การคิดแบบคนอื่นทั่วๆ ไป อาจทำให้เรามีเงินเก็บมากขึ้นแต่ยังห่างไกลคำว่ารวยอยู่มากโข วิธีคิดของคนรวย ที่จะมาแนะนำนี้ เป็นวิธีคิดที่ล้ำ แปลก แหวกแนว แต่ทำให้เรารวยขึ้น ถ้านำไปปรับใช้ได้ถูกวิธี
ลองมาดู วิธีคิดของคนรวย กันบ้าง ว่าเขามีวิธีผลิตเงินอย่างไร
ใครๆ ก็เป็นคนรวยได้
คนรวยคิดว่าใครก็เป็นคนรวยได้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์หรือเรียนสูงก็ทำได้ ถ้าอยากเป็นคนรวย ต้องเปลี่ยนมโนภาพทางการเงินให้เป็นบวก คิดเสียว่าเราเป็นคนที่รวยแล้ว ถ้าอยากรวยแต่ยังพูดถึงเรื่องความต่างทางฐานะ เสพติดเรื่องความจนหรือความเป็นผู้ด้อยกว่า ความสำเร็จก็จะอยู่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน
เริ่มต้นแบบเบาๆ ด้วยการจินตนาการภาพอนาคตที่มีความสุข คิดภาพตัวเองสวมใส่เสื้อผ้าดีๆ ภาพตัวเองกำลังนั่งอยู่บนรถยนต์ราคาแพง อาศัยอยู่ในบ้านหลังโต มีสระว่ายน้ำ ลองวาดภาพชีวิตในอนาคตว่าเราคือคนรวย แล้วสิ่งแวดล้อมที่ห้อมล้อมเราอยู่จะเปลี่ยนไป
ไม่เก็บเงินอย่างเดียว
คนรวยจะคิดว่าการใช้เงินสำคัญพอๆ กับการเก็บเงิน ถ้าเอาแต่เก็บอย่างเดียวอาจเกิดผลข้างเคียงได้เพราะการไหลของเงินถูกปิดกั้น ไม่ว่าจะเป็นตอนใช้เงิน เก็บเงินหรือลงทุน เขาจะคิดถึงคุณค่าในอนาคตของมันเสมอ บางครั้งเราอาจเห็นคนที่ใช้เงินซื้อของแพงๆ มาใช้ เป็นเพราะพวกเขามั่นใจในระยะยาวแล้วว่า เขาจะได้รับคุณค่ามากกว่านั้น
ดังนั้นอย่ามัวแต่ค่อนแคะว่าทำไมถึงซื้อคอมพิวเตอร์แพงๆ เป็นแสนมาใช้ โดยไม่รู้ว่าเขาสามารถใช้มันหาเงินได้มากเท่าไหร่จากของสิ่งนั้น จงคิดว่าเราจะใช้เงินอย่างไรถึงจะได้ผลตอบลัพธ์ระยะยาวที่คุ้มค่าคืนมามากกว่า
ดูแลกระเป๋าเงินให้ดี
สำหรับคนรวย กระเป๋าเงินคือที่พักของเงิน จึงต้องดูแลให้ความสำคัญเท่าๆ กับเงิน เมื่อพวกเขาเห็นกระเป๋าเงินที่เต็มไปด้วยใบเสร็จรับเงินหรือธนบัตรที่ไม่จัดเรียงให้เรียบร้อย เขาจะรู้สึกหงุดหงิด เหมือนกับคนเจ้าระเบียบที่เห็นของต่างๆ ในบ้านไม่เรียบร้อยนั่นเอง
อย่าแปลกใจที่เห็นพวกเขาลงทุนซื้อกระเป๋าเงินแพงๆ มาใช้ เพราะสิ่งเหล่านั้นคงทน และเป็นที่เก็บรักษาเงินชั้นดีนั่นเอง
ไม่กดเงินบ่อย
การกำหนดช่วงเวลาและจำนวนเงินอย่างคงที่ในการกดเงินจากตู้เอทีเอ็มเป็นหนึ่งในนิสัยการจัดการเงินของคนรวนที่ทำให้รู้ตั้งแต่รายได้ของเดือนหนึ่งเข้ามาจนถึงวันที่รับรายได้ของเดือนถัดไป ว่าเรากดเงินจากบัญชีไปบ่อยมากแค่ไหน
พวกเขาจะกดเงินเดือนละครั้งสองครั้งพอเพื่อควบคุมการใช้จ่ายของตัวเอง การกดเงินยิบย่อยครั้งละ 500 ไม่เคยอยู่ในหัวเพราะเขาคิดว่าการกดเงินทีละน้อยจะทำให้ไม่รู้ตัวว่ากดเงินใช้ไปแล้วกี่บาท และควบคุมยากขึ้นด้วย
ลองเปรียบเทียบดูสักเดือนหนึ่ง กดเงินใช้ทีละน้อยแต่ถี่กับกดเงินทีละมากๆ แต่น้อยครั้ง แบบไหนจะทำให้เราควบคุมเงินได้บัญชีได้ดีกว่ากัน
ลงทุนกับสุขภาพ
เรื่องสุขภาพสำหรับคนรวยนั้นเป็นเรื่องใหญ่พอๆ กับการหาเงิน พวกเขาจะเจียดเวลามาออกกำลังกายเสมอแม้งานจะยุ่งเพียงใด เพราะเขารู้โดยสัญชาติญาณว่าสุขภาพคือทรัพย์สินที่ต้องรักษาไว้ และอย่างที่รู้กันว่า สุขภาพถ้าเสียไปเอากลับมาไม่ได้อย่างแน่นอน
การออกกำลังกายวันละ 15-30 นาทีก็เพียงพอแล้วหากทำทุกวัน การเต้นแอโรบิกช่วยให้ภูมิคุ้นกันดีขึ้นและลดการเกิดโรค ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการจดจำด้วย ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองดีขึ้น และเป็นสภาวะที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง นี่คือสิ่งที่ช่วยดูแลสมองให้สุขภาพดี พร้อมลุยงานต่างๆ มากขึ้น
จัดบ้านให้เป็นระเบียบ
บ้านของคนรวยมีของน้อย ถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบและสะอาด การมีข้าวของวางอย่างไม่เป็นระเบียบและรกจะทำให้พลังของเงินเข้ามาไม่ได้ ถัดมาเป็นเรื่องห้องน้ำ ห้องน้ำเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะของบ้านนั้นๆ ลองสังเกตบ้านที่เก็บเงินได้ จะเห็นว่าห้องน้ำถูกรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะห้องน้ำคือสถานที่ที่พลังความมั่งคั่งสามารถไหลออกไปได้โดยง่าย
สไตล์การใช้ชีวิตของคนเก็บเงินเก่งเรียกสั้นๆ ว่า มินิมัลลิสต์ ข้าวของที่อยู่รอบตัวล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ใช่ของที่อยากได้ พวกเขารู้ว่าวัตถุอะไรอยู่ตรงไหน จึงรู้ด้วยว่ามีอะไรเหลืออยู่ และไม่ไปซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็นมา
ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้
คนรวยจะกำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้และสัมผัสประสบการณ์ความสำเร็จไปทีละขั้นแล้วค่อยๆ ก้าวขึ้นไป เช่น คนทั่วไปอาจตั้งเป้าหมายจะหาเงินล้านให้ได้ในห้าปี แต่คนรวยจะตั้งเป้าให้สั้นกว่านั้น เช่น จะต้องมีเงินแสนในสามเดือน การดีใจ 1 ครั้งกับดีใจ 10 ครั้งนั้นต่างกันมาก ยิ่งมีสิ่งให้ดีใจเยอะเท่าไหร่ ก็จะมีแรงขับเคลื่อนมากขึ้นเท่านั้น
จ่ายเงินซื้อเวลา
คนรวยคิดว่าเวลาคือเงิน ประหยัด 1 ชั่วโมงไว้พัฒนาความสามารถของตัวเอง แบ่งเวลาสัก 10 นาทีไว้เพิ่มมูลค่าตัวเองให้สูง เช่น การใช้เงินจ้างแม่บ้านมาทำความสะอาดบ้าน ส่วนตัวเองก็นั่งทำงานของตัวเอง และใช้เวลานั้นพัฒนาความสามารถในการทำงานจนสำเร็จ
การเดินทางก็เช่นกัน พวกเขาจะหาที่อยู่ที่ใกล้บริษัทที่สุดเพื่อไม่ให้เวลาสูญเปล่าอยู่บนท้องถนน เวลาในการเดินทางสามารถเอามาทำงานให้เสร็จได้ 1 งาน มีเวลาพักผ่อนเพิ่ม 1 ชั่วโมง หรือมีเวลาทำอาหารเช้าด้วยตัวเอง หาสิ่งดีๆ ลงท้องก่อนเริ่มงาน
สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือการใช้เวลาอย่างสิ้นเปลืองไปกับการประชุม ยิ่งประชุมนานเท่าไหร่ ความขัดแย้งก็จะมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้นยังเป็นการใช้งานสมองอย่างหนัก หรือบางครั้งอาจทำให้เกิดความเฉื่อยชาไปเลยก็ได้
ข้อมูลจากหนังสือ สมองคนรวย สมองคนจน
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่
บทความอื่นๆ
3 ข้อคิดในการทำงาน เพื่อการเข้าใจคุณค่าที่แท้จริงของงาน
การจัดการความเครียดในที่ทำงาน : โดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
แบบทดสอบ คุณเป็นคนเก็บเงินเป็นหรือไม่ ฉบับมนุษย์เงินเดือน
บริหารจัดการเงินอย่างไร เมื่อต้องสร้างครอบครัว
Pingback: เลิกนิสัยแย่ๆ เหล่านี้ แล้วชีวิตจะดีขึ้น นิสัยแบบนี้ที่ควรแก้ไขก่อนสายเกินไป
Pingback: วิธี วางแผนการใช้เงิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ต้องประหยัดก็มีเงินใช้