่คิดหนักเลยทีเดียว เพราะการลาออกเท่ากับว่าเงินที่ได้ประจำทุกเดือนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้านหายไปด้วย
หากกำลังคิดจะออกจากงานหลังคลอดลูก ให้ลองตอบ 3 คำถามนี้ดูก่อน
1.คุณมีเงินเก็บเท่ากับรายได้ครึ่งปีของคุณแล้วหรือไม่
2.มีทักษะพอที่จะชนะคู่แข่งขันคนอื่นๆ ในการหางานใหม่หรือไม่
3.รายได้ของสามีคนเดียวจะเพียงพอสำหรับค่าเล่าเรียนลูกและเงินสะสมสำหรับใช้ชีวิตหลังเกษียณหรือไม่
หากคำตอบ 3 ข้อคือ “ไม่” คุณก็ไม่ควรลาออกจากบริษัทปัจจุบัน ควรทำงานต่อไปแล้วใช้วันหยุดเพื่อลาคลอดและเลี้ยงดูลูกแทน วิธีนี้จะดีต่อการเงินในครอบครัวมากกว่า
ให้ลูกเรียนพิเศษตั้งแต่เล็กหรือรอให้โตก่อนค่อยเรียน
การจะส่งลูกไปเรียนพิเศษ สามี-ภรรยา ต้องพิจารณาเรื่อง “ช่วงเวลา” และ “กำลัง” ของตัวเองด้วย ช่วงเวลาที่ว่าคือควรให้ลูกเริ่มเรียนตั้งแต่อายุเท่าใด คงเคยได้ยินมาว่าการให้เรียนตั้งแต่ยังเล็กนั้นเริ่มเร็วเท่าไรยิ่งดี แต่ต่อให้ครูสอนดีแค่ไหน หากเด็กไม่สนใจ เด็กก็จะไม่สามารถเรียนรู้และจดจำได้ มีพ่อแม่หลายรายที่ส่งลูกเรียนนั่นเรียนนี่ตั้งแต่อายุยังน้อยเกินไป สุดท้ายก็เลยไม่ได้ผล
ส่วนกำลัง หมายถึงศักยภาพว่าคุณสามารถจ่ายเงินต่อไปได้เรื่อยๆ หรือไม่ และควรคิดและถามตัวเองว่า อยากให้ลูกเรียนเพราะอะไร เพื่อเสริมสร้างทักษะให้ลูก หรืออยากให้ลูกเรียนเพราะเห็นลูกบ้านอื่นเรียน การให้ลูกเรียนเพราะสาเหตุนี้อาจเป็นประโยชน์กับพ่อแม่ แต่ไม่เป็นประโยชน์กับลูกเลย นอกจากนั้น การให้เขาเรียนมากเกินไปกลับกลายเป็นการก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ หากเขาไม่ได้อยากจะเรียนจริงๆ
สร้างนิสัยเก็บเงินได้ และใช้เงินเป็น
ได้ในหนังสือ นิสัยเศรษฐี ทำแบบนี้ถึงเก็บเงินได้
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่
Pingback: ช็อปปิ้ง ให้คุ้มค่า ด้วย 3 เทคนิค 'อ่านตัวเลข' จากญี่ปุ่น ไม่ต้องเก่งเลขก็ทำได้
Pingback: 4 เทคนิคขายของ ให้รุ่ง ขายได้ขายดี ไม่มีสต๊อกสินค้า พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ต้องอ่าน
Pingback: อิคิไก IKIGAI ความหมายของการทำงาน ความหมายของการมีชีวิตอยู่ โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ