Tag Archives: อ่านหนังสือ ประโยชน์การอ่านหนังสือ การอ่าน

7 เคล็ดลับเพื่อฝึกลูกน้อยให้รักการอ่าน

  การอ่านเปลี่ยนสมองของมนุษย์และสืบทอดสมองนี้ต่อกันมาหลายพันปีจนถึงปัจจุบัน หลายล้านปีที่มนุษย์ถ้ำออกล่าสัตว์ด้วยสมองที่ไม่ได้ออกแบบไว้เพื่อการอ่าน จนกระทั่ง 5,400 ปีที่แล้วมนุษย์เริ่มขีดเขียนได้บริเวณที่ราบลุ่มซึ่งกลายเป็นอิรักทุกวันนี้  และกว่าจะประดิษฐ์อักษรได้ก็เมื่อ 3,800 ปีก่อน หลังจากนั้นมนุษย์จึงเริ่ม ‘อ่าน’ อย่างแท้จริง ทำให้สมองคนเราเปลี่ยนไปนับจากนั้นเป็นต้นมา

‘กลิ่นหนังสือเก่า’ หอมจริงๆ หรือคิดไปเอง!?

หนังสือแต่ละเล่มต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นปก เนื้อเรื่อง รูปแบบเล่ม แม้กระทั่งกลิ่นของหนังสือ นิสัยของคนรักหนังสือก็แตกต่างกันเหมือนกับหนังสือหมวดต่างๆ แต่สิ่งที่เหมือนๆ กันก็คือ มักจะพิถีพิถันในการคัดเลือกหนังสือสักหนึ่งเล่มมาเป็นของตัวเอง พวกเขาส่วนใหญ่จะเลือกปกที่เรียบเนียน ไม่พับงอ สันหนังสือคมสวย หน้ากระดาษขาวสะอาด พูดง่ายๆ ว่า ชอบหนังสือที่ดูใหม่และสวยงาม แต่ยังมีหนอนหนังสือหลายคนที่หลงใหลในหนังสือเก่าที่หน้ากระดาษเปลี่ยนจากสีขาวเหลืองเป็นสีน้ำตาล  ซึ่งไม่ใช่แค่ความขลังของมันเท่านั้นที่ทำให้หนอนหนังสือมักสะสมหนังสือเก่า แต่หลายเสียงบอกเหมือนกันว่า พวกเขาชอบดมกลิ่นหนังสือเก่า   บางคนบอกว่า กลิ่นของหนังสือเก่าเหมือนกับกลิ่นของเมล็ดอัลมอนด์คั่ว  อีกคนก็บอกว่าหอมหวานเหมือนกลิ่นของดอกวานิลลาจางๆ  และยังมีนักอ่านที่บอกว่า ได้กลิ่นเหมือนควันไฟ, เปลือกไม้ , กาแฟ  แม้กระทั่งช็อกโกแลต   กลิ่นหนังสือ เกิดขึ้นได้อย่างไรกันนะ? กลิ่นหอมๆ ของหนังสือที่ดีต่อใจของเรานั้นมีอยู่จริงๆ นะ โดยกลิ่นเกิดจากกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC: Volatile Organic Compound) ที่พบได้ในวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ทำหนังสือ ( น้ำหมึก กาว ฯลฯ) ทำปฏิกริยากับแผ่นกระดาษที่ประกอบไปด้วย เซลลูโลส (cellulose) และลิกนิน (lignin) ตัวการหลักของการเปลี่ยนสีกระดาษและกลิ่น โดยมีความร้อน แสงไฟ […]

ทำไมคนญี่ปุ่นชอบห่อปกหนังสือ วิถีฉงนจากคนแดนอาทิตย์อุทัย

  มีใครชอบห่อปกหนังสือบ้าง..!? มาดูกันว่า “ทำไมคนญี่ปุ่นชอบห่อปกหนังสือ”   คนที่เคยซื้อหนังสือที่ญี่ปุ่น ต้องมีประสบการณ์โดนถามว่า “จะห่อปกหรือเปล่าคะ” สักครั้งแน่นอน วัฒนธรรมการห่อปกหนังสือ เป็นวัฒนธรรมเฉพาะตัวของประเทศญี่ปุ่น และมีประวัติศาสตร์ยาวนานเกือบร้อยปี โดยร้านหนังสือจะให้บริการห่อปกหนังสือด้วยกระดาษทึบ อาจเป็นกระดาษสีน้ำตาลธรรมดา หรือกระดาษลวดลายต่างๆ เมื่อผู้ซื้อถือไปอ่านบนรถไฟขณะเดินทาง คนรอบข้างจะได้ไม่รู้ว่ากำลังอ่านเรื่องอะไรอยู่ หากจะพูดถึงต้นเหตุของวัฒนธรรมนี้ ต้องย้อนกลับไปดูถึงนิสัยพื้นฐานของคนญี่ปุ่น ซึ่งแคร์สังคมมากกว่าตัวเอง กลัวการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้าง เราจึงมักเห็นคนญี่ปุ่นต่อคิวซื้อของอย่างเป็นระเบียบ และปฏิบัติตามกฎที่สังคมวางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ถูกติฉินนินทาได้ ด้วยไม่ชอบให้ตัดสิน คนญี่ปุ่นจึงเลือกห่อปกหนังสือ จะได้อ่านหนังสือในที่สาธารณะได้อย่างสบายใจ ไม่ว่าหนังสือเล่มนั้นจะเป็นหนังสือทั่วไป หรือหนังสือที่มีเนื้อหาหวือหวาก็ตาม คนไทยอาจมองว่าการอ่านหนังสือบนรถไฟเป็นการแสดงตัวตน และยินดีให้เพื่อนร่วมทางตัดสินแบบนั้น ไม่ดีหรือถ้าเราอ่านวรรณกรรมตะวันตกบนรถไฟเพื่อแสดงให้คนรอบข้างเห็นว่าเราอ่านภาษาอังกฤษได้ ไม่ดีกว่าหรือถ้าเราอ่านตำราเรียน เพื่อให้คนรอบข้างเห็นว่าเราตั้งใจเรียน คนญี่ปุ่นนั้นมีเหตุผลร้อยแปดพันประการให้เชื่อว่า คนอื่นอาจไม่ได้มองในแง่บวกขนาดนั้น คนอ่านหนังสือภาษาต่างประเทศ อาจถูกมองว่าเป็นคนขี้อวด คนอ่านหนังสือเรียน อาจถูกมองว่าไม่เตรียมตัวล่วงหน้า คนอ่านหนังสือพัฒนาตัวเอง อาจถูกมองว่าเป็นคนไม่เก่ง ไม่ต้องพูดถึงหนังสือที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่หรือหนังสือที่มีเนื้อหารุนแรงเลย นอกจากนี้คนญี่ปุ่นยังมีวัฒนธรรมการขายของที่ไม่ใช้แล้วตามร้านขายของมือสองหรือร้านรับซื้อของเก่า เพราะเนื้อที่มีจำกัด หนังสือที่ห่อปกและยังมีสภาพเหมือนใหม่จะขายต่อได้ราคาดีกว่าหนังสือที่ไม่ได้ดูแลรักษา วัฒนธรรมการห่อปกหนังสือ จึงค่อยๆ พัฒนามาเป็นลูกเล่นเล็กๆ น้อยๆ ที่สำนักพิมพ์หรือร้านหนังสือใช้โปรโมทแบรนด์ตัวเอง เช่น ร้านหนังสือฮนโตะ (Honto) มีทั้งปกหนังสือที่แสดงชื่อร้าน […]

Minimalism ยิ่งน้อย ยิ่งสุข จริงหรือเปล่า

เมื่อพูดถึงคำว่า Minimalism ทุกคนคงนึกถึงคำว่า “น้อย” เช่น ซื้อของให้น้อยที่สุด มีของในบ้านให้น้อยที่สุด หรือกินให้น้อยที่สุด ฯลฯ แต่ความจริงแล้ว Minimalism คือเครื่องมือที่ช่วยให้เราตัดส่วนเกินชีวิตออกไปเพื่อโฟกัสอะไรที่สำคัญกว่า ไม่ใช่แค่แข่งกันมีของให้น้อยที่สุดเพียงอย่างเดียว ทำไมการทิ้งสิ่งของที่เรามี ถึงทำให้เราเป็นสุข เข้าใจได้ใน อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป   ซะซะกิ ฟุมิโอะ เป็นคนหนึ่งที่ใช้แนวคิด Minimalism จัดการปัญหาในชีวิตของเขา ทำให้ชีวิตดีขึ้นด้วยการทิ้งสิ่งที่ไม่สำคัญไป แนวคิดของเขากลายเป็นหนังสือชื่อ อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป ซึ่งขายดีทั้งในญี่ปุ่นและไทย ซะซะกิ เป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง ด้วยวัยสามสิบกลางๆ เงินเดือนกลางๆ ไม่มีครอบครัวเป็นฝั่งเป็นฝา ทำให้เขาเริ่มเปรียบเทียบชีวิตตนเองกับเพื่อนที่อายุเท่ากัน เหมือนที่หลายคนชอบโพสต์ในเว็บบอร์ดสีน้ำเงินแห่งหนึ่งว่า “อายุ 35 แล้วมีเงินเดือนเจ็ดแสนน้อยไปไหมครับ” ซะซะกิ พบว่าเขากับเพื่อนร่วมชั้นช่างมีชีวิตต่างกันโดยสิ้นเชิง ในขณะที่เพื่อนของเขาซื้อคอนโดหรูหรา มีรถราคาหลายล้าน ห้องที่ซะซะกิอยู่กลับมีราคาแค่ครึ่งเดียวของรถที่เพื่อนขับ และทั้งๆ ที่เขามีข้าวของเต็มห้อง แต่เขาก็ไม่เคยพอใจ ต้องคอยติดตามข่าวสารสินค้าออกใหม่ อัพเดทเครื่องมือที่มีให้ทันสมัยอยู่เสมอ ซะซะกิจึงดึงสติตัวเองด้วยการเอาแนวคิด Minimalism มาใช้ เริ่มจากทิ้งสิ่งของที่เขาเคยเก็บสะสม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นเกม หนังสือ หรือ แม้แต่ตู้โต๊ะตั่งเตียงก็ไม่เหลือ […]

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า