Category Archives: Fiction

การเดินทางของโรเบิร์ต แลงดอน จากรหัสลับดาวินชี ถึง ออริจิน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การมาถึงของนิยายสืบสวนเรื่อง รหัสลับดาวินชี ทำให้วงการนิยายสืบสวนเปลี่ยนแปลงไปอีกขั้น ด้วยการนำเอาความจริงมาผสมกับจินตนาการเพื่อพาผู้อ่านต้องหันมาตั้งคำถามต่อความเชื่อที่มีมานับพันปี               ความเชื่อในเรื่องของศาสนา ความศรัทธาในพระเจ้า ซึ่งดูเหมือนว่า ผู้เขียน จะตั้งคำถามมันออกมาดังๆ             คำถามที่ไม่ใช่แค่คิด แต่ดูเหมือนมันจะรูปธรรมแห่งหลักฐานข้อมูลยืนยัน             ข้อมูลที่อิ่งแอบอย่างแนบแน่นกับบุคคลในประวัติศาสตร์ ซ้อนทับเป็นหนึ่งเดียวกันกับงานศิลปะที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก             หนึ่งนั้นคือภาพโมนาลิซ่า ที่หมายรวมไปถึงความจริงอันน่าตระหนกของดาวินชี ผู้วาดอีกด้วย               เช่นเดียวกันกับชายที่ชื่อ โรเบิร์ต แลงดอน ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของสัญลักษณ์โบราณ ที่ผู้เขียนคือ แดน บราวน์ สร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างมีชีวิต ชวนให้เราต้องติดตามการเดินทางของเขาเพื่อไขปริศนา จากปารีสสู่เกาะอังกฤษเพื่อที่จะบอกกับโลกว่า อะไรคือความลับของจอกศักดิ์สิทธิ์             ความลับที่ทำให้ศรัทธาความเชื่อของเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล หรืออาจจะกล่าวได้ว่า รหัสลับดาวินชี คือนิยายที่ส่งผลก่อให้เกิดข้อสงสัยในศรัทธาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน             นักอ่านบ้านเรารู้จัก โรเบิร์ต แลงดอน จากเรื่อง รหัสลับดาวินชี ทั้งที่ความจริงแล้ว นี่เป็นการผจญภัยครั้งที่สองของเขา เพราะทางสำนักพิมพ์ได้ตีพิมพ์เรื่องนี้ก่อนเรื่อง เทวากับซาตาน นิยายเรื่องที่ถือเป็นการเปิดตัว แลงดอน ที่เขาต้องไปเกี่ยวกันเพื่อไขความลับการฆาตกรรมของพระชั้นผู้ใหญ่ในวาติกัน กับสัญลักษณ์โบราณที่ปรากฏอยู่บนร่างของเหยื่อ   […]

41 ปี 41 เล่ม รวมหนังสือซีไรต์ ปี 2522 – 2562

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ที่รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือเรียกสั้นๆ ว่า รางวัลซีไรต์ ถือกำเนิดขึ้น จนถึงวันนี้ ประเทศไทยของเรามี หนังสือซีไรต์ ทั้งสิ้น 41 เล่มที่ประทับตราดังกล่าวไว้บนปก ประกอบไปด้วยวรรณกรรม 3 ประเภท คือ นวนิยาย กวีนิพนธ์และรวมเรื่องสั้น อย่างที่ทราบกันดีก่อนจะถึงเล่มที่ 42 (?) อันเป็นคิวของนวนิยาย  จึงขอชวนและเชิญท่านมาย้อนอ่านทบทวนกันว่า มีผลงานเล่มใด ของนักเขียนคนใดบ้าง ที่ได้รับการประทับตราซีไรต์อันทรงเกียรติ์ไว้บนปก และหากจะให้สนุกไปกว่านั้น ระหว่างอ่านโปรดนับเล่นๆ ไปด้วยก็ได้ว่า ในจำนวนทั้งหมดที่ว่ามานี้ ท่านอ่านหนังสือซีไรต์ไปแล้วกี่เล่ม ว่าแล้วก็เริ่มเลย… ลูกอีสาน หนังสือซีไรต์ (นวนิยาย) ปี 2522 ผู้แต่ง คำพูน บุญทวี พิมพ์ครั้งแรก สำนักพิมพ์บรรณกิจ พิมพ์ครั้งล่าสุด สำนักพิมพ์โป๋ยเซียน  นวนิยายเรื่องลูกอีสาน เป็นหนังสือซีไรต์ที่ สะท้อนภาพชีวิตของชาวอีสาน ผ่านเรื่องเล่าคล้ายสารคดีชีวิตผสมนวนิยายที่แพรวพราวไปด้วยชั้นเชิงวรรณศิลป์ งดงามด้วยสร้อยอักษร ฉายภาพวิถีชีวิตอันแร้นแค้นของชาวอีสานได้อย่างโปร่งใสบริสุทธิ์ ปราศจากน้ำเสียงที่แสดงความขมขื่น และไม่ได้พยายามตีแผ่ความชั่วร้ายของสังคม แต่ปลุกจิตสำนึกให้กับผู้อ่านโดยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงของสังคม คุณค่าของเรื่องลูกอีสาน คือการเรียนรู้ที่จะอยู่กับความยากลำบาก เพื่อก้าวผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นักวิจารณ์วรรณกรรมมีความเห็นตรงกันว่าเรื่องนี้มิได้แฝงปรัชญา ไม่ได้แสดงวิจิตรศิลป์ตระการตาหรือตีแผ่สังคมแต่อย่างใด หากแต่ได้เล่าถึงวิถีชนบทอันเรียบง่าย ฉากต่างๆ […]

ตามรอย กาหลมหรทึก: คดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญ จากหนังสือดังสู่ละครช่องวัน 31

คุณเคยเป็นติ่งอะไรสักอย่างจนต้องตามไปดูของจริงให้เห็นกับตาไหม? Event ตามรอยกาหลมหรทึก เกิดขึ้นมาเพราะความติ่งเช่นนี้แหละ สถานที่สำคัญต่างๆ รวมถึงสถานที่ ฆาตกรรมสะเทือนขวัญ ในช่วงปี พ.ศ. 2486 ที่ปรากฏในหนังสือ กาหลมหรทึก นั้นมีอยู่จริง จนเราอดรนทนไม่ได้ที่จะจัดทริป ตามรอยกาหลมหรทึก การ ตามรอยกาหลมหรทึก ครั้งนี้ เราได้ไป 7 จุดสำคัญทั่วพระนครและธนบุรี ซึ่งจะมีที่ไหนบ้างนั้น แพรวสำนักพิมพ์ได้จัดให้ผู้โชคดี 10 ท่าน พร้อมผู้สื่อข่าวไปตามรอยกาหลมหรทึกกัน สนุกสุขสันต์ในวันตรุษจีนกันเลยทีเดียว อาจมีสปอยเนื้อเรื่องกาหลมหรทึกบางๆ แต่จะพยายามทำให้อ่านแล้วสงสัยต่อแล้วกันนะ ตามไปดูกันเถอะ คุณองอาจ จิระอร คุณจตุพล บุญพรัด และ ปราปต์ พร้อมด้วยผู้โชคดีจากการร่วมกิจกรรมใน FB แพรวสำนักพิมพ์   ตรอกศาลาต้นจันทร์ วัดระฆังโฆสิตาราม เราเริ่มต้นที่ชุมชนศาลาต้นจันทร์ วัดระฆังโฆสิตาราม นำโดยวิทยากรกิติมศักดิ์มากๆ 2 ท่าน ท่านแรก คือพี่ฉ่ำ คุณองอาจ จิระอร ที่ปรึกษาสายงานสำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์ฯ (ก็ผู้บริหารบริษัทนั่นแหละจ้ะ) และน้องปราปต์ ผู้เขียนหนังสือกาหลมหรทึกนั่นเอง […]

บทสัมภาษณ์ : แดน บราวน์ ผู้เขียนรหัสลับดาวินชี เปิดตัว Origin นิยายเล่มใหม่ปีนี้

จากงานเปิดตัวหนังสือ Origin ใน Frankfurt Book Fair บทสัมภาษณ์ของ แดน บราวน์ นักเขียนชื่อดังของโลกได้กลายเป็นหัวข้อข่าวในเวลาต่อมาอย่างรวดเร็ว เพราะนักอ่านทั่วโลกต่างอยากรู้ว่าศาสตราจารย์โรเบิร์ต แลงดอน จะต้องไขปริศนาอะไรในผลงานเรื่องใหม่เล่มนี้ และอะไรที่ช่วยจุดประกายให้แดน บราวน์เขียนผลงานระดับโลกนี้ขึ้นมา Origin เกี่ยวข้องกับชายที่ค้นพบความลับที่จะหักล้างความเชื่อทางศาสนา คุณไปได้ไอเดียนี้มาจากไหน เดิมทีผมมักได้ไอเดียจากสิ่งที่ผมเห็น หรือสิ่งที่ผมอ่าน แต่เล่มนี้ผมได้จากการฟัง เพลงขับร้องในโบสถ์ชื่อ Missa Charles Darwin ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ เพลงนี้ทำให้ผมคิดถึงวิวัฒนาการมนุษย์ เรามาจากไหน เรากำลังจะไปไหน และกลายเป็นคำถามที่ว่า “พระเจ้าจะรอดจากวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่” เพราะครั้งหนึ่งเราเคยมีความเชื่อที่ว่าเทพเจ้าอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทุกอย่าง แต่วันหนึ่งวิทยาศาสตร์ก็เข้ามาอธิบายเรื่องราวเหล่านี้และทำให้เทพเจ้าค่อยๆ หายไป มันเป็นหนังสือที่เขียนสนุกมาก และก็เขียนยากมากเช่นกัน ผมหวังว่าทุกคนจะสนุกกับมัน คุณค้นคว้ายังไงเวลาจะเขียนหนังสือสักเล่ม สิ่งแรกที่ผมทำคือผมอ่าน อ่านเยอะมาก โดยเฉพาะหนังสือประเภท Non-Fiction ตอนเขียน Origin ผมอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ อนาคตของพระเจ้า ผมใช้เวลาประมาณ 6 – 12 เดือน อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน เมื่อผมได้คำถามที่เป็นประเด็นแล้วผมก็ไปสเปน […]

ให้ทุกวันเป็นวันแห่งความรักด้วยนิยายรักสุดฟิน จิกหมอน 14 เรื่อง 14 รส

ให้ทุกวันเป็นวันแห่งความรักด้วย นิยายรัก โรแมนติกจากสำนักพิมพ์ในเครือ Amarinbooks ไม่ว่าจะเป็น แพรวสำนักพิมพ์ อรุณ และ Rose ที่รับรองได้ว่า อ่านแล้วฟินจิกหมอน กันไปเลย อ่านได้ทั้งคนโสดและคนไม่โสด ไม่ว่าจะชื่นชอบ นิยายรัก สไตล์ไหน คัดสรรจากใจ เรามีพร้อมเสิร์ฟทุกแนว!

5 วรรณกรรมเยาวชน ต้นแบบโรคผิดปกติทางจิต

โรคผิดปกติทางจิต หรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับจิตใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้บนโลกใบนี้ บางครั้งคุณหมอจะตั้งชื่อของโรคผิดปกติทางจิตเหล่านั้น ตามอาการที่เกิดขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า โรคผิดปกติทางจิต หลายๆ โรค ตั้งชื่อขึ้นตามตัวละครในวรรณกรรมคลาสสิกก้องโลก  และแน่นอนว่า อาการของโรคที่ผู้ป่วยต้องประสบนั้น มีอาการเช่นเดียวกับตัวละครในเรื่องนั้นๆ ด้วย เราลองมาดูกันว่า มีโรคอะไรบ้าง จะมีตัวละครโปรดของเราเป็นหนึ่งในนั้นไหมนะ…?   อลิซ อิน วันเดอร์แลนด์ ซินโดรม (Alice in Wonderland Syndrome)   ‘อลิซ อิน วันเดอร์แลนด์’ หรือ ‘อลิซผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์’ วรรณกรรมเยาวชนที่มีอายุกว่า 150 ปี แต่งโดย ลูอิส แคร์รอล (Lewis Carroll)  เป็นเรื่องราวการผจญภัยสุดแฟนตาซีของเด็กสาว “อลิซ” โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากโพรงกระต่ายสุดอัศจรรย์ “อลิซ อิน วันเดอร์แลนด์ ซินโดรม” เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ชื่อของโรคนำมาจากการผจญภัยตอนหนึ่งที่อลิซหลงเข้าไปในบ้านลึกลับแล้วต้องเลือกระหว่าง ‘Drink Me’ เครื่องดื่มที่ทำให้ตัวเล็กลง หรือทานเค้ก ‘Eat Me’ […]

เด็กชายในชุดนอนลายทางบนโลกแห่งความจริง

หลายคนคงเคยได้อ่านหนังสือหรือดูภาพยนตร์เรื่อง เด็กชายในชุดนอนลายทาง กันมาบ้างแล้ว เรื่องราวของมิตรภาพริมรั้วลวดหนามระหว่าง ‘บรูโน’ ลูกชายของนายทหารระดับสูง และ ‘ชมูเอล’ เด็กชายเชื้อสายยิวที่อาศัยอยู่ในค่ายกักกัน ในโลกแห่งความเป็นจริงก็สุดสะเทือนใจและหดหู่ไม่แพ้ในหนังสือเลย…

บทอัศจรรย์ในวรรณกรรมไทย VS ฉากอีโรติกในนวนิยาย Fifty Shades

มนุษย์ทุกชาติพันธุ์เหมือนกันในความเป็นสัตว์โลก หากในความเหมือนก็ยังมีความต่างในเรื่องของวัฒนธรรม ความเชื่อ วันที่โลกแคบลงด้วยเทคโนโลยี การเรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่าง จึงจำเป็นต่อการอยู่ร่วมเพื่อการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกอย่างไม่อาจปฏิเสธ เทคโนโลยีนำมาซึ่งการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดก็คือการเรียนรู้ในความต่าง ในรสนิยม ในกิเลส ในความชอบไม่ชอบ เป็นการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อเอามาขยายความว่า อะไรดี อะไรด้อย อะไรถูก อะไรผิด ด้วยสายตาอันเป็นปัจเจก เรียนรู้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า “โยนิโสมนสิการ” คือการคิดจากเหตุไปหาผล คิดจากผลไปหาเหตุ มองเห็นถึงความสัมพันธ์ต่อเนื่อง จนถึงการมองแบบองค์รวม พิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วนเป็นอาทิ มองได้อย่างนี้ก็จะไม่เกิดวิวาทะว่า สิ่งนั้น ๆ เป็นตัวอย่างที่ยั่วยุนำไปสู่การเลียนแบบ หรือเป็นบทเรียนที่ไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ทั้งที่เป็นสิ่งเดียวกัน นวนิยายชุด Fifty Shades ทั้ง 3 เล่ม ที่สร้างกระแสการขายดีชนิดทำลายทุกสถิติจึงเป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งในโลกยุคดิจิทัลที่ต้องเรียนรู้และเฝ้ามองอย่างมีสติถึงที่มาที่ไป ถึงประเด็นอันเป็นแก่นของเรื่องมากกว่าการมองเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะบางฉากบางตอนที่เรียกว่า อีโรติก หรือเชิงสังวาส ในความหมายแบบไทย   ปฏิเสธไม่ได้ว่าความรู้สึกทางเพศเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในความเป็นสัตว์โลกแต่กระนั้น ในความเป็นมนุษย์ซึ่งมีวิวัฒนาการทางด้านสังคม สัมพันธภาพระหว่างหญิงชายจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกหลอมรวมอยู่ในโครงสร้างทางวัฒนธรรม ก่อเกิดเป็นธรรมเนียมประเพณีให้ยึดถือปฏิบัติ แต่ตลอดยุคสมัยของประวัติศาสตร์ ธรรมเนียมประเพณีหลายอย่างก็ถูกปรับเปลี่ยนไปตามกระแสโลก ฉะนั้น รสนิยมทางเพศที่แตกต่างไปจากขนบ จะถูกประณามขัดขวางหรือยอมรับจึงขึ้นอยู่กับความเชื่อของยุคสมัย ขึ้นอยู่กับสังคมของผู้คนในภูมิภาคนั้น ๆ […]

5 ข้อน่ารู้ก่อนดู “Fifty Shade Freed” ปัจฉิมบทแห่งความเร่าร้อน

ตั้งแต่วันแรกที่แอนัสตาเชีย สตีล ล้มคะมำเข้าไปในห้องทำงานของมิสเตอร์เกรย์ จนถึงวันที่ความรักผลิบาน นำไปสู่เรื่องราวต่างๆ มากมาย ผ่านภาพยนตร์อีโรติกแห่งปี  Fifty Shade of Grey และ Fifty Shade Darker  ซึ่งสร้างจากนวนิยายไตรภาคชื่อดัง Fifty Shade ผลงานเขียนจาก อี. แอล. เจมส์ (E. L. James)  ความโรแมนติกอันหวานฉ่ำและความอีโรติกอันเร่าร้อนของทั้งสองกำลังจะมาถึงบทสรุปในบทสุดท้าย “Fifty Shade Freed” ซึ่งจะเข้าฉายต้อนรับเดือนแห่งความรักในช่วงวาเลนไทน์ปี 2018   Fifty Shades ความฝันในวัยเด็กของผู้เขียน หลังจากทำงานในวงการโทรทัศน์มากว่า 25 ปี  อี. แอล. เจมส์ (E. L. James) หรือ Erika Mitchell ตัดสินใจผันตัวเองมาทำตามความฝันในวัยเด็ก นั่นคือการเขียนเรื่องราวให้คนอ่านแล้วหลงรัก ออกมาเป็น “ฟิฟตี้เชดส์ออฟเกรย์ (Fifty Shades of Grey)” กับภาคต่ออีก […]

สิงโตนอกคอก รวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ 2560

  SAY AFTER S.E.A Write 2017  จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท     ท่ามกลางกระแสแห่งความยินดีโถมถั่งเข้าหานักเขียนซีไรต์คนล่าสุดของเมืองไทย ประจำปี 2560 เราคว้าตัว จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท ออกจากพื้นที่ตรงนั้นชั่วคราว จับเข่าถามสั้นถึงความรู้สึกที่เพิ่งผ่าน กับการเดินทางก้าวต่อไปหลังพ่วงดีกรีระดับอาเซียนติดไปด้วยมาให้คุณได้อ่านกัน       ความรู้สึกตอนนี้เป็นอย่างไร “เหนื่อยค่ะ ตอนนี้ทุกคนแชทมา ทุกคนมายินดีแต่เราตอบไม่ไหวแล้ว ส่วนความดีใจ ปกติเราจะดีใจช้าค่ะ ตอนนี้ความดีใจกำลังนั่งรถไฟชั้นสามมาจากสุไหงปาดี”   “สิงโตนอกคอก” ถือเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่ออะไร พอใจไหม “สิงโตนอกคอกเกิดจากการที่เราเขียนเรื่องสั้นมาระยะเวลาหนึ่ง แล้วเราก็คิดว่าควรมีรวมเรื่องสั้นแล้วแหละ ก็นำเรื่องสั้นเหล่านั้นมาคัดค่ะ ฟีลลิ่งตอนแรกมันอยู่แค่ตรงนั้น เรื่องในเล่มนี้เป็นเรื่องที่เขียนไว้แล้วเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยเล่มนี้จะคัดเรื่องที่เกี่ยวกับดิสโทเปียหรือสัจนิยมมหัศจรรย์ หรือแฟนตาซี มารวมกันไว้ คือตอนเขียนไม่ได้กำหนดธีมเล่ม เพราะเขียนในหลายโอกาส แต่ตอนเอามารวมกัน มันดันมีจุดที่เหมือนกัน มันดันกลายเป็นธีมเล่ม . ทุกวันนี้มาพอใจกับมันตอนที่น้องๆ นักเรียนนักศึกษาหลายๆ คน บอกว่าไม่เคยอ่านงานวรรณกรรมมาก่อนแต่มาอ่านเล่มนี้ ชอบ เข้าใจ สนุก เป็นจุดที่คิดว่าคอมพลีทแล้วค่ะ […]

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า