“การพูดกล่อมตัวเอง” ช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น 3 ระดับ ระดับแรกคือ การกล่อมตัวเองจะเปลี่ยนความคิดไปในทางสร้างสรรค์กว่าเดิม ระดับที่ 2 การกล่อมตัวเองเพื่อช่วยเปลี่ยนความเชื่อไปสู่การกระทำ ระดับที่ 3 การฝึกพูดกล่อมตัวเองเป็นรูปแบบที่ช่วยสร้างทักษะและความอดทน ซึ่งจำเป็นต่อการมีสมาธิ การเรียนรู้และหัดกล่อมตัวเองยังไม่สิ้นเปลืองเวลาและความพยายาม แค่แต่งประโยคสักชุด โดยสรุปสิ่งที่คุณอยากแก้ไขเปลี่ยนแปลงด้านใดด้านหนึ่ง จากนั้นก็ท่องตามนั้นซ้ำๆ ทุกวัน เราไปลอง ฝึกสมาธิด้วย “การพูดกล่อมตัวเอง” เทคนิคสร้างความอดทนให้ใจจดจ่อกับงานได้นาน อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน กันเลย
แบบฝึกหัดพูดกล่อมตัวเอง
ฝึกสมาธิด้วย “การพูดกล่อมตัว” จะเริ่มต้นด้วยรายการคำพูด 15 ประโยค ซึ่งแต่งไว้เพื่อช่วยพัฒนาการมีสมาธิด้านต่างๆ ให้คุณเลือกมาสัก 10 หรือ 12 ประโยคที่ตรงใจตัวเอง แล้วหมั่นท่องซ้ำประโยคละ 10 เที่ยว ท่องในใจหรือออกเสียงก็ได้ ปรับแก้ไขบางคำหรือเพิ่มเติมเองได้ตามสบายให้ตรงกับปัญหาเฉพาะตัวที่คุณพยายามหรือต้องการแก้ไข
ขณะที่ท่องประโยคเหล่านี้ ทางที่ดีควรชะลอความคิดให้ช้าลงจนเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย ข้อนี้จัดว่าสำคัญ เพราะเวลาผ่อนคลาย ใจคุณจะไม่ค่อยต่อต้านเนื้อความใหม่ๆ ช่วยให้ข้อความที่ท่องซ้ำๆ เดินทางผ่านแรงต้านตรงเข้าสู่ความเชื่อซึ่งอยู่ใต้จิตสำนึกเบื้องลึก
แบบฝึกหัดนี้ใช้ฝึกจิตให้สงบผ่อนคลาย ขอให้หลับตานึกถึงช่วงเวลาที่รู้สึกสงบ สบายใจ จากนั้นหายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้ 5 วินาที แล้วค่อยๆ หายใจออกช้าๆ พร้อมกับสั่งให้ตัวเองผ่อนคลาย เสร็จแล้วก็หายใจเข้า กลั้นหายใจ 5 วินาที หายใจออกช้าๆ พร้อมพูดว่า “ผ่อนคลาย” ทำแบบนี้อีก 3 รอบ
เมื่อรู้สึกผ่อนคลายดีแล้ว จึงท่องประโยคต่อไปนี้ซ้ำๆ ประโยคละ 10 ครั้ง
-ฉันมีสมาธิแรงกล้า
-ฉันจดจ่อแน่วแน่
-ฉันจดจ่อกับงานหรือกิจกรรมใดๆ ที่เลือกทำได้ง่าย
-ใจฉันตื่นตัวและตั้งใจ
-ใจฉันหมกมุ่นกับงานและกิจกรรมที่ทำโดยไม่เสียสมาธิ
-ฉันเอาใจใส่ ฉันเอาใจใส่ได้ง่าย ฉันชอบเอาใจใส่
-ฉันโฟกัสกับงานที่กำลังทำอย่างเต็มที่
-ฉันจัดระเบียบควบคุมความคืดตัวเองได้
-ความคิดฉันไม่สับสนวุ่นวาย
-ฉันไม่สนใจสิ่งรบกวนแน่นอน
-ฉันโฟกัสกับงาน เป้าหมาย หรือโครงการต่างๆ ได้สบาย
-ใจฉันรับรู้และสังเกตตลอดเวลา สนใจสิ่งที่อ่าน ฟัง และมองอยู่เสมอ
-เวลาคุยกับคนอื่น ฉันได้ยินทุกอย่างที่พูดคุยกัน
-ฉันเก็บบันทึกความหมายของทุกประโยคที่อ่าน
-ฉันเก็บทุกอย่างที่ได้ยินหรือเห็น
ขอให้พูดแต่ละประโยคอย่างมั่นใจหนักแน่น คือย้ำชัดเหมือนกับประโยคนั้นเป็นคงามจริงแล้วตอนนี้ ปล่อยวางความอยากหรือต้องการจะให้ประโยคนั้นเป็นตริง แค่น้อมรับคำพูดเหล่านี้อย่างแข็งขัน
นอกจากนี้ขอให้ใส่ความรู้สึกดีๆ เข้าไปในประโยคนั้นด้วย จำไว้ว่าความรู้สึกด้านบวกย่อมเสริมการคิดบวกเช่นกัน ทำแบบนี้จะช่วยเพิ่มพลังให้ประโยคนั้นไปเปลี่ยนความเชื่อได้
ที่สำคัญกว่านั้นคือ อย่าลืมตั้งใจจดจ่อ กับคำที่พูด คุณรู้อยู่แล้วว่าใจฟุ้งซ่านได้ง่าย ท่องประโยคหนึ่งอยู่ดีๆ ก็อาจไปคิดอย่างอื่นได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นอย่าปล่อยให้ใจไถลไปทางอื่น เมื่อไรที่มันเฉไฉต้องคอยดึงกลับมาหาถ้อยคำที่ท่องเสมอ
หากเชื่ออย่างแรงว่าตัวเองมีสมาธิจำกัด คุณจะพบแรงต้านเยอะมาก ท่องไปแต่ละประโยคจะโดนใจตอกกลับว่า ที่พูดนี่ไม่จริงเลย แบบนี้ไม่มีทางได้ผล หรือฝึกโง่ๆ แบบนี้ไม่มีทางมีสมาธิดีขึ้นหรอก จงอย่าสนใจแรงต้านนั้น ขอให้ท่องซ้ำๆ ต่อไป แม้จะโดนตอบโต้ทางลบ ถ้าคุณท่องว่า ฉันชอบตั้งอกตั้งใจ แล้วในใจย้อนว่า ไม่เห็นจริงเลย ก็ให้ท่องซ้ำอีกว่า ฉันขอบตั้งอกตั้งใจ อย่ายอมแพ้เด็ดขาด
หลังท่องแต่ละประโยคอย่างน้อย 10 ครั้ง ให้ลืมตามกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ขอให้ฝึกทำแบบนี้วันละ 2 ครั้ง อย่างน้อย 90 วัน จำให้แม่นว่า การฝึกทำเพียงครั้งเดียวไม่ช่วยให้สมาธิดีขึ้น ต้องขยันฝึกซ้ำๆ จึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้จริง
การกล่อมตัวเองเป็นเทคนิคที่ใช้พัฒนาทักษะได้ผลที่สุด ซึ่งสามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับปรุงหรือเอาชนะปัญหาต่างๆ ได้ ตั้งแต่เรื่องความจำ ความวิตกกังวล อาการเสพติด การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ความล้มเหลว และอื่นๆ อีกมากมาย
สิ่งสำคัญของผลจากการกล่อมตัวเองแบบนี้จะคงอยู่ยาวนาน ช่วยปรับการเชื่อมโยงในใจใหม่ ทำให้ปฏิบัติตัวตามแบบที่ต้องการได้ง่าย ดังนั้น ถ้าอยากเห็นตัวเองมีสมาธิดีขึ้น ก็ขอให้เริ่มต้นฝึกฝนเทคนิคนี้ตั้งแต่ตอนนี้ได้เลย
ฝึกสมาธิด้วย “การพูดกล่อมตัวเอง” เทคนิคสร้างความอดทนให้ใจจดจ่อกับงานได้นาน อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
Concentration บอกลาสมาธิสั้น
คาม ไนต์ เขียน
วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก
บทความอื่นๆ