ความเข้าใจที่นักอ่านมือใหม่ คนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ และคนที่อ่านหนังสืออยู่บ้าง แต่ไม่รู้สึกว่ามีประโยชน์สักเท่าไหร่ เชื่อกันอย่างผิด ๆ ก็คือ ต้อง “อ่านเร็ว” “อ่านเยอะ” และ “เลือกอ่าน” ความเชื่อที่ทึกทักกันไปเองนี้เป็นสิ่งที่รบกวน “การเตรียมตัวก่อนอ่าน” และกีดขวางวิธีอ่านเพื่อใช้ประโยชน์จากหนังสือ เมื่อยึดติดกับ “การอ่านเร็ว” เนื้อหาสำคัญก็จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง ถ้าคิดแต่ว่า “ต้องอ่านให้ได้เยอะ ๆ” ก็จะพลาดเป้าหมายในการอ่านไป และเมื่อจุกจิกกับ “การเลือกอ่าน” ก็จะเผลออ่านแต่หนังสือตามใจตัวเองเท่านั้น มาปรับทัศนคติในการอ่านหนังสือของคุณกับ “3 เรื่องหลอกลวงเกี่ยวกับการอ่านหนังสือแบบผิด ๆ ที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง” แม้แต่งานวิจัยระดับโลกก็ยังปฏิเสธเรื่องการอ่านเร็ว ปี 2016 ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ตรวจสอบว่า “การอ่านเร็วทำได้จริงหรือไม่” จากข้อมูลวิจัยกว่า 145 ชิ้น สรุปผลไว้ดังนี เมื่อเพิ่มความเร็วในการอ่าน ระดับความเข้าใจในเนื้อหาที่อ่านจะลดลง (ระหว่างความเข้าใจกับความเร็วในการอ่าน คุณต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) จากปัจจัยที่กำหนดความเร็วและเวลาในการอ่านการเคลื่อนไหวของดวงตาและวิสัยทัศน์ในการมองเห็น มีผลน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ เทคนิคการอ่านโดยมองตัวอักษรแล้วจำเป็นภาพแทบไม่มีผลใด ๆ และเทคนิคการอ่านเร็วก็ไม่ได้ช่วยให้สมองจดจำเนื้อหาของหนังสือได้เลย สรุปก็คือ การอ่านเร็วเป็นแค่เทคนิคการอ่านข้ามไปแบบลวก ๆ เท่านั้น เมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง […]
Tag Archives: ทักษะการอ่าน
แต่ละคนมี ทักษะการอ่าน ไม่เท่ากัน บางคนเริ่มอ่านที่สารบัญก่อน บางคนมุ่งไปที่เนื้อหาเลย ซึ่งแต่ละเทคนิคที่ใช้จะส่งผลกับความจำแตกต่างกันด้วย การอ่านหนังสือของแต่ละคนมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน บางคนอ่านเพื่อเรียนหนังสือ อ่านเพื่อสอบ อ่านเพื่อพัฒนาตนเอง หรืออ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ซึ่งหากเป็นการอ่านเพื่อต้องการจดจำเนื้อหาได้เยอะๆ การจัดระเบียบความคิดในการอ่านนั้นสำคัญมาก บางครั้งเรื่องเล็กๆ ที่เรามองข้ามไปอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เราจำแม่นขึ้นเลยก็ได้ มาดูกันว่าเราสามารถพัฒนา ทักษะการอ่าน ด้วยวิธีไหนได้บ้าง การอ่านก่อนการอ่าน “การอ่านก่อนการอ่าน” เป็นการเตรียมตัวก่อนอ่านเนื้อหา จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้คือการทำความเข้าใจเนื้อหาและค้นหาประเด็นสำคัญ โดยต้องอ่านทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1.สารบัญ เพื่อจดจำส่วนประกอบสำคัญทั้งหมด 2.เนื้อหา เพื่อจับประเด็นหลักๆ ในเนื้อหานั้น 3.ที่ว่าง จัดระเบียบความคิดของตัวเองตรงหน้ากระดาษที่ว่างอยู่ จดจำส่วนประกอบของสารบัญ สารบัญเป็นกรอบขนาดใหญ่ของเนื้อหา และยังเป็นเค้าโครงของหนังสือทั้งหมดด้วย ถ้าอยากจำเนื้อหาได้ ก็ต้องจำตั้งแต่สารบัญ ยิ่งถ้าเข้าใจหลักการสร้างสารบัญก็จะทำให้เราจำได้แม่นยิ่งขึ้น วิธีจำสารบัญคือ ลองสร้างเนื้อหาในสารบัญเป็นเรื่องราวดู เมื่อสารบัญเป็นเหมือนกรอบของหนังสือ ถ้าเชื่อมโยงหัวข้อใหญ่ๆ ตั้งแต่บทที่หนึ่งถึงบทสุดท้ายเข้าหากันได้ ก็สร้างเรื่องราวของหนังสือได้ไม่ยาก ถ้าเชื่อมโยงหัวข้อต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นเรื่องราว สมองก็จะจำได้ดีและนานกว่าการจำหัวข้อต่างๆ แยกกันด้วย จับประเด็นหลักของเนื้อหา สิ่งสำคัญที่สุดคือการจับประเด็นหลักของเนื้อหา […]