การลดความสะเพร่าจำเป็นต้องใช้เวลา แต่ก็ใช่ว่าจะร่นระยะเวลานั้นให้สั้นลงไม่ได้เลย วิธีจัดการปัญหาที่ดีที่สุดคือ วิเคราะห์แนวโน้มว่า “มักทำพลาดในจุดใด” และคิดหามาตรการรับมือว่า “ควรเพิ่มความระมัดระวังจุดใดบ้าง” ลองใช้วิธีเขียนแนวโน้มความผิดพลาดและวิธีแก้ไขลงบนกระดาษโน้ต เราไปดูเทคนิค “ใช้กระดาษโน้ตลดความสะเพร่าด้วยการบันทึกจุดผิดแบบเห็นผล” กันเลย 1. หยิบกระดาษคำตอบข้อสอบเก่ามาค้นหาจุดผิดพลาดจากความสะเพร่า ขอยกตัวอย่างความสะเพร่าของการทำข้อสอบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น หลายคนได้กระดาษคำตอบข้อสอบกลับมาไม่เคยเก็บไว้ ดังนั้นนับจากนี้ขอแนะนำให้เก็บเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นสอบย่อยหรือสอบใหญ่อย่างน้อยที่สุดหนึ่งปี เนื่องจากข้อสอบเก่าเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขจุดผิดพลาด สิ่งที่ต้องทำหลังจากรวบรวมกระดาษคำตอบได้มากสุดเท่าที่หาได้แล้วก็คือ การระบุจุดผิดจากความสะเพร่า จากนั้นใส่เครื่องหมายด้วยการเขียนตัวเลขกำกับที่โจทย์คำถามซึ่งคิดว่า “ผิดเพราะสะเพร่า” ผิดเพราะสะเพร่า หมายถึง “ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการขาดความระมัดระวัง (สะเพร่า)” เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ควรจำให้ขึ้นใจ เนื่องจากบางคนอาจเหมารวมคำว่า “ผิดอย่างน่าเสียดาย” ทั้งหมดมาอยู่ในกลุ่มผิดเพราะสะเพร่า ซึ่งจริงๆ แล้วถือว่าไม่ถูกต้อง “รู้ว่าคำตอบคืออะไร (ตอบถูกเสมอ) แต่กลับผิดเพราะขาดความระมัดระวัง…” ต่างหาก ที่เข้าข่ายผิดเพราะสะเพร่า 2. รวมคะแนนที่พลาดจากผิดเพราะสะเพร่าเพื่อหา “คะแนนที่ควรได้” รวมคะแนนของจุดที่ผิดเพราะความสะเพร่า นำมาบวกเพื่อตรวจสอบว่า “หากไม่ทำผิดเพราะความสะเพร่าจะได้คะแนนเท่าไร” การให้เด็กซึ่ง “ผิดเพราะสะเพร่าค่อนข้างมาก” ได้เห็นคะแนนของตัวเองชัด ๆ จะช่วยให้ตระหนักว่า “ถ้ารู้ว่าจะได้คะแนนเพิ่มขนาดนี้ ตั้งใจให้มากขึ้นเพื่อจะได้ไม่ทำพลาดเสียก็ดี!” ผู้มีเวลาน้อยสามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้ แต่หากเพิ่งเคยเขียน “จดจุดพลาด” ควรลองคำนวณดูสักครั้ง ยิ่งถ้าเป็นคนที่คะแนนลดลง […]
Tag Archives: เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ที่จะมาแนะนำนี้ เป็นเทคนิคจากโชบยองฮัก อดีตทีมพัฒนาบุคลากรในฝ่ายปรับโครงสร้างองค์กรของฮุนได บริษัทชื่อดังในประเทศเกาหลี การที่เราล้มเหลวในการเรียนรู้สาเหตุหนึ่งมาจากการเรียนรู้แบบผิดวิธี อยากเรียนรู้ไปเสียทุกอย่างจนทำให้จับจุดไม่ได้ว่าตัวเองอยากรู้เรื่องอะไรกันแน่ โชบยองฮัก ให้คำแนะนำไว้คร่าวๆ ว่า หากต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ต้องเรียนรู้ทุกเรื่อง แต่ต้องเรียนรู้สิ่งที่จำเป็น มาดูกันว่า เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ที่เขาแนะนำ มีอะไรบ้าง ปฏิเสธสิ่งที่ร่างกายต้องการ เรียนรู้สิ่งที่สมองต้องการ องค์ประกอบในการคิดวิเคราะห์ไม่ได้มาจากโลกภายนอกเพียงอย่างเดียว ยังมีความรู้สึกและความต้องการจากภายในที่ถูกส่งไปยังสมองอย่างไม่หยุดหย่อน เช่น ความหิว ความง่วง ความรู้สึกร้อนหรือหนาว ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เช่น ความรู้สึกไม่อยากออกไปเที่ยวข้างนอก หรือไม่อยากทำอะไรทั้งนั้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีความต้องการอื่นๆ ที่มาจากภายใน ซึ่งอยู่ลึกลงไปกว่านั้น เช่น ความต้องการอ่านหนังสือสอบจนอดหลับอดนอน หรือความต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเอาตัวรอดจากสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นความต้องการจากภายในสมองที่ขัดแย้งกับความต้องการของร่างกาย เราควรพิจารณาอยู่เสมอว่าความต้องการมาจากอะไร ร่างกายมองหาความสุขในปัจจุบัน แต่สมองมองไกลไปถึงความสุขในอนาคต นี่เป็นปัญหาที่สมองถึงถกเถียงกับร่างกายอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอะไร เราควรฟังความต้องการของสมองเป็นหลัก ผู้ฟังความต้องการจากสมอง ย่อมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เสมอ อย่าให้ความขี้เกียจของร่างกายมาฉุดรั้งเราได้ จงคบเพื่อนที่ให้ความเห็นได้ ไม่ใช่เพื่อนที่เอาแต่เล่นสนุก ไม่มีใครประเสริฐเท่าเพื่อนที่กล้าแสดงความเห็นออกมาตรงๆ อย่างจริงใจ แม้จะกระทบกระทั่งกันบ้างก็ตาม แต่การมองในมุมที่ต่างออกไปก็ช่วยป้องกันความล้มเหลวและผิดพลาดได้ […]