พูดคุยกับ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ในเรื่องที่เรา…ชาวมนุษย์เงินเดือนต้องเจอในแต่ละวัน เพราะทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่กับงานมากกว่าอยู่บ้าน อย่างน้อยสมดุลของชีวิตก็เป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนต้องหาให้เจอ เพื่อเอาตัวรอดจากเดนตายให้ได้ด้วยสันติวิธี
รายการ “เป็นไร ไหนเล่าซิ” ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลก ถึงตอนนี้จะยังแก้ไขไม่ได้ แต่เล่าให้เราฟังได้ รายการที่เราจะชวนคนหลายแวดวงมาเป็นผู้รับฟังปัญหาต่างๆ ที่ตอนนี้คุณอาจจะยังหาคำตอบไม่ได้ แต่อยากหาคนรับฟังหรือคนปรึกษา พวกเขาจะบอกเล่าความคิดมุมมองของเขาให้คุณได้ฟังกัน
ใน 1 ปีมนุษย์ออฟฟิศจะทำงานเฉลี่ยปีละ 200 วันต้นๆ เฉลี่ยวันละ 8 -10 ชั่วโมงที่เราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในทุกๆ ด้าน เพราะว่าทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่ในที่ทำงานเป็นหลัก เราจึงต้องหาสมดุลให้กับชีวิตที่เราจะได้อยู่ในที่ทำงานอย่างสันติสุขกับทุกสรรพสิ่ง EP นี้เราเลยเชิญแขกรับเชิญที่พนักงานรวมไปถึงเจ้านายในองค์กรส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยและรู้จักเขาเป็นอย่างดี มาพูดคุยเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกับสรรพสิ่งต่างๆ ในออฟฟิศ เผื่อว่ามนุษย์เงินเดือนเช่นเราจะได้แง่คิดดีๆ ในการทำงานหรือแง่มุมที่ต่างจากเดิม
ให้อาจารย์แนะนำตัว เคยทำงานที่ไหน ทำงานอะไรอยู่
ดร.วรภัทร์ : อายุเยอะประวัติก็เลยยาว จบเคมีเทคนิคคณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯ จบปริญญาโทด้านวิศวะและปริญญาเอกด้านวิศวะจากมลรัฐโอไฮโอ USA ในระหว่างที่เรียนปริญญาเอกก็ทำงานเป็นนักวิจัยที่องค์การอวกาศนาซาทางด้านเครื่องบินไอพ่นในส่วนที่เป็นเครื่องยนต์พวกผิว เซรามิกเคลือบ จบจากนาซาก็กลับมาเมืองไทย ก็มีความเห็นว่าถ้าเข้าบริษัทใหญ่ๆอย่าง ปตท. หรือ SCG ไล่หลังเพื่อนไม่ทันแล้ว เงินเดือนเพื่อนๆ แซงไป 2 – 3 เท่า เป็นอาจารย์ดีกว่า จากเงินเดือนเยอะๆ ลงมาอยู่เมืองไทยนี่ก็ช็อกเหมือนกัน
ตอนที่อยู่นาซา อยู่นานแค่ไหน
ดร.วรภัทร์ : 7 ปี ก็นานฮะ ทำโปรเจกต์ยาวๆ แต่นาซาไม่จ้างใครยาว จ้าง 3 ปี 5 ปี 7 ปี เป็น contact หมดแล้วเดี๋ยวก็พิจารณาใหม่ เผอิญไม่ได้ต่อ contact พอแล้ว 7 ปี กลับบ้าน
เพราะอะไรถึงรู้สึกว่าพอแล้ว
ดร.วรภัทร์ : คุณพ่อคุณแม่แก่แล้ว ผมยังไม่อยากได้ข่าวว่าคุณพ่อคุณแม่เสียแล้วตัวเองยังอยู่อเมริกาอยู่ อยากมาดูใจ อยากได้ดูแลพ่อแม่ ผมเชื่อว่าความกตัญญูสำคัญ กตัญญูต่อพ่อแม่ ต่อมาเราไปเรียนหนังสือมากมาย หลักสูตรของไทยมันส่งเสริมให้ไปเป็นขี้ข้าฝรั่ง ผมว่ามันไม่ใช่แล้วล่ะ ในเมื่อเราเป็นขี้ข้าฝรั่งมา 7 ปีใช่ไหม ก็กลับเอาความรู้พวกนี้มาสอนเมืองไทยดีกว่า ซึ่งหมอหลายคน วิศวกรหลายคนคิดแบบผมนะที่เขาอยู่เมืองนอกกันนานๆ สุดท้ายเขาก็กลับมาเมืองไทย ไม่มีอะไรดีเท่ากับกลับมากตัญญูต่อแผ่นดินนี้
วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องมนุษย์ออฟฟิศ
คิดว่าทุกวันนี้ Pain Point ของมนุษย์ออฟฟิศส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง
ดร.วรภัทร์ : มองได้หลายมุมนะ แล้วแต่คนด้วย ส่วนใหญ่ที่เป็นประเภท salaryman ถ้านิยามคือพวกที่ยังไม่ก้าวขึ้นไปเป็นระดับบริหารสูงๆนะ พวกนี้เขาเรียกมนุษย์เงินเดือนเนี่ย mindset ภาษาไทยจะเรียกว่าทัศนคติ ไม่ดีและไม่ทำอะไรที่เป็นมงคล คำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องมงคล 38 ผมใช้ตลอดเวลา ง่ายๆเลยก็คือไม่คบบัณฑิต พอไม่คบบัณฑิต ความที่ตัวเองเป็น salaryman มันเหมือนคนที่อยู่ในเรือที่พายเรืออยู่ข้างล่าง ไม่เห็นไกลๆ ก็เลยไม่เข้าใจว่าผู้บริหารคิดอะไร บางครั้งผมก็แซวลูกน้องผมนะว่า นัง เสมียน วิธีคิดของเสมียนมันอยู่เฉพาะหน้าโต๊ะของตัวเอง พอระดับกัปตันเขาพูดอะไรเขาเห็นไกลกว่า ก็จะมาโวยวายกัปตันว่า “ทำไมเปลี่ยนอีกแล้ว ทำไมเปลี่ยนอีกแล้ว”
เพราะงั้นผมถึงบอกเลยว่า ถ้าคุณเป็น salaryman แล้วอยากจะอัปเกรดตัวเองขึ้นมาในระดับสูงขึ้นมันมีหลายวิธี หนึ่งในนั้นเลยก็คือ คบบัณฑิต บัณฑิตก็คือคนที่เราเชื่อว่าเขาหวังดีกับเรา เขาชี้ทางนิพพาน เขาชี้ทางประสบความสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันนี้เขาเรียกว่า coach, facilitator เรียกย่อๆว่า Fa และ mentoring ถาม salaryman แต่ละคนเลยว่าชีวิตนี้มีไหม coach, Fa, mentor น้อยมาก และสังเกตนะ คนที่เป็น salaryman หรือ พวกเสมียน ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวกที่ตอนเด็กๆ มีปม ปมอันหนึ่งก็คือไม่ไว้ใจพ่อแม่ ไม่ไว้ใจคนที่ควรไว้ใจ เรียกง่ายๆ คือคนดื้อ พอดื้อปั๊ป โลกของเสมียนมันปิดทันที และเชื่อตัวเอง คนพาลไม่ใช่ใครตัวเราเองคือคนพาล
บางคนอาจจะเคยโดนหลอกมาก่อน บางครั้งไม่ใช่ใครที่หลอก พี่ตัวเอง น้องตัวเอง บางทีพ่อแม่รับปากแล้วไม่ทำให้ หรือการที่บูลลี่ลูก หรือการเปรียบเที่ยบลูกคนโตเก่งกว่า ลูกคนเล็กเก่งกว่า ปมพวกนี้เกิดจากครอบครัว เกิดจากระบบทางการศึกษา การแซว การบูลลี่ มันทำให้ชีวิตเรากลายเป็นเสมียนขึ้นทุกวันๆ พอเข้ามาทำงานบริษัทปั๊ปมาเจอเจ้านาย pain point อันแรกคือ ไม่เข้าใจเจ้านาย จะเข้าใจเจ้านายได้ยังไงในเมื่อชีวิตนี้พอเห็นหน้าพ่อแม่ พอเห็นหน้าเจ้านายคิดว่าเป็นคนเดียวกัน พอเจ้านายสอนเขาบอกเจ้านายด่า เหมือนกับที่เขาเคยเจอที่พ่อแม่สอนแต่บอกพ่อแม่ด่า ต่อมาระบบการศึกษาไทยมันแย่มาก เอาแต่เรื่องวิชาการ เอาแต่เรื่องตัดเกรดแข่งขัน เป็นการศึกษาที่ห่วย ห่วยเลย และอเมริกาเขาเลิกทำแล้วแต่เรายังทำตามเขาอยู่ ฝรั่งเขาเลิกกันแล้วนั่นคือระบบตัดเกรดซึ่งทำลายประเทศมาตลอด ผลคือเราเห็นแก่ตัว พอเห็นแก่ตัวเสร็จครูในห้องก็ไปชื่นชมคนเก่ง คนเก่งก็กลับมาแซวคนไม่เก่ง คนไม่เก่งก็ขาดกำลังใจ ครูก็ใช้แต่คำด่า เขาเรียกว่าไม่อ่านหนังสือชื่อ จุดตะเกียงดีกว่าด่าความมืด
พอใช้ negative psychology หรือ จิตวิทยาเชิงลบมากๆ ก็กลายเป็นด็กดื้อๆๆๆ พอดื้อปั๊ปก็สร้างเกราะป้องกันตัวเอง เสมียนหลายคนเจอเขาเรียก เสมียนซินโดรม อาจารย์ตั้งเอง โรคของมนุษย์เสมียนวิธีที่จะแก็ ผมในฐานะ coach, Fa, mentor ผมต้องเข้าไปนั่งคุย เปิดโลก พาไปเจอโลกกว้าง ซึ่งยากมากไม่ยอมไป และยิ่งจนยิ่งยากใหญ่ เป็นเสมียนไม่พอ เงินเดือนก็ต่ำ ผู้บริหารถ้ารักมนุษย์จริง กรุณามีระบบ coach, Fa, mentor เข้าไป coach คนพวกนี้ ภาษาผมเรียกว่าเข้าไป curator ปั้นให้เสมียนแต่ละคนให้มีกำลังใจ มีpurpose ของชีวิต มีฝันออกมา เรียกง่ายๆคือองค์กรสมัยใหม่เขาแทบจะเปิดโรงเรียนในองค์กรของเขาและเริ่มเรียนกันใหม่ อายุ 20 กว่าเรียนใหม่หมด เราถือว่าระบบการศึกษาที่ผ่านมาทั้งหมดล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เสียเวลาไป 20 กว่าปีในการศึกษาไทย หมดเงินกันไปหลายแสน หมดเวลา แถมได้ไวรัสทางสมองเพียบ ได้พฤติกรรมแย่ๆจากในโรงเรียนมาเยอะมาก คนไทยมองไม่เห็นตรงนี้ อนาคตจะมีปัญหาอีกว่าเด็กที่จบจากเมืองนอกมากำลังกลับมา วิธีคิดเขากล้าหาญกว่า พูดตรงกว่า พูดแรงกว่า และความมั่นคงทางอารมณ์สูงกว่า
อย่าลืมว่าเด็กในยุโรป อเมริกา เขาฝึก EQ สูง ฝึกความกล้าหาญ วิชาการเขาไม่จำเป็นต้องเยอะ ทุกอย่างอยู่ในยูทูป ทุกอย่างอยู่ในโซเชียลมีเดีย แต่สิ่งที่ต้องการคือพฤติกรรม เขาระเบิดตัวเองเป็น เห็นปมตัวเอง และทำนู่นทำนี่ ล้มเหลวช่างมัน failure is learning ในขณะที่ฝั่งไทย salaryman ของคนไทย “ผิดไม่ได้ ฉันไม่ทำฉันกลัวโดนแซวกลัวโดนว่า” ตัว fear หรือคำว่า กลัว ขึ้นเต็มหัว salaryman คนไทย คุณมีแต่ความกลัว พอมีคนชวนออกไปทำออนไลน์ “ฉันไม่กล้าทำ” มีคนชวนไปเปิดร้านกาแฟ ทุกคนล้วนอยากเปิดร้านกาแฟ เนื่องจากไม่กล้า พอไม่กล้าก็จะขี้ขลาด พอขี้ขลาดก็จะไม่มี creative ใหม่ๆ
ความคิดสร้างสรรค์มาจากความกล้าก่อน คนขี้ขลาดยังไงก็ไม่สร้างสรรค์ หมกตัวอยู่ในโลกของตัวเอง ตื่นเช้ามากินข้าวเหนียวหมูปิ้งหน้าบริษัท นั่งทำงานอยู่โต๊ะตัวเดียวหมกหมุ่นอยู่ตรงนั้น โดนเจ้านายด่าก็นินทาเจ้านายแล้วก็เครียด เที่ยงก็ออกมาหาอะไรกินก๋วยต๋ง ก๋วยเตี๋ยวแถวๆ บริษัท เดินช็อปปิ้งตลาดนัดซื้อของเดิมๆเสื้อผ้าแบบเดิมๆ เย็นก็ไม่รู้จะไปไหนดีผัวก็ไม่มี เดินห้างแอร์เย็นสบายกลับไปก็รถติด เดินไปเดินมากินนู่นนี่ พอเห็นร้านแพงๆก็อยากจะลองสักครั้ง เงินก็หมด ต่อมาก็เริ่มมีบัตรเครดิตใบที่ 1 เอาไปผ่อนใบที่ 2 ใบที่ 2 ก็เอาไปผ่อนใบที่ 3 เจ๊งหมดตัวก็มี นี่คือ salaryman แล้วถูกปลูกฝังวิชาไม่เชื่อคนขึ้นมา ไม่เลือกคนที่ไม่ควรเชื่อ ดันไปเชื่อพวกขายของ ดันไปเชื่อคนที่หลอกให้ทำนู่นทำนี่ตลอดเวลา หมดตัวแล้วก็จนต่อไป
นี่คือพฤติกรรมของคนที่เกิน 50% ของคนไทยที่เป็น salaryman มันเป็นปม ปมที่กระทรวงศึกษา ปมที่พ่อแม่ทำร้ายคุณ ทุกวันนี้คุณยังไม่ให้อภัยพ่อแม่ ยังไม่ให้อภัยกระทรวงศึกษาเลย แล้วไม่รู้ตัวเอง ไม่เห็นตัวเอง คุณไม่มีบัณฑิต coach, Fa, mentor ตัว coach เขาจะส่งกระจกให้คุณเห็นว่าคุณเติบโตมาแบบนี้ วิธีคิดของคุณมุมเดียวเลย วิธีคิด mindset อย่างนี้คุณถึงเป็น salaryman นี่คือเหตุผลที่คุณเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ในออฟฟิศ นี่คือเหตุผลที่คุณเลือกที่จะคบใครในออฟฟิศ คุณเลือกเฉพาะคนที่เชื่อคุณ คุณเลือกคบเฉพาะคนที่คิดตรงกับคุณ ใครคิดต่างคุณไม่อยากเข้าใกล้ ใครคิดต่างคุณไม่อยากกินข้าวเที่ยงด้วย ใครคิดไม่เหมือนคุณคุณก็ไม่อยากไปดูหนังกลางคืนด้วย เห็นไหมฮะ โลกของ salaryman และเสาร์อาทิตย์ก็กลับบ้านซักผ้า ซักผ้าแล้วก็เดินห้าง หนังสือไม่อ่าน เกลียดการอ่านหนังสือ จากนั้นบางคนมีเพลงฟังก็เป็นบันเทิงง่ายๆ
ชีวิตมันจะเป็นแพทเทิร์นแบบ salaryman เลย แล้วก็ถูกใช้งานไป แล้วก็ถึงจุดหนึ่งพอ digital disruptive กำลังจะมา ก็เอาละ โดนเขา lay off 2 หมื่นกว่าคนเดี๋ยว salaryman เจ็บตัวก่อน แล้วพอออกปั๊ปก็นึกอะไรไม่ออกกลับไปทำเกษตร พอไปทำเกษตรก็ซื้อสารเคมีก็ทำไม่เป็นอีก จมไม่ลง ทำได้ 3 – 4 เดือนก็เผ่นกลับไปทำเสริมสวยตัดผม เปิดร้านอาหาร ก็แล้วแต่ เห็นไหมฮะ มันเกิดจากอะไร แล้วตรงนี้รัฐบาลมองออกไหม กระทรวงศึกษาทำร้ายอะไรใครไปบ้าง กระทรวงศึกษามองไม่ออก อาจารย์มหาวิทยาลัยเคยลงมาดูชีวิตมนุษย์ข้างล่างบ้างไหม อยู่บนหอคอยงาช้างของมหาวิทยาลัย นักวิชาการไทยไม่ออกมาทำงานเอาแต่ผลงาน คือเห็นแก่ตัวจะเอาแต่ผศ. รศ.แต่ไม่ออกมาเปิด podcast ไม่ออกมาเขียนหนังสือ ไม่ออกมาทำจิตอาสาช่วยเหลือสังคม เป็นนักวิชาการเห็นแก่ตัว เป็นศาสดาจารย์ที่เห็นแก่ตัว เป็นผู้ช่วยรองศาสดาจารย์ที่ไม่ได้เรื่อง และมีคนเป็นแบบนี้เยอะ สังคมก็เลยพัง
กลับมาคำถามที่ถามว่า pain point ของมนุษย์เงินเดือนเกิดจากอะไรบ้าง เกิดจากการเลี้ยงดู เกิดจากตัวเอง mindset มองโลกอย่างไร วิธีที่มองโลก เขาผ่านโลกที่ติดลบตลอด โลกที่ทำก็ผิด ขยับก็ผิดๆๆๆ เพราะฉะนั้นตัว fear เพิ่ม courage หาย creative หาย ประกอบกับวางตัวไม่เป็นไม่รู้จักคำว่า social skills salaryman หลายคนที่ผมเข้าไปช่วย ผมก็เริ่มจาก mindset เขาก่อน หนึ่ง อย่ากลัวเจ้านาย และคุณจะเข้าหาเจ้านาย จะจีบเจ้านายทำอย่างไร ผมก็พาเขาไปดูโลกของเจ้านายก่อน คนที่เป็นเจ้านายวางตัวกันแบบนี้ เสื้อผ้าหน้าผมก็สำคัญ เสื้อผ้าคุณก็ไม่ต้องลงทุนมาก
คุณรักเจ้านายสนิทเจ้านายบางทีเสื้อผ้ามือสองของนายมาใส่ต่อก็ยังได้ เขาให้ฟรีก็มี อัปเกรดตัวเองขึ้นไปเล่นกีฬาที่นายชอบคุณจะได้มี topic หรือหัวข้อคุยกับเจ้านายมากขึ้น salaryman หลายคนผมพาไปตีกอล์ฟ กอล์ฟเดี๋ยวนี้มัน 9 หลุม 100 กว่าบาทก็มี พวก Par 3 อะไรง่ายๆคุณไม่ต้องไปจ่ายที 18 หลุมสี่พันบาท มันมีตั้งหลายสนาม เพียงแค่คุณมาตีกอล์ฟ พอคุณเริ่มตีเป็น เจ้านายเขาจะมีไม้เก่าๆ ไม้เหลือๆ ชุดเก่าๆ คุณมีเรื่องคุยกับเจ้านาย คุณวันๆหนึ่งก็ฟังเพลง สมมตินะนายเป็นนายที่อินเตอร์หน่อย จบนอกมา คุณฟังเพลงลูกทุ่ง คุณไทยแล้วคุณคุยกับนายได้อย่างไร นายคุณอ่านหนังสือคุณก็ไม่อ่าน นายตีกอล์ฟคุณก็ไม่เอา โลกคุณแคบลงทุกวันๆ คุณทำตัวคุณเอง คุณทำร้ายตัวคุณเอง แล้วมานั่งบ่น “ฉันจนๆ”
คนจนมันเกิดจาก mindset และยอมแพ้ตัวเอง จากนั้นก็อ้วน กินแล้วก็อ้วน สิวขึ้น หาผัวไม่ได้ โวยวาย จับกลุ่มกันแล้วก็นินทา มันจบลงแบบนี้ทั้งนั้นเลย หรือได้ผัวห่วยๆมาคนหนึ่ง ชีวิตเละเทะกว่าเดิมอีก ผัวขี้เมา ผัวซ้อม ผัวเตะ ซวยอีกมีลูก เนี่ย salaryman ความที่ไม่เชื่อคนที่ควรเชื่อ และเลือกคนไม่เป็น คนไหนเชื่อมันก็ต้องเชื่อ คบบัณฑิต ห่างไกลคนพาล ไม่ถีบตัวเองมาจากกลุ่มเพื่อน เพราะอะไร เพราะอยู่กับพ่อแม่ พ่อแม่สอนเยอะรำคาญ สมัยใหม่เขาห้ามสอนกัน แต่ไม่ใช่หมายความว่าไม่สอนนะ สุดยอดสอนคือไม่สอน นั่นคือใช้ coach, Fa, mentoring แทนการ teaching พูดไปคนก็จะงงๆ จริงๆการสอนที่ดีที่สุดคือ สอนไม่ให้รู้ตัวว่าถูกสอน ทักษะนี้เรียกว่า coach, Fa, mentoring และ curator ซึ่งต้องเรียน ผมเปิดสอนอยู่เป็นระยะ สอน coach ก็มีสถาบัน coach ไทย ก็มี ดร.เทอดทูน สอนอยู่ แต่ถ้า Fa ต้องมาเรียนกับคุณรสสุคนธ์ ส่วน mentor เรียนกับวรภัทร์ได้ curator เรียนได้
ตกลง pain point มาจากอะไร หลายอย่างนะ ไม่คบบัณฑิตห่างไกลคนพาล ไม่มีบุคคลที่เราเป็น โลเวอร์เดล ถ้าอธิบายตาม มาสโรล 5 ขั้น พวกขั้นต่ำยังห่วงเรื่องกิน เรื่องความปลอดภัย ห่วงเรื่องความรัก กลุ่มนี้คือ salaryman ยังไม่พ้น ในขณะที่เด็กต่างชาติ เด็กฝรั่งตั้งแต่เล็กๆ สิ่งแรกที่สอนกันไม่ใช่ passion ตัวpassion ไว้ที่หลัง เล่นเรื่อง purpose ของชีวิตก่อน เกิดมาทำซากอะไร อย่างอาจารย์เป็น curator หมายความว่าจะปั้นใครขึ้นมาสักคน ให้เขาค้นพบตัวเอง อาจารย์ต้องดูก่อนว่า purpose เขาตอนนี้เป็น purpose ส่วนตัว เห็นแก่ตัว เรียกว่า เลเวล 1 เห็นแก่ตัว ส่วนตัว หรือเขาเข้าเลเวล 2 เพื่อน สังคม ครอบครัว หรือเข้ามาเลเวล 3 เพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน เพื่อมวลมนุษยชาติ ถ้าเราไปดูภาพยนตร์หลายๆเรื่อง เช่น The great wall พระเอกเล่นโดย แม็ตต์ เดม่อน เห็นแก่ตัวก่อน จะมาขโมยดินระเบิดจากประเทศจีน ต่อมาเจอนางเอก เกิด turning point เริ่มที่จะเห็นแก่ชาวตะวันตกด้วยกัน เริ่มรังเกียจคนจีน ต่อมาเจอนางเอก coach ว่า พวกตะวันตกอย่างพวกคุณเห็นแก่ตัวมาก ศัตรูของเรามันคือกิเลสใช่ไหม ทำไมเราไม่สู้กับกิเลส ทำไมคนตะวันตกมองคนจีนเป็นศัตรู
พระเอกก็เริ่มปรับตัวขึ้นมา เห็นว่าจีนกับตะวันตกไม่จับมือกันต่อสู้ความโลภด้วยกัน ซึ่งความโลภมีทั้งในตะวันตกและจีน เห็นการเปลี่ยนแปลงของพระเอก ถามว่า salaryman เคยเห็นตัวเองไหม ว่าตอนนื้ทำทุกอย่างทำไปเพื่ออะไร ถ้าเราดูภาพยนตร์เรื่อง นาจา เหมือนกันเลย เป็นการ์ตูนอนิเมชั่น นาจาในตอนเด็กโดนบูลลี่ โดนดูถูก โดนตัดสิน โดนเหยียดหยาม หาตัวเองไม่เจอและเห็นแก่ตัว จนวันหนึ่งเขาระเบิดตัวเองได้ เห็นว่าเราเกิดมาใหม่ เรามีฤทธิ์เดชมีพลัง ทำไมเราไม่ช่วยผู้คน
ตรงนี้ฝากพวก salaryman ว่า ถ้าเป้าหมายชีวิตคุณต่ำ ชีวิตคุณก็ต่ำ ต่ำหมายความว่าไง ทำเพื่อตัวเอง อยู่ไปวันๆ เป็นเสมียน นั่งทำ Power Point นั่งทำ Excel เก็บเอกสาร ตรวจเอกสาร เดินนู่นนี่ หาขนมกิน ไปหาหนังดู หาเพลงฟังรอดูคอนเสิร์ต เป้าหมายชีวิตคุณต่ำมาก ทำไมคุณไม่มองสูงๆ ทำตามในหลวงรัชกาลที่ 9 สอน พึ่งพาตัวเองและแบ่งปัน ตรงนี้ในหลวงเรา purpose ใหญ่มาก ก็เลยทำให้มนุษย์เงินเดือนติดอยู่กับมนุษย์เงินเดือน พอติดจมปลักอยู่กับความเป็นมนุษย์เงินเดือนก็เข้าข้างตัวเอง พวกนี้จะหลอกตัวเองเก่ง “ฉันอยู่แบบนี้ก็ดีแล้ว” “ฉันโชคดีที่ไม่ได้เห็นโลกกว้างไม่งั้นจะทุกข์ไปกว่านี้”
คนกลุ่มนี้จะใช้สำนวนติดลบหมดเลย ใช้สำนวนทำร้ายตัวเองทั้งหมด มันไม่มีใครไปสะท้อนกระจกให้เห็นว่า เธอเป็นแบบนี้นะ เธอเป็นอย่างนี้นะ ต้องไปดูรายการ เจาะใจ คุณปอนด์คุยกับ สัญญา คุณากร ต้องมีคนคอยสะท้อนให้เห็นตัวเองว่าฉันเป็นคนแบบนี้ ฝากถึง salaryman ด้วยว่า ปมของคุณ คุณเห็นตัวคุณเองหรือเปล่า คุณปิดตัวคุณเองตลอด พอกลุ่ม salaryman หรือ นัง เสมียน ทั้งหลายเหล่านี้เมื่อเราเจาะเข้าไปมากเขาจะหนีเรา เพราะงั้น coach, Fa ต้องเข้าไปเนียนมาก ต้องเข้าไปทำตัวแนบเนียน เข้าไปจัดการกับพวกนี้ได้
ตัวอาจารย์เคยมี pain point ในสมัยเป็นพนักงานออฟฟิศไหม
ดร.วรภัทร์ : ส่วนใหญ่ pain point เกิดจากเราตั้ง purpose ไว้สูง และมีใครสักคนขวางเป้าหมายเรา เป้าของอาจารย์คือกลับมาฟื้นฟูประเทศชาติ ต้องการให้วิศวกรเก่งและฉลาดขึ้น pain point ของอาจารย์คือพวกอาจารย์ อาจารย์ที่เป็นเจ้านายผม อาจารย์ที่เป็นเพื่อนร่วมงานผม แต่ละคนอาจารย์ว่าเขาแคบมาก อาจารย์เขาก็จบเมืองนอกนะ หลายคนเป็นอาจารย์เพื่อที่จะสบายๆ มาเพื่อขี้เกียจ
ไม่ใช่ว่าเขาถูกสภาพแวดล้อมของประเทศไทยหล่อหลอม
ดร.วรภัทร์ : ก็ด้วย บางทีเรียนเก่งได้ทุน พอกลับมาค้นพบตัวเองว่าฉันไม่ชอบสิ่งที่ฉันเรียนมา ลาออกก็ไม่ได้ บางคนเป็นเด็กเรียนเก่ง และปัญหาของพวกอาจารย์คือเรียนเก่ง พอเรียนเก่งก็จะเก่งวิชาการ อ่อนแอด้านคน พูดไม่รู้เรื่อง และโหด mean มาก ใจร้ายกับเด็ก บางคนแค่เด็กเอาเสื้อออกนอกกางเกงตามไปด่าเด็ก บางคนเด็กคุยในห้องเอาชอล์กขว้าง อาจารย์โรคจิตเยอะ แล้วไม่มีใครจัดการพวกเขาได้ แล้วเขาก็กัดกันเอง ประชุมกัน 30 คนในภาควิชา มันเหมือนศัตรู 30 คนนั่งร่วมกัน และ purpose เขาต่ำ เขาสอนเฉพาะสิ่งที่เขาเรียนมา เขาไม่ออกไปเจอองค์กรข้างนอก ไม่ฟังคนอื่น อ้างแต่ระเบียบห้ามราชการ
ผมถึงบอกว่า pain point ที่เจอ วิธีแก้คือลาออก เพราะมันทำอะไรไม่ได้ และโชคดีที่มหาวิทยาลัยเมืองไทยกำลังจะปิดตัว โลกสมัยใหม่มันเปลี่ยนไปแล้ว คนเป็นอาจารย์หมายถึงคนที่ทำจริง ไม่ใช่อ่านจริง อาจารย์มหาวิทยาลัยทำเก่งครั้งเดียวจนได้ด็อกเตอร์ ที่เหลืออ่าน และทำเรื่องที่ตัวเอง purpose ต่ำ ทำเพื่อประโยชน์ตัวเอง และพูดไม่เป็น สื่อสารไม่เป็น สื่อสารไม่เป็นดันมาเป็นอาจารย์ ขณะเดียวกันพวกอาจารย์ใจแคบ ไม่ยอมมาเรียนวิชา coach, Fa, mentor จะเอาแต่ teach อยู่ลูกเดียว ชอบทำเรื่องเดิมๆ และคาดหวังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไอสไตน์นี่ก็โง่มาก สอนเหมือนเดิม ทำเหมือนเดิม คิดเหมือนเดิม คนควบคุมอาจารย์ยิ่งแย่ใหญ่ ไปบีบอาจารย์ให้คิดเหมือนเดิมอีก ไปวางกรอบให้อาจารย์ขยับตัวไม่ได้ มาตวรจประเมินก็ประมาณนี้
ที่นี้โชคดีที่ว่าๆ ไป pain point เริ่มหายไปแล้ว ย้ายมหาวิทยาลัยไปอยู่กระทรวงใหม่ กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ก็เข้าไปพยายามแก็ pain point และอาจารย์เจอ pain point ตรงนี้ ตอนนั้นยังหนุ่ม ก็มองเห็นว่า การต่อสู้ที่ไม่เห็นแววชนะเลย มันเปลืองพลังงาน ให้ผมไปแก็เพื่อนร่วมงาน พวกอาจารย์แก่ๆ พวกอาจารย์ใจแคบ ซึ่งมันเกิน 80% ไม่ไหว ไม่คุ้ม สู้ผมออกมาทำอะไรดีๆ ดีกว่า ก็เลยลาออกมาเป็นที่ปรึกษา คิดว่าสอนเด็กไปไม่มีประโยชน์ สอนคนทำงานดีกว่า ผมก็เลยมาเป็นที่ปรึกษากับวิทยากร ปูนซีเมนต์ไทย SCG ก็มาช่วยด้าน facilitator และมาช่วยบริษัทดังๆเยอะ ปตท นี่ก็ช่วย ตอนนี้ก็มาช่วยกลุ่ม แมกโนเลีย ฟอเรสเทียส์ เพราะคุณบี เจ้าของปณิธานเพื่อมนุษยชาติ
ตอนที่ออกมาไม่คิดว่ามันเป็นการหนีปัญหาเหรอ
ดร.วรภัทร์ : ตอนนั้นยังเด็กอยู่ อายุยังไม่ถึง 40 แต่ย้อนกลับไปก็ถูกแล้วที่ออกมา อาจารย์เป็นนักวิทยาศาสตร์ ตำแหน่งตอนนี้เป็นนักยุทธศาสตร์ของมูลนิธิสานประชารัฐเพื่อการศึกษา บริษัทใหญ่ๆ 12 – 20 บริษัทในประเทศไทยรวมตัวกันปฏิรูปการศึกษา นั่นคือไม่ปล่อยให้กระทรวงศึกษาทำอะไรกับการศึกษาอีกแล้ว บริษัทเอกชนต่างๆรวมตัวกัน อาจารย์เป็นนักยุทธศาสตร์สอนพวก strategic ในแง่ยุทธศาสตร์ การรบที่มันไม่เห็นหนทางชนะ จะรบไปทำไม ออกมาตั้งหลักก่อน มันมีทั้ง 36 แผนคิด อาจารย์เลือกไปแล้ว 35 แผน พบว่าเสียเวลา ด้วยทรัพยากรและเวลาที่ทุ่มทุนไปเปลี่ยนแปลงพวกเขา ไม่คุ้ม สู้ออกมาดีกว่า ออกมาอยู่บริษัทใหญ่ๆ มาอยู่ SCG มาช่วย ปตท มาช่วย true ช่วย การไฟฟ้า ช่วย บี. กริม และอาจารย์ไปช่วย CP จาก CP ที่คนว่า มีแต่เคมี เอาเปรียบ ตอนนี้ CP หลายบริษัทในกลุ่มที่อาจารย์เข้าไปช่วย ตอนนี้เราทำตามในหลวง เราปลอดสารเคมี เราเปลี่ยนไปเยอะ เรามองโลกยิ่งใหญ่ขึ้น คนเราเปลี่ยนแปลงได้ อย่ามองว่า CP ยังงกยังเค็มเหมือนเดิมนะ เขาก็เปลี่ยนแปลงนะ เพราะผมเป็นที่ปรึกษาพวกเขา เข้าไปให้การเปลี่ยนแปลงของพวกเขาดีขึ้น เขาก็เก่งอยู่แล้วด้วย เขาเริ่มปรับตัวเองเข้า ใช้เวลา ต้องขอบคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มันเอามาใช้ในองค์กรได้ SCG เอามาใช้ก่อนเลย ดีขึ้นฮะ
pain point ของอาจารย์ อาจารย์แก็ปัญหาด้วยการคบบัณฑิต อาจารย์ก็ปรึกษาศิษย์พี่ที่เก่งๆ ผมพูดเสมอว่าตอนผมอายุ 35 – 36 เพื่อนสนิทผมเฉลี่ยอายุ 50 ขึ้น ถ้าตอนนั้นอายุ 35 คบแต่เพื่อน 35 ด้วยกัน มันก็เป็นแก๊งผ่านโลกแคบๆมาด้วยกัน มันต้องคบคน 50 กว่า ตอนนี้ผม 60 คบเพื่อนเฉลี่ย 35 ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ก็ 35 บวกลบ เพราะเรา 60 และคิดเหมือนคน 60 เตือนคนอายุ 60 ลงมาคบเด็ก 35 เด็กเขาเปลี่ยนไปเยอะ ฉลาดกว่าเรา เขารู้อะไรเยอะกว่าเรา อย่าหลงตัวเอง ห้ามหลงตัวเอง ตอนอายุ 35 ผมไม่หลงตัวเอง ผมก็เชื่อพวก 50 กว่า แต่พอผม 50 กว่า 60 ผมก็ไม่หลงตัวเอง ผมกลับมาเชื่อพวก 30 กว่า ชีวิตมันถึงเห็นหลายๆด้าน เห็นหลายมุม
ตอนนี้ถามว่ามี pain point อะไรไหมแทบจะไม่มีนะ แทบจะไม่มี มีแต่ของชาวบ้านที่เข้าไปช่วย ของบริษัทต่างๆ จะผ่าน digital disruptive ตรงนี้ไปได้อย่างไร จะผ่านเศรษฐกิจที่คนจีนขยันกว่า ฝรั่งเอาเปรียบกว่า ฝรั่งดีๆก็มี ทำให้ศาสตร์พระราชาเป็นที่รู้จักได้ยังไง จะสอนศาสนาพุทธให้ฝังเข้าไปในจิตใจคนทั่วโลกได้ยังไง พอ purpose มันใหญ่ขึ้น pain point จะไม่ค่อยมีแล้ว เพราะใช้ตัวเดียวเลยก็คือ ให้อภัย ให้อภัยอย่างเดียว พอมี pain point เกิดขึ้น ก็แสดงว่าเรา empathy เขาไม่พอ empathy กับ empathize มันไปด้วยกันนะ ถ้าเรา empathy มากๆ empathy คือเข้าอกเข้าใจไม่พอ เข้าถึงพวกเขา เห็น pain point ของพวกเขา อันนี้อยู่ในหลัก design thinking เราต้องคิดอย่างนักดีไซน์ อย่างผมชอบออกแบบชีวิตของผู้คน ออกแบบเส้นทางชีวิตให้ผู้คน journey of your life อาจารย์จะต้องเป็นคนที่เข้าไปเห็นจุดแข็งในตัวคนๆหนึ่งและ curate ให้ออกมาไปตาม dream ของเขา ไปตามฝันของเขา นี่คืออาชีพอาจารย์ curator จริงๆอาชีพ curator คือคนจัดตามแสดงพิพิธภัณฑ์ ผมกลายเป็นคนจัดคน มันใช้ทักษะ coach, Fa, mentor ครบ ตรงนี้ต่างหากมันทำให้แต่ละ pain point เป็นเรื่องที่สวยงาม
career path ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ออฟฟิศอยู่ไหม
ดร.วรภัทร์ : ตอนนี้ก็ยังจำเป็นอยู่ แต่ก็มีตัวอื่นเข้ามาเสริม purpose ก็สำคัญ purpose, career path โลกอนาคตคุณไม่สามารถมีอาชีพเดียว ขอบอกชาว salaryman เลย อย่างสิงคโปร์ทำ 3 อาชีพ เช้าอยู่บริษัทหนึ่ง บ่ายอยู่บริษัทหนึ่ง เย็นอยู่อีกบริษัทหนึ่ง
นั่นเท่ากับว่าต้องเป็นฟรีแลนซ์
ดร.วรภัทร์ : ฟรีแลนซ์ฮะ ขายของออนไลน์ก็ได้ สมัยนี้สื่อสารโซเชียลมีเดียมันดีมาก คุณอยู่ในป่าลึกก็นเปลี่ยว คุณสามารถส่งปลากัดออกนอกได้ คุณทำชวนชมออกดอก 7 สีส่งออกนอกได้ต้นละ 4 – 5 แสน ปัญหาคือ salaryman อย่างคุณเอาเวลาไปทำอะไร อย่างลูกน้องผม salaryman ผู้หญิงคนหนึ่งอยากมีบ้านและถามว่า “บ้านกี่บาท” “ล้านห้า” “ทำเลอยู่ที่ไหน” “บางแค” “ออฟฟิศหนูอยู่ไหน” “สีลม” หนูตกเป็นทาสของบ้านแล้ว บ้านล้านห้าหนูผ่อนเสร็จอายุ 40 บ้านล้านห้าตัวนี้มันทำเงินคืนให้เธอได้เท่าไหร่ต่อวัน 2 ชั่วโมงเดินทางจากบางแคมาสีลม เดินทางกลับอีก 2 ชั่วโมง ค่าเดินทางเท่าไหร่ ค่าเสียเวลาวันละ 4 ชั่วโมง ชีวิตหนูไม่ได้พัฒนาอะไรเลย หนูจะป่วยเพราะสารพิษเต็มไปหมด หนูขึ้นรถไฟฟ้า หนูอาจจะติดหวัดจากใครก็ได้ อาจจะติดวัณโรคมาก็ได้ อะไรบนรถไฟฟ้าก็เกิดขึ้นได้ รถเมล์ก็ได้ เกิดอุบัติเหตุ 4 ชั่วโมงที่หมดไปบนความเสี่ยงที่มากมาย สุขภาพก็พัง ในที่สุดเงินที่เก็บจะไปผ่อนบ้านล้านห้ากลายเป็นไปจ่ายค่าโรงพยาบาล หนูไม่เห็นใครเลย
อาจารย์ก็เลยแกล้งว่า ทำไมหนูไม่สุมหัวอย่างคนจีน คนจีนเขาฉลาด เขาก็สุมหัวกันอยู่ คอนโดหลังหนึ่งในเมือง 4 คนอัดกันไปเลย ร่วมกันอยู่จันทร์ถึงศุกร์ เสาร์อาทิตย์ค่อยกลับบ้านแม่ที่บางแค 4 คนนี้เขาก็อยู่อัดๆกัน ทนหน่อยยังหนุ่มยังแน่นยังสาวอยู่ เอาเวลาตอนเย็นไปเรียนภาษา เรียนภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น อย่างลูกศิษย์ผมคนนี้ salaryman ผู้หญิงอายุ 31 อาจารย์พาไปตีกอล์ฟ เชื่อไหมครับ ปีกว่าๆเขาเปลี่ยนเลย งานเจอผู้ใหญ่ งานเข้าสังคม connection ยังไงก็สำคัญ ต่อให้ระบบโซเชียลมีเดียดีแค่ไหน ผู้ใหญ่ไม่คบคุณ คนที่เห็นช่องทางการค้าไม่คบคุณ คุณก็ไปไม่รอด social skills คุณไม่มี ทักษะการเข้าสังคมคุณไม่พอ คุณไปไม่รอด ผมฝึก salaryman หญิงคนนี้ ตอนนี้นางตีกอล์ฟเป็น สุดท้ายนางก็เริ่มเปลี่ยนไป นางเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น สักพักตีกอล์ฟ คนญี่ปุ่นตีกอล์ฟ พูดญี่ปุ่นได้ สนุกแล้วครับงานนี้ ย้ายบริษัท
แสดงว่าเรื่องพวกนี้จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้เราเติบโตขึ้นในหน้าที่การงานด้วยหรือเปล่า
ดร.วรภัทร์ : ใช่
ทุกวันนี้คนที่เป็นมนุษย์ออฟฟิศทำงานไปวันๆ แต่ไม่เติบโตสักที
ดร.วรภัทร์ : วิธีคิดของคุณแคบไง ใจคุณแคบ โลกคุณก็แคบ เพื่อนคุณก็แคบ คุณไม่สำรวจว่าเพื่อนคุณแต่ละคนที่คบมา ความสุขทางใจมันเรื่องหนึ่ง แต่จะพาไปสู่ฝันของคุณมันคือคนไหน มันมีแต่แซวกัน ดับฝันกัน พอเราจะทำอะไรมันอยู่กับเพื่อนโง่ๆ “หน้าอย่างมึงทำได้เหรอ” อย่าไปคบกับพวกนี้ อย่าไปคบกับเพื่อนที่ดับความหวัง ทำไมไม่คบกับคนที่อายุมากกว่า คบผู้ใหญ่ใจดี ผมพาเขาไปตีกอล์ฟเนี่ย ผู้ใหญ่ใจร้ายก็มีนะ แต่ส่วนใหญ่วงการกอล์ฟใจดี แล้วยิ่งคุณเป็นผู้หญิงคุณแค่ตีกอล์ฟห่วยๆ ลุงกอล์ฟใจดีติวกันเข้ม ไม้แพงๆนี่เป็นของคุณทันที และได้เริ่มภาษาของผู้ใหญ่ คำศัพท์สำคัญมาก คำศัพท์ของเสมียนกับผู้บริหารไม่ตรงกัน พอคุณใกล้ชิดกับผู้หลักผู้ใหญ่คุณได้สำนวนของผู้ใหญ่ ได้คำศัพท์ของผู้ใหญ่ที่ผู้ใหญ่ใช้กัน คุณจะเริ่มคุ้นหู พอคุ้นหูคุณคุยกับเขาง่าย ผู้ใหญ่ใจดีเกษียณแล้วก็มี เข้าก็ บริษัทอย่างนั้นอย่างนี้ โลกของคุณแคบไง
ตอนเย็นคุณเอาเวลาไปทำอะไร ออกกำลังกาย อาจารย์แซวนะ หนูออกกำลังกายมันก็ดี หนูอายุยืนอาจารย์ก็ดีใจด้วย แต่หนูอายุยืนแบบไม่มีเงินนะ ก็ไม่ต่างจากขอทาน เดี๋ยวหนูก็ป่วย ก็เลยชวนไปตีกอล์ฟ ยิงธนู เล่นกีฬาที่มันไฮโซขึ้น เลือกสิ่งที่ควรจะต้องฝึก เลือกคน เลือกคบ มาราธอนนี่ดีตั้งแต่พี่ตูนวิ่งมานี่ดีมากเลยถ้าคุณออกไปวิ่งมาราธอน แต่ถึงคุณเล่นกีฬาแต่ social skills คุณไม่มีคุณก็พัง สันดานเก็บตัวของคุณ “อันนั้นก็ไม่อยากคุยด้วย” “อันนั้นฉันก็ไม่ชอบ” คำว่าชอบไม่ชอบฆ่าคุณตายนะ คนที่เขามา purpose มีฝันแรงๆ ชอบไม่ชอบช่างหัวมันเถอะ เพื่อให้เป้าหมายสำเร็จ มันจะมีผู้หญิงบางคนที่สวยแต่ล้มเหลว สวยแต่เอาใจใครไม่เป็น รอให้ทุกคนมาเอาใจ พออายุ 30 ร่างกายผู้หญิงเริ่มเผละ เริ่มอ้วน 40 ก็เริ่มเละ หาผัวดีๆ ไม่ได้แล้วตัวเองไม่ฝึกวิชาเอาใจคน ยังไงก็โทรม ยังไงก็ลง สุดท้ายก็นั่งหน้าจอในคอกของเสมียน คอกสีเทา ตูดใหญ่ อาหารเต็มโต๊ะ อดีตเคยสวยติดภาพเชียร์ลีดเดอร์ของตัวเองเอาไว้สมัยก่อน
ตอนนี้คุณเละเทะคุณอ้วน และเพื่อนกลุ่มเดิมๆ ความมั่นใจหายเกลี้ยงเลย confidence หายหมดเลย ปากก็เสีย เอาใจใครก็ไม่เป็น โลกส่วนตัวเต็มไปหมด ที่เจ็บปวดคือเริ่มไม่เชื่อฟังใคร เสมียนหลายคน “เชื่อก็โง่สิ” คำพูดโง่ๆจะออกจากปากเสมียนเหล่านี้ “เชื่อคนง่ายก็โง่ดิ” ทำไมคุณไม่แยกแยะ บางคนควรเชื่อ บางคนไม่ควรเชื่อ หรือไม่จำเป็นต้องเชื่อ ลองทำดูก็ได้ ทำไมต้องเชื่อ ลองทำดูก่อนสิ บางคนก็บอก “ฉันเป็นตัวของฉันเอง” คุณยังกระจอกอยู่นะ คำพูดพวกนี้เก็บไว้ก่อนได้ไหม คุณไม่มีกระจกเงาและคุณไม่มียุทธศาสตร์ คุณคบคนผิดคบคนห่วย คนๆ นั้นคือตัวคุณเอง ใจคุณแคบ
เมื่อพูดถึงคำว่า purpose การที่คนเราจะทำ purpose ได้ จำเป็นต้องมี passion ด้วยไหม
ดร.วรภัทร์ : passion โดยตำรา คนแค่ 2 ใน 9 ที่มี passion อายุคุณยังนิดเดียวคุณรู้ได้ไงมันคือ passion มันแค่ความชอบธรรมดาแค่นั้นเอง มันยังไม่ถึง passion อย่างคนเจอ passion ส่วนใหญ่รู้ตัวเองที่หลังว่ามันคือ passion
เมื่อเราประสบความสำเร็จไปแล้ว
ดร.วรภัทร์ : ใช่ นี่คือ passion เราใช้คำว่า passion ผิด เราดันทะลึ่งไปบอกเด็กว่า “จงมี passion” คนที่ตามหา passion มักจะไม่เจอ คนขยันต่างหากจะเจอ passion คนขยันจะทำนู่นทำนี่ พอไม่ใช่ก็จะเปลี่ยน จนทำซ้ำๆๆๆ เรียกว่า way to expert ที่ผมพูดคืองานวิจัย คนตามหา passion ไม่เจอ passion คนที่ mindset วิธีคิดขยัน failure is learning ลองทำดูผิดช่างมัน อย่างที่ สตีฟ จอบส์ ทำ ทำบ้าๆ บอๆ ไปช่างมันเถอะ สักวันหนึ่ง dot คือตัวประสบการณ์ต่างๆ พอมาวาดเป็นภาพต่อเขาเรียก connect the dot พวกตามล่า passion ส่วนใหญ่ดูขี้เกียจ นั่งฝัน นั่งหา passion คืออะไร แล้วกินข้าวเหนียวหมูปิ้งเหมือนเดิม เย็นก็ไปกินหมูกระทะ เดินห้างและรอซื้อตลาดนัด สังคมคุณมันซ้ำซากแบบไม่พัฒนาและอย่ามาบ่นว่า salaryman
ผมเคยพูดแบบนี้ทีหนึ่ง มีคอมเมนต์ด่าผมเลย “ก็มึงมันเป็นด็อกเตอร์มึงเลยพูดได้” ตอนผมไม่ได้เป็นด็อกเตอร์ผมก็เหมือนคุณนั่นแหละ พ่อแม่ผมล้มละลาย บ้านผมจนขนาดเคยกินข้าวต้มเหยาะน้ำปลากับพี่สาวมาแล้ว ผมจนเหมือนคุณนั่นแหละแต่ผมขยัน ผมโดนด่า ผมล้มแล้วลุก ผมยอมให้คนด่า ผมรักแม่มากเพราะแม่ผมสอนไว้เลยว่า คนจนอย่างเราวิธีที่จะกลับไปรวยได้มันต้องคบคนเป็นก่อน ต้องเรียนจิตวิทยา แม่ผมจบป.4 แต่แม่ผมหาหนังสือจิตวิทยาอ่าน สมัยก่อนก็มีอาจารย์วิทยา วัชร เป็นหนังสือจิตวิทยาแม่ให้ผมอ่าน ผมไปห้องสมุดอ่านหนังสืออ่านของ เดล คาร์เนกี “วิธีชนะมิตร และจูงใจคน” เป็นหนังสือที่ต้องอ่าน 10 รอบให้ได้ วันๆพวกคุณเสมียนคุณอ่านอะไร คุณไม่อ่านคุณไม่ฟัง เขาเรียกว่า อีกะลา เสมียนในกะลา เพราะใจคุณมันแคบ ใครคิดต่างจากคุณคุณไม่ยอมรับ ไล่ไปไล่มาเกิดจากปมคุณทั้งนั้น พ่อแม่ชมพี่ชมน้องคุณมากเกินไป เวลาคุณทำอะไรสำเร็จพ่อแม่คุณไม่ค่อยชม คุณมาจากบ้านที่มีแต่คำว่าด่าๆๆๆ พ่อแม่ทั้งหลายฟังไว้นะครับถ้าอยากให้ลูกคุณล้มเหลว สอนให้ด่า ขอให้ฉฉิบหายทั้งบ้านนะครับสอนไปด่าไป คุณต้อง coach, Fa, mentor ประเทศไทยตอนนี้ตกต่ำขนาดหนัก และยังไม่เปลี่ยนวิธีคิด พ่อแม่ห่วยๆ สอนไปด่าไป อาจารย์ก็เหมือนกัน สอนไปด่าไป อาจารย์มหาวิทยาลัยสอนอย่างเดียวไม่เห็นหัวเลย
ยกสถานการณ์ในออฟฟิศและให้อาจารย์แก้ไข
กรณีแรก เรื่องเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน เจอเพื่อนร่วมงานที่เห็นแก่ตัวและอยู่เป็น
ดร.วรภัทร์ : ส่วนใหญ่คนเห็นแก่ตัวเกิดจากความกลัว มีความกลัวอะไร ต้องหาก่อน กลัวไม่เป็นที่ยอมรับ เขาก็เลยต้องสร้างผลงานด้วยการเลื่อยขาเรา กลั่นแกล้งเราเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ วิธีแก็ไม่ยาก ชม ฟัง ถาม สะท้อน นี่คือทักษะของ coach ชมเขา เขาทำอะไรก็แล้วแต่ อย่าด่า “พี่คิดได้ไง” “พี่สุดยอดเลย” “พี่ไม่ได้เห็นแก่ตัวหรอก” “ผมมองว่าพี่รู้จักทำงานมากกว่า” เขาไม่เรียกตอแหล เขาเรียกจิตวิทยา ปรับตัวเองใหม่ และเมื่อเจอคนร้ายๆ ไม่ว่าจะเห็นแก่ตัวหรือนิสัยยังไงก็แล้วแต่ เป็นบอสหรือเพื่อนร่วมงาน นำเทคนิคนี้ไปใช้ ชม ฟัง ถาม สะท้อน อย่าชมว่าเก่งหรือสวย
การชมว่าเก่งหรือสวยเป็นการชมแบบตัดสิน ranking ห้าม เขาเรียก fixed mindset ให้ชมที่เทคนิค ชมที่วิธีคิด เขาเห็นแก่ตัวใช่ไหม อาจารย์จะชมว่า “พี่เป็นคนที่มีความคิดพิเศษกว่าคนอื่น” “ลึกๆแล้วพี่ทำแบบนี้พี่ต้องการอะไร” “ผมชอบที่พี่ทำนะ” “ผมว่าพี่เป็นคนที่ระมัดระวังตน” ชมไปที่พฤติกรรม อย่าไปด่า “มึงแม่งเห็นแก่ตัว” ไม่ใช่ ต้องถาม ที่ทำนี่ต้องการอะไร มีเรื่องอะไรสวยงามเบื้องหลัง “อ๋อ พี่มองมุมนี้” ไปๆ มาๆ หลายคนที่มองว่าเห็นแก่ตัว บางทีเขากำลังปกป้องผลประโยชน์ขององค์กรอยู่ก็ได้ อย่าเอาความคิดโง่ๆ เอาไปตัดสินใครเร็วขนาดนั้น อย่าด่วนพิพากษาคน เข้าไปชมและฟังเขา “พี่คิดยังไง” และสะท้อน สะท้อนคือสรุปว่าที่ใครๆ ว่าพี่ว่าเห็นแก่ตัวสรุปแล้วผมว่ามันไม่ใข่นะ “สรุปแล้วมันเป็นแบบนี้ใช่ไหมครับ” “พี่รักษาผลประโยชน์ขององค์กรใช่ไหมครับ หรือพี่มีมุมมองของพี่ที่จำเป็นว่าเจ้านายหรือคนอื่นมองไม่เห็น พี่ก็เลยยืนกรานเรื่องนี้” “ผมว่าพี่โคตรรักองค์กรเลย” ฟังแล้วรู้สึกยังไงฮะ ทำแบบนี้กับทุกคนนะโดยเฉพาะเจ้านาย
สำหรับผมเจ้านายคือคนป่วย ผมเป็นลูกน้องนะ ผมมองเจ้านายเป็นคนป่วย ป่วยทางใจ ป่วยหลายๆอย่าง ผมจะเรียนวิชา coach, Fa, mentor เข้าไปบำบัดเจ้านาย เจ้านายหงุดหงิดมา ไปนั่งคุยด้วยกัน “เป็นยังไง” “เราจะเปลี่ยนความหงุดหงิดลบให้เป็นบวกได้ยังไง” เจ้านายเป็นคนชอบข้อมูลผมก็อ่านหนังสือล่วงหน้า “เจ้านายครับมีข้อมูลใหม่มานำเสนอ” เจ้านายชอบพุ่งฝาชนไปที่เป้าหมาย ผมก็จะหาว่าอุปสรรคของเจ้านายคืออะไร หาข้อมูลมาเติมให้ จะให้กำลังใจเจ้านาย “เจ้านายอดทนมากเลยกับเรื่องแบบนี้” คำพวกนี้ไว้เสริมพลังบวกเจ้านายเรา
คุณไม่ต้องฉลาดกว่า แต่คุณเหมือนเป็นลมใต้ปีกเขา wind be need his wings ประคับประคองให้เจ้านายมีความสุข ชมไปที่พฤติกรรม “นายอึดมากเลยครับ ถ้าผมนั่งตำแหน่งนายตอนนี้ผมระเบิดแตกไปแล้ว” “โห เจ้านายทำได้ยังไง ปะกี๊ไปประชุมนาย cool มากเลย” “นายใจเย็นมากเลย” “นายสอนเทคนิคผมหน่อยได้ไหม” คำพูดพวกนี้ เอาอยู่หมด เราไม่เป็น เราไม่ฝึกวิชา social skills เราไม่ฝึกวิชา coach ชม ฟัง ถาม สะท้อน “นายรู้สึกยังไง” “นายคิดว่าเราได้อะไรจากเรื่องนี้” “ผมชื่นชมนายมากเลย ช่วยบอกเทคนิคที่เป็นบอส พอผมโตขึ้นต้องมานั่งตำแหน่งนายผมจะทำยังไง” ไม่รักให้เตะเลย และเจ้านายทำอะไรก็แล้วแต่ อย่าด่วนด่า อย่าด่วนวิจารณ์ ให้เข้าไปถาม “นายครับ สิ่งที่นายทำมันประหลาดกว่าชาวบ้านเลย ผมว่านายต้องมีทีเด็ดซ่อนอยู่ ช่วยบอกหน่อยได้ไหม” ปากหมาๆ ที่เที่ยวไปบ่น “นายแม่งทุเรศ” “นายแม่งประสาท” “นายแม่งออกคำสั่งงี่เง่า” ไม่หลุดออกจากปากวรภัทร์ ตำแหน่งผมขึ้นเร็วมากไม่ถึง 39 ผมข้ามหลายๆคนขึ้นไปเป็นตำแหน่ง md บริษัทของที่มหาวิทยาลัยผมได้เลย
กรณีที่ 2 ถ้าเรายังรักงาน รักองค์กรอยู่ แต่เราไม่รักเจ้านาย จะทำอย่างไร
ดร.วรภัทร์ : ที่เราไม่รักเจ้านายเพราะเราไม่รักตัวเอง การรักคนอื่นมันต้องฝึก คุณกินเงินเดือนเขา เขาก็เหมือนพ่อแม่ที่ 2 ของคุณ อย่างที่ผมบอกเขาป่วย คุณชอบมองว่าเจ้านายเหมมือนพ่อแม่โหดๆ ของคุณ คุณชอบมองว่าเจ้านายเหมือนอาจารย์มหาวิทยาลัยตัดเกรด c คุณ คุณมองเจ้านายแบบนั้นทำไม ผมมองว่าเจ้านายเป็นคนใช้ผม เป็น servant ผมมองว่าเจ้านายคือลูกค้า ผมจะ empathize เจ้านายก่อน นายมี pain point อะไรบ้าง ผมจะใช้เทคนิค design thinking เจ้านายมีความเจ็บปวดอะไรในใจบ้าง ผมทำการบ้าน ผมศึกษา ผมหาทีมงานมาซัพพอร์ตเจ้านาย ในหัวผมไม่เคยเกลียดเจ้านาย เจ้านายก็คือทีมเดียวกัน เขาคือนาย ถูกไหม เขาคือทีมกัปตันฟุตบอลผม ผมเล่นตำแหน่งปีก กัปตันสั่งมาแบบนี้ก็ต้องฝึกความเร็ว ความไวขึ้น ฝึกโยนลูกไปหน้าประตูให้ได้ ตำแหน่งปีกก็ต้องเตะให้มันย้อยๆ ส่งๆ ชิ่งๆ
เราก็ต้องรู้ตำแหน่งเรา เจ้านายคิดอะไร ลูกน้องผมคนหนึ่งเก่งมาก ชื่อโฟ ตอนนี้ไปบวชเป็นเณรญี่ปุ่น มีคนไปสัมภาษณ์ว่าเป็นคนสนิทอาจารย์วรภัทร์ต้องวางตัวอย่างไร โฟเรียกว่าเป็นทส. ภาษาทหารเรียกทหารเพื่อนสนิท ไม่ใช่เลขานะ เป็นคนที่อยู่ใกล้ตัวอาจารย์ โฟบอกวิธีอยู่กับอาจารย์วรภัทร์ง่ายมาก เดาให้ได้ว่าอีก 1 นาทีข้างหน้า อีก 5 นาทีข้างหน้าอาจารย์จะทำอะไร เดาให้ออก เดี๋ยวแกต้องทำแบบนี้ ดักทางไว้ก่อน โฟนี่สุดยอด ตอนนี้ไม่ได้เป็น salaryman แล้วอัพไปเป็นตำแหน่งใหญ่ อีกหน่อยคงเป็นเจ้าอาวาสญี่ปุ่น เขาคือเด็กเกเรจากศาลเจ้านะครับ เข้าเรียนหนังสือห่วยมาก ชกต่อยกับเพื่อน เด็กแถวชลบุรีนึกภาพออกไหม เมืองมันใหม่มาก จิ๊กโก๋ มาเฟียเต็มไปหมด เข้ามหาวิทยาลัยไม่ดังมาก ต่อสู้จนเรียนจบมาเละเทะ มาเจออาจารย์ มานี่ถ่อย มาแบบห่ามๆ ผมก็ค่อยๆชมเขา ชม ฟัง ถาม หาจุดเด่น จนวันนี้ตำแหน่งก็าวขึ้นมาเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ไปบวชเป็นพระเป็นเณรแบบเซนที่ญี่ปุ่น นิสัยแทบจะเปลี่ยนไปเลย เพราะอาจารย์สอนเทคนิคพวกนี้ให้เขา
เราอยู่กับเจ้านาย ลูกค้าเราไม่ฝึกวิชา empathize เราไม่พยายามมอง pain point ของคนอื่น เราเห็นแก่ตัว บางครั้งบางคนชอบมาด่าเจ้านายให้ฟัง จำคำเจ็บๆไว้นะ คุณด่าเจ้านายคุณมากเท่าไหร่ ผมอ่านคุณออกมากขึ้นเท่านั้น คุณด่าใครว่าอย่างไรมันจะสะท้อน mindset คุณ คุณด่าเขามากคุณห่วยมาก แสดงว่าคุณเป็นคนที่มองโลกลบตลอด เวลาอยู่ลับหลังเจ้านายผมชมนะ อยู่ต่อหน้าผมจะเฉยๆผมยิงคำถามท่าน ลับหลังผมชม ชมไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่งจะเข้าหูท่านเอง แต่นี่ลับหลังคุณบอก “เจ้านายอย่างนู้น เจ้านายอย่างนี้” เวลากินข้าวกลางวัน คุณก็ต้องรู้คุณกินกับใคร ผมกินทั่วทุกแผนก ผมไปกับคนที่ทำให้ผมฉลาดขึ้น ผมจะคุยกับคนที่ทำให้ผมฉลาดขึ้น ไม่จำเป็นต้องตำแหน่งสูงกว่า ผมยังเล่นหมากรุกกับภารโรงเลย แม้แต่รปภ.บางคนเขาก็มีทีเด็ดดีๆ เยอะนะ แม่บ้านบางคนปลูกต้นไม้เก่งมาก น่าไปคุยกับพวกเขานะ ตั้งแต่ต่ำสุดถึงสูงสุดคุณ ชม ฟัง ถาม สะท้อน ทั้งบริษัทอยู่เลย
สมัยเรียนจุฬาฯผมก็ฝึกวิชาพวกนี้อ่านจิตวิทยา เพื่อนๆส่วนใหญ่จะเรียนวิทยาศาสตร์กัน วิธีคิดจะไม่เข้าใจจิตวิทยา ที่คณะวิทยาศาสตร์จุฬาฯมีล็อกเกอร์เก็บของ ผมเริ่มฝึกวิชาพวกนี้ช่วงปี 3 ปี 4 ผมจะมีขนมอยู่ในนั้น เอาไว้เป็นของแก็เขินไว้คุยกับยาม ไปคุยกับคณะอื่น คุยกับคนนู้นคนนี้ สุดท้ายเพื่อนร่วมรุ่นมองว่าผมขี้หลี ซึ่งผมก็ไม่สนใจ ใครสะท้อนอะไรผมว่าเขาเป็นคนแบบนั้น เขาว่าผมขี้หลีเขาก็ขี้หลี จริงๆแล้วไม่ใช่ ผมกำลังนั่งวางแผนฝึกเข้าหาผู้คน ฝึกตั้งแต่ปี 3 พอรู้ว่าเวลาจบไปมันต้องชำนาญแล้ว ต้องไม่เขินแล้ว เจอผู้คนต้องเป็นแล้ว ผมฟังเพลงฝรั่งมากขึ้นและก็พบว่าเพลงฝรั่งมันมีหลายเลเวล ถ้าฟัง country ฟัง folk จะได้เจอคนอีกระดับหนึ่ง สุดท้ายอัปเกรดขึ้นไปฟัง jazz ผมเริ่มไปคณะอักษรศาสตร์มากขึ้น
มีเพื่อนระดับดีเจมาสอนเรื่อง jazz พอปริญญาโทก็เริ่มไปเจอเพื่อนที่ตอนนี้เป็นปลัดกระทรวง เขาก็สอนเรื่องเพลง classic คบคนได้อีกระดับหนึ่งแล้ว มันขึ้นไปเรื่อยๆ เชื่อไหมเพื่อนผมตอนปี 3 ตอนผมเริ่มฟังเพลง jazz มันก็มาด่าผมอีก ”วรภัทร์ เธอไม่เป็นตัวของตัวเอง” ทำไมไม่ชอบอะไรและชอบให้มันสุดๆ ผมก็บอกว่า “อีโง่ เราแค่อายุ 20 เอง จะเป็นตัวของตัวเองได้ยังไง” มันยังไม่เจอโลกกว้างเลย ผมฟังเพลง jazz ฟังเพลง classic เพื่อที่จะได้แหวกช่องทางไปเจอผู้คนมากขึ้น อายุ 40 หาตัวเองเจอดีกว่าเจอตอน 20 แล้วเจอแบบผิดๆ เจอตัวเองอย่างผิดๆก็มี ก็คือหลงตัวเอง เจอแบบเป็นกบในกะลา เจอแบบมีปมด้อยก็มี หนีโลกทั้งใบมาจับงานศิลป์ ผมเจอมาหลายคนแล้วชอบงานอาร์ต ลึกๆแล้วมันมีปม ทำอะไรก็โดนด่าๆ พออยู่ในโลกศิลป์พ่อแม่ตามมาไม่ได้เพราะพ่อแม่เป็นหมอเป็นวิศวะ พอมาเล่นงานศิลป์พ่อแม่แตะไม่ได้ มันข่มพ่อแม่กลับได้ สุดท้ายก็เลยนึกว่างานศิลป์เป็น passion ตัวเอง และสุดท้ายงานศิลป์ก็ไปไม่สุดของมัน คุณจะเก่งงานศิลป์ได้คุณต้องเห็น pain point ของคนดู คุณจะทำงานอาร์ตคุณยังไม่รู้เลยคนดูคืออะไร
ต้องตอบโจทย์เขาได้
ดร.วรภัทร์ : ใช่ คุณอาร์ตแบบนั้นไม่ใช่อาร์ตติสท์ เขาเรียกออทิสติก อาร์ตแบบโง่ๆ อาร์ตแบบเห็นแก่ตัว ไม่ใช่นะ ยกเว้นจะมีคนมา curate พอคุณตายก็เอาผลงานคุณไปรวย เอาไปปั่นกระแสได้ โลกคุณแคบเกินไป เพื่อนผม ป่าน เป็นอาร์ตติสท์สุดๆ เลย วาดภาพมา 2 แสนภาพแล้ว ภาพของป่านสร้างคุณค่าอะไรให้กับสังคมบ้าง ผมชอบ ชอบแล้วอย่างไร purpose ของป่านยังเป็นมาสโรลขั้นต่ำๆอยู่เลย ผมถามว่า “ป่านชอบศิลปะ หรือ ป่านหนีอะไรมา” coach เขาจะมีคำถามเจ็บๆ แบบนี้เพื่อให้เห็นตัวเองว่ากำลังหนีบางเรื่องมาหรือเปล่า ทำไมป่านไม่เอาศิลปะที่ฝึกมาวาดภาพมา 3 แสนภาพ เอามาเป็นประโยชน์ให้ผู้คน เช่น ไปสอนเด็กในสลัม แปลงเป็นคำสอนธรรมะ แปลงจากภาพวาดเป็นอาร์ตที่กลายเป็น youtuber ทำไมไม่แปลงสู่โฆษณา ทำไมไม่ไปทำหนังสารคดี ความเป็นอาร์ตของป่านมันแค่นักวาดภาพนะ เขาไม่เรียกอาร์ตติสท์ เขาเรียกนักวาดภาพ
คุณไม่ใช่ศิลปินคุณคือนักวาดภาพ ยิ่งคุณวาดเหมือนเท่าไหร่มันไม่จำเป็น กล้องถ่ายรูปก็มี แต่ปิกัสโซ่ แวนโก๊ะ เขาดึงใจสู่ใจของคนดูได้พวก เรอเน เดการ์ต เวลาคนเห็นแล้วใจมันเชื่อม ภาพของป่านมันแค่อาร์ตส่วนตัว แฮปปี้ส่วนตัว เมื่อถามว่าหนีอะไรมา สุดท้ายก็อย่างที่บอกพ่อแม่ไปชื่นชมพี่น้องมากกว่า ทำอะไรก็ผิด พอมาทำอาร์ต พ่อเป็นสายวิศวะเลยหนีพ่อได้ คนที่เป็น coach เป็น Fa เขาต้องอ่านให้ขาดและชี้ให้เห็น ตอนนี้ป่านประสบความสำเร็จกลายเป็น Art therapy บำบัดจิตใจผู้คน ไม่ใช่นักวาดภาพอีกแล้ว 3 แสนภาพไม่มีประโยชน์ connect the dot ได้แล้ว และปีหน้าจะไปอยู่เท็กซัสไปเรียนต่อ ทำประโยชน์เพื่อสังคม และอยากเป็นอย่างอาจารย์ อยากเป็น curator ยิ่งเรียนอาร์ตมาก่อน ทำคนให้เป็นคนที่ดีขึ้นดีกว่าโดยใส่อาร์ตลงไป และกลับมาพ่อจะได้ภูมิใจด้วย สุดท้ายพ่อก็เป็นวิศวะธรรมดา salaryman ดีไม่ดีป่านดังกว่าเยอะ อย่าดูถูกอาชีพกัน
กรณีที่ 3 คนในทีมไม่มีความรับผิดชอบ
ดร.วรภัทร์ : มีหลายวิธี ถ้ามันไม่จำเป็นจริงๆ ผมก็ลาออก เสียเวลา ไปที่อื่นก็เจอเหมือนกัน ย้ายไป 20 บริษัทเหมือนกันหมด ถ้างั้นการลาออกก็ไม่ใช่ มันควรจะเป็นอะไร ก็ชม ฟัง ถาม สะท้อน คนบางคนเคยเก่งแต่ฟอร์มตก พอฟอร์มตกก็ไม่อยากทำอะไร เราก็ไม่มองว่าเขากระจอก จริงๆไม่ใช่นะ คำชม การคิดบวกนี่สำคัญมาก ต่อมาผมใช้เทคนิค facilitator อะไรก็ตามที่เขาทำแล้วดี พอทำได้ดีผมรีบเสริม “excellent” “เจ๋งอะพี่” และกลับมาโค้ช “พี่คิดยังไงกับมัน” ยิงคำถามไปเรื่อยๆ “ผมเห็นจุดดีในตัวพี่มากมาย” “ผมเห็นตรงกันไหม” “เรามานั่งคุยกันผมเห็นจุดดีพี่ออกมา” ผมสร้างทีมแปปเดียว มันอยู่ในวิชา team builder ใช้เทคนิคของ coach, Fa, mentor ผมเล่านิทานบ่อยๆ ผมพูด purpose บ่อยๆ เหมือนจีบผู้หญิง ถ้าคุณจีบผู้หญิงด้วยการ “ฉันหล่อ ฉันรวย” อันนี้เลเวลต่ำ มันจะไปหย่ากัน การจีบผู้หญิงที่ดีที่สุดเลยคือบอก purpose ของชีวิตให้ฟังว่า ผมเกิดมาเพื่ออะไร ผมทำประโยชน์อะไร และจะมีผู้หญิงที่ purpose ตรงกับเรา และมาอยู่กับเรา ที่นี้แต่งงานกันมัน successable กว่า หลักการเดียวกันกับการเข้าทีม
จนกระทั่งเขาเห็น purpose อันยิ่งใหญ่ของเขา เห็นโลกใบนี้ยิ่งใหญ่สำหรับเขา ทีมมันถึงจะเกิด เราในฐานะหัวหน้าที่มมันต้องพูดบ่อยๆ พูดเยอะมาก ชมทั้งวัน เราเรื่อง purpose ทั้งวัน ตามบริหารเรียก purpose base management และผมก็เปลี่ยนเป็นสังคมที่คุยกันมากขึ้น เรียกลูกทีมมาคุยกันบ่อยๆ สมมติโดนเพื่อนด่าว่าเห็นแก่ตัว ไม่เข้าทีม และอีกสองคนที่นั่งอยู่แถวๆ รอบๆ อาจารย์ชอบนินทาเธอ อาจารย์ไม่เล่นเกม ไม่ร่วมวงนินทาด้วยเด็ดขาด อาจารย์บอก “เรามามองข้อดีของเขากันดีกว่า” ถ้าลับหลังยังคิดถึงข้อดีของเขา ลับหลังพวกคุณผมพูดถงข้อดีของคุณแน่นอน เรียกว่า positive psychology มันเป็นทักษะใหม่ๆ ใครที่เป็นผู้บริหาร เป็นระดับเจ้านาย ฟังผมเยอะๆ มันจะมีเทคนิคพวกนี้ ไปหาเรียน positive psychology, coach, Fa, mentor เดี๋ยวมันจะสร้างทีมได้ ในหัวผมไม่เคยมองว่าใครเลว ใครไม่รับผิดชอบ ผมมองว่าผมยังปั้นเขาไม่ดีพอ สมมติมีแต่คนด่าว่าไม่มีความรับผิดชอบ อาจารย์จะเข้าไปนั่งฟังด้วย มีอะไรเกิดขึ้น นั่งคุย ถ้าเป็นไปได้อาจารย์ไปดูถึงพ่อแม่ที่บ้านเลยนะ มันจะเห็นชัดเลยว่าโดนพ่อแม่รังแกมา ผ่านโรงเรียนที่มันโหดร้ายมา เลือกคณะผิด กลุ่มเพื่อนเป็นกลุ่มบูลลี่ ด่าแซวกันอย่างเดียว
บางรายผมแก็ทำให้ย้ายบ้าน ออกมาจากสังคมตรงนั้น ออกมาสุมหัวอย่างที่ผมบอก 4 คน คนจีนเขาทำกันเยอะนะ ยังหนุ่มยังสาวนะ เอาเวลาว่างๆ มาเป็นประโยชน์ไปทำอย่างอื่นเยอะแยะดีกว่าเสียเวลา 2 ชั่วโมงเช้าเย็น แถมที่บ้านปากเสียทั้งนั้น เรารักพ่อแม่ตอนที่เจอวันเสาร์อาทิตย์ดีกว่า เราอยู่กับพ่อแม่ 7 วัน เขาด่าเรา 7 วัน เสียความรู้สึกเปล่าๆ จนกระทั่งเราเข้มแข็งแล้ว จนเราเป็น coach, Fa, mentor เข้มแข็งแล้ว กลับไปเปลี่ยนแปลงพ่อแม่ให้พ่อแม่ปากหวานขึ้น คนรอบตัวเราก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ สังคมเปลี่ยน พลังเพิ่ม ทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน ชมเป็นหรือยัง ฟังเป็นหรือยัง ถามเป็นหรือยัง สรุป สะท้อนเรื่องที่คนอื่นพูดเป็นหรือยัง social skills เป็นหรือยัง กินข้าวปากยังจั๊บๆๆๆๆ อยู่เลย หยิบตะเกียบปัก ช้อนกลางไม่มี เริ่มจากตัวเราก่อน แต่งตัว เสื้อผ้า คำพูดติดลบหรือเปล่า ผู้ใหญ่อยู่ในกลุ่มไลน์ด้วยคุณก็ปากเสียอยู่เรื่อย “โพสอะไรวะ” คุณมีแต่คอมเมนต์ไม่ทำให้คนอื่นมีความสุข ผมว่าต้องปรับตรงนี้ก่อน เห็นตัวเองก่อน
พูดถึงบรรยากาศในออฟฟิศ
ชออฟฟิศที่ไม่มี toxic เลยจะส่งผลให้ทำงานดีได้อย่างไรบ้าง
ดร.วรภัทร์ : พูดยากนะ สมัยใหม่เขาถึงออกไปทำงานร้านกาแฟ บริษัทสมัยใหม่เดี๋ยวนี้ไม่มีออฟฟิศกันแล้ว ทำไมต้องสุมหัวด้วยกันอยู่และจ่ายค่าเช่าแพงๆ บริษัทอาจารย์ไม่มีออฟฟิศ คุยในไลน์ ถ้าจะเจอกันก็พบลูกค้าเลี้ยงข้าว หรืออย่างบ่ายนี้เจอกันที่สนามไดร์ฟกอล์ฟ ใครอยากเจอนัดคิวมาเลย 3 – 4 ราย ตอนที่อาจารย์นั่งพักเหนื่อยก็คุย ชวนตีกอล์ฟไปด้วย สมัยนี้มันสิ่งแวดล้อมไม่สำคัญเท่าจิตใจ purpose คุณแรง คนที่มีเป้าหมายชีวิตเพื่อคนอื่นเหมือนกันถึงมาอยู่กับอาจารย์ได้ คนที่ยังทำเพื่อตัวเองมากๆ เอาไว้ที่หลัง คนที่อยากทำเพื่อสังคม คนที่อยากจะลดปัญหาโลกร้อน มาเจออาจารย์ได้เลย คนที่อยากให้การศึกษาดีขึ้น คนที่อยากให้ศีลธรรมเพิ่มเรามาคุยกัน คนที่รักผู้อื่น มาเจอกัน เชื่อไหมมันแทบไม่มีออฟฟิศเลย และผมเป็น CEO เหมือนกันนะ ออฟฟิศยังไม่มี ที่เจ็บปวดเลยคือถามคำถามว่า มีการประชุมไหม บริษัทสมัยใหม่อย่างอาจารย์ไม่มีการประชุม ประชุมไปทำไม ผมอยากจะเจอใครก็เดินไปหาเขา ไลน์ไป โทรไป ถ้าจะเจอกันเรียก town hall เจอกันทีไรต้องมีความสุข การเจอกันทุกครั้งต้องได้พลังจากไป ของไทยไม่ใช่ CEO ไทยยังเฟอะฟะกันอยู่เลย ประชุมที่ไรก็ด่าคนนี้ด่าคนนั้น พอเดินจากไปพลังไม่พอ CEO ทั้งหลายกรุณาอ่านหนังสือ Mindfulness in action ชื่อไทย ฝึกใจง่ายๆ เก่งได้อีก
ทำไมองค์กรใหญ่ๆถึงต้องใช้ตัวนี้ในการบริหารคนหรือองค์กรอย่างจริงจัง
ดร.วรภัทร์ : สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน 2,600 ปีไม่มีใครเถียงได้ นักจิตวิทยา นักเขียนตำราบริหาร ส่วนใหญ่ก็เอามาจากพระไตรปิฎก เราเป็นประเภทใกล้เกลือกินด่าง ต้องให้ฝรั่งไปแปลเป็นภาษาอังกฤษก่อนค่อยเชื่อถือ สันดานผู้บริหารไทยมันเคารพต่างชาติไม่เคารพตัวเอง ประเทศไทยถึงล่มจมอยู่ทุกวันนี้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ เลยก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษใช้คำว่า mindfulness ถ้าพูดคำว่าสติมันก็เป็นพุทธ เมื่อเป็น mindfulness ฝรั่งที่เขาเป็นคริสต์ ที่เป็นยิว มุสลิม หรือว่า ฮินดู เขาก็เก็ตเลย เพราะไม่มีศาสนา อย่าง Google, Yahoo! หรือบริษัท Silicon valley เขาฝึก mindfulness เยอะมาก แถวเซินเจิ้นคนจีนเขาก็ฝึก เขาเป็นคอมมิวนิสต์ เขาไม่มีศานาแต่เขามี mindfulness ของไทยเมื่อเราได้ยินคำว่าสติ มันเหมือนปมด้อยในใจคนไทย เป็นปมที่พ่อแม่ชวนให้เกลียดศาสนา หรือไม่ก็คนในศาสนาทำเรื่องพุทธกลายเป็นเรื่องที่คนชั่วห้ามเข้า แล้วคนชั่วจะกลับตัวได้อย่างไร เป็นสังคมติดดี “ฉันเป็นพุทธ คนอื่นผิดหมด” แล้วก็สอนด่าๆๆ คนที่สอนธรรมะปรับตัวเองให้เป็น coach, Fa, mentor มากขึ้น
Mindfulness สำคัญอย่างไร เพราะ mindfulness คล้ายกับมิเตอร์จิตใจเรา ใจเราถ้าชั่วร้าย ไม่สงบ คุณภาพความคิดจะต่ำ คุณภาพความคิดสำคัญไหม ตรงนี้ต่างหากที่ขาดในองค์กรไทย เพราะไม่รู้ว่าสภาวะจิตใจเป็นอย่างไร ดูจิตไม่เป็น ใช้สติเป็นตัวดูไม่ใช่ความคิด ระบบการศึกษาไทยมันห่วยแตก มันไม่ได้ใส่เรื่องสติเข้าไป กระทรวงศึกษาหลงทางมาตลอด อาจารย์มหาวิทยาลัยเห็นแก่ตัว ผลก็คือเราไม่ฝึก mindfulness กันเลย พอนั่งเป็นผู้บริหารเขาเรียก EQ ต่ำ พอ EQ ต่ำสติไม่มาปัญญาไม่เกิด IQ ก็ต่ำ คนที่ EQ ต่ำจะเกิดความขี้ขลาดขี้กลัว คนขี้ขลาดขี้กลัวตามตำราแล้วมักคอรัปชั่น คนโกงบ้านโกงเมืองคือคนขี้ขลาดนะ มันชิงโกงไว้ก่อน เพราะกลัวจะจนเหมือนที่เคยจน หรืออาจจะรวยแล้วกลัวว่าจะไม่รวยเพื่อไปลบคำสบประมาทของเพื่อน
การแซวหรือบูลลี่กันมันทำลายประเทศไทยตลอดสังคมไม่ออกมาตรงนี้เลย ภาพยนตร์ ละครมีแต่บูลลี่ มีแต่แซว น้ำเน่าตลอด เรายังไม่เป็นสังคมที่ออกมาช่วยกันสอน อย่างคนจีนรู้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยการตามใจเป็นปัญหาเยอะมาก เขาเลยปล่อยหนังชื่อ นาจา เป็นการ์ตูนอนิเมชั่น 800 กว่าล้านหยวน ทำลายสถิติ เขาเห็นว่าคนเราต้องมีควากตัญญูซื่อสัตย์เขาก็จะปล่อย หนังอีกเรื่อง กวนอู คนจีน คนเกาหลีนี่เจ๋งมาก ทุกอาชีพเขาทำให้ดูดีหมด แม้แต่คนกวาดถนนในเกาหลีซีรีส์ยังทำดูดีมาก รปภ.เหมือนกัน สุดยอดเลย เขามีความภูมิใจในรปภ. ไทยเราทำไมไม่มีเรื่องพวกนี้ ตบตีๆ แย่งผัว สื่อมวลชนขาดคุณภาพ ขาดความหวังดี มาสโรลต่ำมาก รางวัลก็แจกกันเอง ทำไมไม่ให้คนนอกมาร่วมดูและร่วมวิจารณ์ว่าปีนี้ไม่มีใครได้รางวัล คุณให้กันเอง คุณไม่ได้ให้อะไรที่มันผลักดันสังคมขึ้นมา น่าเป็นห่วง ชื่นชมกันเอง
เหมือนคุณมีปมแล้วคุณหนีอะไรมา ไม่มีความรัก ไม่มี compassion ต่อสังคม คุณไม่ได้รักผู้คน รายการดีๆก็มีเยอะอย่าง สามเณรทรูปลูกปัญญา คว้ารางวัลที่เมืองคานส์มา 7 – 8 ปีแล้ว แต่มันไม่ดัง จีนกับเกาหลีบังคับสื่อเลย เพราะสื่อมวลชนคือครูคนใหม่ของประเทศ สื่อมวลชนคือครูพาประเทศไปชั่วก็ได้ พาประเทศไปดีก็ได้ กฎหมายเขาต้องล็อค แม้แต่เนื้อหาที่แบนเพื่อไม่ให้ขัดกับ culture องค์กร คนจีนต้องการให้เราอย่าโกง เลี้ยงลูกอย่าเอาใจมาก อย่าง นาจา ให้เห็นเลยว่า พ่อแม่รักนะ หัดเข้าใจพ่อแม่บ้าง เพราะเด็กจีนรุ่นใหม่เริ่มเกเร คนจีนด้วยกันก็ช่วย หรือปัญหาตอนนี้เจน baby boom ไม่เข้าใจเจน Y จีนปล่อยหนังซีรีส์ออกมาดีมาก เป็นหนังที่เรียกว่าสอนคนแก่ทั้งประเทศ หัดเข้าใจเด็ก หนังเรื่องนี้ใช้อาม่ามาแต่ละบ้านก็เริ่มเกลียดเจน Y ลูกหลานไม่เอา ลูกหลานทิ้ง
อาม่าเลยมารวมตัวกันและมีคนอย่างอาจารย์ facilitator เข้าไปนั่งคุยกัน สุดท้ายว่าเด็กไม่ผิด เราต่างหากที่ไม่ปรับตัว หนังมันจบแบบ เฮ้ย เราเป็นคนแก่ คนต้องเป็นคนแก่ใจดี ไม่ใช่มาคนแก่ปากหมา คนแก่ที่เอาแต่สอน เด็กมัน 30 แล้ว เดี๋ยวนี้เขาเลิกสอนกันแล้ว เขาฉลาดกว่าเราแล้ว คนแก่อย่างพวกเราก็หัดฟัง เราเป็นตัวให้กำลังใจเขา เป็นตัวที่หา connection ให้เขา เราดูแลอาหารเขาแล้ว เราดูแลรีดผ้าซักผ้า เราเลี้ยงหลานให้เขา แทนที่คนแก่อย่างเราน่าจะทำได้ดี แต่รากลับซ่า เห็นแก่ตัว เราเป็นคนแก่ที่เห็นแก่ตัว ตอนเป็นหนุ่มเราก็ด่าคนแก่กว่าว่าโง่ พอเราแก่กว่าเราก็ด่าเด็กว่าโง่อีก สุดท้ายไอ้โง่ตัวจริงคือเรา เห็นแก่ตัวอะ
คำว่าสติ พอเราพูดถึงเรารู้สึกว่ามันยากเกินไปสำหรับองค์กรไทยหรือเปล่า
ดร.วรภัทร์ : มันอยู่ที่คนสอน คนสอนทำให้ยากหรือไม่ยาก หนังสือเล่มนี้ถึงออกมา Mindfulness in action ฝึกใจง่ายๆ เก่งได้อีกในเว็บ amarinbooks.com
ฝากถึงมนุษย์ออฟฟิศ
ดร.วรภัทร์ : คบบัณฑิต ห่างไกลคนพาล ขอแค่นี้ หัดเลือกคบคนให้เป็นก่อน แล้วก็ปรับตัวนิดนึง คุณปรับตัวตอนแก่ลำบากนะ คุณว่าตอนเกษียณอายุ 60 คุณต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะอยู่ได้ ประเทศไทยมันห่วยมากนะสวัสดิการไม่มีให้คนแก่นะครับ อย่าไปดูอย่างฝรั่ง ฝรั่งเขาทำองค์กรเขามีความสุขได้ ตอนแก่เขามีเงินบำเหน็จบำนาญเหลือเฟือ เจ็บป่วยในเยอรมนีฟรีหมด ฝรั่งเศสดูแลอย่างดี แต่ที่นี่คุณต้องดูแลตัวเอง ยังหนุ่มยังแน่นเอาเวลาไปทำอะไร คบเพื่อน ฝึกฝนตัวเอง และคำว่าคบบัณฑิตหมายความว่า อย่าคบคนที่ทำร้ายความรู้สึกคุณ อย่าคบคนที่ชอบพูดว่า “ทำไม่ได้” “ทำไม่ได้จริงเหรอ” “ฉันไม่เชื่อมันทำไม่ได้” พวกที่พูดคำว่าไม่ได้ๆ พวกนี้ คุณเก็บมันไว้ไกลๆเถอะ คุณคบคนที่เขาพูดคำว่า “ได้” “มันต้องได้” คบคนที่มีน้ำใจ คบคนที่มี purpose สูงๆ เพื่อชาติบ้านเมือง จิตอาสา สรุป คบคนที่สูงส่ง ปณิธานสูงส่งเพื่อคนอื่น ห่างไกลปากที่ทำลายพลังงานของเรา ปากเสียทั้งหลาย ในนั้นอาจจะเป็นพ่อแม่คุณเอง หรือ เพื่อนรอบข้าง เจอให้น้อยลง และ ชม ฟัง ถาม สะท้อน คุณต้องมี mindfulness สูง ไม่พอก็ฟังใครไม่ได้ ชมใครไม่ได้
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก