นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ที่รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือเรียกสั้นๆ ว่า รางวัลซีไรต์ ถือกำเนิดขึ้น จนถึงวันนี้ ประเทศไทยของเรามี หนังสือซีไรต์ ทั้งสิ้น 41 เล่มที่ประทับตราดังกล่าวไว้บนปก ประกอบไปด้วยวรรณกรรม 3 ประเภท คือ นวนิยาย กวีนิพนธ์และรวมเรื่องสั้น อย่างที่ทราบกันดีก่อนจะถึงเล่มที่ 42 (?) อันเป็นคิวของนวนิยาย จึงขอชวนและเชิญท่านมาย้อนอ่านทบทวนกันว่า มีผลงานเล่มใด ของนักเขียนคนใดบ้าง ที่ได้รับการประทับตราซีไรต์อันทรงเกียรติ์ไว้บนปก และหากจะให้สนุกไปกว่านั้น ระหว่างอ่านโปรดนับเล่นๆ ไปด้วยก็ได้ว่า ในจำนวนทั้งหมดที่ว่ามานี้ ท่านอ่านหนังสือซีไรต์ไปแล้วกี่เล่ม ว่าแล้วก็เริ่มเลย… ลูกอีสาน หนังสือซีไรต์ (นวนิยาย) ปี 2522 ผู้แต่ง คำพูน บุญทวี พิมพ์ครั้งแรก สำนักพิมพ์บรรณกิจ พิมพ์ครั้งล่าสุด สำนักพิมพ์โป๋ยเซียน นวนิยายเรื่องลูกอีสาน เป็นหนังสือซีไรต์ที่ สะท้อนภาพชีวิตของชาวอีสาน ผ่านเรื่องเล่าคล้ายสารคดีชีวิตผสมนวนิยายที่แพรวพราวไปด้วยชั้นเชิงวรรณศิลป์ งดงามด้วยสร้อยอักษร ฉายภาพวิถีชีวิตอันแร้นแค้นของชาวอีสานได้อย่างโปร่งใสบริสุทธิ์ ปราศจากน้ำเสียงที่แสดงความขมขื่น และไม่ได้พยายามตีแผ่ความชั่วร้ายของสังคม แต่ปลุกจิตสำนึกให้กับผู้อ่านโดยชี้ให้เห็นถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงของสังคม คุณค่าของเรื่องลูกอีสาน คือการเรียนรู้ที่จะอยู่กับความยากลำบาก เพื่อก้าวผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นักวิจารณ์วรรณกรรมมีความเห็นตรงกันว่าเรื่องนี้มิได้แฝงปรัชญา ไม่ได้แสดงวิจิตรศิลป์ตระการตาหรือตีแผ่สังคมแต่อย่างใด หากแต่ได้เล่าถึงวิถีชนบทอันเรียบง่าย ฉากต่างๆ […]