นิสัยที่ควรเลิกทำ ถ้าอยากจิตใจเข้มแข็งและโตขึ้น

รู้ไหมว่า บางนิสัยที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ เป็นนิสัยที่ฉุดรั้งพัฒนาการของเราทั้งเรื่องการงานและเรื่องจิตใจ บางคนทำงานอยู่หลายปีไม่ได้ปรับตำแหน่งเสียที หรือเสียใจกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ จนคนภายนอกมองว่าอ่อนแอ จริงๆ แล้วนิสัยเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่เป็น นิสัยที่ควรเลิกทำ เพื่อทำให้สภาพจิตใจของเราเข้มแข็งและเติบโตขึ้น

มาดูกันว่า นิสัยที่ควรเลิกทำ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้จิตใจมีอะไรบ้าง

เลิกพึ่งพาคนอื่น

เวลารู้สึกไม่สบอารมณ์เรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น สาเหตุใหญ่มักมาจากการที่ต้องอาศัยคนอื่น เมื่อเราเริ่มพึ่งพาคนอื่นเมื่อไร พอไม่มีคนนั้น อนาคตของตัวเองก็จบสิ้น หมายความว่าชีวิตของตัวเองจะเป็นไปในทิศทางไหนก็ขึ้นอยู่กับคนอื่นเป็นหลัก ทางที่ดีควรเปลี่ยนจากการพึ่งพาคนอื่นเป็นเรียนรู้จากคนอื่นจะดีเสียกว่า

คนที่พึ่งพาคนอื่นเป็นประจำมีแนวโน้มเป็นคนชอบ “โทษคนอื่น” หางานทำไม่ได้ก็โทษโรงเรียน งานไม่ราบรื่นก็โทษหัวหน้า โทษเพื่อนร่วมงาน ฯลฯ การโทษคนอื่นไปเสียทุกอย่างอาจเป็นเรื่องง่าย แต่สุดท้ายจะกลายเป็นว่าตัวเองถูกคนอื่นควบคุม

หากอยากเข้มแข็งและแข็งแกร่งขึ้นง่ายนิดเดียว แค่คิดด้วยตัวเอง ตัดสินใจด้วยตัวเอง และรับผลจากการตัดสินใจนั้นด้วยตัวเอง และรับผลจากการตัดสินใจนั้นด้วยตัวเอง คนที่ชอบพึ่งพาคนอื่นคือคนที่ไม่คิดเอง ไม่ตัดสินใจด้วยตัวเอง ทำให้ต้องไหลไปตามคำพูดของคนอื่น ต้องพึ่งพาคนอื่น และไม่มีทางที่จะเข้มแข็งและยืนหยัดได้

 

เลิกทุกข์ใจเรื่องปมด้อย

ถ้ามัวแต่ทุกข์ใจเรื่องปมด้อยก็อาจเกิดข้อเสียได้ เช่นคำว่า “คนอย่างฉันทำไม่ได้หรอก” และนิสัยนี้ทำให้กลายเป็นคนที่ดูถูกคนอื่นว่า “หมอนั่นก็ทำไม่ได้หรอก”

ลองนำปมด้อยของคุณมาเป็นอาวุธดังเช่นคนต่อไปนี้ บางคนกลุ้มใจที่ตัวเองผิวแห้ง จึงเปิดกิจการร้านเสริมสวย บางคนลำบากที่ตัวเองเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง จึงเปิดร้านออนไลน์ขายผลิตภัณฑ์แก้ภูมิแพ้ คนที่อยากแต่งงานแต่ไม่มีโอกาสได้เจอผู้คนก็จัดกิจกรรมหาคู่ คนที่เคยทุกข์ร้อนจากการหย่าร้าง ก็เปิดบริษัทที่ปรึกษาด้านการหย่าร้าง

จริงๆ แล้วปมด้อยที่คุณกังวลจะช่วยสร้างตลาดใหม่ได้ ไม่ว่าจะวิกผม การปลูกผม การลดน้ำหนัก เสริมสวย หรือเรียนภาษาอังกฤษ ทั้งหมดล้วนเป็นธุรกิจที่เกิดจากปมด้อยด้วยกันทั้งนั้น

ปมด้อยที่นำไปสร้างเป็นธุรกิจได้นั้น คนส่วนใหญ่คงรู้สึกว่าไม่น่าทำได้จริง แต่จริงๆ แล้ว ปมด้อยก็เป็นสิ่งที่ “เราคิดไปเอง” คนส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจขนาดนั้น

ลองบอกกับเพื่อนว่า “ช่วงนี้รู้สึกอ้วนขึ้น” อีกฝ่ายก็ตอบผ่านๆ ว่า “เหรอ ก็คงใช่มั้ง” หรือถ้าบอกว่า “ช่วงนี้ผมหงอกขึ้นเยอะจัง” อีกฝ่ายก็ตอบแค่ “อายุสามสิบกว่าก็งี้แหละ” คนอื่นไม่ได้มองหรือสนใจเราเหมือนอย่างที่กังวลขนาดนั้น อย่างปมด้อยที่พูดไปก่อนหน้านี้ ทุกคนก็คงแค่รับรู้และไม่ได้ใส่ใจเป็นพิเศษ

ทุกอย่างมีสองด้าน เรื่องที่คุณคิดว่าเป็นจุดอ่อนก็สามารถเปลี่ยนเป็นจุดแข็งได้

ทิ้งเรื่องกังวลใจ

แต่ละคนมีเรื่องที่ต้องกังวลแตกต่างกันไป เช่น เรื่องงาน เงิน การแต่งงาน ชีวิตหลักเกษียณ การประชุมสัปดาห์หน้า หรือการพรีเซ้นต์งานใหญ่กับลูกค้า แต่เรื่องส่วนใหญ่ถึงจะกังวลไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเป็นอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น และไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร  ความกังวลกับเรื่องที่ยังไม่เกิดก็เป็นแค่การคิดไปเอง ซึ่งทำให้เสียเวลาและพลังใจ ไม่ช่วยให้เติบโต

การจะขจัดความกังวลได้นั้น มีแต่ต้องลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้น วิธีขจัดความกังวลว่าจะพรีเซ้นต์งานได้ดีหรือเปล่า มีเพียงการฝึกซ้อม เตรียมเอกสารให้พร้อม คาดเดาหัวข้อที่น่าจะโดนสอบถามล่วงหน้า ให้ทุกคนช่วยคอมเมนต์ แล้วแก้ไข ฝึกซ้อมซ้ำๆ ให้พูดได้โดยไม่ต้องมองเอกสาร รวมถึงกิริยาท่าทางและการใช้มือเพื่อดึงดูดความสนใจ

แต่ถ้านึกวิธีจัดการอย่างเป็นรูปธรรมไม่ออก แสดงว่าความกังวลนั้นยังคลุมเครือ แค่รู้สึกกังวลเฉยๆ แต่จับความรู้สึกได้ไม่แน่ชัดว่ากังวลเรื่องอะไร แบบนี้ย่อมนึกวิธีแก้ไขไม่ออก ความกังวลก็ไม่มีทางหายไป ดังนั้นหาให้เจอชัดๆ ก่อนว่ากังวลเรื่องอะไร

ถ้ากังวลเรื่องสุขภาพ ให้เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ทำให้เครียดเกินไป เมื่อเจอแนวทางไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เราก็หาวิธีแก้ไขแล้วลงมือทำทีละอย่าง แม้จะขจัดความกังวลไม่ได้ทั้งหมด แต่สามารถบรรเทาลงได้

 

เลิกโทษตัวเอง

การโทษตัวเองเป็นกับดัก เพราะบางครั้งทำให้เรามัวแต่คิดว่า “เรานี่แย่ขนาดไหน” พอตำหนิตัวเองว่า “เราแย่มากที่ไม่ระมัดระวังให้ดี” หรือ “สื่อสารได้แย่อย่างนี้ เราคงไม่มีทางประสบความสำเร็จหรอก” มีแต่ทำให้ทุกข์ใจมากขึ้น

เมื่อไม่ยอมรับตัวเองมาขึ้นเท่าไหร่ เราจะตั้งขีดจำกัดว่า “ยังไงเราก็ทำได้แค่นี้” และหาเหตุผล “แก้ตัวให้ตัวเองไม่ต้องทำ” การโทษคนอื่นไม่ทำให้ตัวเองเติบโต แต่การเอาแต่ตำหนิตัวเองอย่างเดียวก็ยากที่จะก้าวไปข้างหน้าได้ ทำให้เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์แบบเดียวกันอีกก็จะตื่นกลัวมากเกินความจำเป็น ต่อให้มีศักยภาพพอจะก้าวข้ามสิ่งนั้นจริงๆ แต่ก็อาจทิ้งโอกาสของตัวเอง เพราะคิดว่า “ไม่น่าจะไหว เมื่อก่อนเราก็ทำไม่ได้นี่”

แต่ถ้านิยาม “ความสำเร็จเฉพาะตัวได้” ต้องใช้เกณฑ์ความรู้สึกพึงพอใจว่าเป็นสภาพที่ตัวเราเองยอมรับได้ ไม่เสียใจภายหลัง ทำให้เรารู้สึกพอใจมากและมีรอยยิ้ม เช่น บางคนพอใจกับการทำงานอย่างบ้าคลั่ง ในขณะที่บางคนกลับทำงานนิดหน่อยพอแค่ให้ตัวเองได้เที่ยวและมีความสุข เลิกโทษตัวเองตั้งแต่วันนี้ แล้วก้าวไปข้างหน้าอย่างมีความสุขและเข้มแข็ง

 

 

ข้อมูลจากหนังสือ ทิ้งนิสัยไม่ดี แล้วจะมีความสุข

วางขายแล้วที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 


บทความอื่นๆ

ทิ้งนิสัยไม่ดีเหล่านี้ แล้วการทำงานของคุณจะราบรื่นขึ้น

เปลี่ยนนิสัยตัวเองให้ดีขึ้น ด้วยการทำสิ่งเหล่านี้

5 วิธีแก้นิสัยหมกมุ่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป

เลิกนิสัยแย่ๆ เหล่านี้ แล้วชีวิตจะดีขึ้น

ใช้ชีวิตให้มีความสุข ด้วยการเลิกทำสิ่งเหล่านี้

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า