ผู้ป่วยเด็กเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี อวัยวะยังทำงานได้ไม่เท่าผู้ใหญ่ การให้ ยาเด็ก จึงมีโอกาสเกิดอันตรายได้มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะตับไตยังเติบโตไม่เต็มที่ทำให้เด็กมีการตอบสนองยาที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยาให้มากขึ้น
คำแนะนำในการใช้ยาเด็ก
หากเป็นไปได้ควรเลือกรักษาด้วยการไม่ใช้ยาก่อน เช่น เด็กเล็กที่ไอแบบมีเสมหะ ยังไม่ควรได้รับยาละลายเสมหะ แต่ควรดื่มน้ำอุ่นให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงฝุ่นควัน ไม่ควรให้ยาแก้ไอ เพราะอาจทำให้เสมหะคั่งเนื่องจากเด็กยังขับเสมหะไม่เป็น
หากจำเป็นต้องใช้ยาควรเลือกยาที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเท่านั้น ไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้อย่างเด็ดขาด
ยาลดไข้ แอสไพริน (aspirin)
ยาชนิดนี้ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะอาจทำให้เกิด ภาวะราย (Reye’s Syndrome) คืออ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง จนถึงขั้นเสียชีวิต หากเด็กมีไข้ควรใช้ยาพาราเซตามอลแทนในปริมาณที่เหมาะสม
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เตตราชัยคลิน (tetracycline) หรือที่เรียกกันว่า ทีซีมัยซิน (TC Mycin)
หากใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี ตัวยาจะส่งผลให้ฟันมีรอยดำถาวร กระดูกไม่พัฒนา อาจเปราะหักง่าย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหลีกเลี่ยงไปใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดอื่นแทน
ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ไอน้ำดำที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (brown mixture) ยาแก้ท้องเสีย โลเพอลาไมด์ (loperamide) หรือยาแก้ไอ เดกซ์โตเมทโทรแฟน (dextromethorphan)
มีผลต่อการกดการหายใจสำหรับเด็กเล็ก จึงไม่ควรซื้อยาให้เด็กกินเอง ควรพาไปพบแพทย์
ควรใช้ยาในขนาดที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
ส่วนใหญ่การให้ยาเด็ก ต้องให้ตามน้ำหนักตัวปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่ควรทราบน้ำหนักตัวของลูกเพื่อคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม แต่สำหรับเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ต้องใช้วิธีคำนวณยาอีกแบบเพื่อป้องกันการได้ยาเกินขนาด แม้ว่าเด็กจะมีอายุเท่ากันแต่น้ำหนักตัวไม่เท่ากัน ก็ต้องใช้ยาในขนาดที่ต่างกัน
ติดตามอาการข้างเคียงของยา
เช่น ยาต้านฮิสตามีน คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine ตัวย่อ CPM) ในผู้ใหญ่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ตรงข้ามกับหากใช้ในเด็กจะทำให้เกิดอาการตื่นตัว นอนไม่หลับแทน
ไม่ควรผสมยาในนม
เพราะหากเด็กดื่มนมไม่หมดจะทำให้ได้รับยาไม่ครบขนาด และบางครั้งยาอาจจับกับนมเกิดเป็นตะกอนที่ไม่ออกฤทธิ์ได้
ใช้อุปกรณ์ป้อนยาและอุปกรณ์ตวงยาน้ำที่ได้มาตรฐาน
ช้อนชา (ไม่ใช่ช้อนกาแฟ) ควรตวงยาให้เต็มขอบบนของชั้น หากแพทย์สั่งครึ่งช้อน ควรตวงให้ตรงตามขีดกึ่งกลางที่ระบุ
หลอดหยดยา ให้ตวงยาตามขีดที่แพทย์สั่ง เช่น 0.6 .ซีซี เท่ากับ 6 ขีด แล้วบีบยาเข้าปาก สำหรับเด็กทารกควรระวังเรื่องการให้ยาเกินขนาด เพราะยาสำหรับหยดมักเป็นยาที่มีความเข้มข้นสูง
หลอดฉีดยา เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บ่อย ป้อนยาง่าย มีความแม่นยำ แต่ต้องวัดปริมาณยาให้ถูกต้อง โดนดูจากขีดยางที่ใกล้กับตัวยา ไม่ใช่ขีดยางด้านที่ไกลจากตัวยาเพื่อให้ได้ยาครบตามจำนวนอย่างแท้จริง
ข้อควรระวังเมื่อเด็กมีไข้
ยกตัวอย่างเด็กอายุ 6 เดือนถึง 6 ปี ที่มีอาการไข้ขึ้นสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน อาจกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ เนื่องจากสมองของเด็กัยงทนทานต่อไข้ได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงไม่ควรปล่อยให้เด็กมีไข้สูงติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรวัดไข้ด้วยปรอทที่มีความแม่นยำ เริ่มการเช็ดตัวอย่างถูกวิธี และใช้ยาลดไข้อย่างเหมาะสม
ยาที่แนะนำคือ พาราเซตามอลชนิดน้ำสำหรับเด็ก ปัจจุบันในท้องตลาดมีความเข้มข้น 2 ระดับที่ใช้บ่อย
ความเข้มข้น 120 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร
มีขนาดการใช้ยาโดยประมาณคือ ใช้ยา 1 ช้อนชาต่อน้ำหนักตัวเด็ก 10 กิโลกรัม สมมติว่าเด็กหนัก 15 กิโลกรับ สามารถใช้ยาน้ำพาราเซตามอล 1.5 ช้อนชาทุก 4-6 ชั่วโมง
ความเข้มข้น 60 มิลลิกรัมต่อ 0.6 มิลลิลิตร
เป็นยาที่มีความเข้มข้นสูงสำหรับเด็กทารก ควรป้อนยาด้วยหลอดหยด มีขนาดใช้ยาโดยประมาณคือ ใช้ยา 0.1 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม สมมติว่าเด็กน้ำหนัก 8 กิโลกรัม สามารถใช้ยาพาราเซตามอล 0.8 มิลลิลิตรทุก 4- 6 ชั่วโมง
การใช้ยาพาราเซตามอลสำหรับเด็ก ควรเลือกยาที่มีความเข้มข้นเหมาะสม ควรทราบน้ำหนักตัวที่เป็นปัจจุบันของเด็ก และหากเด็กยังคงมีอาการไข้สูง ซึม อาเจียนมาก ควรรีบไปพบแพทย์
เรียนรู้เรื่องยาและใช้ยาได้อย่างถูกวิธี
จากหนังสือ Drug Guru ฉลาดรู้เรื่องยา
สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่
บทความอื่นๆ
เข้าใจพฤติกรรมลูกกับปัญหาลูกติดโทรศัพท์ โดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
นิทานก่อนนอน 5 เรื่อง สอนลูกเรื่องมิตรภาพ ความเอื้อเฟื้อและการแบ่งปัน
5 วิธี เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี : สอนลูกแบบนี้ ลูกได้ดีและมีความสุขแน่นอน
คุณเป็น พ่อแม่ แบบไหน : เพื่อความเข้าใจในการเลี้ยงลูก โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
ค้นหาพรสวรรค์ในตัวลูก เพื่ออาชีพที่ใช่ในอนาคต
เทคนิค สอนลูกอ่านหนังสือ – เขียนหนังสือ : ลูกฉลาดเริ่มต้นที่พ่อและแม่
พัฒนา ทักษะEF ให้ลูกได้ไม่ยาก ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนิทาน
EF คืออะไร ทำไม EF ถึงสำคัญกับลูก
Pingback: สอนลูกให้มีวินัย เริ่มวันนี้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
Pingback: ห้ามกินยากับอะไร อาหารที่ห้ามกินพร้อมยา กินยากับนมไม่ได้จริงหรือ?