กัมบัตเตะ ปรัชญาการยืนหยัดและการฟื้นคืนกำลังใจของญี่ปุ่น นี่ศิลปะการข้ามผ่านอุปสรรคในวันที่หมดไฟในการทำงาน ! กัมบัตเตะไม่ใช่แค่ถ้อยคำแสดงการให้กำลังใจ หรือการพูดกระตุ้นจูงใจด้วยคำเพียงคำเดียว แต่เป็นวิถีการมองชีวิต กัมบัตเตะเป็นกรอบความคิดที่เรียนรู้และใช้ได้ในชีวิตประจำวัน กัมบัตเตะเป็นเครื่องมือสำหรับให้กำลังใจตัวเองและคนที่รัก กัมบัตเตะจะช่วยให้คุณก้าวไปข้างหน้าเสมอพร้อมรอยยิ้ม ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับอะไรก็ตาม กัมบัตเตะคือแสงสว่างนำทาง ที่ช่วยให้เราไม่ติดหล่มความเฉยเมยเย็นชาหรือความสิ้นหวัง เมื่อต้องเผชิญกับโชคร้ายที่ไม่คาดคิด เราไปรู้จัก “กัมบัตเตะ ปรัชญาเพื่อข้ามผ่านอุปสรรคในวันที่หมดไฟในการทำงาน” พร้อมกัน ขอให้แล่นเรือฝ่าชีวิตไปด้วยจิตวิญญาณแบบกัมบัตเตะ ไม่ว่าจะเจอสถานการณ์อย่างไร เรื่องหนึ่งที่แน่ใจได้เสมอคือ แม้แต่คลื่นลูกใหญ่ที่สุดก็ต้องสลายไปในวันหนึ่ง บางเวลาเราอาจประสบอุบัติเหตุหรือดูเหมือนจะเจอแต่ข่าวร้าย แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราเลือกพุ่งไปข้างหน้าได้เสมอ ขอให้แล่นเรือฝ่าชีวิตไปด้วยจิตวิญญาณแบบกัมบัตเตะ จงทำให้ดีที่สุด กระโจนเข้าหาคลื่นเหล่านั้นแล้วเรียนรู้จากมัน และพึงระลึกเสมอว่าคลื่นจำนวนหนึ่งอาจหนักหนาเกินต้านและจะพัดคุณกลับเข้าฝั่ง ถ้ายืนนิ่ง ๆ และ “ตะไคร่ไม่ดี” เติบโตบนตัวคุณ ถึงเวลาที่จะต้องลงมือทำสิ่งต่าง ๆ แล้ว ถ้ายืนนิ่ง ๆ และ “ตะไคร่ไม่ดี” เติบโตบนตัวคุณ ถึงเวลาที่จะต้องลงมือทำสิ่งต่าง ๆ แล้ว แต่ถ้าคุณกลิ้งอยู่ตลอดและไม่ยอมให้ “ตะไคร่สวยงาม” เติบโตบนตัวคุณ ก็ต้องหยุดพักและจัดการกับเรื่องนี้ต่อไป คำถามสำคัญคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรยืนอยู่นิ่ง ๆ หรือกลิ้งเพื่อค้นหาเป้าหมายถัดไปถึงจะดีกว่า มีแต่คุณเท่านั้นที่ตอบคำถามนี้ได้ สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องไม่รู้สึกเหมือนติดกับ […]
Tag Archives: หมดไฟในการทำงาน
ภาวะ หมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome เกิดขึ้นได้ทุกคน ภาวะนี้เกิดจากความเครียด ความกดดันในการทำงาน ทำให้รู้สึกเบื่องาน ไม่อยากไปทำงาน และเฉื่อยชา เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศรวม Burnout ไว้ในบัญชีจำแนกโรคระหว่างชาติขององค์การอนามัยโลก ฉบับที่ 11 เป็นปรากฏการณ์ด้านการทำงานอาชีพ และไม่ใช่โรคทางการแพทย์ อธิบายเพิ่มเติมว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาวะและการไปใช้บริการทางสุขภาพ แต่ไม่ใช่ความเจ็บป่วย มาดูกันว่าภาวะ หมดไฟในการทำงานคืออะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง คุณมีโอกาสเข่าข่าย Burnout หรือ หมดไฟในการทำงานหรือไม่ บนเว็บไซต์ของเมโยคลินิกเผยแพร่เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2561 ได้ให้คำถามไว้ 10 ข้อเพื่อใช้ตรวจดูว่าตนเองเข้าข่ายมีภาวะหมดไฟในการทำงานหรือไม่ ชอบค่อนแคะถากถาง หรือชอบติและวิจารณ์ในการทำงานหรือไม่ ต้องใช้ความพยายามในการลากตัวเองไปทำงานหรือไม่ รู้สึกหงุดหงิดและไม่มีความอดทนต่อเพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้าหรือไม่ รู้สึกไม่มีพลังในการทำงานหรือไม่ ยากที่จะตั้งใจจดจ่อทำงานหรือไม่ ไม่รู้สึกพอใจ หรือแฮปปี้ เมื่องานสำเร็จหรือไม่ รู้สึกว่างานมีลักษณะที่ไม่เหมือนเดิม และเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ใช้อาหาร ยา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อให้ตนเองรู้สึกดีขึ้นหรือไม่ มีอาการนอนไม่หลับหรือไม่ มีอาการปวดหัว ไม่สบายท้อง […]
หมดไฟในการทำงาน ไม่อยากตื่นไปทำงานในแต่ละวัน เบื่องานประจำที่ทำอยู่ อยากเติบโตมากขึ้นกว่านี้ ฯลฯ และอีกหลายเหตุผลที่ทำให้การใช้ชีวิตของเราดำเนินไปด้วยความเฉื่อยชา จริงๆ แล้วภาวะหมดไฟในการทำงานเกิดขึ้นได้กับทุกคน สาเหตุอาจมาจากตัวงาน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า และสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เรารู้สึกไม่อยากไปทำงานในแต่ละวัน หนทางแก้ไขภาวะนี้ คือการเปลี่ยนทิศทางอาชีพ ที่ไม่ได้หมายความว่าให้ลาออกทันทีโดยไม่วางแผนใดๆ แต่เป็นการค้นหาความชอบ ความถนัด และเริ่มสร้างโอกาสจากสิ่งเหล่านั้น มาดูกันว่าเราจะสามารถจุดไฟให้ลุกโชนอีกครั้งได้หรือไม่ เมื่อเกิดภาวะ หมดไฟในการทำงาน ตั้งหลักก่อน หลังจากที่เป๋ไปจากการหมดไฟแล้ว สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือการตั้งหลัก นี่เป็นขั้นตอนสำคัญในการเปลี่ยนทิศทางชีวิตของคุณ เป้าหมายของการตั้งหลัก คือการหาความรู้เบื้องต้นจากสิ่งที่เราสนใจและถนัดจริงๆ ต้องรู้จักจุดแข็งและความสนใจของตัวเอง รวมถึงเป้าหมายในอนาคตด้วย หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ คุณจะเหมือนกับรถติดหล่มที่ล้อหมุนติ้วอยู่กับที่ การมองข้ามสิ่งที่ตัวเองมีอยู่และมองไกลเกินความจำเป็นจะทำให้คุณต้องทำงานอย่างหนักหน่วง แต่กลับอยู่ที่เดิม ด้วยความที่การทำมาหากินนั้นผูกติดอยู่กับความต้องการขั้นพื้นฐานของเรา เช่น อาหาร เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัย ดังนั้นข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนทิศทางคงหนีไม่พ้นเรื่องเงิน ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจทำอะไรสักอย่างต้องคำนึงถึงเรื่องเงินไว้ด้วย ค้นหาจุดแข็ง ค้นหาจุดแข็งของคุณเพื่อดูว่าจุดแข็งข้อไหนที่มอบพลังให้กับคุณในการทำงานแต่ละวันมากที่สุด และควรสนใจจุดแข็งข้อไหนมากขึ้น งานที่น่าสนใจที่สุดคืองานที่เปิดโอกาสให้คุณได้ใช้ทักษะที่ดีที่สุด ความสนใจ และจุดแข็งเฉพาะตัว ลองย้อนกลับไปดูวัยเด็กว่า คุณชอบทำกิจกรรมอะไร จุดแข็งทางอาชีพของคุณย่อมแสดงออกมาในทางใดทางหนึ่งเมื่อนานมาแล้วก่อนจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ บางคนอาจจะชอบทำอาหารตั้งแต่เด็ก แต่เรียนด้านบริหารธุรกิจมา หลังจากทำงานด้านการเงินมาแปดปีก็รู้สึกหมดไฟ จึงลาออกมาสมัครเรียนทำอาหาร และเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเอง […]