อาหารและยาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์ไม่แพ้กัน บ่อยครั้งจึงเกิดอาการสงสัยว่า ห้ามกินยากับอะไร ถ้ากินยาตัวนี้กับอาหารชนิดนี้แล้วจะแสลงไหม จริงๆ แล้วจะเรียกอาหารก็คงไม่ถูกต้อง แต่ต้องเรียกว่า “สารอาหารบางประเภท” ต่างหาก ที่มีผลกับยาบางชนิด
มาดูกันว่า “ห้ามกินยากับอะไร” กินยาตัวนี้แล้วห้ามกินอาหารประเภทไหน
ผักใบเขียวที่มีวิตามินเคสูง
เช่น บรอกโคลี ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ควรบริโภคอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด วาร์ฟาริน (warfarin) เนื่องจากมีผลต่อระดับความแข็งตัวของเลือด จำเป็นต้องให้คำแนะนำโดยเฉพาะในช่วงกินเจ
ผลไม้ประเภทกล้วย ส้ม ที่มีโพแทสเซียมสูง
เนื่องจากโพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีผลต่อการใช้ยาขับปัสสาวะ หากระดับโพแทสเซียมในเลือดผิดปกติจนทำให้เกิดพิษจากยาที่ออกฤทธิ์ต่อหัวใจอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เช่น ไดออกซิน (digoxin)
อาหารหมักจำพวกยีสต์หมัก เบียร์ ไวน์ และอาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก ถั่วปากอ้า ช็อกโกแลตที่มีส่วนประกอบของสารไทรามีน
แม้จะมีคุณสมบัติช่วยควบคุมความดันโลหิต แต่ถ้ากินอาหารที่มีสารไทรามีนสูงร่วมกับการกินยาต้านโรคซึมเศร้าบางชนิดในกลุ่ม MAOIs เช่น เซเลจิลีน (selegiline) อาจทำให้สารไทรามีนสะสมมากกว่าปกติจนเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง ความดันโลหิตสูงจนเป็นอันตรายได้
ขนมหรือลูกอมที่มีส่วนผสมของชะเอมเทศ
หากกินในปริมาณมากและต่อเนื่องนานๆ จะทำให้เกิดการคั่งสะสมของเกลือและน้ำทำให้ตัวบวม ถ้ากินร่วมกับยาลดความดันโลหิตก็จะออกฤทธิ์ขัดแย้งกัน ส่งผลให้ยาลดความดันออกฤทธิ์ไม่เต็มที่
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์
เมื่อกินพร้อมยาฆ่าเชื้อ เมโทรนิดาโซล (metronidazole) ยาต้านเชื้อรา กริซีโอฟูลวิน (griseofulvin) หรือยารักษาเบาหวาน ไกลบูไรด์ (glyburide) อาจทำให้เกิดอาการคล้ายคนเมาค้าง (disulfiram like side effect) มีอาการตัวแดง ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจถึงขั้นแน่นหน้าอกได้ รวมถึงการใช้ยานอนหลับร่วมกับการดื่มสุรา อาจทำให้เกิดอันตรายจากการเสริมฤทธิ์กดประสาทจนหยุดหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้
น้ำผลไม้บางชนิด เช่น เกรปฟรุต ผลไม้ตระกูลเดียวกับส้มโอ
แม้จะมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่มีงานวิจัยพบว่าการดื่มน้ำเกรปฟรุตมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาหลายชนิด เช่น ยาลดความดัน ฟิโลดิปีน (felodipine) แอมโลดิปีน (amlodipine) ยาลดไขมันในเลือด ซิมวาสแตติน (simvasatatin) ยาคลายเครียด ไอดะซีแพม (diazepam) เนื่องจากการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในการเปลี่ยนแปลงยา จนระดับยาในเลือดสูงขึ้นและอาจเกิดอันตรายได้
นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต เนย
นมมีส่วนประกอบของแคลเซียมที่มีผลต่อการดูดซึมของยา เนื่องจากแคลเซียมในนมจะจับตัวกับยาบางชนิดกลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่สามารถดูดซึมได้ ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง
ยาที่ไม่ควรกินพร้อมกับนมหรือน้ำแร่ ได้แก่ ยาเสริมธาตุเหล็ก (ferrous salt) ยาปฏิชีวนะในกลุ่มควิโนโลน (quinolone) ที่มีชื่อลงท้ายว่า “ฟลอกซาซิน” เซฟดิเนียร์ (cefdinir) เตตราซัยคลิน (tetracycline) ยาลดปลายประสาทอักเสบ กาบาเพนติน (gabapentin)
ทางที่ดีไม่ควรกินยาพร้อมกับดื่มนม หรือเว้นระยะห่างระหว่างกินยากับดื่มนมประมาณ 2 ชั่วโมง
นอกเหนือจากสารอหารที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาโดยตรงแล้ว ยังมีสารอาหารบางประเภทที่มีผลต่อโรคประจำตัวด้วย เช่น การกินอาหารเค็มที่มีผลต่อโรคความดันโลหิตสูง การกินอาหารหวานมีผลต่อโรคเบาหวาน การกินอาหารมันมีผลต่อระดับไขมันในเลือด หรือการกินอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ปีกที่มีผลต่อการเป็นโรคเกาต์
ดังนั้นจำเป็นต้องควบคุมอาหารเหล่านี้ร่วมด้วยเพื่อทำให้ยาออกฤทธิ์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อมูลจากหนังสือ Drug Guru ฉลาดรู้เรื่องยา
วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่
บทความอื่นๆ
- ยาเด็ก ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย
- โรคเบาหวานเกิดจากอะไร? และการวิธีรักษาโรคเบาหวาน
- อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวาน อาหารเบาหวาน คนเป็นเบาหวานต้องกินอะไร?
- โรคตับ ใครคิดว่าไม่สำคัญ คุณมีพฤติกรรมทำร้ายตับหรือไม่
- คุณมีความเสี่ยง มะเร็งเต้านม หรือไม่ มาสำรวจตัวเองกันเถอะ
- ดีท็อกซ์ล้างพิษ เพิ่มวิตามิน ด้วยสมูทตี้เพื่อสุขภาพจากผักและผลไม้
- ท่าบริหารร่างกายสำหรับคนที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม : แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- 5 สูตร วิตามินบำรุงสายตาจากน้ำผักผลไม้ เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดี
- อาหารลดคอเลสเตอรอลและป้องกันโรคหัวใจ ควรกินอะไรและกินอย่างไร
- 5 วิธีลดความอ้วน ลดน้ำหนักสำหรับผู้สูงอายุ
- ใครว่าคอเลสเตอรอลไม่มีประโยชน์
- โรคและความผิดปกติที่มาพร้อมกับการนอนดึก นอนไม่พอ อดนอน
- ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ อาหารเพื่อสุขภาพ :กินแล้วผอมจริงหรือ
- ทำไมออกกำลังกายลดน้ำหนักแล้วยังไม่ผอม :ความเข้าใจผิดเรื่องการลดน้ำหนัก
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน “ดูแลตัวเองอย่างไร กินอะไรได้บ้าง”
- สมุนไพรลดเบาหวาน ที่คนเป็นเบาหวานต้องรู้และเข้าใจ
- อาหารต้านมะเร็ง อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คนเป็นมะเร็งต้องกินแบบไหน!
- สัญญาณอันตรายร่วมกับอาการปวดหลัง ระวังหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมาเยือน
Pingback: 8 พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม รู้ไว้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา
Pingback: อาหารที่ไม่ควรกินพร้อมกับยา เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้มากกว่าผลดี