ให้ร้านหนังสือนำทางรัก ประชาคม ลุนาชัย เขียน ติดตามการวางจำหน่ายได้ที่เพจ แพรวสำนักพิมพ์ (ยังไม่ใช่ต้นฉบับที่เสร็จสมบูรณ์) ภาคหนึ่ง สะพาน สายน้ำ และความตาย ชายชราใต้สะพาน สะพานแขวนโยกตัวไปตามแรงกระหน่ำของพายุฝน แสงไฟหม่นมัวคล้ายสาดส่องจากใต้ผิวน้ำ ฝนกระหน่ำหนัก ลมแรงฉีกกระชากกิ่งไม้ใหญ่ริมน้ำหล่นกระทบพื้นชายฝั่ง กลางความมืดใต้สะพาน ดวงตาชราคู่หนึ่งเบิกกว้าง แกสะดุ้งตื่นกับเสียงรบกวนรอบข้าง ไม่อาจข่มตาหลับ ระแวงระดับน้ำอาจล้นตลิ่งแล้วรุกคืบท่วมถึงที่นอน แกผุดลุกนั่งแล้วจ่อมมองสายฝน ยาวนานจนกระทั่งแสงสลัวแห่งรุ่งสางสาดกระทบร่างผอมบางที่สวมเสื้อยืดสีชาหม่น กางเกงขาสั้นเก่ายับ ชายมุ้งที่ถูกเลิกขึ้นยังปลิวสะบัด ซาเล้งซึ่งคลุมผ้าพลาสติกไว้จอดชิดแคร่ที่นอน ร่างผอมบางสะดุ้งเล็กน้อยขณะเงยหน้าจ้องไปยังขอบริมสะพาน ผมหงอกยาวและเคราที่เลื้อยผ่านใต้คางปลิวลมไปในทิศทางเดียวกัน แกยกมือขยี้ตาซ้ำๆ จ้องมองไปยังจุดผิดสังเกต แกยิ้มจนฟันซี่หลอต้องแสงสว่าง โคลงหัวไปมาพลางพึมพำในใจ…ไม่ใช่หรอก ไม่ใช่ สายตาชราของแกฝ้าฟางไปเอง สะพานแขวนชุ่มฝนทอดข้ามลำน้ำว่างเปล่า เม็ดฝนหนาแน่นเทกระทบพื้นกระดาน บางแผ่นสลักถ้อยคำสารภาพรักของเด็กหนุ่มนิรนาม อีกแผ่นถัดมาอักษรสีขาวเขียนด้วยปากกาเคมี ชื่อเล่นของชายและหญิงเด่นชัดกลางรูปหัวใจ อีกหลายแผ่นปรากฏชื่อนามชายหนุ่มและหญิงสาวผู้เปี่ยมรัก สลักไว้ล่วงผ่านวันคืนและฤดูกาลจนหางอักษรบางตัวเลือนจาง ราวเหล็กและสลิงที่ขึงไว้ทั้งสองด้าน ช่องว่างจากการออกแบบและอายุขัยอันเก่านาน หลายช่องเล็กๆ นี้เองที่ผู้หมดหวังในชีวิตหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันมาโผพุ่งสู่ผืนน้ำเบื้องล่าง แทบทั้งหมดเลือกช่วงยามดึกสงัดปลอดสายตาใครอื่น จบตำนานชีวิตของตนง่ายๆ บางรายที่ไม่อาจทนรอโมงยามเช่นนั้นให้กับตัวเอง โผพุ่งสู่ลำน้ำท่ามกลางสายตาตื่นตระหนกของผู้คนสองฟากฝั่ง ครั้นแล้วคนผู้นั้นก็รู้ว่าความตายไม่ใช่โอกาสที่ไขว่คว้าได้โดยง่าย […]
Category Archives: วรรณกรรมไทย
9 เรื่องราว จาก สิงโตนอกคอก เรื่องสั้นแนวแฟนตาซี สะท้อนสังคมจากนักเขียนไทยมากฝีมือ “จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท” นักเขียนซีไรต์ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ เจ้าของรางวัลซีไรต์ปี 2560 สำหรับบางท่านที่ยังไม่เคยอ่าน เราขอนำเรื่องย่อของเรื่องสั้นทั้ง 9 เรื่องมาให้อ่านกัน ขอเชิญชมเรื่องราวสุดแฟนตาซีได้ ณ บัดนี้ จะขอรับผิดทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เรื่องราวเล่าถึงประเทศในดินแดนที่หนาวเหน็บ ในเมืองที่ไม่มีฟืน ไม่มีความอบอุ่น ไม่มีอาหาร… มอเดร็ด ผู้นำเมืองจะตัดสินใจอย่างไร ในยามที่เนื้อชิ้นสุดท้ายที่เหลืออยู่อาจเป็นศพของครอบครัวอันเป็นที่รัก แหล่งเชื้อเพลิงเผาไหม้สุดท้ายอาจเป็นห้องสมุดที่บรรจุหนังสือล้ำค่าเก็บรักษามาตั้งแต่ครั้งบรรพชน การตัดสินใจของท่านเจ้าเมือง จะเปลี่ยนประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ไปตลอดกาล และจะจารึกความเจ็บปวดลงในหัวใจของมอเดร็ดครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร ในฐานะผู้นำเขาย่อมขอรับความผิดทั้งหมดไว้แต่เพียงผู้เดียว ในโลกที่ทุกคนอยากเป็นคนดี เล่าถึงโลกแปลกประหลาดที่ชะตาชีวิตของผู้คนถูกกำหนดด้วยไพ่ โลกมีกฎเกณฑ์ชัดเจนง่ายๆ ใครเป็นคนดี ไพ่ของเขาจะเป็นสีขาว ใครเป็นคนไม่ดี ไพ่ประจำตัวของเขาจะเปลี่ยนสีไป กลายเป็นสีดำ คนดีมีสิทธิฆ่าคนเลวได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ระหว่างที่ไพ่ยังขาว จงสำราญกับการฆ่าให้พอใจ หากวันไหนไพ่กลายเป็นสีดำ ก็เป็นตาของคุณที่จะต้องหนีเอาตัวรอด โอนถ่ายความเป็นมนุษย์ โลกอนาคต วิทยาการทั้งหมดล้ำหน้า ชีวิตมนุษย์ถูกควบคุมด้วยไฟฟ้าและดาวเทียม อเล็กซ์ส่งข้อความพูดคุยกับแอลเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่พายุสุริยะจะมาถึงและทำให้ไฟทั้งเมืองดับลง ระหว่างที่ไฟดับ บางสิ่งบางอย่างถูกทำลาย เมื่อไฟติดอีกครั้ง ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องเผชิญกับสิ่งทีพวกเขาไม่อยากจะพานพบ…ความเจ็บปวด […]
ลืมตาตื่นอีกครั้ง…ในเวลาอันสมควร รวมเรื่องสั้นผลงานของ ปองวุฒิ รุจิระชาคร เข้ารอบ long list รางวัลซีไรต์ และรองชนะเลิศรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดครั้งที่15 ในมุมมองของเจ้าตัวนั้น มีเพลงใดบ้างที่เหมาะจะฟังเคียงไปขณะอ่าน ลืมตาตื่นอีกครั้ง…ในเวลาอันสมควร หยิบหูฟังขึ้นมา หาเพลง แล้วเปิดอ่าน 1. ลืมตาตื่นอีกครั้ง…ในเวลาอันสมควร เพลง Bohemian Rhapsody / Queen หนึ่งในเพลงเด่นของวงระดับตำนาน คิดว่าเหมาะกับเรื่องเปิดเล่ม คือ ลืมตาตื่นอีกครั้ง…ในเวลาอันสมควรมาก เพราะทั้งเนื้อหาในตัวเรื่องสั้นและเพลงไปทางทิศเดียวกัน คือชวนให้คิดตีความเรื่องความจริงและความพร่าลวงแห่งภาพฝัน สุดท้ายแล้วกระทั่งผู้เข้มแข็งหรือมีอำนาจก็อาจหลอกตัวเองและไม่ยอมลืมตาขึ้นมาหรือเปล่า เชื่อว่าส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเนื้อเพลงหลายท่อนเชื่อมโยงกับตัวเรื่องสั้นได้ดี Is this the real life? Is this just fantasy? Caught in a landslide, No escape from reality.Open your eyes, Look up to the […]
ข้อถกเถียงสนทนาในแวดวงวรรณกรรมที่ถูกพูดถึงหลายครั้ง เห็นจะหนีไม่พ้นทิศทางและอนาคตของหนังสือที่หลายคนนิยามว่า “หนังสือขายยาก” อย่าง “วรรณกรรมไทย” ทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย รวมถึงบทกวี บ้างก็ว่าหนังสือในหมวดนี้อยู่ในช่วงวิกฤติศรัทธาอันเนื่องมาจากหลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือของเวทีการประกวดระดับประเทศและเวทีประกวดต้นฉบับระดับต่างๆ รวมถึงการสูญหายตายจากของนิตยสารเล่มต่างๆ ที่เคยเป็นสนามลงเล่นของพลเมืองคนเขียนหนังสือทั้งหลาย ยังไม่นับรวมการเติบโตของสื่อประเภทอื่นที่น่าสนใจกว่า ไหนจะการเติบโตของตลาดหนังสือประเภทอื่นอย่างน่าอิจฉา ร่วมด้วยปัญหาการขาดคลื่นลูกใหม่ที่ฝีมือน่าสนใจเพียงพอให้นักอ่านทั้งหลายละ ผละสายตาหันมามอง มาอ่าน มาสนใจมากนัก ฯลฯ นักเขียนคลื่นลูกใหม่อายุไม่มากกลุ่มหนึ่งทำเพียงสร้างผลงานของตัวเองต่อเนื่อง หลายคนมีรางวัลดีกรีระดับประเทศมาประดับบารมีไม่หวาดไม่ไหว บางคนไปไกลถึงรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) บางท่านเป็นเจ้าของยอดขายระดับ 50,000 เล่ม ในระยะเวลาไม่ถึง3 ปี และทุกท่านมีดีในระดับที่งานอันสร้างโดยพวกเขานั้นได้รับการจับตาจากนักอ่านทั้งสายใหม่และสายแข็งอย่างไม่อาจปฏิเสธ นี่คือ 8 นักเขียนคลื่นลูกใหม่ ที่จะพิสูจน์ให้คุณเห็นว่า “วรรณกรรมไทย” ยังไปต่อได้ จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท ผลงานตีพิมพ์กับแพรวสำนักพิมพ์ : สิงโตนอกคอก, จะขอรับผิดทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว อายุ: 26 ปี จิดานันท์ เริ่มเขียนนิยายตั้งแต่อายุ 12 ปี ก่อนที่จะส่งผลงานประกวดตามเวทีต่างๆ ตั้งแต่เมื่อเข้ามหาวิทยาลัย เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากภาควิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบัน ทำงาน วรรณกรรมไทย […]
การกลับมาอีกครั้งกับผลงานสุดท้าทายคอวรรณกรรมไทย และผู้ชื่นชอบงานแนว Psychological Thriller ‘ณ ที่ซึ่งความจริงไม่อาจดำรงอยู่’ ของนักเขียนหนุ่มผู้มีผลงานตีพิมพ์มาแล้วกว่าร้อยชิ้น ‘ปองวุฒิ รุจิระชาคร’ ร่วมด้วยบทสัมภาษณ์บางส่วนอันแสนเข้มข้นและเผ็ดร้อนสไตล์เขา มาเริ่มทำความรู้จักผลงานเล่มล่าสุดของปองวุฒิ รุจิระชาคร ไปพร้อมๆ กันเลย คุณเขียนเอาไว้ในคำอุทิศหนังสือ ‘ณ ที่ซึ่งความจริงไม่อาจดำรงอยู่’ ว่า “แด่เจ้าความจริงผู้น่าสงสาร เพราะผู้คนในประเทศนี้ชอบแสร้งเมินเฉย ทำเหมือนเจ้าไม่มีตัวตนอยู่เสมอ” มันหมายความจริงๆ ว่าอย่างไร ต้องการกระทบกระเทียบอะไรไหม ปองวุฒิ : ผมไม่กระทบกระเทียบแต่เป็นข้อเท็จจริงนะ เมื่อเราพิจารณามองเชิงสถิติกับเรื่องต่างๆ ในประเทศนี้ ถ้าใครรู้จักและคุ้นเคยกันพอสมควรจะรู้ว่าผมเป็นคนคิดพูดอะไรโดยใช้เหตุผลเป็นหลัก ที่เขียนไปอย่างนั้น หนึ่งคือผมคิดว่ามันเป็นถ้อยคำที่เหมาะกับโทนหนังสือ เสริมด้วยเหตุผลข้อสองคือประเทศไทย ไม่ว่าวงการไหน ดูเหมือนเราจะนิยมหลบเลี่ยงความจริง ตัวอย่างเห็นง่ายมาก เช่นวงการเมือง/ข้าราชการ/ธุรกิจ เวลามีพฤติกรรมโกง ประเทศอื่นเขาก็ฟันธงกันไปชัดๆ ว่านี่คือโกง เฮ้ยคุณทำแบบนี้ไม่ได้ ต้องโดนลงโทษอะไรยังไงว่าไป แต่ประเทศเราขนาดโดนจับได้ แต่ยังเอาวาทกรรม หาข้อแก้ตัวบ้าๆ บอๆ มาพูดว่าไม่ได้โกงมาอ้าง ซึ่งมันเป็นข้ออ้างปัญญาอ่อน แล้วมันก็ไม่มีใครทำอะไร หน่วยงานทำหน้าที่ลงโทษก็เฉยจริงรับลูกด้วยนะ มันก็ตลกดี […]
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ที่รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือเรียกสั้นๆ ว่า รางวัลซีไรต์ ถือกำเนิดขึ้น จนถึงวันนี้ ประเทศไทยของเรามี หนังสือซีไรต์ ทั้งสิ้น 41 เล่มที่ประทับตราดังกล่าวไว้บนปก ประกอบไปด้วยวรรณกรรม 3 ประเภท คือ นวนิยาย กวีนิพนธ์และรวมเรื่องสั้น อย่างที่ทราบกันดีก่อนจะถึงเล่มที่ 42 (?) อันเป็นคิวของนวนิยาย จึงขอชวนและเชิญท่านมาย้อนอ่านทบทวนกันว่า มีผลงานเล่มใด ของนักเขียนคนใดบ้าง ที่ได้รับการประทับตราซีไรต์อันทรงเกียรติ์ไว้บนปก และหากจะให้สนุกไปกว่านั้น ระหว่างอ่านโปรดนับเล่นๆ ไปด้วยก็ได้ว่า ในจำนวนทั้งหมดที่ว่ามานี้ ท่านอ่านหนังสือซีไรต์ไปแล้วกี่เล่ม ว่าแล้วก็เริ่มเลย… ลูกอีสาน หนังสือซีไรต์ (นวนิยาย) ปี 2522 ผู้แต่ง คำพูน บุญทวี พิมพ์ครั้งแรก สำนักพิมพ์บรรณกิจ พิมพ์ครั้งล่าสุด สำนักพิมพ์โป๋ยเซียน นวนิยายเรื่องลูกอีสาน เป็นหนังสือซีไรต์ที่ สะท้อนภาพชีวิตของชาวอีสาน ผ่านเรื่องเล่าคล้ายสารคดีชีวิตผสมนวนิยายที่แพรวพราวไปด้วยชั้นเชิงวรรณศิลป์ งดงามด้วยสร้อยอักษร ฉายภาพวิถีชีวิตอันแร้นแค้นของชาวอีสานได้อย่างโปร่งใสบริสุทธิ์ ปราศจากน้ำเสียงที่แสดงความขมขื่น และไม่ได้พยายามตีแผ่ความชั่วร้ายของสังคม แต่ปลุกจิตสำนึกให้กับผู้อ่านโดยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงของสังคม คุณค่าของเรื่องลูกอีสาน คือการเรียนรู้ที่จะอยู่กับความยากลำบาก เพื่อก้าวผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นักวิจารณ์วรรณกรรมมีความเห็นตรงกันว่าเรื่องนี้มิได้แฝงปรัชญา ไม่ได้แสดงวิจิตรศิลป์ตระการตาหรือตีแผ่สังคมแต่อย่างใด หากแต่ได้เล่าถึงวิถีชนบทอันเรียบง่าย ฉากต่างๆ […]
SAY AFTER S.E.A Write 2017 จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท ท่ามกลางกระแสแห่งความยินดีโถมถั่งเข้าหานักเขียนซีไรต์คนล่าสุดของเมืองไทย ประจำปี 2560 เราคว้าตัว จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท ออกจากพื้นที่ตรงนั้นชั่วคราว จับเข่าถามสั้นถึงความรู้สึกที่เพิ่งผ่าน กับการเดินทางก้าวต่อไปหลังพ่วงดีกรีระดับอาเซียนติดไปด้วยมาให้คุณได้อ่านกัน ความรู้สึกตอนนี้เป็นอย่างไร “เหนื่อยค่ะ ตอนนี้ทุกคนแชทมา ทุกคนมายินดีแต่เราตอบไม่ไหวแล้ว ส่วนความดีใจ ปกติเราจะดีใจช้าค่ะ ตอนนี้ความดีใจกำลังนั่งรถไฟชั้นสามมาจากสุไหงปาดี” “สิงโตนอกคอก” ถือเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่ออะไร พอใจไหม “สิงโตนอกคอกเกิดจากการที่เราเขียนเรื่องสั้นมาระยะเวลาหนึ่ง แล้วเราก็คิดว่าควรมีรวมเรื่องสั้นแล้วแหละ ก็นำเรื่องสั้นเหล่านั้นมาคัดค่ะ ฟีลลิ่งตอนแรกมันอยู่แค่ตรงนั้น เรื่องในเล่มนี้เป็นเรื่องที่เขียนไว้แล้วเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยเล่มนี้จะคัดเรื่องที่เกี่ยวกับดิสโทเปียหรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือแฟนตาซี มารวมกันไว้ คือตอนเขียนไม่ได้กำหนดธีมเล่ม เพราะเขียนในหลายโอกาส แต่ตอนเอามารวมกัน มันดันมีจุดที่เหมือนกัน มันดันกลายเป็นธีมเล่ม . ทุกวันนี้มาพอใจกับมันตอนที่น้องๆ นักเรียนนักศึกษาหลายๆ คน บอกว่าไม่เคยอ่านงานวรรณกรรมมาก่อนแต่มาอ่านเล่มนี้ ชอบ เข้าใจ สนุก เป็นจุดที่คิดว่าคอมพลีทแล้วค่ะ […]