หลายคนคงเคยได้อ่านหนังสือหรือดูภาพยนตร์เรื่อง เด็กชายในชุดนอนลายทาง กันมาบ้างแล้ว เรื่องราวของมิตรภาพริมรั้วลวดหนามระหว่าง ‘บรูโน’ ลูกชายของนายทหารระดับสูง และ ‘ชมูเอล’ เด็กชายเชื้อสายยิวที่อาศัยอยู่ในค่ายกักกัน ในโลกแห่งความเป็นจริงก็สุดสะเทือนใจและหดหู่ไม่แพ้ในหนังสือเลย…
“เด็กชายในชุดนอนลายทาง” ฉบับครบรอบ 10 ปี จากสำนักพิมพ์แพรวเยาวชน
จัดพิมพ์เป็นปกแข็ง พร้อมภาพประกอบสีกว่า 30 ภาพ วาดโดยโอลิเวอร์ เจฟเฟอร์ ศิลปินและนักวาดภาพประกอบชื่อดัง
นี่คือบทสนทนาระหว่างบรูโนกับสาวใช้จากหนังสือ “เด็กชายในชุดนอนลายทาง” ซึ่งโลกจริงๆ ข้างนอกหนังสือก็เป็นแบบนั้นแหละ…มีผู้ใหญ่จำนวนมากทำผิดพลาดมหันต์ แล้วคนที่เหลือต้องยอมรับ เด็กๆ ต้องยอมรับ เหมือนบรูโนกับชมูเอลในเรื่องเด็กชายในชุดนอนลายทาง
เหตุการณ์ในหนังสือเกิดขึ้นในช่วงที่พรรคนาซีปกครองประเทศเยอรมนี หลังจากพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อดอร์ฟ ฮิตเลอร์และฝ่ายอักษะเข้ายึดครองยุโรปไปเกือบทั้งทวีป และบุกรุกโปแลนด์เมื่อปีค.ศ.1939 โดยฮิตเลอร์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวและเชื้อชาติอื่นๆ ไปถึง 11 ล้านคน! ซึ่งค่ายเอาช์วิตช์ ฉากหลังของเรื่องเด็กชายในชุดนอนลายทาง ก็คือสถานที่สังหารเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดของนาซีนั่นเองนักโทษในค่ายนี้ทุกคนต้องสวมชุดลายทาง แบบเดียวกับที่ชมูเอลต้องใส่ และบนข้อมือจะมีหมายเลขกำกับไว้ (ใช้แทนชื่อ) ซึ่งรหัสแต่ละตัวแทนเชื้อชาติ เพศ เช่นเบอร์ 1-30,000 พร้อมตัว “A” บ่งบอกถึงนักโทษชาวยิวเพศหญิง เป็นต้น
ค่ายเอาช์วิตช์ถูกยึดและมีการปลดปล่อยเชลยสงครามไปเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 1945 ซึ่ง UN ประกาศให้วันที่ 27 ม.ค. ของทุกปีเป็นวันรำลึกถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผาพันธุ์สากล (International Holocaust Remembrance Day) และมีการจัดงานรำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ค่ายเอาช์วิตช์ ทางตอนใต้ของโปแลนด์มาทุกปี นอกจากจะมีญาติของเหยื่อสงครามมาร่วมงานแล้ว ยังมีผู้รอดชีวิตจากค่ายนี้กลับมาร่วมงานด้วย
นี่คือความรู้สึกบางส่วนจากคนที่เคยสวมชุดนอนลายทางจริงๆ มาก่อน
ที่ผ่านมา มีคนใส่ชุดนอนลายทางเป็นล้านๆ คนที่ต้องจบชีวิตลงเพราะความเกลียดชังของคนมีอำนาจ และถึงแม้ตอนนี้จะ(ยัง)ไม่มีค่ายกักกันแบบเอาช์วิตช์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความเกลียดชังระดับทำลายล้างยังคุกรุ่นอยู่เป็นหย่อมๆ บนโลก เราได้แต่หวังว่า เรื่องของบรูโนกับชมูเอลจะมีพลังพอสะกิดคนโตๆ ที่อาจเผลอใจร้ายต่อโลกและเพื่อนมนุษย์ได้บ้าง ว่าต่อให้อยากห้ำหั่นกันแค่ไหน ก็ไม่ควรปล่อยให้เกิดเด็กชายในชุดนอนลายทางขึ้นจริงๆ อีกแล้ว เพราะปลายทางของสงครามมันไม่เคยสวยงามและทิ้งบาดแผลฉกรรจ์ที่รักษาไม่หายไว้เสมอ
Pingback: ครูต้นแบบ ในวรรณกรรมเยาวชน จาก สำนักพิมพ์แพรวเยาวชน