กว่าจะมาเป็นชื่อตัวละครนิยายที่ติดหูคุณ ต้องผ่านมาแล้วไม่รู้กี่ชื่อ!!

นอกจากการตั้งชื่อหนังสือให้ติดหูนักอ่านแล้ว การตั้ง ชื่อตัวละคร ให้ติดปากนักอ่านก็เป็นสิ่งที่นักเขียนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเช่นกัน เพราะต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะใช้ชื่อไหนเพื่อให้นักอ่านรู้สึกว่า นี่แหละ ชื่อเพื่อนรักของฉัน  (เพราะนักอ่านบางคนก็รักตัวละครมากจนนำ ชื่อตัวละคร ไปตั้งเป็นชื่อสัตว์เลี้ยง หรือแม้กระทั่งชื่อลูก จึงต้องคิดให้ดีๆ ก่อนจะตั้งชืื่อออกมา)   ทำให้บางครั้งการตั้งชื่อตัวละครก็ยากกว่าการตั้งชื่อหนังสือเสียอีก  (เสียงนักเขียนประจำสำนักพิมพ์บ่นลอยๆ)

 

กว่าจะออกมาเป็น ชื่อตัวละคร ที่ถูกใจนักเขียน ถูกใจนักอ่านได้ ต้องผ่านมาไม่รู้กว่ากี่ชื่อ  เราลองมาดูกันว่า หากตัวละครโปรดของคุณ ใช้ชื่อดั้งเดิมจากผู้เขียน ชื่อของพวกเขาเหล่านี้จะยังเป็นชื่อที่ติดหูติดปากคุณอยู่หรือเปล่านะ

 

\

ดิกเกนส์กับปกหนังสือ อะ คริสต์มาสแครอล เวอร์ชั่นแรก

By Jeremiah Gurney – Heritage Auction Gallery, Public Domain

 

ถึงแม้วรรณกรรมเรื่อง อะ คริสต์มาส แครอล (A Christmas Carol)  จะดำเนินเรื่องด้วยตัวละครหลัก เอเบเนเซอร์ สครูจ (Ebenezer Scrooge) นายธนาคารหน้าเลือดที่ได้รับบทเรียนจากภูติแห่งคริสต์มาส แต่ตัวละครอย่าง ไทนี่ ทิม (Tiny Tim) เด็กชายขาพิการ จุดเปลี่ยนของเรื่องก็ได้รับความรักจากนักอ่านไม่แพ้กับตัวละครอื่นๆ ซึ่งกว่าจะมาเป็นเจ้าหนูสู้ชีวิตในเรื่อง  ชาร์ล ดิกเกนส์ (Charles Dickens) ผู้เขียน เคยคิดไม่ตกว่าจะเรียกเจ้าหนูคนเก่งนี้ว่าอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น  สมอลล์ แซม (Small Sam) , ลิตเติ้ล แลร์รี่ (Little Larry) และ พูนี่ พีท (Puny Pete)  แต่สุดท้ายก็ได้มาเป็น ไทนี่ ทิม  เป็นชื่อที่เหมาะสมกับตัวของเขามากๆ  ว่าแต่ว่า นักอ่านชอบชื่นไหนมากกว่ากันล่ะ  

ไทนี่ ทิมคนเก่ง

By Fred Barnard – Digital image from LIFE, Public Domain,

 

 

 

ถ้าหญิงสาวสักคนจะเป็นนักสืบ  คุณคิดว่าเธอจะชื่ออะไรดี

เวอร์ชั่นนิยายกับเวอร์ชั่นภาพยนตร์ แนนซี่ก็ยังน่ารักทั้งคู่

 สเตลล่า สตรอง (Stella Strong), ไดอาน่า ดรูว์ (Diana Drew), ไดอาน่า แดร์ (Diana Dare) , แนน นีลสัน (Nan Nelson) , เฮเลน เฮล (Helen Hale) , แนน ดรูว์ (Nan Drew)  แต่ถึงคุณจะมีตัวเลือกในใจ แต่ในที่สุด เราก็ได้สาวน้อยนักสืบที่ชื่อว่า แนนซี่ ดรูว์ (Nancy Drew)  ตัวละครที่หนุ่มๆ หลงใหลจากนิยายแนวสืบสวนสอบสวนปลายปากกาของ แคโรไลน์ ควิน (Carolyn Keene)

 

 

หากพูดถึงวรรณกรรมสยองขวัญสุดคลาสสิค 

ต้องมีชื่อของ แดรกคูลา (Dracula) ติดอยู่ในลิตส์ของนักอ่านอย่างแน่นอน

 

แดรกคูลา อสูรผู้โหดร้ายของแบรม สโตกเกอร์ (Bram Stoker)  ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากฝันร้ายของเขาเอง  จากนั้นก็ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องแวมไพร์นี้อย่างจริงจัง โดยก่อนหน้านี้สโตกเกอร์ตั้งชื่อเชยๆ ให้กับตัวละครตัวนี้ว่า  เคานต์ แวมพายร์ “Count Wampyr”  แต่ในระหว่างการหาข้อมูล สโตกเกอร์ได้พบเรื่องราวของ วลาดที่ 2 เจ้าชายแห่งแคว้นวัลลาเคีย (ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนีย) วลาดที่ 2 มีอีกหนึ่งชื่อเรียกคือ วลาด ดราคูล (Vlad Dracul) เนื่องมาจากความโหดร้ายดั่งปีศาจ  (Dracul แปลว่า ปีศาจในภาษาโรมาเนีย)  และแล้วเราจึงได้รู้จักปีศาสดูดเลือดในชื่อเท่ๆ ว่า แดรกคูลา

         

ซ้าย – แดรกคูลา เวอร์ชั่นภาพยนตร์ 

ขวา – ภาพวาด วลาดที่ 2  “วลาด ดราคูล”

 

 

 

 

คอนิยายสืบสวนเคยอ่านนิยายที่มีนักสืบชื่อว่า

เชอร์ริงฟอร์ด  โฮลมส์ (Sherringford Holmes) ไหม?

เซอร์ดอยล์ ราชานิยายสืบสวน กับภาพวาด เชอร์ริงฟอร์ด โฮล์มส์ เอ้ย! เชอร์ล็อก โฮล์มส์

Left- By Sidney Paget (1860-1908) – de.WP,

Right – By Walter Benington – RR Auction, Public Domain,

คงไม่มีใครตอบว่าเคยได้อ่านแน่นอน เพราะนี่คือชื่อที่อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ ราชานิยายสืบสวนได้มอบให้สุดยอดนักสืบในดวงใจของเรา ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อ เชอร์ล็อก โฮล์มส์ (Sherlock Holmes) อันโด่งดัง  นอกจากนี้ จอห์น เอข. วัตสัน (John H. Watson) คุณหมอคู่หูเพของโฮล์มส์ ก็เกือบจะได้ชื่อประหลาดๆ อย่าง ออร์มอนด์ แซกเกอร์ (Ormond Sacker)  ซึ่งดูแล้วไม่เหมาะกับจะเป็นชื่อของคุณหมอสักเท่าไหร่เลยคุณว่าไหมล่ะ

วัตสันและโฮล์มส์ ในเล่ม  ม้าตัวเก็งหาย (Silver Blaze)

By Sidney Paget (1860-1908) – Strand Magazine, Public Domain,

 

ฉบับภาษาไทยจากแพรวสำนักพิมพ์  มีกันครบทุกเล่มหรือยัง

 

 

หากมีชื่อ อาร์คิมิดิส ฟาวล์  (Archimedes Fowl) อยู่บนหน้าปกหนังสือ คุณคิดว่ามันคือหนังสืออะไรกัน หลายคนอาจจะคิดว่ามันเป็นหนังสือปรัชญากรีก เกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่ชื่อว่า อาร์คิมิดิสก็เป็นได้

อาร์ทิมิสสุดหล่อ (ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสถาพรบุ๊กส์  มีทั้งหมด 8 เล่มจบ)

นี่แหละ เหตุผลที่ทำให้โอเวน โคลเฟอร์ (Eoin Colfer) เปลี่ยนจากชื่ออาร์คิมิดิส เป็น อาร์ทิมิส ฟาวล์แทน (Artemis Fowl) โดยตอนแรกที่เลือกชื่ออาร์คิมิดิสนั้น เพราะโคลเฟอร์ อยากได้ชื่อกรีกคลาสสิค ที่ดูแล้วเป็นคนฉลาด ส่วน ฟาวล์ ที่เป็นนามสกุลของอาร์เทมิสนั้น  แม้ฟังดูเป็นนามสกุลชาวไอริชทั่วไป แต่ผู้แต่งบอกว่ากิมมิคเล็กๆ ที่ทำให้อาร์เทมิสต้องใช้นามสกุลนี้ เพราะมันออกเสียงคล้ายกับคำว่า  ฟาวล์ ที่แปลว่า สกปรก (Foul) ซึ่งสอดคล้องกับบุคลิกของพระเอกตัวจิ๋วของเราในช่วงแรกๆ

 

 

ฉันชื่อเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์!!

มันไม่เหมาะกับเธอเลยจริงๆ นะ  นี่คือสิ่งที่ เจ. เค. โรว์ลิ่ง (J.K. Rowling) ได้พูดถึง เฮอร์ไมโอนี่ พัคเกิล (Hermione Puckle) ก่อนเปลี่ยนเป็น เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ (

Hermione Granger)  โดยโรว์ลิ่งกล่าวว่า นอกจากจะดูไม่เหมาะสมกับบุคลิกเฉลียวฉลาดของเฮอร์ไมโอนีแล้ว คำว่า พัคเกิล ยังฟังดูเหมือน คำอธิบายรสชาติของขนมเยลลี่ยี่ห้อ Sour Patch Kids อีกด้วย …..

 

หักกริฟฟินดอร์ 10 คะแนน ข้อหาที่คุณพัคเกิลเถียงฉัน
=

via GIPHY

 

 

บลาดอร์ธิน พ่อมดเทา ?!

   

ก่อนจะมาเป็นชื่อแกนดัล์ฟ  (Gandalf)  ผู้เขียน เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (J.R.R. Tolkien) เคยโน้ตลงไปในร่างต้นฉบับเล่มแรกของเขาว่า  แกนดัล์ฟ  คือชื่อของหัวหน้าเผ่าคนแคระ ส่วนตำแหน่งพ่อมดเทาให้ชื่อว่า บลาดอร์ธิน (Bladorthin)  แต่เมื่อส่งต้นฉบับเล่มสมบูรณ์ชื่อของตัวละครก็เปลี่ยนไปโดย ธอริน (Thoerin) ได้กลายมาเป็นหัวหน้าเผ่าคนแคระแทน และแกนดัล์ฟกลายมาเป็นพ่อมดเทา (ซึ่งภายหลังกลายเป็นพ่อมดขาว) ตัวละครสำคัญของเรื่อง ส่วนซารูมาน (Saruman) ได้กลายมาเป็นหัวหน้าคณะพ่อมดแทน   และชื่อของบลาดอร์ธินนั้น กลายเป็นชื่อของกษัตริย์ที่ตายไปแล้ว ซึ่งถูกเอ่ยถึงในเล่มเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

นี่สิธอริน – เกือบได้ชื่อว่าแกนดัล์ฟแล้ว

 

 

แมงมุมเพื่อนรัก กับนามสกุลยาวๆ

อี.บี. ไวท์ กับผลงานทรงคุณค่า (ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แพรวเยาวชน)

 

แม้แต่แมงมุมก็ยังต้องมีชื่อนามสกุลนะ โดยเฉพาะแมงมุมเพื่อนรักหมูน้อยวิลเบอร์ จากวรรณกรรมเยาวชนผลงานของ อี. บี. ไวท์ (E.B. White) เรื่อง ชาร์ล็อตแมงมุมเพื่อนรัก (Charlotte’s Web) หากใครมีหนังสือของสำนักพิมพ์แพรวเยาวชนอยู่กับตัวล่ะก็ ลองเปิดไปที่หน้า 45 ดูสิ จะพบกับฉากแนะนำตัวของเจ้าแมงมุม เธอแนะนำตัวว่า ฉันชื่อ ชาร์ล็อตต์ เอ. คาวาติคา (Charlotte A. Cavatica) แต่เรียกฉันชาร์ล็อตเฉยๆ เถอะ 

ก่อนจะมาเป็นชื่อนามสกุลสวยงามขนาดนี้ ผู้แต่งเคยเข้าเข้าใจผิดว่า ชาร์ล็อตต์คือแมงมุมสีเทาสายพันธ์  Epeira sclopetaria และตั้งชื่อให้เธอว่า  ชาร์ล็อตต์ อีไพรา  (Charlotte Epeira)  ไวท์คิดว่าชาร์ล็อตน่าจะเป็นแมงมุมพันธ์ Araneus cavaticus มากกว่า ชาร์ล็อตจึงได้นามสกุล เอ. คาวาติคา มาจากสายพันธ์นี้นั่นเอง

ชาร์ล็อตตัวจริง

By No machine-readable author provided. Abrahami assumed

 

 

ยังจำการผจญภัยของเด็กๆ ทั้ง 4 คนที่ทะลุตู้เสื้อผ้าไปเจอสิงโตสุดเท่ได้ไหม 

อัสลานไง จะใครล่ะ

 

ซี. เอ. ลูอิส นักเขียน

 

วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง ตำนานแห่งนาร์เนีย (The Chronicles of Narnia) ผลงานของ ซี. เอส. ลูอิส (C. S. Lewis) โดยในเวอร์ชั่นแรกนั้น ผู้เขียนได้ตั้งใจจะให้ปีเตอร์ เป็นชื่อของน้องชายคนสุดท้อง ส่วนพี่ชายคนโตจะได้ชื่อว่า มาร์ติน  และสาวๆ ทั้ง 2 จะได้ชื่อว่า แอนนและโรส แต่หลังจากนั้นเขาก็เปลี่ยนใจให้ ปีเตอร์กลายเป็นพี่คนโต และยังเปลี่ยนชื่อพี่น้องทุกคนด้วย เราจึงได้รู้จักเด็กๆ ตระกูลพรีเวนซี ในชื่อ ปีเตอร์, ซูซาน, เอ็ดมันด์ และลูซี่

ชื่อตัวละคร

Source

mentalfloss.com


บทความอื่นๆ

3 thoughts on “กว่าจะมาเป็นชื่อตัวละครนิยายที่ติดหูคุณ ต้องผ่านมาแล้วไม่รู้กี่ชื่อ!!

  1. Pingback: เหตุผลที่คุณไม่ควรพลาด นิยายแปลจีน เรื่อง ลำนำราตรี ของ อรุณ

  2. Pingback: จากอาชญากรรรมสุดสะเทือนขวัญสู่นิยายดัง 'ฆาตกรรมบนรถด่วนโอเรียนท์เอกซ์เพรส'

Leave a Reply

แจ้งเตือนการใช้งานคุกกี้ เว็บไซต์ของเรามีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการประสบการณ์ของผู้ใช้งานให้ดีที่สุด ได้แก่ คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ คุกกี้เพื่อการทำงานของเว็บไซต์ และคุกกี้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ศึกษารายละเอียดและการตั้งค่าคุกกี้เพิ่มเติมเพื่อความเป็นส่วนตัวของท่านได้ใน นโยบายคุกกี้ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า