เทคนิคการจดโน้ต จดอย่างไรให้นำไปใช้ได้จริง!

แต่ละคนมี เทคนิคการจดโน้ต ที่แตกต่างกันไป บางคนจดโน้ตเพื่อบันทึกความทรงจำ เช่น แม่ฝากซื้อไข่ไก่ น้ำมันพืช ผักคะน้า ฯลฯ หรือบางคนใช้การจดโน้ตเพื่อต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ แต่ก็มีอยู่หลายครั้งที่การจดโน้ตของเราใช้ไม่ได้จริง จดไว้เมื่อเดือนที่แล้ว มาดูเดือนนี้กลับจำไม่ได้ว่าสิ่งนี้ฉันจดมาเพื่ออะไร แล้วมันเชื่อมโยงอย่างไรกัน

เทคนิคการจดโน้ต ให้นำไปใช้ได้จริง มีอะไรบ้างมาดูกันเลย

 

เขียน “วันที่” “สรุป” “ชื่อเรื่อง”

สิ่งที่ทำเป็นอันดับแรกก็คือการเขียนวันที่ที่ฝั่งซ้ายบนของหน้าซ้าย เพราะข้อมูลเวลาว่าจดไปเมื่อไรสำคัญมากตอนย้อนกลับมาดู จากนั้นให้เขียนออกมาว่าการประชุมนี้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องอะไรด้วยหัวข้อสั้นๆ และให้ทำ “ช่องสรุป” ไว้ตรงข้างล่างหัวข้อประชุม ตรงนี้ควรเขียนให้เสร็จทันทีหลังจากประชุมเสร็จ โดยเลือกเฉพาะหัวข้อสำคัญของการประชุมครั้งนั้นว่าใจความสำคัญที่สุดคืออะไร และเขียนสรุปด้วยประโยคเดียวที่เมื่อกลับมาดูทีหลังแล้วสามารถนึกความคิดที่มีในตอนนั้นได้ทุกที

ในส่วนของเนื้อหา ให้เขียน “ข้อเท็จจริง” ที่สมองจับใจความได้ด้วยการใช้คีย์เวิร์ด เมื่อลองบันทึกไปสักระยะเราจะเริ่มใช้คีย์เวิร์ดต่างๆ ได้คล่องมากขึ้นและเชื่อมโยงประเด็นที่คุยกันได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

 

ใช้ปากกา 4 สี

สีของปากกาที่แนะนำให้ใช้มีทั้งหมด 4 สี ดังนี้ “สีดำ” “สีเขียว “สีน้ำเงิน” และ “สีแดง” เกณฑ์ในการแบ่งสีมีอยู่สองอย่างคือ “เป็นความเห็นส่วนตัวหรือการมองอย่างเป็นกลาง” และ “ระดับความสำคัญ”

สีเขียว ใช้เขียนความคิดเห็นส่วนตัว ถ้าเราใช้ปากกาสีเขียวเขียนระหว่างจดโน้ตจนเป็นนิสัยแล้ว ทักษะในการคิดและส่งสารจะพัฒนาขึ้นมาก และจะช่วยให้เราแสดงความคิดเห็นของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว

 

นอกจากนั้น อีก 3 สี ก็เป็นสีสำหรับการมองอย่างเป็นกลาง

สีดำ คือสีที่ใช้ประจำสำหรับเขียนข้อเท็จจริง

ส่วนสีน้ำเงิน และสีแดง ใช้แบ่ง “ระดับความสำคัญ”

สีน้ำเงินสำหรับ “เรื่องที่สำคัญ หรือใช้อ้างอิง, ข้อมูลประกอบ”

สีแดงสำหรับ “เรื่องที่สำคัญมาก”

การใช้ปากกาคนละสียังช่วยฝึกการตัดสินใจได้ด้วย เพราะเราจะสามารถแยกได้ว่าสิ่งนั้นสำคัญกับตัวเองจริงหรือไม่ ซึ่งถ้าทำบ่อยๆ ก็จะทำให้ตัดสินใจได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น

 

ใส่สัญลักษณ์ลงไปเพื่อให้อ่านง่ายขึ้น

อันดับแรก เมื่อต้องการจดข้อเท็จจริง สิ่งที่เป็นรูปธรรม เรื่องที่ประทับใจ ให้จดไว้ข้างหลังสัญลักษณ์ “◎”

ส่วนแนวคิดที่สรุปจากสิ่งที่สังเกตได้จะใช้สัญลักษณ์ที่วงกลมตรงกลางเป็นสีดำ “◉” และข้อเท็จจริงที่ใช้สัญลักษณ์ “◎” กำกับนั้น เมื่อสรุปเป็นแนวคิดใหม่ได้แล้ว วงกลมตรงกลางก็จะถูกเติมสีดำกลายเป็น “◉” เหมือนกับว่าตอนที่ยังเป็นรูปธรรมยังเห็นความหมายไม่ชัดเจน พอกลายเป็นสิ่งที่คิดขึ้นได้ที่มีความหมาย ก็จะถูกเติมด้วยสีดำเป็นครั้งแรก

สิ่งที่จะนำไปใช้ต่อ หรือสิ่งที่จะทำในลำดับต่อไปให้ใส่สัญลักษณ์ “★” กำกับไว้ ให้ตัวเองรู้สึกว่าถ้ามีสัญลักษณ์ “★” แสดงว่ามีเรื่องที่จะต้องทำ สัญลักษณ์ ★ จะควบคุมสมองเรา และกระตุ้นมาที่จิตใจโดยตรงให้เรารู้สึกว่าต้องรีบทำ

เรื่องที่สรุปเป็นแนวคิดใหม่แล้วอยู่ตรงไหน (◉)

สิ่งที่ต้องทำต่อคืออะไร (★)

สิ่งเหล่านี้เป็น “สิ่งสำคัญที่สุดในการจดบันทึก” ที่เราจะเห็นได้จากการมองภาพโดยรวม

 

ใส่ระดับความสำคัญของความฝัน

เริ่มต้นปี แต่ละคนก็มีเป้าหมายที่อยากทำในปีนี้ให้สำเร็จเยอะแยะไปหมด สิ่งสำคัญคือ การถ่ายทอดความฝันให้ออกมาเป็นภาษาอย่างชัดเจนจะทำให้ความเป็นไปได้ที่ความฝันนั้นจะเป็นจริงเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ลองเขียน “เป้าหมายที่อยากทำในปีนี้” ทั้งหมดออกมาและเขียนระดับความสำคัญโดยแบ่งเป็น 4 ระดับ S-C

“ระดับ S” ไม่ว่าอย่างไรก็อยากทำให้สำเร็จ

“ระดับ A” มีความตั้งใจอยากทำมากพอสมควร

“ระดับ B” อยากทำ

“ระดับ C” ถ้ามีโอกาสก็อยากลองทำ

 

สิ่งที่สำคัญมากกว่าการแบ่งระดับ คือการทำให้ชัดเจนว่าอะไรคือเป้าหมายระดับ S ของตัวเอง โดยมองหาภาพรวมและหาสิ่งที่ตัวเองยอมปล่อยไปไม่ได้เพื่อให้เป้าหมายระดับ S ของตัวเองสำเร็จในปีนี้

 

ติดตามเทคนิคการจดโน้ตได้ในหนังสือ

จดโน้ตขั้นเทพ เปลี่ยนกระดาษให้เป็นสมองที่สอง

วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก 

 


บทความอื่นๆ

ศิลปะการพูด ให้เหมือนนั่งในใจคน พูดแบบนี้ใครๆ ก็ชอบฟัง

วิธีทำงานตอนกลางคืน ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด!

ทิ้งนิสัยไม่ดีเหล่านี้ แล้วการทำงานของคุณจะราบรื่นขึ้น

นิสัยที่ควรเลิกทำ ถ้าอยากจิตใจเข้มแข็งและโตขึ้น

วิธีสร้างสมาธิในการทำงาน งานเยอะแค่ไหนก็ทำเสร็จได้แน่นอน

 

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า