อย่าปล่อยให้คำพูดทำร้ายจิตใจคนฟัง และทำลายคนพูด

การพูดของเราในบางครั้งอาจเป็น คำพูดทำร้ายจิตใจ ที่ส่งผลกระทบกับคนรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัว แต่ถึงรู้ตัว บางคนก็ยังแก้นิสัยนั้นไม่ได้อยู่ดี

            คิมยุนนา นักจิตวิทยาชื่อดังของประเทศเกาหลีได้เปรียบคำพูดของคนเหมือนกับชามคำพูด ชามจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับนิสัยของคนนั้นๆ คนที่มีชามคำพูดเล็กคือคนที่มีคลังศัพท์น้อย มักใช้คำพูดทำร้ายจิตใจคนอื่น และหวั่นไหวกับคำพูดคนอื่นได้ง่าย ส่วนคนที่มีชามคำพูดใหญ่จะเป็นคนที่มีคลังศัพท์มาก โน้มน้าวให้คนคล้อยตามได้ และมีสติที่จะรู้จักวิเคราะห์อีกฝ่าย และคำพูดนั้นจะเป็นสิ่งที่เปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของเราด้วย

มาดูกันว่า คำพูดทำร้ายจิตใจ ที่เราเผลอพูดออกมาโดยไม่รู้ตัว ส่งผลเสียกับคนรอบข้างและตัวเราเองอย่างไร

ใจเปลี่ยน คำพูดก็เปลี่ยน

            การพูดของคนเรานั้นได้รับอิทธิพลมาจากสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะมาจากแผลใจในอดีตที่ไม่ได้รับการสมาน ปัจจุบัน และความคิดในอนาคต อย่าง เจ้านายที่มักโมโหเกินเหตุกับลูกน้องที่ทำผิดเพียงแค่เรื่องเล็กน้อย เขาก็ตำหนิอย่างรุนแรง ในวัยเด็กนั้นเขาขาดการดป็นที่ยอมรับจึงพยายามทำให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับ แต่แผลใจนี้ยังคอยรบกวนอยู่ตลอด

สิ่งที่ควรทำคือเราต้องยอมรับ และเข้าใจตัวเองให้ได้ก่อนถึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงชามคำพูดของเราที่แตกได้ และเราต้องหัดที่จะตรวจสอบและค้นหาสิ่งที่อยู่ในคำพูดเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้

 

 การหาความรู้สึกที่แท้จริง

          เรามักจะมีความรู้สึกเพราะเรามีความคาดหวังกับสิ่งนั้น และเมื่อเรากลับมาคิดอีกที ความรู้สึกในใจตั้งแต่แรกนั้นมันคืออะไรกันแน่นะ เพราะทุกครั้งเวลาที่ความรู้สึกชั่ววูบเข้ามานั้นกระบวนการความคิดจะไม่ทำงาน และจะทำให้เราพูดโดยไม่เห็นอกเห็นใจฝ่ายตรงข้ามได้เลย ซึ่งนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากและทำให้ความสัมพันธ์แย่ลงอีกด้วย

            ดังนั้นเราจำเป็นต้องฝึกที่จะรับรู้ความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองให้ได้เวลาที่ความรู้สึกชั่ววูบครอบงำ ถ้าเราไม่รู้ความรู้สึกที่แท้จริงจะทำให้เราหลงทางในความรู้สึกของตัวเอง เพราะถึงเราจะพูดออกไปจนสบายใจแต่จะสร้างความทรงจำแย่ๆ ที่เผลอทำใส่คนอื่นได้ เช่น เป็นเพื่อนที่พูดให้ร้ายเพราะอิจฉา

 

ไม่อยากฟังเพราะพูดมาก  

          การประเมินระดับการสื่อสาร ที่แม่นยำที่สุดคือในห้องประชุม เพราะจะมีประเด็นที่ละเอียดอ่อนเกิดขึ้นได้ตลอด จนทำให้ความสามารถในการพูดและฟังที่แท้จริงเกิดขึ้นออกมา และในห้องประชุมนั้นคนที่เป็นหัวหน้ามักใช้คำพูดแบบนี้กันบ่อยๆ เช่น

“ไม่มีใครพูด ฉันก็เลยต้องพูด”(รอไม่ไหวจนต้องพูด)

“ฉันว่าจะไม่พูดแล้วนะ แต่ว่า….” (ไม่มีใครเชื่อคำพูดนี้)

“อ้อ สุดท้ายนะ” (พูดอีกยาวและไม่มีใครเชื่อ)

เมื่ออีกฝั่งพูดรัวๆ ใส่ ต่อให้พูดว่ารับทราบแต่ก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่าการประชุมครั้งนี้สรุปแล้วเรื่องอะไรและเข้าใจอย่างผิดๆ ไปเพราะตัวเองมีหน้าที่แค่ “ฟัง” อย่างเดียว และปัญหาแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในบริษัทเท่านั้น สามารถเกิดได้ทั้งกับครอบครัวและเพื่อน

            คนทั่วไปมีแนวโน้มยึดบทสนทนาไว้คนเดียวเวลาที่อีกคนมีประสบการณ์น้อยกว่า ต่อให้เราพูดเตือนหรือแสดงความเป็นห่วง แต่อัตราการฟังของคนเรานั้นต่ำกว่าที่เราคิด เราควรที่จะพูดในปริมาณที่ให้คนฟังรับฟังและซึมซับได้และเข้าใจง่าย

 

คำถามคือกุญแจของหัวใจ

          คำถามนั้นมีหลายชนิดมากกว่าการถามสงสัย มีทั้งคำถามที่ช่วยให้เราเติบโต คำถามคลายความเคลือบแคลงใจ คำถามความเป็นไปได้ คำถามซักเรื่องในอดีต คำถามหาอนาคต และอื่นๆ อีกมากมาย การที่คำถามจะดีหรือแย่นั้นขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นใครและวิธีถามเป็นแบบไหน แต่สิ่งที่สำคัญคือคำถามที่เราได้เรียบเรียงไว้อย่างดีนั้นจะช่วยให้เกลายเป็นคนที่เก่งขึ้นได้

            เพราะความจริงแล้วการตั้งคำถามให้กับอีกฝ่ายไม่จำเป็นต้องคิดให้ยาก คนเราเพียงแค่ได้รับคำถามที่จำเป็นจากคนใกล้ชิดก็ทำให้เราอารมณ์ดีขึ้นได้ เพียงแค่ถามถึงอดีตที่ทำได้แล้ว ปัจจุบันก็ทำได้ดี และอนาคตที่เขาต้องการ เรียกได้ว่าเป็นคำถามที่ “ช่วยสร้างกำลังใจ” แม้จะเป็นคำถามเล็กๆ ที่ดูเอาใจใส่ ดูสนใจในชีวิต ก็ช่วยสร้างความมั่นใจและทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้

 

กฎของความสัมพันธ์ 3 ข้อ

          กฎความสัมพันธ์นั้นมีทั้งหมด 3 ข้อนั้นมีเพื่อสามารถใช้เป็นไม้ค้ำยันเล็กๆ ที่จะคอยช่วยเหลือเราเวลาที่เจอสถานการณ์ที่รับมือกับคนได้ยาก

            ข้อแรก คือ ไม่ว่าใครก็รัก “ตัวเอง” แม้ว่าคนเราจะอยากได้เงินทอง ครอบครัว เพื่อนฝูง หรือสุขภาพก็ตามที่ แต่สิ่งที่มาอันดับแรกคือ ตัวเอง เพราะคนเราไม่ว่ายังไงก็เลือกตอนแรกก่อนเป็นอันดับแรกเสมอโดยที่ไม่ต้องให้ใครสอน แต่กับบางคนที่มีนิสัยรักตัวเองมากเกินไป จนเวลาที่มีใครมาล้ำเส้นจะคิดว่านี่คือการคุกคามและเกิดกลไกป้องกันตัวเอง เวลาที่เราเข้าหาคนประเภทนี้สิ่งที่ควรทำคือควรสังเกตท่าทีของอีกฝ่ายก่อนว่าพร้อมที่จะให้เราเข้าหาหรือไม่

            ข้อสอง คือ ไม่ว่าใครก็มี “ความจริง” ของตัวเองที่แตกต่างกัน พฤติกรรมของคนเราเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันและจะยังเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ดังนั้นการที่สร้างเหตุผลเข้าข้างตัวเอง วิจารณ์คนอื่น และโยนความรับผิดชอบไม่ใช่ปัญหาทางบุคลิกภาพอย่างเดียว แต่เป็นการพยายามปกป้องตัวเองและไม่อยากหลุดออกจากเส้นทางที่คุ้นเคยอีกด้วย วิธีที่จะเข้าหากับคนประเภทนี้คือต้องยอมรับความเป็นจริงและรากฐานให้ได้ก่อน และคำพูดของเราจะได้เข้าไปใกล้กับใจของเขาแน่นอน

            ข้อสาม ไม่ว่าใครก็จำเป็นต้องมี “ขอบเขต” เพื่อความสัมพันธ์ที่แข็งแรง คนเรายิ่งใกล้ชิดกันยิ่งหนีกันไม่พ้น และความคุ้นเคยนั้นยิ่งทำให้เราพูดไม่เกรงใจกันมากขึ้นและเป็นคำพูดที่ไม่ได้กลั่นกรองออกมา เมื่ออีกฝ่ายรู้สึกไม่ดีและถับทมไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย ดังนั้นสิ่งที่ควรมีคือระยะห่างที่ชัดเจนและมั่งคงเพื่อให้เราให้เกียรติกันและไม่สูญเสียความเป็นตัวเองนั่นเอง

 

ข้อมูลจากหนังสือ ศิลปะการพูดให้เหมือนนั่งในใจคน

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ 

ศิลปะการพูด ให้เหมือนนั่งในใจคน พูดแบบนี้ใครๆ ก็ชอบฟัง

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ

เทคนิคโน้มน้าวใจคน ด้วยการพูดเพียงครั้งเดียว

พลังแห่งคำพูดดี เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้

คำพูดแบบไหนทำให้ ความรักสมหวัง ฉบับไม่ต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า