จุดเปลี่ยนของการทำธุรกิจยุค 4.0 ที่ทุกคนต้องปรับตัวให้ทัน

การทำธุรกิจยุค 4.0 เป็นสิ่งที่ผู้บริหาร นักลงทุน เจ้าของกิจการ ฯลฯ ต้องปรับตัวให้ทัน เพราะหากปรับตัวไม่ทันแล้ว ผลกำไรที่คาดหวังอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือบางครั้งอาจจะถูกแบรนด์อื่นๆ แซงหน้า

มาดูกันว่า “จุดเปลี่ยน” ที่เราต้องปรับตัวให้ทันใน การทำธุรกิจ ยุค 4.0 นี้มีอะไรบ้าง

 

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

               ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะในมิติของศาสตร์ด้านข้อมูล เทคโนโลยีช่วยเปลี่ยนสิ่งที่วัดไม่ได้ให้สามารถวัดได้ในรูปแบบของข้อมูล และข้อมูลก็เป็นหัวใจสำคัญของการสะท้อนความสำเร็จและผลกระทบต่อองค์กร ระบบเซ็นเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า “เครือข่ายการรับรู้ข้อมูล” (Internet of Things) อย่างโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่เปรียบเสมือนเซ็นเซอร์ส่วนบุคคล คอยช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่ในครั้งหนึ่งเราไม่สามารถตรวจวัดได้แบบทันที ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ธุรกรรมทางการเงินในแต่ละวัน ประวัติการสั่งซื้อสินค้า หรือแม้กระทั่งการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ วัดระยะทางการเดินในแต่ละวัน และยังมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถเข้าถึงได้อย่างแอปพลิเคชั่นที่ช่วยในการแยกขยะ ที่สามารถบอกได้ว่าวันหนึ่งเราทิ้งขยะประเภทใดไปบ้าง และทิ้งไปเท่าไร หรือแอปพลิเคชั่นวัดค่าฝุ่นละอองในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น

              ศักยภาพในโลกยุคดิจิทัลยังช่วยทำให้ธุรกิจปะติดปะต่อภาพได้ว่า ข้อมูลที่ตนเองมีนั้นจะสามารถนำไปวิเคราะห์และเชื่อมโยงไปถึงบทสรุปอื่นๆ เช่น การมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-being) หรือการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้อย่างไร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการใส่ Smart Watch ตอนออกกำลังกาย เพื่อประมวลรายละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ความเข้าใจต่อผลกระทบ ความเป็นไปที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศต่างๆ ในเชิงข้อมูล ช่วยให้ธุรกิจสามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวัดอัตราการใช้น้ำ การวัดคุณภาพอากาศ เป็นต้น

 

การขยายตัวของระบบนิเวศการสะสมคะแนน

                 องค์กรชั้นนำจำนวนมากใช้ระบบสะสมคะแนน โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ กลับมาใช้บริการอีกครั้งเพื่อการสะสมคะแนน คะแนนที่เกิดในระบบนิเวศนี้มีค่าเทียบเคียงกับเงินที่ได้รับการยอมรับระหว่างองค์กรที่เป็นผู้ออกคะแนน และลูกค้าที่เป็นผู้นับคะแนน เบื้องต้น การได้รับคะแนนจะถูกผูกติดกับพฤติกรรมการซื้อเป็นหลัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีคะแนนสะสมหมุนในระบบมากขึ้น องค์กรธุรกิจจึงเริ่มมองเห็นโอกาสในการใช้คะแนนเหล่านั้นเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามแนวทางที่องค์กรต้องการ เช่น การเช็กอิน การกดแชร์ กดติดตาม เป็นต้น

                  แนวคิดนี้ทำให้ระบบนิเวศการสะสมคะแนนขยายตัว จากแค่พฤติกรรมการซื้อ มาสู่พฤติกรรมการดำรงชีวิต และยังเป็นกลไกสำคัญในการจูงใจผู้บริโภคที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การนำระบบคะแนนมาเป็นแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจกับภาครัฐด้วยเช่นกัน การนำระบบคะแนนมาเป็นแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจเพื่อลดช่องว่างระหว่างผลกำไร ผู้คน และสิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจแบบสามวัฏจักรพื้นฐานเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

แรงกดดันจากภายนอก

                   แรงกดดันจากภายนอก ต่อการสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างจริงจังและรูปธรรม เมื่อความเหลื่อมล้ำเพิ่มสูงขึ้น สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเริ่มส่งสัญญาณที่รุนแรงมากขึ้นต่อความไม่ใส่ใจของมนุษย์ ทำให้ความคาดหวังต่อการดำเนินการแก้ไขในประเด็นเหล่านั้นเกิดขึ้นอย่างจริงจัง เมื่อพูดถึงความจริงจัง ย่อมหมายถึงความสามารถในการวัดผลกระทบ และการนำเสนอออกมาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

                  จริงอยู่ที่องค์กรขนาดใหญ่ได้เริ่มทำนโยบายเพื่อแสดงถึงความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ส่วนใหญ่นั้นเป็นเพราะการถูกควบคุมด้วยระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ESG หรือแนวคิดด้านการลงทุนที่ให้ความสำคัญกับธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล, GRI หรือการจัดทำรายงานด้านความยั่งยืน หรืออาจเป็นการดำเนินการเพื่อเหตุผลด้านภาพลักษณ์ทางสังคม อย่างเช่น การได้รับการจัดอันดับด้านความยั่งยืนจาก DJSI หรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่าง SDGs เพราะถ้าหากไม่ทำ อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจโดยตรงได้

                  อย่างไรก็ตาม การดำเนินการส่วนใหญ่ยังเป็นไปในลักษณะเชิงรับ คือมีการวัดผลที่ปลายทาง แต่ไม่มีกระบวนการบ่งชี้ที่แน่ชัดว่าผลลัพธ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการดำเนินการในระดับยุทธศาสตร์องค์กร จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างจริงจังในระดับยุทธศาสตร์ องค์กรจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างจริงจังในการเชื่อมโยงจุดยืน เป้าประสงค์ หลักการ และระบบคุณค่าขององค์กร เข้ากับการถอดรหัสความสำเร็จ เพื่อสะท้อนผลกระทบเชิงบวก ที่จะแสดงให้เห็นว่าองค์กรใส่ใจต่อผลกระทบดังกล่าวในระดับเป้าหมาย ไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์

 

ข้อมูลจากหนังสือ BUSINESS AS USUAL

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

วิธีสร้างธุรกิจให้แตกต่าง ในวันที่วิถีทางแบบเดิมๆ กำลังจะตาย

วิธีสร้างคอนเทนต์ ในธุรกิจที่สุดแสนจะน่าเบื่อ

ความสำเร็จในการทำงาน อยู่ใกล้แค่เอื้อมเพียงทำทุกอย่างให้ “เรียบง่าย” เข้าไว้

วิธีเพิ่มยอดขาย ด้วยการตั้งราคาสินค้าแบบใช้หลักจิตวิทยา

8 หนังสือสร้างแรงบันดาลใจ จากคนดังและองค์กรชั้นนำทั่วโลก

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า