นักพากษ์เสียง หรือ 語り手 (คะทะริเตะ) อาชีพในวงการบันเทิงที่โดนมองข้ามในประเทศอื่น แต่ในประเทศแห่งอนิเมชั่นอย่างญี่ปุ่น อาชีพ นักพากษ์เสียง เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน จนมีสถาบันสำหรับอาชีพนี้โดยเฉพาะมากมายหลายแห่ง ทำไมอาชีพนี้ถึงเป็นอาชีพที่หลายคนอยากทำกันนะ วันนี้มาทำความรู้จักอาชีพนี้กันเถอะ
นักพากษ์เสียง หรือ 語り手 คืออะไร
นักพากษ์เสียง คือ ผู้ให้เสียงกับตัวละครในภาพยนตร์หรืออนิเมชั่น ละครทีวี ละครวิทยุ ไม่ว่าจะเป็นภาษาต้นฉบับ หรือภาษาแปลเพื่อฉายตามประเทศที่ซื้อลิขสิทธิ์ฉาย
การพากษ์เสียง ไม่ใช่การแสดงจริงหรือ
หากคิดแบบนั้นคิดผิดถนัด เพราะการพากษ์เสียงคือการใส่ตัวละครเข้าไปให้ใกล้เคียงกับภาพให้ได้มากที่สุด จนหนังบางเรื่องต้องใช้วิธีวิ่งไปด้วยขณะพากษ์ เพื่อความเหนื่อยที่สมจริงของเสียงที่ออกมา แม้กระทั่งการทำเสียงตัวละครในแต่ละช่วงวัย ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนนักพากษ์เพื่อความสมจริงกับอายุสักเท่าไหร่ นักพากษ์หลายคนจึงสามารถเลียนเสียงคนแก่ เสียงเด็ก หรือนักพากษ์ผู้หญิงสามารถพากษ์ตัวละครชายได้เช่นกัน
รายได้ของนักพากษ์
ในประเทศญี่ปุ่น นักพากษ์นั้นไม่มีเพียงรายได้จากการพากษ์เท่านั้น นักพากษ์ส่วนใหญ่มักจะมีอีเวนท์ต่างๆ ในนามของตัวละครที่ได้พากษ์เสียง หรือแม้กระทั่งรายการโชว์ความสามารถก็ถูกเชิญไปบ่อยครั้ง มากไปกว่านั้นคือการโชว์บนคอนเสิร์ตเหมือนกับดาราไอดอลคนหนึ่ง โดยรายได้ของนักพากษ์เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เริ่มต้นที่ 210,000 เยน หรือราวๆ 63,000 บาทเลยทีเดียว!
อยากเป็นนักพากษ์ต้องทำอย่างไร
ด้วยอัตราการแข่งขันที่สูงมาก เพราะใครๆ ก็อยากจะก้าวเข้ามาในวงการนี้ อาจเพราะความชื่นชอบ (ทั้งในเรื่องของอนิเมชั่นและรายได้) ทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีสถาบันสอนพากษ์เสียงอยู่มากมาย โดยไม่ได้สอนเพียงแค่การออกเสียงเท่านั้น นักพากษ์ทุกคนต้องผ่านการเข้าแอคติ้งคลาสเสมอ เพราะหากไม่สามารถเข้าถึงตัวละครที่จะพากษ์ได้ เสียงที่ถูกพากษ์ออกมาจะไร้อารมณ์ โดยการเข้าเรียนในสถาบันนักพากษ์ ไม่ใช่เพียงสมัครเข้าไปก็สามารถเรียนได้ทันที ต้องผ่านการออดิชั่นก่อน จากนั้นถึงได้เริ่มเข้าคลาสแอคติ้ง ท่าทางในการพากษ์ การร้องเพลง และบางสถาบันสอนไปถึงกระบวนการผลิตอนิเมชั่นเลยทีเดียว
การพากษ์เสียงกับนวนิยาย
อาจฟังดูแปลกใจไม่น่าเชื่อ ว่าทำไมนวนิยายที่เป็นตัวอักษรกับการพากษ์เสียงที่ไม่ต้องมองก็สามารถเข้าใจได้มาอยู่ด้วยกัน ในยุคสมัยนี้ นวนิยายส่วนใหญ่มักจะถูกนำมาสร้างเป็นอนิเมชั่น หรือมากกว่านั้นคือการสร้างเป็นซีรีส์แบบที่ทุกคนคุ้นเคย สำหรับนักอ่านบางคนกลับมองว่าการนำเอาเรื่องราวในนวนิยายออกมาให้เห็น มันทำลายจินตนาการในการอ่านไป อุตสาหกรรมบันเทิงในต่างประเทศจึงคิดวิธีการใหม่ขึ้นมา คือ ละครวิทยุ หรือ Radio Drama เป็นการนำนักพากษ์มาพากษ์เสียงตัวละครในลักษณะไม่มีภาพ โดยจะมีเสียงประกอบเป็นเสียงธรรมชาติและเมโลดี้ที่แต่งขึ้นมาให้นวนิยายเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการอ่านนวนิยายมากขึ้น โดยไม่โดนทำลายภาพในจินตนาการของนักอ่าน
ละครวิทยุ โด่งดังและเป็นที่ยอมรับด้วยความรวดเร็ว จนเกิดการเขียนบทของเรดิโอดราม่าแยกออกมาจากนวนิยายเป็นตอนพิเศษโดยเฉพาะ ความสำเร็จนี้ส่งผลให้นวนิยายหลายเรื่องโด่งดังมากขึ้นไปอีก รวมทั้งชื่อเสียงของนักพากษ์ด้วย
แม้ก่อนหน้านี้ละครวิทยุจะเคยได้รับความนิยม แต่เพราะยุคสมัยนั้นทำให้คนเริ่มสนใจการเห็นภาพมากกว่าจนละครวิทยุเริ่มหายไปในที่สุด แล้วคุณอยากรู้ไหมว่าละครวิทยุนั้นมีกระบวนการสร้างอย่างไร หากอยากรู้ลองอ่าน โปรดฟังให้จบ นวนิยายของมินะโตะ คะนะเอะ ที่ฉีกออกจากนวนิยายเรื่องอื่นๆ ของเธออย่างสิ้นเชิง เพราะไม่มีเรื่องให้สืบสวน ไม่มีคดีฆาตกรรม ไม่มีเลือดสักหยด
เรื่องราวของ มาจิดะ เคสุเกะ เคยป็นสมาชิกชมรมกรีฑาของโรงเรียนมัธยมต้นแต่ทีมของเขากลับพลาดการแข่งเอคิเด็งระดับประเทศไปอย่างน่าเสียดาย เขาวาดหวังว่าจะพยายามต่อในชั้นมัธยมปลาย จึงมุ่งมั่นที่จะเข้าเรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียงด้านกรีฑา แต่โชคชะตากลับเล่นตลก เขาบาดเจ็บจนไม่สามารถเล่นกีฬาใดๆ ได้
ในขณะที่กำลังเคว้งคว้าง เขาก็ได้พบกับ มาซายะ ผู้มุ่งมั่นจะข้าร่วมชมรมกระจายเสียงเพราะฝันอยากเป็นนักเขียนบทละครวิทยุ มาซายะชักชวน เคสุเกะ และซากุระ เพื่อนใหม่ที่ถูกกลั่นแกล้งรังแกจากเพื่อนร่วมห้อง ให้เข้าชมรมกระจายเสียงด้วยกัน เคสุเกะ ที่ฝันสลายจนต้องถอนตัวจากการวิ่งที่เป็นชีวิตจิตใจ จับพลัดจับผลูต้องมาร่วมฝ่าฟันไปพร้อมกับเพื่อนใหม่ในชมรมที่ใครต่างก็มองว่า “ประหลาด” เขาจะกล้าฝันในเส้นทางที่เปรียบเสมือนไม้ผลัดสำคัญแห่งชีวิตได้หรือไม่…
ติดตามเรื่องราวของละครวิทยุที่จัดทำโดยเด็กมัธยมปลายผู้มีความฝันยิ่งใหญ่ได้ใน
โปรดฟังให้จบ
ผลงานของ มินะโตะ คะนะเอะ
ราชินีแห่งนิยายสืบสวนของประเทศญี่ปุ่น
วางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
หรือสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ได้ ที่นี่