ความสำเร็จยุคแรกของหัวเว่ยในประเทศจีนเกิดจาก 3 ปัจจัย อย่างแรกคือ คว้าโอกาสระดับประวัติศาสตร์การลงทุนด้านการสื่อสารของประเทศจีน ซึ่งมีมูลค่าการตลาดปีละหลายแสนล้านหยวน ต่อมาคือนโยบายของรัฐที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการสื่อสารในประเทศ และสุดท้ายคือเสน่ห์ส่วนตัวของเหรินเจิ้งเฟย ซึ่งเสน่ห์ของเหรินเจิ้งเฟยคือนอกจากจะไม่เห็นแก่ตัว ใจกว้าง และมีวินัยในตนเอง ซึ่งเป็นบุคลิกภาพอันสูงส่งแล้ว เอกลักษณ์อีกประการหนึ่งคือท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือดและโหดร้าย เหรินเจิ้งเฟยยังคงรักษาวิสัยทัศน์และจุดยืนความเป็นนักธุรกิจการเมืองไว้เป็นอย่างดี นโยบายสอนพนักงานของเขาทุกครั้งล้วนเป็นการทำให้สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ให้เป็นจริง และยังเป็นคำสอนที่ทำให้ชาวหัวเว่ยทุกคน ยินดีทำเพื่อเหรินเจิ้งเฟยและหัวเว่ยตลอดมา [su_quote]ชีวิตที่ขัดสนด้านวัตถุและการเคี่ยวกรำทางจิตใจคือโอกาสอย่างหนึ่งที่สร้างเราให้มีวุฒิภาวะในเวลาต่อมา – เหรินเจิ้งเฟย[/su_quote] เนื่องจากครอบครัวยากจน ถึงทำให้เหรินเจิ้งเฟยได้ลิ้มรสความทุกข์ยากของโลก และด้วยการนี้จึงตระหนักถึงความหมายที่ลึกซึ้งของ “การมีชีวิตต่อไป”คำสอนและการกระทำของพ่อแม่ทำให้เขาบ่มเพาะนิสัยประหยัดมัธยัสถ์ แต่ไม่เห็นแก่ตัว และก็เป็นเช่นนี้ตลอดชีวิต นอกจากความประหยัดแล้ว เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเหรินเจิ้งเฟยคือ เขาไม่ให้ความสำคัญกับทรัพย์สินและความร่ำรวย เขายินดีแบ่งปันผลลัพธ์จากการต่อสู้แก่พนักงาน จึงทำให้มียอดฝีมือจำนวนมากยินดีร่วมงานกับเขาเพื่อช่วยให้กิจการของหัวเว่ยเติบโตยิ่งขึ้น “ความไม่เห็นแก่ตัวของผมได้มาจากพ่อแม่ สาเหตุที่หัวเว่ยประสบความสำเร็จเช่นทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะความไม่เห็นแก่ตัวของผม” เหรินเจิ้งเฟยกล่าวเช่นนี้ เป็นการรำลึกถึงบิดามารดา แสดงความสำนึกบุญคุณ และได้ถ่ายทอดแนวคิดง่าย ๆ แต่ลึกซึ้งแก่ชาวหัวเว่ย [su_quote]แม้นวัตกรรมจะเป็นสิ่งที่ยากมากแต่มันคือทางรอดทางเดียวของธุรกิจและเป็นทางผ่านเดียวเพื่อไปให้ถึงความสำเร็จ – เหรินเจิ้งเฟย[/su_quote] หวนดูประวัติศาสตร์เราพบว่าในยุคที่ข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในชั่วพริบตา การขยายตัวของธุรกิจก็แค่ไม่กี่ก้าว แม้แต่การเลือกทิศทางของผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งก็อาจมีความสำคัญถึงขนาดตัดสินความรุ่งเรืองหรือล่มสลายของบริษัทได้ ทว่าเมื่อโอกาสมาถึง ความเสี่ยงด้านการวิจัยพัฒนาที่มักทำให้ผู้คนขยาดนี้ เหรินเจิ้งเฟยกลับมีวิสัยทัศน์เฉพาะตัวที่แตกต่างออกไป “ในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ การอยู่รอดและการขยายตัวของธุรกิจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจากรากเหง้าเช่นกัน […]
Tag Archives: หัวเว่ย
หัวเว่ย จากห้องเช่าในเซินเจิ้นสู่ธุรกิจระดับโลก ขณะก่อตั้งธุรกิจหัวเว่ยในปี ค.ศ. 1987 ‘เหรินเจิ้งเฟย’ ผู้ก่อตั้งและ CEO ของหัวเว่ย เริ่มต้นนั้นเขาไม่มีทั้งเงินทุนและภูมิหลังใดๆ ไม่ว่าจะมองในแง่มุมใด บริษัทของเขาก็ไม่น่ามีคุณสมบัติในการเติบโตเป็นบริษัทข้ามชาติ แต่หัวเว่ยกลับใช้เวลาสั้น ๆ เพียง 20 ปีเอาชนะลูเซนท์ นอร์เทลอัลคาเทล โนเกีย ซีเมนส์เน็ตเวิร์คส์ อีริคสัน และโมโตโรลา ซึ่งล้วนเป็นคู่แข่งระดับสุดยอดของสหรัฐอเมริกาและยุโรป กลายเป็นพลังขุมใหม่ของตลาดโทรคมนาคมสากล และเป็นตัวอย่างอันดีของธุรกิจจีนและโลก เหรินเจิ้งเฟยและหัวเว่ยเติบโตเป็นใหญ่ได้ด้วย 4 คติพจน์ประจำใจของเขาต่อไปนี้ ความล้มเหลว คือสมบัติล้ำค่า ถ้าจะกล่าวว่าเหรินเจิ้งเฟยมียาวิเศษอะไรที่สามารถทำให้หัวเว่ยผงาดขึ้นในเวทีสากลได้ นั่นก็คือการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง ก็เพราะสิ่งนี้นี่แหละที่ทำให้ชาวหัวเว่ยรู้ว่าตนเองยังขาดอะไร จากนั้นก็รวมกำลังกันใช้มาตรการแก้ไขจึงจะเติบใหญ่ขึ้นทุกวัน โครงสร้างขององค์กรจึงแข็งแกร่งและองค์กรที่แข็งแรงก็มาจากการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง… แต่การวิจารณ์ตนเองหมายถึงการยอมรับข้อเสีย ส่วนการสร้างนวัตกรรมหมายถึงความเสี่ยง ดังนั้นจึงมีพนักงานมากมายที่กลัวจะผิดพลาด จึงใช้วิธี “เอาตัวรอดไว้ก่อน” เหรินเจิ้งเฟยจึงประกาศว่า [su_quote]“ใครก็ตามที่ไม่เคยทำผิดเลยแม้แต่ครั้งเดียว เท่ากับงานไม่มีความก้าวหน้าควรให้พ้นจากตำแหน่งไหม เขาบอกว่าเขาไม่ได้ทำผิดนี่นา ไม่ได้ทำผิดจะเป็นเจ้าหน้าที่ได้หรือ บางคนไม่เคยทำผิดเลยเพราะเขาไม่เคยทำอะไรนั่นเอง…”[/su_quote] ดังนั้นในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ เหรินเจิ้งเฟยจะพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ที่เคยทำผิดพลาดแต่กลับตัวได้ ความล้มเหลวคือสมบัติที่ล้ำค่า เพราะบทเรียนจากประสบการณ์เหล่านี้ไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ขณะเดียวกันก็ยังใช้เป็นตัวอย่างให้เพื่อนพนักงานคนอื่นได้รู้ว่าอย่าไปนอกลู่นอกทางเช่นนั้น หลักการนี้สะท้อนถึงกุศลเจตนาของเหรินเจิ้งเฟยได้อย่างชัดเจนมาก […]
จากเด็กยากจนสู่ CEO ระดับโลก เหรินเจิ้งเฟย คือใคร..? เหรินเจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและแม่ทัพของหัวเว่ย เป็นชาวมณฑลเจ้อเจียง เกิดเมื่อปี 1944 ในอำเภอเจิ้นหนิง เขตอ่านซุ่น เมืองกุ้ยโจว ซึ่งเป็นเขตภูเขา เป็นที่อาศัยของชนกลุ่มน้อยและยากจน พ่อของ เหรินเจิ้งเฟย ชื่อเหรินโมซุ่น ทำงานเป็นครูสอนหนังสือที่เมืองติ้งไห่ มณฑลเจ้อเจียง และเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู ส่วนแม่ชื่อเฉิงหย่วนเจา แม้จะมีความรู้เพียงระดับมัธยมปลายแต่ด้วยอิทธิพลจากสามี จึงพยายามศึกษาด้วยตนเองจนได้เป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์มัธยมปลายผู้มีชื่อเสียง ติดตามสามีสู่เขตภูเขากุ้ยโจวที่แร้นแค้นเพื่อมอบชีวิตให้กับเด็กยากจน เป็นผู้ขยันอดทน จิดใจดีงาม และประหยัดมัธยัสถ์ เหรินเจิ้งเฟยมีพี่น้องเจ็ดคน เขาเป็นคนโต ครอบครัวทั้งเก้าคนต้องยังชีพด้วยเงินเดือนอันน้อยนิดของพ่อแม่ เมื่อลูกเจ็ดคนโตขึ้นทุกวัน เสื้อผ้าก็สั้นลงทุกวัน และเด็กต้องเรียนหนังสือ รายจ่ายครอบครัวสูงมาก เหรินเจิ้งเฟยจำได้ว่าทุกวันเปิดเทอมต้องจ่ายค่าเล่าเรียนสองถึงสามหยวน แม่ก็จะกลุ้มใจ ทุกครั้งพอสิ้นเดือนแม่ต้องขอยืมเงินจากเพื่อนบ้านเพื่อประทังความหิว บางครั้งก็หายืมไม่ได้ เหรินเจิ้งเฟยตอนก่อนจบมัธยมจึงไม่เคยสวมชุดนักเรียน แม้อากาศร้อนก็ยังคงสวมเสื้อหนาๆ เพื่อนนักเรียนก็ยุให้เขาขอเสื้อใหม่จากแม่ แต่เขาบอกว่าไม่กล้า เพราะรู้ดีว่าแม่ทำไม่ได้ หลังสอบเข้ามหาวิทยาลัย แม่ให้เสื้อเชิ้ตแก่เขาสองตัว ยามนั้นเขาอยากจะร้องไห้ เพราะ “ถ้าฉันได้ น้องๆ ก็ต้องลำบากแน่” เหรินเจิ้งเฟียในวัย […]
หัวเว่ย HUAWEI แบรนด์จากประเทศจีน ที่ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ สร้างชื่อเสียงและทำรายได้มหาศาล สามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนแซงแอปเปิลสำเร็จ จนขึ้นแท่นผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และกลายเป็นแบรนด์จีนที่ได้รับการยอมรับที่สุดในปัจจุบัน หัวเว่ยHUAWEI มีเคล็ดลับในการพาองค์กรขึ้นไปสู่ระดับโลกได้อย่างไร โดยจุดเริ่มต้นมีแค่พนักงานเพียง 6 คนเท่านั้น กลยุทธ์ที่เขาใช้ต้องไม่ธรรมดาแน่นอน มาดูกันว่ามีกลยุทธ์แบบใดบ้าง การพัฒนาอย่างสมดุลคือการจับไม้ซี่ที่สั้น การปรับปรุงการบริหารจะต้องเน้นที่การปรับปรุงไม้ซี่ที่สั้นที่สุด หัวหน้าทุกหน่วยงานจะต้องหาส่วนที่อ่อนแอที่สุดให้เจอ ต้องยืนกรานที่จะทำการพัฒนาอย่างสมดุล เน้นที่การพัฒนากระบวนการและการบริหารเชิงระบบ พยายามทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มคุณประโยชน์ให้มากยิ่งขึ้น และเน้นการพัฒนาที่สมดุล จะมัวแต่เน้นอยู่ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ วิพากษ์ตนเองคือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการสร้างสรรค์ การวิพากษ์ตนเองคือเครื่องมือที่ดีที่สุดในการสร้างสรรค์ความคิด จริยธรรม ความรู้ และความสามารถ จะต้องมีกิจกรรมเพื่อปรับปรุงโครงสร้างองค์กรโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่การวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง เพื่อเสริมกำลังการแข่งขันของบริษัท หัวเว่ย ส่งเสริมการวิพากษ์ตนเอง แต่ไม่ส่งเสริมการวิจารณ์ซึ่งกันและกัน เพราะถ้าวิจารณ์รุนแรงเกินไปก็จะเกิดความบาดหมาง ส่วนการวิพากษ์ตนเองนั้นปกติคงไม่มีใครรุนแรงกับตนเอง แม้จะเป็นการใช้ไม้ขนไก่ตีเบาๆ สักครั้งก็ยังดีกว่าไม่ตีเลย การวิพากษ์ตนเองต้องเริ่มจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง ทุกๆ ปีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจะมีการประชุมแบบประชาธิปไตย ปัญหาที่เสนอในที่ประชุมจะเฉียบคมอย่างยิ่ง และการเสนอความเห็นต้องนุ่มนวลค่อยเป็นค่อยไป หลังจากนั้นก็จับมือกันไปสู้รบต่อ อย่าหลับหูหลับตาสร้างนวัตกรรม หัวเว่ยยืนกราน “ก้าวหน้าเล็กๆ […]