สัมภาษณ์พิเศษ เบียร์-อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี ผู้แปล ระยะห่าง ระหว่างเรา (So Close yet So Far) ผลงานของจิมมี่ เลี่ยว

วันนี้แอดมินสัมภาษณ์พิเศษกับคุณเบียร์ อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี ผู้แปลหนังสือ ระยะห่าง ระหว่างเรา (So Close yet So Far) ผลงานของจิมมี่ เลี่ยวให้นักอ่านได้รู้จักจิมมี่ เลี่ยว และแนวคิดการเขียนหนังสือของเขามากขึ้น

มาดูกันว่าคุณเบียร์รู้สึกอย่างไรหลังจากได้แปลหนังสือ ระยะห่าง ระหว่างเรา และจิมมี่ เลี่ยว ได้ให้อะไรกับคนอ่านบ้าง

Q จุดเริ่มต้นที่ทำให้รู้จักจิมมี่ เลี่ยว

เบียร์ : ได้อ่านหนังสือเล่มแรกของจิมมี่ เป็นเพราะการแปลหนังสือเรื่อง “เกิดมาซน” ของแพรวเยาวชน จากนั้นได้รับมอบหมายให้ตามหาต้นฉบับงานเขียนของไต้หวัน จนไปเจอผู้หญิงเลี้ยวซ้าย ผู้ชายเลี้ยวขวา

 

Q แนะนำจิมมี่ เลี่ยว ให้นักอ่านรู้จักหน่อย

เบียร์ : งานของจิมมี่ถูกแปลหลายภาษา เขาเริ่มจากการวาดภาพก่อนและเริ่มเขียนเรื่องของตัวเองในภายหลัง คาดว่าเขาน่าจะเขียนเรื่องจากภาพที่เขาวาด

จุดเด่นงานของเขาอยู่ที่ภาพวาด แม้จะมีข้อความอยู่เพียงสั้นๆ แต่หากผู้อ่านค่อย ๆ พิจารณารูปประกอบก็จะให้รู้สึกว่าอยากกลับไปอ่านอีกแน่นอน รูปภาพของจิมมี่เปลี่ยนไปช่วงที่เขาประสบกับปัญหา แต่ก็กลับมาสดใสขึ้น เพราะเขาใช้วาดภาพในการบำบัดตัวเอง

หากคนวาดใช้ภาพบำบัดได้ คนอ่านก็สามารถใช้ภาพบำบัดได้เช่นกัน

 

Q ช่วยเล่าที่มาที่ไปของเรื่อง ระยะห่าง ระหว่างเรา (So Close yet So Far)

เบียร์ : จากการสืบค้นข้อมูลมา พบว่าเรื่องนี้เป็นภาคต่อหรือเรื่องราวโลกคู่ขนานของเรื่องผู้หญิงเลี้ยวซ้าย ผู้ชายเลี้ยวขวา แต่เป็นเหมือนขั้วตรงข้ามมากกว่า ในงานเล่มใหม่นี้เหมือนมี Easter Eggs ของงานเรื่องเก่าซ่อนไว้ให้ผู้อ่านที่ติดตามมาตลอดได้รู้สึกตื่นเต้นไปกับมัน มีเรื่องราวความรัก การใช้ชีวิตที่โตขึ้น

 

Q ความรู้สึกหลังอ่าน ระยะห่าง ระหว่างเรา (So Close yet So Far) จบ

เบียร์ : ทำให้เรารู้สึกว่าแม้เราจะเรียนที่เดียวกัน เล่นด้วยกัน มาตั้งแต่เด็กแต่พอถึงช่วงเวลาหนึ่งเราก็ต้องมีทางแยกที่ต้องเลือกเดินไปคนละทางกัน และชอบที่เขาพูดเรื่องระยะห่างของบ้านทั้งสองคน ที่มันจะค่อยๆ สั้นลงเรื่อยๆ เมื่อตัวเองโตขึ้น เดินได้เร็วขึ้น ขายาวขึ้น ระยะห่างก็สั้นลง

ชอบที่เนื้อเรื่องจบแบบปลายเปิด ทำให้หลงเหลือความรู้สึกหลังอ่าน ได้คิดวนเวียนถึงมันต่อได้อีก

 

Q คิดเห็นอย่างไรกับความสัมพันธ์ที่สุดท้ายแล้ว “ไม่ได้อยู่ด้วยกัน”

เบียร์ : รู้สึกว่าเรามีทางเลือกเป็นของตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องแคร์คนอื่นหรือรักไปตามขนบ ที่ชอบอีกอย่างคือระยะห่างที่ตอนเป็นเด็กรู้สึกว่าระยะทางในการไปเจอกันมันไกลมาก แต่พอโตขึ้นก็รู้สึกว่ามันใกล้ขึ้นทีละนิดๆ

 

Q ความคุ้มค่าของการอ่านหนังสือภาพ

เบียร์ : ถ้าอ่านแต่ตัวหนังสือใช้เวลาแค่ไม่นานก็อ่านจบ แต่หากพิจารณารูปภาพจะพบว่าคนวาดใส่ใจในรายละเอียดเป็นอย่างมาก สามารถตีความความรู้สึกในองค์ประกอบภาพได้

แตกต่างกับรูปถ่ายมาก ที่หากเราถ่ายภาพไป แม้จะจัดองค์ประกอบได้ดีแล้ว แต่มันจะมักมีอะไรแฝงอยู่ในภาพ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่คนอื่นเอาไปตีความ โดยที่คนถ่ายไม่รู้เลยว่ามีสิ่งนั้นอยู่

แต่ภาพวาด คนเขียนต้องใส่รายละเอียดทั้งหมดที่ต้องการจะสื่อนั้นด้วยตัวเอง ดังนั้นมันคุ้มมาก ถ้าคุณจะลองมองรายละเอียดในภาพดีๆ มันมีความหมายซ่อนอยู่แน่นอน และมีตัวละครที่เชื่อมโยงกับผลงานของเขาในเล่มอื่นๆ ซ่อนอยู่ในภาพด้วย

 

Q ฝากหนังสือเล่มนี้กับผู้อ่าน

เบียร์ : อันดับแรกเลยต้องอุดหนุนหนังสือเล่มนี้ก่อนถึงจะมีเล่มอื่นๆ ของจิมมี่ เลี่ยวตามมาให้อ่านกันอีก หนังสือเล่มนี้เล่าผ่านหลายช่วงวัย หลายคนอาจเคยมีเรื่องราวและความทรงจำที่ใกล้เคียงกับตัวละครในเรื่อง และยังช่วยสร้างความรู้สึกบางอย่าง เวลาที่เรามองอะไรรอบๆ แล้วนึกถึงความทรงจำ

หนังสือเล่มนี้ก็จะเหมือนอัลบั้มภาพที่ช่วยเก็บความทรงจำในช่วงขณะนั้นให้กับคุณได้

 

ระยะห่าง ระหว่างเรา (So Close yet So Far)

วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

7 เรื่องราวของผู้เช่า กับเหล่าแมวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ใน “ขอให้แมวโอบกอดคุณ”

แนะนำ แบล็งเก็ตแคตส์ ทั้ง 7 ตัว จากหนังสือขอให้แมวโอบกอดคุณ

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า