หลายคน ยึดติดความสมบูรณ์แบบ (perfectionism) มากเกินไป จนทำให้อะไรหลายอย่างช้าลงมาก ไม่ไขว่คว้าหาโอกาส คิดแต่ว่าสิ่งนี้ยังไม่เพอร์เฟกต์เลย ฉันต้องทำได้มากกว่านี้ จนสุดท้ายก็เสียเปล่า
มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้เป็นคน ยึดติดความสมบูรณ์แบบ มีอะไรบ้าง และมีข้อเสียที่ส่งผลต่อชีวิตอย่างไร
ความไม่มั่นคง
คนที่มั่นคงมักมีนิสัยรักความสมบูรณ์แบบน้อยกว่า เพราะพวกเขาคิดบวก นั่นหมายความว่า พวกเขายอมรับสิ่งดีๆ ในตัวเองก่อนจะนึกถึงข้อเสีย ยกตัวยอย่างคร่าวๆ ในการยิงปืน พวกเขาอาจมองคะแนนความแม่นยำ 5 เต็ม 10 ว่าเป็นการยิงปืนเข้าเป้า 5 ครั้ง แทนที่จะมองว่าพลาดเป้า 5 ครั้ง คนที่ยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบจะไม่สนใจจุดบกพร่องของตนมากเท่ากับคนที่ยึดติดความสมบูรณ์แบบ
ปมด้อย
คนที่มีปอมด้อยจะแสดงพฤติกรรมหนึ่งในสองอย่างนี้ออกมา พฤติกรรมแรกคือ พวกเขาจะพยายามทำให้คนอื่นรับรู้ว่าตนเองเหนือกว่า อย่างที่สอง พวกเขาจะนิ่งเฉย ยิ่งคุณนึกถึงตัวเองน้อยลงเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งหาทางชดเชยมากขึ้นเท่านั้น
ความไม่พึงพอใจกับชีวิต
ยิ่งคุณไม่พอใจกับชีวิต คุณก็ยิ่งเสี่ยงว่าจะมีแนวโน้มยึดติดความสมบูรณ์แบบมากขึ้น เมื่อคาดหวังให้อะไรก็ตามดีขึ้น การเสแสร้งหรือยืนกรานว่าสิ่งนั้นดีอยู่แล้วเป็นเรื่องที่เย้ายวนใจนัก คนที่ไม่พึงพอใจมีแนวโน้มจะหลอกตัวเองว่ามีความสุขดี
ทำให้ชีวิตน่าเบื่อ
การยึดติดความสมบูรณ์แบบทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจที่แสนเลวร้าย เพราะมันทำให้ชีวิตที่ไม่สมบูรณ์แบบน่าเบื่อ น่ากลัว และเหมือนสิ่งกีดขวางที่ก้าวข้ามไปไม่ได้ ซึ่งบั่นทอนความสามารถของคนเราในการพัฒนาไปข้างหน้าและรื่นรมย์กับชีวิต มีเพียงคนที่ยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบเท่านั้นที่ทนต่อความไม่สมบูรณ์แบบซึ่งเป็นธรรมชาติของโลกใบนี้ได้
น่าดีใจตรงที่ว่า การยึดติดความสมบูรณ์แบบไม่ใช่นิสัยที่จะติดไปถาวร เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ เพียงแต่ต้องใช้กลยุทธ์ที่ถูกต้องเท่านั้นเอง
ส่งผลต่อการทำงานอย่างร้ายกาจ
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ให้นักศึกษาหญิงจำนวน 51 คน ได้รับการทดสอบให้วัดระดับการยึดติดความสมบูรณ์แบบของตัวเองโดยใช้มาตราวัดของฟรอสต์ หลังจากนั้นพวกเธอต้องทำภารกิจเขียนข้อความใหม่ จากข้อความเดิมให้กระชับขึ้นเท่าที่จะทำได้โดยยังคงความหมายเดิมอยู่ ต่อจากนั้นให้อาจารย์ทั้ง 2 ท่านตรวจข้อสอบ คนที่ได้คะแนนการยึดติดความสมบูรณ์แบบสูงเขียนข้อความที่ “มีคุณภาพด้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับคะแนนการยึดติดความสมบูรณ์แบบต่ำ”
เป็นเพราะว่ากลุ่มนักศึกษาที่ยึดติดความสมบูรณ์แบบน้อยกว่ามักฝึกฝนทักษะการเขียนบ่อยกว่า ด้วยเหตุนี้เอง ทักษะการเขียนของพวกเธอก็เลยดีขึ้น คำอธิบายอีกหนึ่งประการคือ การยึดติดความสมบูรณ์แบบเปิดประสาทการรับรู้ของเราให้ทำสิ่งต่างๆ เกินตัว จนถึงจุดที่ไปแทรกแซงการทำงานของจิตใต้สำนึก ซึ่งนับว่าเป็นผลเสียต่อการทำงานเชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ขับเคลื่อนด้วยจิตใต้สำนึก
ทำให้ตัวเองเสียเปรียบ เป็นตัวถ่วง
เคยเจอคนที่แพ้แล้วมาพร้อมกับข้อแก้ตัวในทันทีว่าแพ้เพราะอะไรไหม
สิ่งนี้เรียกว่า “การทำให้ตัวเองเสียเปรียบ” หมายถึง พฤติกรรมที่คนเราจงใจทำให้ตัวเองเสียเปรียบ ทั้งในด้านที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนและในด้านจิตใจ โดยจะมาพร้อมคำแก้ตัวหากทำอะไรไม่สำเร็จ เช่น พวกเขาอาจให้คนอื่นนำหน้าไปก่อนในการวิ่งแข่ง เพราะถ้าคุณให้คนอื่นนำหน้าไปก่อนแล้วชนะ คุณก็สามารถพูดได้ว่าเป็นเพราะคนพวกนั้นออกตัวนำไปก่อน ในกรณีที่ไม่แสดงออกมา คุณอาจจะออกวิ่งที่จุดเดียวกัน แต่ในหัวกลับคิดไปว่า “ฉันปวดเข่าและก็เหนื่อยมาก” แทนที่จะเป็น “ฉันต้องชนะการวิ่งแข่งครั้งนี้ให้ได้”
ข้อมูลจากหนังสือ สำเร็จได้ไม่ต้องรอให้สมบูรณ์แบบ
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ
เคล็ดลับความสำเร็จในการทำงานแบบประธานบริษัท
วิธีแก้ปัญหาในการทำงาน จากโนโบรุ โคยามา CEO ชื่อดังในประเทศญี่ปุ่น
ความคิดที่ขวางทางก้าวหน้า ทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จ