สัญญาณอันตรายที่ไม่ใช่อาการปวดหลังธรรมดาเพราะอาจกลายเป็น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรตรวจเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและรักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้ทัน
สัญญาณอันตรายที่ต้องระวังว่าจะเป็น
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการที่เกิดร่วมกับการปวดหลังที่เราต้องระวังและตรวจเพิ่มเติม เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้
- อาการปวดหลังที่เกิดในผู้ที่อายุเกิน 50 ปี หรือน้อยกว่า 20 ปี
- มีอาการปวดมานานเกิน 6 – 8 สัปดาห์
- มีไข้ ปวดกลางคืนหรือขณะนอนพัก
- มีประวัติเป็นโรคเนื้องอก เช่น มะเร็ง น้ำหนักลดเบื่ออาหาร
- มีประวัติการติดยา ติดเหล้า หรือติดเชื้อ เช่น เป็นวัณโรค ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- มีประวัติพลัดตกหกล้ม หรือมีประวัติการกระทบกระเทือนหรือใช้งานสันหลังที่เบากว่านั้น แต่เกิดกับผู้สูงวัยที่มีกระดูกบางหรือกระดูกพรุน
- มีอาการผิดปกติของระบบประสาทที่อยู่ใกล้เคียงกับกระดูกสันหลังซึ่งอาจมีอาการอ่อนแรงหรือขาชา
- มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมระบบขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทนั้น เกิดจากความเสื่อม หรือการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก ผสมกับอิริยาบถที่ทำให้เกิดแรงเครียดต่อหมอนรองกระดูกเป็นสาเหตุหลัก ก็มีโอกาสจะทำให้เกิดอาการปวดยาวนานและเรื้อรัง ส่งผลกระทบต่อการงานและกิจกรรมที่ชื่นชอบ คุณภาพชีวิตตกต่ำลง รวมทั้งกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวได้
อาการปวด ชา และอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจากโรคนี้ บ่อยครั้งทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลและสับสนว่าต้องจัดการอย่างไร อยากรักษาให้หาย แต่หากแพทย์แนะนำให้ผ่าตัดก็ยังมีความกังวลและหวั่นใจ
พบกับรายละเอียดวิธีป้องกัน และรักษาตรวจสอบอาการ หมอนรองกระดุกทับเส้นประสาท เพิ่มเติมได้จาก หนังสือ
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
โดย พลตรี ผศ. นายแพทย์ ไกรวัชร ธีรเนตร
ราคา 165 บาท
บทความอื่นๆ