อินเทอร์เน็ตในโลกอนาคต

อินเทอร์เน็ตในโลกอนาคต ให้คุณหรือให้โทษกันแน่ ?

อินเทอร์เน็ตในโลกอนาคต หรือทศวรรษถัดไป มีอุปกรณ์เชื่อมต่อกว่า 80,000 เครื่องทั่วโลกที่สื่อสารกับคนและสื่อสารระหว่างกันตลอดเวลา จนสามารถคาดการณ์ความคิดหรือความต้องการของมนุษย์ได้

ซึ่งทำให้เกิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ซูเปอร์มารเก็ตจะไม่มีเคาน์เตอร์คิดเงิน และร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดจะมีพนักงานเหลือไม่ถึงครึ่ง นั่นหมายความว่าแรงงานมนุษย์จะถูกลดทอน ความต้องการจ้างมนุษย์จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ …

 

มาดูกันว่าอินเทอร์เน็ตในโลกอนาคตจะสร้างคุณหรือให้โทษกับมนุษย์มากกว่ากัน

การแพทย์ อาชญากรรม และการรับรู้

อินเทอร์เน็ตในโลกอนาคตจะช่วยติดตามระดับน้ำในประเทศที่กำลังพัฒนา และเอื้อให้เกิดเทคโนโลยีทางการแพทย์ในพื้นที่ห่างไกลผ่านระบบดาวเทียมได้ อาชญากรรมสาธารณะมีแนวโน้มลดลลง เนื่องจากระบบเซนเซอร์ กล้อง ปัญญาประดิษฐ์และซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า

ความไว้ในระบบเทคโนโลยีต่างๆ อาจเพิ่มขึ้นเมื่อปัญญาประดิษฐ์ช่วยกระจายอำนาจและทำให้ผลิตภัณฑ์ทางเศรษฐกิจเข้าถึงคนส่วนใหญได้ ส่งผลให้คนจำนวนมากทั่วโลกได้รับโอกาสใหม่ที่สร้างสรรค์

อินเทอร์เน็ตต้องแก้ปัญหาโปรโตคอลที่ไม่ปลอดภัย ข้อจำกัดของแบนด์วิดธ์ อุปสรรคด้านการยอมรับทางวัฒนธรรม และการทำข้อตกลงเรื่องแนวทางการนิยามคุณค่าของข้อมูลและโอกาสในความร่วมมือต่างๆ ซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ และต้องใช้ความพยายามในวงกว้างและการกำกับดูแลร่วมกันกว่าจะเห็นผลชัดเจน

 

พลิกวงการอุตสาหกรรม

ไอเอชเอส บริษัทวิเคราะห์ตลาดในลอนดอน คาดการณ์ว่า จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะเติบโตจากตัวเลขประมาณการ 1,540 ล้านเครื่องเมื่อปี 2015 เป็น 75,400 เครื่องภายในปี 2025 การเพิ่มขึ้นห้าเท่านี้จะทำให้การเชื่อมต่อในทุกด้านของชีวิตลงลึกขึ้น และเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลกเข้ากันด้วยวิธีการใหม่ๆ โดยมีแนวโน้มจะโอบรับเศรษฐกิจแบบเครื่องจักรกับเครื่องจักรอย่างรวดเร็วด้วย

ผลกระทบนั้นจะกว้างและจะพลิกอุตสาหกรรมบริการและอุตสาหกรรมการผลิตปัจจุบัน การหารือเรื่องหลักการของเขตอำนาจและกฎหมายว่าด้วยการรับส่งข้อมูลต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้วัตถุประสงค์สุดท้ายนำพาไปสู่การแพร่คุณค่าออกไปอย่างกว้างขวาง โดยให้เกิดขึ้นในโรงงานและภาคการผลิตเป็นอันดับแรก เนื่องจากเป็นที่เข้าใจกันดีว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติการคือการแก้ปัญหาเร่งด่วน และผลิตภาพกับศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่ดีขึ้นก็เป็นสิ่งสำคัญ

 

ความเสี่ยงและอันตราย

ระบบอินเทอร์เน็ตของทุกสิ่งมีความเสี่ยงหลายประการ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงผู้ใช้งานด้วย ตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงจะเกิดเมื่อบุคคลและบริษัทพึ่งระบบอินเทอร์เน็ตในลักษณะที่นำไปสู่การสูญเสียทักษะสำคัญบางอย่าง หรือเอื้อให้เกิดความเปราะบางใหม่ๆ ขึ้นเมื่อการเชื่อมต่อและระบบไฟฟ้าไม่เสถียร ระบบที่ซับซ้อนและมีการต่อพ่วงมากๆ เสียงจะทำให้เกิดอุบัติเหตุทั่วไปมากกว่า

ความปลอดภัยไซเบอร์คือความเสี่ยงที่เด่นชัด ความเสี่ยงที่จะถูกเจาะระบบข้อมูลเกิดกับทั้งบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เปิดรับข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และเครือข่าย แบบสอบถามเรื่องอินเทอร์เน็ตระดับอุตสาหกรรมของสภาเศรษฐกิจโลกเปิดเผยว่า ร้อยละ 76 ของธุรกิจที่ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการโจมตีระบบอินเทอร์เน็ตของตนนั้น “สูงมาก” และที่น่ากังวลคือ การที่อินเทอร์เน็ตไม่ได้เป็นแค่เป้าหมายของการโจมตีไซเบอร์เท่านั้น แต่ยังอาจถูกใช้เพื่อกระทำการนั้นด้วย

การโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งที่มีบันทึกไว้เกิดขึ้นเมื่อปี 2016 มีการแฮ็กอุปกรณ์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่น กล้องวงจรปิด และอุปกรณ์เฝ้าระวังอื่นๆ ซึ่งส่งแทรฟฟิกไปทำให้เว็บไซต์ต่างๆ หยุดทำงาน

ดังนั้น จึงต้องจัดการความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการเลิกใช้อุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัยโจมตีบุคคลที่สาม การป้องกันบุคคลหรือระบบอัจฉริยะจากการเข้าควบคุมระบบหรืออุปกรณ์อินเทอร์เน็ตด้วยเจตนาที่จะข่มขู่ ขโมย ทำร้าย หรือเรียกค่าไถ่ และการรักษาเสถียรภาพของการบริการหลักทั้งของภาครัฐและเอกชน เรื่องนี้จำเป็นต้องให้ผู้กำหนดนโยบายในเขตอำนาจต่างๆ หาจุดสมดุลระหว่างการปกป้องผู้บริโภคกับการสนับสนุนธุรกิจของบริษัทด้วย กระบวนการและโปรโตคอลในการแบ่งปันและจัดเก็บข้อมูลจะเป็นหัวข้อสำคัญ ถ้าการไหลของข้อมูลระดับโลกจะทำให้อินเทอร์เน็ตของทุกสิ่งบรรลุศักยภาพเต็มพิกัด

อินเทอร์เน็ตในโลกอนาคต มีประโยชน์แต่ก็มีโทษมหาศาล การใช้งานให้ถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมเทคโนโลยีสุดล้ำที่ถูกควบคุมด้วยอินเทอร์เน็ตในอนาคตอันใกล้นี้…

 

ข้อมูลจากหนังสือ ทางรอดในโลกใบใหม่แห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ 

ทำความรู้จักปัญญาประดิษฐ์ (AI) แรงงานสำคัญในโลกอนาคต

ทำความรู้จัก คริปโต ก่อนเข้าสู่สังคมไร้เงินสดในอนาคตอันใกล้นี้

10 เทคโนโลยีพลิกอุตสาหกรรม งาน และชีวิตยุค 4IR

ขุดยังไงให้คุ้ม วิธีขุด bitcoin ด้วยตัวเองแบบเข้าใจง่าย

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า