สำเร็จสบายสบายด้วย 4 เทคนิคเรียนรู้ไวแบบคนขี้เกียจ

“นะโอะยุกิ ฮนดะ” บิดาแห่งความขี้เกียจ ผู้ซึ่งพยายามสุดชีวิตเพื่อหาวิธีที่ง่ายที่สุด สั้นที่สุด และสะดวกที่สุดในการทำทุกอย่างให้สำเร็จตามเป้าหมายโดยใช้ “ความขี้เกียจ” เป็นตัวขับเคลื่อน จนคิดค้นเทคนิคการเรียนรู้เร็วสำหรับคนงาน (โคตร) ยุ่ง ออกมา ให้คุณได้อัปสกิลตัวเองอย่างไวไม่ว่าด้านใดก็ตาม เราลองมาทำ “กลไก ที่แม้แต่คนขี้เกียจก็ยังทำได้เรื่อย ๆ ด้วยเทคนิค “สำเร็จแบบสบายสบายด้วย 4 เทคนิคเรียนรู้ไวแบบคนขี้เกียจ” !

1. ถ้าอยากได้ผลสำเร็จจงเป็น “มนุษย์คู่มือ”

อย่าเริ่มจากศูนย์ จงเปลี่ยนภูมิปัญญาของผู้ริเริ่มให้เป็นองค์ความรู้ของตัวเอง ถ้าเราทำตามวิธีเหล่านั้น ไม่ว่าใครก็สร้างผลสำเร็จที่มีประสิทธิภาพได้อย่างแน่นอน และสิ่งที่สรุปรวมสิ่งนี้ไว้ก็คือต้นฉบับของคู่มือนั่นเอง ขอแนะนำคู่มือ 3 ประเภทที่ผู้ใหญ่จะนำไปใช้ประกอบการเรียนรู้ได้

1. การอ่านหนังสือธุรกิจ
เราสามารถซื้อเคล็ดลับและประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จได้ในราคาถูกเพียงหลักร้อยเท่านั้น จึงไม่มีทางที่เราจะไม่นำสิ่งนี้มาใช้ หนังสือธุรกิจถือว่าเป็น “บันทึกประสบการณ์การสอบผ่าน” สำหรับผู้ใหญ่

2. ฟังเรื่องราวของคนที่ประสบความสำเร็จ
ถ้าคุณอยากคว้าใบรับรองคุณวุฒิอะไรสักอย่าง ทางลัดคือ ต้องฟังเรื่องราวของคนที่สอบผ่านแล้วจริง ๆ คุณจะได้รู้วิธีเลือกหนังสืออ่านสอบและสถาบันสอนที่เขาแนะนำ นอกจากนี้ เมื่อไรที่คุณอยากมีทักษะการตลาดที่จำเป็นต่อการทำงาน ทางลัดคือการฟังเรื่องราวของผู้คนต่าง ๆ เช่นกัน ไม่จำเป็นว่าเขาจะต้องเป็นคนมีชื่อเสียง อาจเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในบริษัทอื่นจากวงการเดียวกัน หรือเป็นรุ่นพี่ที่ทำยอดขายได้สูง ๆ ก็ได้ ถ้าเป็นคนใกล้ตัวละก็ ไม่เพียงแต่สามารถถามได้ง่าย ยิ่งถ้าเป็นคนในบริษัทเดียวกันก็สามารถปรับแต่งคู่มือนั้นให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรและนำไปใช้ตามได้เลยอีกด้วย

3. ใช้ประโยชน์จากสถาบันหรือการเรียนออนไลน์
จุดแข็งที่สำคัญที่สุดของสถาบันและการเรียนออนไลน์คือ การที่เราได้สั่งสมความรู้ความชำนาญอย่างเป็นระบบ เนื่องจากเราจะได้คุ้นเคยกับกลยุทธ์ในการทำข้อสอบและข้อมูลมหาศาลจากหลายคนที่ร่ำเรียนมาก่อนในรูปแบบของระบบอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ถ้าเราเรียนด้วยตัวคนเดียว สิ่งนี้จะเป็นเครื่องกระตุ้นแรงจูงใจเมื่อเราเริ่มหมดแรงขึ้นมา และยังมีข้อดีตรงที่เราจะได้รับแรงกระตุ้นจากคนอื่น ๆ ที่มีแรงจูงใจสูงและได้รับข้อมูลเด็ด ๆ จากการที่กลุ่มคนที่มีจุดประสงค์เดียวกันมารวมตัวกัน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือธุรกิจหรือเรื่องราวของคนที่ประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือคุณต้องหยิบยืม “ภูมิปัญญาของผู้ริเริ่ม” ซึ่งมีแนวทางแบบเดียวกันกับสิ่งที่คุณเป็น

2. “ตารางเวลาของเด็กประถม” มีประโยชน์ยิ่งกว่าการโค้ช

สมมติถ้าเราใช้ชีวิตแบบไม่กำหนดอะไรเลย อย่างเช่น ตื่นในเวลาที่อยากตื่น กินในเวลาที่อยากกิน ก็อาจไม่สามารถจัดสรรเวลาที่จะได้สนุกกับงานอดิเรกได้ แน่นอนว่ารวมถึงการเรียนหรือการทำงานด้วย ดังนั้น การพึ่งพารูปแบบการใช้ชีวิตที่เป็น “ตารางเวลา” คือวิธีที่สะดวกที่สุด

“ตารางเวลา” เป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพสำหรับคนขี้เกียจ ไม่ต่างไปจากเด็กประถมที่ชอบเล่นมากกว่าเรียน ดังนั้น ผู้ใหญ่ก็ควรใช้ตารางเวลาเช่นกัน คนที่ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะลงทุนกับตัวเองด้วยการเรียนนั้นมีเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งกว่าเด็ก ๆ มาก สิ่งนี้จึงกลายเป็นเครื่องมือที่มั่นคง หากคุณเน้นไปที่การเพิ่มแรงจูงใจมากเกินไปจนมองข้ามความสะดวกของการใช้ “ตารางเวลา” มันก็จะหมดความหมาย

การทำตาม “ตารางเวลา” ที่กำหนดไว้โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก จึงเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ใหญ่ที่ทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. วิธีจำแบบฝังสมองอย่างสมบูรณ์

ใช้ประโยชน์จาก “การเขียน” และกลไกของสมอง ซึ่งเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำตามได้และทำซ้ำได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ

1. “เขียนด้วยลายมือ” และ “การอ่านออกเสียง”
“การเขียน” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการฝังข้อมูลลงในสมอง ดังนั้นจึงควรเขียนสิ่งที่ยังจำไม่ได้ลงบนการ์ดช่วยจำด้วยลายมือของตัวเอง นอกจากนี้ ระหว่างที่เขียนถ้าอ่านออกเสียงไปด้วยก็จะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น ยิ่งถ้าเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เราก็อาจฝึกฟังไปพร้อมกับเขียนและอ่านออกเสียงได้ด้วย

2. ไม่ต้องบรรจงเขียน ถ้าจำได้แล้วก็ให้ดึงออกเลย
แม้จะมีวิธีอื่นในการจำคำศัพท์นอกจากการเขียน แต่บางคนก็เข้าใจผิดและสรุปเป็นโน้ตขึ้นมา นอกจากจะเป็นวิธีที่ใช้เวลามากแล้ว เป้าหมายจะไม่ใช่การท่องจำ แต่จะเพี้ยนไปเป็น “การเขียนให้สวย” แทน ดังนั้น ให้เขียนแบบเร็ว ๆ ลงบนการ์ดช่วยจำ จะลายมือหวัดแค่ไหนก็ได้ เมื่อเราคิดว่า“จำได้จนฝังหัวแล้ว” ก็ให้ย้ายไปไว้กองที่จำได้แล้ว

3. กระตุ้นสมองด้วย “ปากกาสีแดง”
ในระหว่างที่อ่านตามเทคนิคการจำแบบทุ่นแรง คุณต้องเตรียมปากกา 3 ด้ามเพื่อใช้เน้นข้อความที่สำคัญ ซึ่งจะเป็นสีไหนก็ได้ที่คุณชื่นชอบ แต่ผมขอแนะนำให้ใช้ปากกาสีแดงสำหรับ “ข้อความสำคัญที่ต้องการจำให้แม่น” เพราะ “การเขียนด้วยปากกาสีแดง” จะช่วยให้จำได้ง่ายที่สุด

4. ท่องจำก่อนนอน > จำได้ตอนนอนหลับ > ทบทวนอีกในตอนเช้า
สมองทำงานแม้ในระหว่างหลับ โดยตอนกลางวันจะนำเข้าและจัดระเบียบข้อมูลซึ่งทำให้เกิดการจดจำ ดังนั้นจากกลไกนี้เราจึงควรท่องจำ (นำเข้าข้อมูล)ที่ “อยากจำให้ได้” ก่อนนอน และเมื่อลืมตาตื่นในตอนเช้าก็ทดสอบว่ายังจำได้อยู่ไหม (ส่งออกข้อมูลด้วยการทดสอบง่าย ๆ) เวลาที่ตั้งใจจริงๆเราจะเรียนรู้สิ่งนั้นแม้กระทั่งในฝัน ไม่ว่าเราจะได้เรียนรู้ระหว่างนอนหลับจริงหรือไม่ แต่ก็ไม่เสียหายถ้าจะลองทำด

5. การแปลงให้เป็นภาพ
การทำ “แผนที่ความคิด” ก็เป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการทำให้ภาพติดอยู่ในหัว แต่ไม่ควรใส่ใจเรื่องความสวยงามของแผนภาพมากเกินไป ไม่ว่าคุณจะอ่านอะไรก็ตาม เทคนิคการทำ “แผนที่ความคิด” เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยแปลงข้อมูลยาก ๆให้กลายเป็นภาพที่จำได้ง่า

4. ห้ามทำ “สิ่งที่ต้องทำ” ทั้งหมด

ถ้าไม่กำหนด “วิธีละทิ้ง” ก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ สิ่งสำคัญที่สุดในการสอบผ่านหรือทำสิ่งต่าง ๆ คือ ห้ามคิดว่า “เราทำไม่ได้”

1. ทิ้งสิ่งที่ “ทำยังไงก็จำไม่ได้อยู่ดี”
แม้คุณจะอ่านหนังสือสักเล่มซ้ำถึง 3 รอบหรือพยายามฝังหัวด้วยวิธีท่องจำ แต่ไม่ว่ายังไงก็ยังมีส่วนที่จำไม่ได้อยู่ดี ถ้าเรื่องที่จำไม่ได้มีแค่ 2-3 อย่างก็ให้ทิ้งไปได้เลย เพราะเป้าหมายของเราไม่ใช่การสอบได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นการสอบผ่านแค่ระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ก็พอ

2. ลองคิดจากมุมมองของคนออกข้อสอบ
ในวงการธุรกิจ นักขายที่ประสบความสำเร็จคือคนที่สามารถคิดจากมุมมองของลูกค้าได้ ดังนั้น เราลองนำกฎนี้มาใช้แล้วคิดจากมุมมองของคนออกข้อสอบกันบ้างดีกว่า ถ้าคิดจากมุมมองของคนออกข้อสอบ เราจะเข้าใจเหตุผลได้ชัดเจน เพราะเขาต้องนำคำถามยาก ๆ ที่ “คน 5 เปอร์เซ็นต์ที่รู้จริงจะตอบได้ และคน 7 เปอร์เซ็นต์จะเดาถูก” มาปะปนไว้เพื่อให้มีอัตราการสอบผ่านในภาพรวมเป็นไปตามที่กำหนด

3. ไม่ต้องเตรียมบทเรียนเลยก็ได้
คนที่ไปติวกับสถาบันเพื่อการสอบใบรับรองอาจเคยกลุ้มใจว่า “ต้องเตรียมบทเรียนหรือทบทวนไหม” ถ้าให้กล่าวจากข้อสรุปคือ ไม่จำเป็นต้องเตรียมบทเรียน เนื่องจากสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการจำคือการทบทวน ดังนั้น จึงควรพลิกดูหนังสือเรียนทุกวันตอนก่อนนอนหรือในเวลาว่างเป็นประจำก็พอ
.
4. อย่าแลกเปลี่ยนคำตอบกับคนอื่นในวันสอบ
หากต้องสอบหลายวิชาหรือสอบนานเป็นวัน เรามักจะได้เห็นภาพที่คนอื่นพากันแลกเปลี่ยนคำตอบกับคนรอบข้างในช่วงพัก สิ่งนี้ถือเป็นการสิ้นเปลืองเวลาอย่างที่สุด ถึงจะไม่รู้ว่าตัวเองตอบเหมือนใครบ้าง แต่ความคิดที่ว่า “ฉันตอบผิดซะแล้ว” จะบั่นทอนให้ความมั่นใจของคุณลดลง ดังนั้น แทนที่จะทำให้เกิดความคิดในแง่ลบ ควรหันมาทวนการ์ดช่วยจำดีกว่า เพราะจะช่วยให้มีโอกาสสอบผ่านสูงขึ้น
.
5. อย่าหา “เพื่อนเรียน”
เพราะพื้นฐานการเรียนหรือระดับความเข้าใจของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เวลาสอบเราก็ต้องสอบคนเดียวอยู่แล้ว แม้การมีเพื่อนที่แลกเปลี่ยนข้อมูลการสอบหรือช่วยสร้างแรงผลักดันไปข้างหน้าจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ “เพื่อนที่จะมานั่งเรียนด้วยกัน” นั้นไม่จำเป็น

สำเร็จสบายสบายด้วย 4 เทคนิคเรียนรู้ไวแบบคนขี้เกียจ

หนังสือ สำเร็จสบายสบาย เพราะเรียนรู้ไวแบบคนขี้เกียจ

เขียนโดย นะโอะยุกิ ฮนดะ

วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

บทความอื่น ๆ

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า